เทคนิคใหม่ในการเพิ่มผลผลิตของน้ำยางพารา
ตามปกติพื้นที่ปลูกยางที่จะให้ผลดีจะต้องมีน้ำฝนรายปีมากกว่า 2000 mm มีค่าเฉลี่ยความแตกต่างของอุณหภูมิในรอบวันประ...
data-ad-format="autorelaxed">
ทุนอุดหนุนวิจัย ปี 2544 โครงการวิจัยรหัส พิเศษ 42.2.43
ยางที่จะให้ผลดีจะต้องมีน้ำฝนรายปีมากกว่า 2000 mm
ตามปกติพื้นที่ปลูกยางที่จะให้ผลดีจะต้องมีน้ำฝนรายปีมากกว่า 2000 mm มีค่าเฉลี่ยความแตกต่างของอุณหภูมิในรอบวันประมาณ 7C และมีจำนวนวันฝนตก 100-150 วัน และมีช่วงแห้งแล้งไม่เกิน 4 เดือน สำหรับประเทศไทยสภาพแวดล้อมเหล่านี้จะอยู่ทางภาคใต้และภาคตะวันออก เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง นราธิวาส จันทบุรี และตราด อย่างไรก็ตามเกษตรกรได้ปลูกยางกันอย่างทั่วไปในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างไป ได้แก่ ในเขตจังหวัดหนองคาย อุดรธานี บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ซึ่งปริมาณน้ำฝนรายปีในจังหวัดเหล่านี้มีน้อยกว่า 1500 mm ซึ่งอาจเป็นตัวกำจัดการให้ผลผลิตน้ำยาง นอกเหนือจากสภาพแวดล้อมแล้วมีรายงานว่าผลผลิตของน้ำยางยังขึ้นกับขนาดของ เส้นรอบวงยางที่เปิดกรีดยาง อายุยาง ระบบและความถี่ของการกรีดยาง รวมทั้งการใช้สารเคมีกระตุ้นการไหลของน้ำยาง นอกจากนี้สำหรับพื้นที่ที่มีฝนตกรายปีประมาณ 1500 mm ถ้ามีการให้น้ำจะทำให้ยางมีผลผลิตของน้ำยางที่สูงขึ้น
การไหลของน้ำยางพารา
เมื่อพิจารณาทางด้านสรีระวิทยาของยาง การไหลของน้ำยาง ที่กรีดได้ครั้งหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นในท่อลำเลียงอาหาร ซึ่งน่าจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกันกับค่าแรงดันน้ำของเซลล์ท่อลำเลียง ความแตกต่างกันของแรงดันน้ำในท่อลำเลียงของยางพาราสองพันธุ์ที่ให้ปริมาณน้ำยาง ที่แตกต่างกัน เพราะการเคลื่อนที่ของน้ำในพืชเป็นระบบที่ต่อเนื่องกัน ดังนั้นแรงดันน้ำในเซลล์ท่อลำเลียงจึงน่าจะมีความสอดคล้องกับแรงดันน้ำใน เซลล์ใบยาง แรงดันน้ำในเซลล์ใบยางจะผันแปรตามการเปลี่ยนแปลงของศักย์น้ำรวมในใบยาง ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในรอบวันของแรงดูดซับไอน้ำของบรรยากาศ และความเข้มของแสง ดังนั้นการให้ผลผลิตของยางที่ปลูกจึงถูกควบคุมด้วยปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ สภาพแวดล้อม สรีระวิทยาของยางพารา รวมทั้งการจัดการ จุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้ต้องการประเมินอิทธิพลของปัจจัยเหล่านี้ต่อ สถานภาพของศักย์น้ำในใบยางและการให้ผลผลิตน้ำยาง ซึ่งผลผลิตของน้ำยางจะแสดงในรูปมวลยางแห้งที่กรีดได้และพยายามหาความ สัมพันธ์ระหว่างแรงดันน้ำในเซลล์ใบยางกับผลผลิตของมวลยางแห้งที่กรีดได้นี้
การให้ผลผลิตของยางพาราพันธุ์ RRIM 600
กุมุท สังขศิลา ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน ได้ศึกษาทดลองเรื่อง "อิทธิพลของสภาพแวดล้อมลักษณะแสดงออกของยางพารา และการจัดการต่อสถานภาพของน้ำในต้นยางและการให้ผลผลิตของยางพาราพันธุ์ RRIM 600" เพื่อหาอิทธิพลของสภาพแวดล้อม ลักษณะแสดงออกของยางพารา และการจัดการสวนยางที่มีผลต่อสถานภาพน้ำในใบยางและมวลยางแห้งที่กรีดได้ใน แต่ละครั้ง โดยใช้ตัวแปรคือ ปริมาณน้ำฝนและแรงดูดซับไอน้ำของบรรยากาศเป็นตัวแทนสภาพแวดล้อม ส่วนลักษณะแสดงออกของยางพาราได้ใช้ความยาวเส้นรอบวงของยางเป็นตัวแทน ส่วนการจัดการใช้จำนวนครั้งที่กรีดต่อเดือน การให้น้ำและสภาพน้ำฝนเป็นตัวแทน การทดลองนี้ใช้ยางพาราพันธุ์ RRIM 600 อายุระหว่าง 6-7 ปี เป็ฯตัวแทน พบว่าบริเวณที่มีฝนรายปีน้อยกว่า 1300 mm การให้น้ำทำให้อัตราการไหลของสารละลายในต้นยางสูงกว่ายางที่เจริญใต้สภาพน้ำ ฝน แต่ผลจะกลับกันถ้ามีฝนรายปีมากกว่า 1400 mm ที่เป็นเช่นนี้เพราะบริเวณที่มีฝนรายปีมากกว่า 1400 mm ยางเจริญบนดินที่มีชั้นหน้าดินตื้น และมีการระบายน้ำที่ไม่ดี ผลการทดลองไม่พบอิทธิพลของสภาพแวดล้อมต่อค่าศักย์น้ำรวมในใบยาง ไม่ว่าแรงดูดซับไอน้ำของบรรยากาศเป็นเช่นไร ยางพาราพันธุ์นี้จะไม่แสดงการเปลี่ยนแปลงค่าศักย์น้ำรวมในใบยางมากนัก การให้น้ำหรือสภาพน้ำฝนก็ให้ผลเช่นเดียวกัน ผลการทดลองยังชี้ว่าปัจจัยมีอิทธิพลต่อมวลยางแห้งที่กรีดได้ในแต่ละครั้ง เรียงลำดับความสำคัญจะขึ้นกับจำนวนครั้งที่กรีดในแต่ละเดือน แรงดูดซับไอน้ำบรรยากาศ ปริมาณฝนรายปี และความยาวเส้นรอบวงต้นยาง จำนวนครั้งที่กรีดต่อเดือนที่เหมาะสมคือ 13-15 ครั้ง การให้น้ำมีทั้งผลดีและเสียต่อมวลยางแห้งที่กรีดได้ในแต่ละครั้ง ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกับปริมาณฝนรายปี การให้น้ำจะช่วยให้มวลยางแห้งที่กรีดได้เพิ่มขึ้น 10-35 % ถ้าบริเวณนั้นมีฝนรายปีน้อยกว่า 1300 mm แต่ถ้ามีฝนตกรายปีมากกว่า 1300 mm การให้น้ำจะลดมวลยางแห้งที่กรีดได้ 40 % ผลการทดลองไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันน้ำในเซลล์ใบยางกับมวลยางแห้งที่ กรีดได้ |
ข้อมูลจาก: http://www.ku.ac.th/e-magazine/november46/agri/rubber.html
โฆษนาสินค้าเพิ่มเติม
ฟาร์มเกษตรมีปุ๋ย และสิค้าอื่นๆ ที่เหมาะกับยางพารา ปุ๋ยเม็ดคลิกที่นี่ ปุ๋ยน้ำคลิกที่นี่
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 81838 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
สุมาลี[email protected]
มีอาชีพกรีดยาง เป็นอาชีพที่ลงทุนน้อย ถ้าจ้างกรีดก็จะจ้างแบบรายวัน แล้วแต่ตกลงกัน ถ้าให้เขาจัดการสวนให้ด้วยก็จะแบ่งกัน 50: 50 คือ คนละครึ่ง (ถ้ามีรายได้วันละ 2,000 บาท แบ่งกัน คนละ 1,000 บาท เอง)
27 มิ.ย. 2554 , 07:24 AM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |
ชาติชาย[email protected]อยากปลูกยางแต่ยังไม่ค่อยเข้าใจในการเลือกพื้นที่ที่จะปลูก ใครรู้ช่วยแนะนำบ้างครับ
22 ส.ค. 2553 , 09:59 PM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |
คมสัน สุดสน[email protected]อยากทราบวิธีสังเกตพันธุ์ยางพาราจากลักษณะทางใบจุดเด่นของสายพันธุ์ RM600 กับ RRIT251 และสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกหมายความว่าดินควรเป็นสภาพแบบไหน เช่นดินในภาคอีสาน เป็นต้น ขอบคุณครับ
28 ก.ค. 2553 , 06:42 PM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |
อภิชาติ[email protected]เพิ่มผลผลิตน้ำยาง ใน 3 วัน ต้นไม่โทรม www.farm488.blogspot.com ครับ
06 มิ.ย. 2553 , 08:02 AM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |
สามารถ[email protected]www.paknamlangsuan.com/product
19 เม.ย. 2553 , 02:54 AM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |
มยุรา จันทวงศ์[email protected]กำลังปลูกยางที่ อ.ไชยปราการ คาดว่าประมาณปลายปี 2553 จะกรีดยาง ถ้ากรีดเองจะต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์ เท่าไร มีพื้นที่ 10ไร่ แต่ถ้าต้องการให้ผู้อื่นประมูลกรีดน้ำยาง
ทำสัญญาปีต่อปีควร มีวิธีคิดอย่างไร
06 ส.ค. 2552 , 01:38 AM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |
น้องแตวิดตาหารเทารังสีประชาสรรค์[email protected]ไอ้เวน ไมถึงไม่มีข้อมูลของยางพาราบ้างเลยวะ
ช่วยหาข้อมูลมาหั้ยด้วยจะบ้าอยู่แล้วที่เรียนการงานกับกัลภัทรนะ
ช่วยหนูด้วยนะค่ะ
ขอบคุนค่ะ
01 ก.ค. 2552 , 11:24 PM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |