ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 16889 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ยางรมควันอัดก้อน

ผลสำเร็จจากการที่สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เปิดตลาดซื้อขายยางแบบข้อตกลงส่งมอบจริง..

data-ad-format="autorelaxed">

ยางรมควัน

ผลิต'ยางรมควันอัดก้อน'ยกระดับส่งออก - ส.วิจัยยางยกระดับ 'ตลาดซื้อขายยาง' มุ่งผลิต 'ยางรมควันอัดก้อน' ส่งออก ผลสำเร็จจากการที่สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เปิดตลาดซื้อขายยางแบบข้อตกลงส่งมอบจริง (เกษตรกรชาวสวนยางหันมาใช้บริการตลาดซื้อขายยางแบบข้อตกลงส่งมอบจริง หลังเปิดสถาบันวิจัยยางปลื้มยอดตลาดซื้อขายยางล่วงหน้า หลังเกษตรกรแห่มาใช้บริการคึกคัก เผยต้นปีหน้ามุ่งพัฒนายางแผ่นรมควันอัดก้อนเพิ่ม พร้อมส่งออกตามมาตรฐานสากล หวังรองรับการจัดตั้งตลาดกลางยางระดับภูมิภาคของสภามนตรีไตรภาคียางพาราหรือ ITRC

สุวิทย์ รัตนพงศ์ ผู้อำนวยการตลาดกลางยางพารา จ.นครศรีธรรมราช เผยความคืบหน้าการใช้ระบบตลาดกลางยางพารา โดยวิธีการซื้อขายยางแบบข้อตกลงส่งมอบจริง (Physical Rubber Forward Market) โดยสำนักงานตลาดกลางยางพารา จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งได้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2553 จนถึงวันนี้ได้มีการซื้อขายกันแล้วมากกว่า 1,400 สัญญา ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ปีละ 500 สัญญา มีมูลค่าการซื้อขายรวมมากกว่า 700 ล้านบาท โดยมีการซื้อขายสัปดาห์ละ 2 วัน อังคารและพฤหัสบดีและมีการส่งมอบจริงในวันถัดไปหรือไม่เกินวันที่มีการทำสัญญาในสัปดาห์ถัดไป

"ต้องยอมรับว่าตลาดซื้อขายยางแบบข้อตกลงโดยมีสัญญาล่วงหน้านั้น จะซื้อขายกันอย่างคึกคักก็ต่อเมื่อราคายางมีความผันผวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อราคายางตกต่ำ เกษตรกรก็จะแห่กันเข้ามาซื้อขายในตลาดกันมากขึ้น เพราะเมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายในเรื่องต้นทุนแล้วคุ้มก็จะเทขายทันที แต่หากราคามีความคงที่ไม่ผันผวนมากก็จะหันไปขายในตลาดจริงวันต่อวัน"

ผู้อำนวยการตลาดกลางยางพารากล่าวต่อว่า การพัฒนาตลาดกลางยางพาราโดยวิธีการซื้อขายยางแบบข้อตกลงส่งมอบจริงนั้นเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกรที่จะขายยางได้ตามคุณภาพยาง ทั้งยางแผ่นดิบ และยางแผ่นรมควันแบบไม่อัดก้อน โดยเกษตรกรสามารถเลือกตัดสินใจขายยางรมควันไม่อัดก้อนตามราคาที่ตกลงในวันที่ปัจจุบันและสัญญาที่จะส่งมอบยางตามข้อตกลงภายใน 7 วัน

"ข้อดีของระบบตลาดซื้อขายยางตามข้อตกลงส่งมอบจริง คือมีกระบวนการคัดคุณภาพยางก่อนการขาย และสร้างความมั่นใจในตัวสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกร และสถาบันเกษตรกรหันมาสร้างโรงรมยางแผ่นรมควัน รวมทั้งพัฒนาการผลิตยางแผ่นรมควันจากโรงรมควันยางที่มีอยู่แล้วแต่ดำเนินการผลิตและขายยางในรูปแบบยางแผ่นรมควันแบบไม่อัดก้อน เปลี่ยนเป็นยางแผ่นรมควันอัดก้อนที่พร้อมจะส่งออกในรูปแบบสากล" นายสุวิทย์ กล่าว

ขณะที่ สุจินต์ แม้นเหมือน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตรกล่าวเสริมว่า เพื่อเป็นการรองรับการพัฒนาการผลิตและขายยางแผ่นรมควันแบบอัดก้อนดังกล่าว สถาบันวิจัยยางจึงกำหนดแผนงานโดยมอบหมายให้สำนักงานตลาดกลางยางนครศรีธรรมราช เตรียมการเปิดการซื้อขายยางรมควันอัดก้อนเพิ่มขึ้นจากรูปแบบเดิม ซึ่งจะมีข้อดีทั้งในด้านปริมาณการเสนอซื้อที่ไม่จำกัดปริมาณ และผู้ซื้อและผู้ขายสามารถเสนอราคาซื้อและราคาขายจนกระทั่งได้ราคาที่ตกลงกันด้วยความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย

ทั้งนี้ แผนการดำเนินงานดังกล่าวจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ยางพาราส่งออกของไทย และสอดรับกับการดำเนินการตั้งตลาดกลางยางระดับภูมิภาค (Regional Rubber Market) ของสภามนตรีไตรภาคียางพารา (International Tripartite Rubber council : ITRC) ที่ต้องการให้ตลาดกลางยางพาราตั้งอยู่ในประเทศผู้ผลิต

"สถาบันวิจัยยางได้ลงทุนในเรื่องนี้ไปประมาณ 30 กว่าล้าน ทั้งสร้างอาคารและเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบระบบ คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมดำเนินการได้ประมาณต้นปีหน้า"

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยางกล่าวต่อว่า การเพิ่มช่องทางการซื้อขายยางแผ่นรมควันไม่อัดก้อนไปเป็นยางแผ่นรมควันอัดก้อน ถือเป็นการยกระดับระบบการซื้อขายยางจากปัจจุบันแบบมีข้อตกลงส่งมอบจริง เป็นแบบมีข้อตกลงส่งมอบจริงตามสัญญาที่กำหนด ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางการตลาดเกษตรครั้งแรกของประเทศไทย ที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรกำหนดราคาและควบคุมการขายได้ด้วยตนเอง

"ขณะนี้ทั้ง 3 ประเทศเราได้คุยกันแล้วว่าจะเริ่มพัฒนาตลาดตรงนี้ เพราะมันสะท้อนถึงราคาซื้อขายจริง ยิ่งถ้าเป็นผลิตภัณฑ์แล้วของเราดีที่สุด อย่างยางแผ่นรมควันอัดก้อน ไทยประเทศเดียวที่ผลิต ประเทศอื่นไม่มี นี่คือจุดแข็งของเรา ขณะนี้ส่งเสริมและผลักดันโรงงานอัดก้อนยางที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการส่งออก เข้าสู่ระบบการจัดการ คุณภาพที่ดี หรือจีเอ็มพี (GMP) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบคุณภาพให้แก่ผู้ใช้ยางทั้งภายในและต่างประเทศ"

สุจินต์ ย้ำด้วยว่า ในอนาคตหากสถาบันเกษตรกรที่มีโรงงานอัดก้อนยางทั้ง 146 แห่ง เร่งพัฒนาและยกระดับการผลิตเข้าสู่มาตรฐานจีเอ็มพี เพิ่มมากขึ้น คาดว่าไทยจะสามารถผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการของตลาด เป็นที่ยอมรับของผู้ซื้อและผู้ใช้ยางทั่วโลก

"ผมมั่นใจว่าประเทศไทยคือผู้นำยางทั้งระบบ พันธุ์ยางของเราดีที่สุดในโลก ปริมาณการใช้ ไทยใช้ยางพาราเป็นอันดับ 5 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีนและอินเดีย การตลาดเราก็มีระบบตลาดกลาง ซึ่งก็ไม่มีที่ไหนในโลกอีกที่เราสร้างความเข้มแข็งมาตั้งแต่มาปี 2534 ส่วนผลิตภัณฑ์เราก็มียางแผ่นรมควันอัดก้อน ประเทศอื่นก็ไม่มีเช่นกัน" ผอ.สถาบันวิจัยยางกล่าวทิ้งท้าย

--------------------

ร้องรัฐจัดงบ "โรงรมควันอัดก้อน" มาตรฐาน

อุดมศักดิ์ สุทธิเวทิน ประธานเครือข่ายเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ด้านยางพาราครบวงจรแห่งประเทศไทย กล่าวถึงความพร้อมในการผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนเพื่อการส่งออกให้สถาบันเกษตรกรจำนวน 143 กลุ่ม ในพื้นที่ 19 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์ ตราด จันทบุรี ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล พัทลุง นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จำนวน 146 แห่ง จำแนกเป็นโรงงานผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนขนาด 500 ต้น จำนวน 33 แห่ง ที่เหลืออีก 113 แห่ง เป็นโรงงานขนาด 200 ตัน และได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2547 นั้น ขณะนี้ยังไม่มีความพร้อมในส่วนของกระบวนการผลิต เนื่องจากยังขาดงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานจีเอพี แม้ว่าตัวอาคารจะเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ตาม

"ถ้าถามความพร้อมของเกษตรกร เขาพร้อมมานานแล้ว แต่ตอนนี้โรงผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนทั้ง 146 โรงที่สร้างขึ้นมายังใช้การไม่ได้ เพราะขาดเครื่องมืออุปกรณ์ในกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานจีเอพี ผมก็ของบผ่านทางรัฐมนตรี ณัฐวุฒิ ใสเกื้อ ไปแล้วก็เงียบหาย ของผมที่เดินเครื่องได้ตอนนี้เพราะได้งบพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช มาดำเนินการ ก็เดินเครื่องได้แค่โรงเดียว ผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนได้เดือน 200 ตัน ส่วนโรงอื่นๆ ยังทำอะไรไม่ได้ ขณะที่มีออเดอร์เข้ามาเดือนละประมาณ 1,000 ตันยังส่งให้เขาไม่พอเลย อยากเรียกร้องให้รัฐบาลจัดสรรงบส่วนนี้มาโดยเร็ว เพื่อจะได้ทันรองรับตลาดกลางระดับภูมิภาคที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้" ประธานเครือข่ายเกษตรกรกล่าวย้ำ


อ้างอิง:www..komchadluek.net

 

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 16889 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 8462
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 7567
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 7509
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6689
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7664
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6651
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 7052
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>