data-ad-format="autorelaxed">
การใช้ประโยชน์จากสวนปาล์มน้ำมัน -ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตและเก็บเกี่ยวทะลายได้เมื่อปาล์มอายุ 2.5-3 ปีหลังปลูก ดังนั้น เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันจะไม่มีรายได้จากสวนปาล์มในช่วง 1-2 ปีแรก แต่มีแนวทางในการเพิ่มรายได้ โดยการปลูกพืชอื่นร่วมกับการปลูกปาล์มในพื้นที่ว่างระหว่างแถวปาล์มน้ำมัน อายุ 1-2 ปี ได้แก่ การปลูกผัก พืชล้มลุก หรือพืชอื่นที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ซึ่งนอกจากจะเพิ่มรายได้จากการขายผลผลิตแล้ว การรดน้ำและใส่ปุ๋ยพืชเหล่านี้ต้นปาล์มน้ำมันก็ได้ประโยชน์ด้วย แต่เมื่อ ต้นปาล์มอายุมากขึ้นทางใบปาล์มแผ่เต็มพื้นที่ระหว่างแถวทำให้แสงแดดส่องผ่าน น้อยลงสวนปาล์มร่มขึ้น สามารถเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ใช้แสงน้อยลง เช่น การเพาะเห็ดหรือเกษตรกรบางรายเลี้ยงปลาในร่องระหว่างแถวปาล์มที่มีน้ำไหล เวียนเพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งการปลูกพืชผักและพืชล้มลุกพืชผักหรือพืช ล้มลุกเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรที่ทำสวนปาล์ม น้ำมันในระยะแรกเนื่องจากพืชเหล่านี้ต้องการแสงแดดจัดสำหรับการเจริญเติบโต มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นจึงสามารถปลูกได้ 3-4 ครั้ง ใน 1 ปี และเงินที่ใช้ในการลงทุนไม่มากนัก ต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่ค่าใช้จ่ายในการวางระบบน้ำในครั้งแรกประมาณ 6,000-7,000 บาทต่อไร่ ซึ่งเมื่อคำนวณต้นทุนในครั้งแรก (ค่าไถพรวน ค่าระบบน้ำ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยและสารเคมี) มีค่าใช้จ่าย 10,000-15,000 บาท ผักที่นิยมปลูกได้แก่ ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือ คะน้า กวางตุ้ง พริก เป็นต้น ในกรณีปลูกถั่วฝักยาวเกษตรกรจะมีรายได้จากการขายผลผลิตประมาณ 30,000-40,000 บาทต่อไร่ต่อครั้ง ซึ่งโดยทั่วไปจะมีกำไรจากการปลูกผักแต่ละชนิดไร่ละ 10,000-15,000 บาทต่อครั้ง
การลูกผักและพืชล้มลุก
นอกจากนี้ก็ในบางพื้นที่ ยังมีการปลูกแตงโมสลับกับการปลูกข้าวโพดหวานในแปลงปาล์มน้ำมันอายุ 0-2 ปีหลังย้ายปลูก โดยสามารถปลูกแตงโมได้ 3 ครั้งใน 1 ปี คือ
ช่วงแรกปลูกเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมและเก็บเกี่ยวในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
ช่วงที่สองเดือนมีนาคม-เมษายนและเก็บเกี่ยวในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
สุดท้ายเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมและเก็บเกี่ยวเดือนกันยายน-ตุลาคม
โดยทั่วไปจะสลับปลูกข้าวโพดช่วงที่ 2 เพื่อพักแปลง และช่วงเดือนพฤษภาคม- มิถุนายนแตงโมราคาถูก เนื่องจากผลไม้หลายชนิดให้ผลผลิตในช่วงนี้
การปลูกแตงโมมีต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง โดยมีต้นทุนการผลิต 12,500 บาทต่อไร่ (ค่ารถไถพรวน 250 บาท ค่ายกร่อง 150 บาท ค่าวางระบบน้ำหยด 2,500 บาท ค่าพลาสติกคลุมแปลง 1,500 บาท ค่าจ้างคลุมพลาสติก 200 บาท ค่าเมล็ดพันธุ์ 2,000 บาท ค่าจ้างย้ายกล้า 100 บาท ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี 2,300 บาท สารป้องกันกำจัดเชื้อรา แมลง และยาผสมเทียม 1,300 บาท) ซึ่งพื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกแตงโมได้ 600 หลุม ระยะปลูก 60 x 60 เซนติเมตร
การปลูกแตงโมร่วมกับปาล์มให้ผลผลิต 6,000-6,500 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรจะมีรายได้จากการขายผลผลิตไร่ละประมาณ 32,000-58,000 บาท (ราคารับซื้อที่ 6 และ 9 บาท) ซึ่งจะเห็นได้ว่าการปลูกแตงโมมีกำไรค่อนข้างสูง แต่เนื่องจากราคารับซื้อไม่แน่นอนส่งผลให้เกษตรกรมีความเสี่ยงในการปลูก
การปลูกข้าว
ในกรณีที่ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่นาเดิมหรือนาร้าง ซึ่งสภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่มและมีน้ำสำหรับใช้เพาะปลูกข้าว และพื้นที่ดังกล่าวมีน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนประมาณ 7-10 วัน เกษตรกรสามารถปลูกข้าวร่วมกับการทำสวนปาล์มน้ำมันในช่วงที่ปาล์มน้ำมันอายุ 1-2 ปีแรกหลังย้ายปลูก โดยสามารถปลูกข้าวปีละ 2 ครั้ง คือ
ช่วงเดือนมกราคม-เมษายน และ เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม
พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกได้แก่ พันธุ์ชัยนาท และ กข 7 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีอายุุเก็บเกี่ยว 3 เดือน
ขั้นตอนในการปลูกเริ่มจากการยกร่องหรือพูนโคนเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันโดยใช้ ระยะปลูก 9 x 9 เมตร และทำการปลูกปาล์มน้ำมัน เมื่อถึงฤดูทำนาจึงเตรียมพื้นที่นา โดยไถพรวนพื้นที่ระหว่างแถวปาล์มและปล่อยน้ำเข้า จากนั้นจึงหว่านเมล็ด พันธุ์ข้าวดูแลและใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ จนกระทั่งเก็บเกี่ยวรวงข้าวเมื่อถึงระยะสุกแก่ทางสรีรวิทยา ซึ่งผลผลิตข้าวที่ได้ประมาณ 80 ถังต่อไร่ (ถ้าไม่มีสวนปาล์มจะได้ผลผลิต 90 ถังต่อไร่)
จากการคำนวณต้นทุนการผลิตข้าว พบว่า ในพื้นที่ 10 ไร่ ถ้าปลูกข้าวร่วมกับปาล์มน้ำมันได้ผลผลิตข้าว 8 เกวียน คิดเป็นจำนวนเงิน 72,000 บาท (ข้าวเกวียนละ 9,000 บาท) เมื่อลบกับต้นทุนการผลิต 21,000 บาท (ค่ารถไถพรวนไร่ละ 600 บาท ค่ารถเก็บเกี่ยวไร่ละ 600 บาท และค่าปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 จำนวน 1 กระสอบต่อไร่ ราคา 900 บาทต่อกระสอบ) เกษตรกรจะมีรายได้จากการปลูกข้าว 102,000 บาทต่อปี
ซึ่งเกษตรกรสามารถปลูกข้าวร่วมกับปาล์มน้ำมันจนกระทั่งปาล์มอายุ 2 ปี จากนั้นจึงทำการไถพลิกดินยกร่องปาล์มน้ำมันให้สูงขึ้นปัญหาที่พบคือใน ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวรถเก็บเกี่ยวข้าวทำงานไม่สะดวก
การเพาะเห็ดฟาง
การเพาะเห็ดฟางนอกจากจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ววัสดุที่ใช้ในการเพาะเห็ดฟาง คือทะลายปาล์มเปล่าสามารถใช้คลุมโคนปาล์มเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุ
ให้แก่แปลงปาล์มน้ำมันอีกทางหนึ่ง ขั้นตอนในการผลิตเริ่มจากกองทะลายปาล์มและรดน้ำให้ชุ่ม ใช้ผ้ายางคลุมกองทะลายปาล์มอบไว้ 5-7 วัน จากนั้นวางทะลายปาล์มเรียงเป็นแถวให้ชิดกัน (กว้าง 0.75 เมตร ยาว 6-8 เมตร) รดน้ำ และโรยเชื้อเห็ดให้ทั่ว เปิดระบายความร้อน จากนั้นประมาณ 10 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวเห็ดฟางได้ เก็บผลผลิตทุกวันจนเก็บเกี่ยวหมดประมาณ 15 วัน และจากการคำนวณต้นทุนการผลิตเห็ดฟาง พบว่า ในพื้นที่ 1 ไร่ ได้เงินจากการขายผลผลิตเห็ดฟาง 13,500-15,000 บาทต่อเดือน เมื่อลบกับต้นทุนการผลิตประมาณ 4,500 บาท (ค่าทะลายปาล์มเปล่า 900 บาท ค่าหัวเชื้อเห็ด 2,040 บาท ค่าแป้งข้าวเหนียว 90 บาท ค่าอาหารเสริม 450 บาท และค่าผ้าพลาสติกสีดำ 1,000 บาท) เกษตรกรจะมีรายได้จากการเพาะเห็ดฟางประมาณ 9,000-10,000 บาทต่อเดือน
การเลี้ยงปลา
การเลี้ยงปลาหรือการเลี้ยงปลาในกระชังในสวนปาล์มน้ำมันเหมาะกับแปลงปาล์มน้ำมันที่มีน้ำตลอดทั้งปี หรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งปลาส่วนใหญ่ที่นิยมเลี้ยงกันได้แก่ ปลาทับทิมและปลานิลจิตรลัดดา ซึ่งต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่การปรับพื้นที่สำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน และการเตรียมบ่อให้มีระบบน้ำไหลเวียนระหว่างแถวปาล์ม โดยปลูกปาล์มระยะปลูก 9 x 9 เมตร ปลูก 2 แถวคู่ และขุดบ่อลึก 2 เมตรกว้างประมาณ 4 เมตร ระหว่างแถวปาล์ม และมีทางระบายน้ำเชื่อมต่อในแต่ละบ่อสลับหัวท้าย เพื่อให้น้ำไหลเวียนทั่วทั้งสวน ซึ่งการปรับพื้นที่ขนาด 10 ไร่ มีค่าใช้จ่ายประมาณ 110,000 บาท ในพื้นที่ 10 ไร่ สามารถเลี้ยงปลาในกระชังได้ทั้งหมด 50 กระชัง (แถวละ 5 กระชัง) โดยไม่ทำให้ ้น้ำเสีย กระชังขนาด 3 x 3 เมตร สามารถเลี้ยงปลาได้ 400-450 ตัว
จากการคำนวณ ต้นทุนการเลี้ยงปลาในพื้นที่ 10 ไร่ มีค่าใช้จ่ายทั้งหมด จำนวน 370,500 บาท (ค่าใช้จ่ายในการปรับพื้นที่ 110,000 บาท ค่าไม้ไผ่่กระชังละ 4 ลำ ลำละ 10 บาท จำนวน 2,000 บาท ค่าตาข่ายทำกระชัง 17,500 บาท ค่าลูกปลา จำนวน 450 ตัวต่อกระชัง 18,000 บาท ค่าอาหารปลา 153,000 บาท (อาหารปลา อายุ 1 เดือน 20 กิโลกรัม ต่อวัน x 30 วัน กระสอบละ 900 บาท จำนวน 27,000 บาท ค่าอาหารปลาเล็ก กระสอบละ 400 บาท จำนวน 72,000 บาทค่าอาหารปลาใหญ่ วันละ 3 กระสอบ กระสอบละ 300 บาท 54,000 บาท) ค่าแรงงาน จำนวน 2 คน คนละ 7,000 ต่อเดือน x 5 เดือน จำนวน 70,000 บาท) ซึ่งค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินค่อนข้างสูง แต่เมื่อเทียบกับจำนวนเงินที่ได้ จากการขายปลาที่เลี้ยงไว้ 5 เดือน (ปลาหนักประมาณ 6-7 ขีด) พบว่ากระชังหนึ่งได้น้ำหนักปลาประมาณ 300 กิโลกรัม x 50 บาท/กิโลกรัม x 50 กระชังเป็นเงิน 750,000 บาท
ดังนั้นเกษตรกรได้กำไรประมาณ 379,500 บาท ซึ่งในรอบต่อไปของการเลี้ยงจะได้กำไรถึง 509,000 บาท และเกษตรกรยังได้รายได้้อีกส่วนหนึ่งจากสวนปาล์มน้ำมัน ปัญหาที่พบในการเลี้ยงปลาในกระชัง คือ ค่าใช้จ่ายในส่วนค่าอาหารค่อนข้างสูง อาหารปลามีราคาแพง ปลาตาย เนื่องจากการจัดการไม่ดีทำให้น้ำเสีย และปัญหาทางด้านสังคมมีการขโมยปลา ส่วนการขายผลผลิตปลาที่ได้ไม่มีปัญหา เนื่องจากมีพ่อค้ามาซื้อถึงบ่อโดยตรง
อ้างอิง : www.kasetloongkim.com