ปรับโครงสร้างสวนปาล์มน้ำมัน
ปาล์มน้ำมัน เป็นสินค้าเกษตรหนึ่งใน 23 รายการสินค้าอ่อนไหว ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
data-ad-format="autorelaxed">
ปาล์มน้ำมัน เป็นสินค้าเกษตรหนึ่งใน 23 รายการสินค้าอ่อนไหว ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ซึ่งมีผลบังคับให้ประเทศไทยต้องยกเลิกโควตาและลดภาษีนำเข้าปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มตามที่ผูกพันไว้เหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ดังนั้น ถ้าเกษตรกรไทยไม่มีการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน อาจจะสู้กับประเทศอื่นอย่างประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียน ที่มีศักยภาพการผลิตที่สูงกว่าค่อนข้างยาก โดยเฉพาะหากมีการนำเข้าน้ำมันปาล์มจากประเทศเหล่านี้ที่มีราคาต่ำกว่าเข้ามาแข่งขันกับน้ำมันปาล์มที่ผลิตได้ภายในประเทศ จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 แสนครัวเรือน อีกทั้งกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มทั้งระบบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า ปาล์มน้ำมันเป็นสินค้าเกษตรที่ได้มีการวิเคราะห์ไว้ว่า จะได้รับผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรชาวสวนปาล์มให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ในยุคการค้าเสรี โดยอาศัยกลไกของกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ หรือ กองทุน FTA ที่จะเข้ามาช่วยในการสนับสนุนเงินทุนในการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร สนับสนุนปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตของเกษตรกรให้สามารถสร้างโอกาสทางการแข่งขันได้ดียิ่งขึ้น
พร้อมกันนี้ ยังได้สนับสนุนด้านการถ่ายทอดความรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเกษตรกรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพการผลิตให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลกองทุน FTA จึงพยายามหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรที่จะได้รับผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรีอย่างเต็มที่ ล่าสุดได้จัด การสัมมนากองทุน FTA ทางรอด ทางเลือก สินค้าปาล์มน้ำมัน โดยได้เชิญตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ตลอดจนชี้แจงแนวทางที่กองทุน FTA กำลังจะดำเนินการในด้าน การ ปลูกปาล์มพันธุ์ดีทดแทนสวนปาล์มเก่า
สวนปาล์มเก่าที่มีอายุกว่า 20 ปี ไม่เพียงแต่จะเพิ่มต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรเท่านั้น ยังให้ผลผลิตที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งพันธุ์ปาล์มที่ใช้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมายังไม่มีคุณภาพ ดังนั้น กองทุน FTA จึงเตรียมสนับสนุน งบประมาณ 100 ล้านบาท เพื่อดำเนินการส่งเสริมปลูกปาล์มพันธุ์ดีทดแทนสวนปาล์มเก่า โดยมีเป้าหมายดำเนินการในพื้นที่ 30,000 ไร่ ใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร ตรัง และสตูล ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันให้แก่เกษตรกร เนื่องจากปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตสูงในช่วงอายุ 8-12 ปี หลังจากอายุ 15 ปีจะให้ผลผลิตลดลงต้นปาล์มมีความสูงยากในการเก็บเกี่ยว ทำให้ต้นทุนสูง ซึ่งตามหลักวิชาการแล้วเมื่อต้นปาล์มมีอายุมากกว่า 20 ปี ควรตัดทิ้งเนื่องจากต้นปาล์มโทรมและให้ผลผลิตต่ำ อย่างไรก็ตาม จากการสัมมนาครั้งนี้เกษตรกรให้ความสนใจและมีการตอบรับในการเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างดี
แม้ว่ากองทุน FTA จะมีหน้าที่ในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรีก็ตาม แต่สิ่งที่อยากจะฝากถึงเกษตรกรคืออยากให้เกษตรกรช่วยเหลือตัวเอง ด้วยการรักษามาตรฐานการผลิตให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด โดยในส่วนของปาล์มน้ำมันนั้น ขอให้เกษตรกรตัดผลที่มีคุณภาพในช่วงที่เหมาะสม โดยเฉพาะควรให้มีเปอร์เซ็นต์น้ำมัน 17% ขึ้นไป เพื่อให้ท่านสามารถจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาที่ดี ไม่ถูกกดราคา อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
อ้างอิง :
http://www.dailynews.co.th/
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 50766 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
เลือกหมวด :
แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด,
สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,