data-ad-format="autorelaxed">
กุ้งก้ามแดงลอกคราบ
สำหรับผู้เลี้ยงเครฟิชส่วนใหญ่มักจะเฝ้ารอว่าเครฟิชที่เลี้ยงอยู่จะลอกคราบเมื่อไร มีคำถามอยู่บ่อยในเวปบอร์ดว่าทำเครฟิชของตนไม่ลอกคราบเสียที
บ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดคือ ฮอร์โมนเร่งการลอกคราบ กับฮอร์โมนยับยั้งการลอกคราบ ฮอร์โมนทั้งสองนี้จะทำงานควบคู่กับไป และมีการควบคุมซึ่งกันและกันไปตามระยะของการลอกคราบและปัจจัยต่างๆ
ผมขอยกปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการลอกคราบ ซึ่งจะแบ่งเป็นข้อๆ ดังนี้
1. อุณหภูมิน้ำ เครฟิชเป็นสัตว์เลือดเย็น ซึ่งธรรมชาติของสัตว์เลือดเย็น เวลาอุณหภูมิในสภาพแวดล้อมลดลง อย่างในช่วงฤดูหนาว ในเขตอบอุ่น เช่นในทวีปยุโรป ในธรรมชาติเครฟิชก็จะนอนนิ่งๆ ไม่ไหวติงในโคลน และในช่วงนี้มันก็จะไม่ลอกคราบเด็ดขาด คือเข้าสู่ภาวะการ 'จำศีล' นั่นเอง ช่วงนี้กระแสเลือดก็จะมีฮอร์โมนยังยั้งการลอกคราบอยู่สูง
2. อายุหรือขนาดของเครฟิช เครฟิชเป็นสัตว์ที่จะเติบโตขึ้น โดยวัดจากรอบของการลอกคราบ สำหรับเครฟิชอายุน้อยก็จะลอกคราบถี่หน่อย เพื่อเจริญเติบโต แต่สำหรับเครฟิชที่โตเต็มวัยตามสายพันธุ์แล้ว ความถี่ของการลอกคราบก็จะลดลงเป็นประมาณปีละครั้ง ซึ่งแตกต่างจากเครฟิชวัยเด็ก ที่ลอกคราบบ่อยๆ เป็นรายวันเลยทีเดียว
3. ปริมาณแร่ธาตุและสารอาหารที่สะสมไว้ในตัว ในระหว่างกระบวนการลอกคราบเครฟิชต้องใช้โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตในปริมาณสูง และต้องสะสมไว้อย่างเพียงพอ เพราะในระหว่างกระบวนการลอกคราบเครฟิชจะไม่กินอาหาร เมื่อสะสมอาหารไว้อย่างเพียงพอแล้ว ฮอร์โมนเร่งการลอกคราบก็จะสูงในกระแสเลือด
4. เครฟิชเพศเมียที่ผสมพันธุ์แล้ว จะไม่ลอกคราบจนกว่าลูกๆ จะฟักเป็นตัว ช่วงนี้กระแสเลือดก็จะมีฮอร์โมนยังยั้งการลอกคราบอยู่สูง
5. เครฟิชที่ถูกพาราสิตเกาะ ก็ไม่ลอกคราบ หรือลอกคราบช้า หรือลอกลอกคราบไม่สมบูรณ์ได้ เพราะถูกพาราสิตดึงสารอาหารไปใช้จนไม่สามารถสะสมสารอาหารและแร่ธาตุไว้ได้ (ข้อนี้จะสัมพันธ์กับข้อ 3. ที่ได้กล่าวมาแล้ว)
6. เครฟิชที่สูญเสียรยางค์ต่างๆ เช่น ก้าม หรือขา ยิ่งจำนวนรยางค์ที่สูญเสียยิ่งมากก็ยิ่งจะไปกระตุ้นให้เร่งสร้างฮอร์โมนกระตุ้นการลอกคราบ เห็นได้ชัดเจนในเครฟิชที่สูญเสียรยางค์มากกว่า 4 ชิ้นขึ้นไป จะลอกคราบเร็วอย่างมากเมื่อเทียบกับภาวะปกติ ในขณะเดียวกันก็จะเข้าสู่กระบวนการงอกใหม่ (Autotomy) เพื่อสร้างรยางค์ทดแทน ซึ่งเครฟิชมักจะสูญเสียรยางค์จากการต่อสู้กันเองเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะถูกตัดขาด หรือสลัดรยางค์เพื่อลดการสูญเสียก็เกิดขึ้นได้เสมอๆ หากการเครฟิชรวมกัน และไม่มีที่หลบซ่อนอย่างเพียงพอ หรือในกรณีที่ลอกคราบได้ไม่สมบูรณ์ก็เป็นเหตุให้สูญเสียรยางค์ได้เช่นกัน
การลอกคราบไม่สมบูรณ์ ส่วนใหญ่มักเกิดกับเครฟิชที่โตเต็มที่ ซึ่งมักมีก้ามขนาดใหญ่ ทำให้สลัดเปลือกได้ยากกว่า บางครั้งการดีดตัวออกจากเปลือกก็ทำให้ก้ามขาดได้ ในกระบวนการงอกใหม่จะสร้างรยางค์ขึ้นมาใหม่ แต่ขนาดจะเล็กกว่าเดิม และต้องอาศัยการลอกคราบหลายครั้งจึงจะมีขนาดเท่าเดิม
credit: aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=205364.0