data-ad-format="autorelaxed">
เลือดสีฟ้า เป็นเลือดของสิ่งมีชีวิตที่มีอายุรุ่นเดียวกับไดโนเสาร์ หรืออาจเก่ากว่า เราใช้เลือดสีฟ้าอันเก่าแก่มาช่วยชีวิตมนุษย์มาแล้วนับไม่ถ้วน และเจ้าของเลือดสีฟ้าดังกล่าวก็คือ แมงดาทะเลนั่นเอง
บริษัทชีวการแพทย์ต้องพึ่งพาแมงดาทะเลมาหลายสิบปีแล้ว โดยใช้เลือดของพวกมันในการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียอันตรายที่อาจปนเปื้อนอยู่ในวัคซีน สารน้ำที่ให้ทางหลอดเลือดดำ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ
ทั้งนี้เนื่องจากโปรตีนในเซลล์จะทำหน้าที่เหมือนระบบภูมิคุ้มกันดั้งเดิม เลือดของแมงดาทะเลจึงจับตัวกันเป็นก้อนทันทีเมื่อสัมผัสกับจุลชีพก่อโรคอย่างเชื้อ อี.โคไล และ แชลโมเนลลา
ตัวทดสอบซึ่งสกัดจากโปรตีนที่ได้จากเลือดแมงดาทะเลมีคุณสมบัติไวต่อสิ่งเร้าเป็นพิเศษ จนสามารถตรวจจับเชื้อแบคทีเรียปริมาณน้อยนิด เพียงหนึ่งในล้านล้านส่วน หรือเทียบได้กับเกล็ดน้ำตาลในสระว่ายน้ำขนาดมาตรฐานทั้งสระ
ในเซาท์แคโรไลน่า แมงดาทะเลจะถูกจับมาเพื่อเจาะเอาเลือดสำหรับนำไปใช้ในการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย โดยแมงดาทะเลแต่ละตัวจะถูกเจาะเลือดราวร้อยละ 20 ก่อนปล่อยกลับสู่ทะเล
ในแต่ละปี แมงดาทะเลราว 500,000 ตัว จะถูกจับตามแนวชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ ภายใต้ข้อบังคับระหว่างรัฐ
ในห้องปฏิบัติการ เลือดแมงดาทะเลจะถูกดูดออกมาจากอวัยวะโบราณที่เทียบได้กับหัวใจ
อัตราการตายของแมงดาทะเลที่ได้รับการปล่อยกลับสู่ทะเลหลังถูกนำมาเจาะเลือดอยู่ที่ร้อยละ 15
เลือดสีฟ้าเกิดจากทองแดงในโปรตีนที่นำพาออกซิเจน หรือฮีโมไซยานิน (เช่นเดียวกับฮีโมเกลบินในเลือดมนุษย์) ที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบหลัก
ปัจจุบัน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน กำลังพิจารณาอีกวิธีหนึ่งซึ่งใช้โมเลกุลสังเคราะห์ที่เลียนแบบเปปไทด์ต้านจุลชีพ ที่พบบนผิวหนังของกอบพันธุ์แอฟริกัน หากวิธีดังกล่าวมีประสิทธิภาพเทียบเท่าการตอบสนองอันฉับไวของสิ่งมีชีวิตอายุหลายล้านปีได้ ก็น่าจะช่วยแบ่งเบาภาระของแมงดาทะเลได้บ้าง
ท้ายนี้ต้องขอขอบคุณแมงดาทะเล สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่ยังคงอยู่คู่กับโลกของเรา และให้ประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ทางการแพทย์มาเป็นเวลานาน ทั้งหมดก็เพื่อพวกเราทุกคน
ข้อมูลจาก postjung.com/680476.html