ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 145231 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เห็ดเข็มทอง

เห็ดเข็มทอง (Flammulina velutipes (Curt, ex Fr.) Sing.) พบขึ้น ทั่วไปในเขตหนาว เช่น จีน ญี่ปุ่น อเมริกา และออส...

data-ad-format="autorelaxed">

เห็ดเข็มทอง

ประวัติความเป็นมาของ เห็ดเข็มทอง

เห็ดเข็มทอง (Flammulina velutipes (Curt, ex Fr.) Sing.)

พบขึ้น ทั่วไปในเขตหนาว เช่น จีน  ญี่ปุ่น  อเมริกา  และออสเตรเลีย  ชอบขึ้นกับไม้ที่
ตายแล้วและออกดอกในช่วงฤดูหนาว  ชาวบ้านจึงนิยมเรียกเห็ดชนิดนี้ว่า เห็ดเหมันต์ (Winter mushroom)

ดอกเห็ดใน ธรรมชาติมีสีเหลือง – ส้ม  น้ำตาล – แดง  หมวกเล็ก


เห็ดเข็มทอง

การเพาะเห็ดเข็มทอง

ชาวญี่ปุ่นรู้จักรับประทานเห็ดชนิดนี้มานานหลายศตวรรษ  จนสามารถเพาะเห็ดจากท่อนไม้แทนการเก็บเห็ดจากป่า  และได้รับการศึกษาค้นคว้าต่อจนถึงปี พ.ศ. 2471  Morimoto  ก็พบวิธี การเพาะเห็ด จากขี้เลื่อย  และพัฒนาเรื่อยมาจนสามารถเพาะเห็ดเข็มทองได้ตลอดทั้งปี ภายใต้การควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  พร้อมกันนี้ก็ได้ผสมพันธุ์ใหม่ๆ  เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะดีตามต้องการ เช่น ดอกเห็ดสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน  เจริญเติบโตดี ออกดอกง่าย ผลผลิตสูง มีอายุการตลาดอยู่ได้นาน  ดังเช่นสายพันธุ์ที่ใช้เพาะกันอยู่ทุกวันนี้

ความเป็นมาของเห็ดเข็มทอง และ การเพาะเห็ด ในประเทศไทย

    อัจฉรา และสุภาวดี (2535) รายงานว่า กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร โดยอาจารย์ดารา พวงสุวรรณ อดีตผู้เชี่ยวชาญพิเศษกรมวิชาการเกษตร ซึ่งได้เดินทางไปดูงาน การเพาะเห็ด เข็มเงินที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนกันยายน
    พ.ศ. 2534 พร้อมกับนำเชื้อพันธุ์เห็ดเข็มเงินเข้ามา ได้ดําเนินการเพาะเลี้ยง ณ กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร ผลการทดลองมีแนวโน้มที่มีความเป็นไปได้ที่จะเพาะเลี้ยงเห็ดชนิดนี้ได้ใน ประเทศไทย หากได้มีการพัฒนาวิธีการเพาะและห้องเพาะเลี้ยง ให้มีสภาพเหมาะสมคุ้มค่ากับการลงทุน
   
การจําแนกเห็ดเข็มทอง
 
ชื่อวิทยาศาสตร์             Flammulina velutipes Karst.
ชื่อ สามัญ                  เห็ดเข็มเงิน , เห็ดเข็มทอง (Golden needle mushroom, Velvet stem collybia,Velvet agaric, Winter mushroom, Enoki, Enokitake หรือ The Golden Mushroom)

Subdivision Basidiomycotina
Class Hymenomycetes
Subclass Holobasidiomycetidae
Order Agaricales (Agarics)
Family Trichlomataceae
Genus Flammulina
Specie Flammulina velutipes

เห็ดเข็มทอง

ชื่อ วิทยาศาสตร์      (Flammulina velutipes (Curt, ex Fr.) Sing.)
ชื่อสามัญ              (ไทย)     เห็ดเข็มทอง
                        (อังกฤษ) Enokitake หรือ  Golden  Mushroom

ชื่อ เชื้อที่บริการ เห็ดเข็มทอง เบอร์ 1 มีลักษณะเส้นใยสีขาว บางส่วนเปลี่ยนเป็นสีเหลือง-น้ำตาล เมื่ออายุมากกว่า 45 วัน เจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 22-26 องศาเซลเซียส ดอกเป็นกลุ่ม ก้านยาว 6-12ซม. หมวกดอกมีขนาดเล็ก 0.5-1.5 ซม. สีของก้านส่วนล่างจะมีสีน้ำตาลดำและอ่อนลงเป็นสีเหลืองจนถึงหมวกดอก ให้ผลผลิตได้ดีที่อุณหภูมิ 8-18 องศาเซลเซียส


ลักษณะประจำพันธุ์ ดอกเห็ดมี ลักษณะเป็นกลุ่ม หมวกดอกโค้งนูนลง สีเหลืองทอง
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-5 ซม. ก้านดอกสีเหลือง โคนก้านสีน้ำตาลเข้มดำ ก้านยาว 3-12 ซม. พิมพ์สปอร์ (Spore print) สีขาว สปอร์รูปไข่ปลายมนสีขาว ขนาด 5-8 X 3-4 ไมครอน


การเพาะเห็ด - ลักษณะการเจริญเติบโต

ระยะเส้นใย เส้นใยเจริญบนอาหาร พี ดี เอ มีสีขาวและเต็มจานแก้วเลี้ยงเชื้อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 ซม.ในเวลาประมาณ 10 วัน ที่อุณหภูมิ 23±3 องศาเซลเซียส เส้นใยเจริญได้ในที่มืด ดอกเห็ดเกิดบน พี ดี เอ ได้เมื่อเส้นใยอายุ 45±10 วัน และต้องมีแสงสว่าง
 
ระยะ หัวเชื้อ เส้นใยเจริญเต็มเมล็ดข้าวฟ่างนึ่งฆ่าเชื้อ (100 กรัม) ในเวลาประมาณ 12 วัน ที่อุณหภูมิ 23±3 องศาเซลเซียส

ระยะบ่มเชื้อ เส้นใยเจริญเต็มที่อาหารผสมขี้ เลี่อย (600 กรัม) ในเวลาประมาณ 45 วัน ที่อุณหภูมิ 23±3 องศาเซลเซียส

ระยะออกดอก เห็ดออกดอกเก็บได้ 3-4 ครั้งภายใน 2 เดือน ที่อุณหภูมิ 13±3 องศาเซลเซียส ต้องการแสงสว่าง ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95%

ผลผลิตเฉลี่ย  50-150 กรัม (น้ำหนักอาหารผสมขี้เลื่อย 600 กรัม)

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเห็ด การเพาะเห็ด ให้ได้ผลผลิต

1.โรงเพาะ
โรงเรือนสำหรับ การเพาะเห็ด เข็มทองที่ดีจะต้องสร้างแบบห้องเย็น  ภายใต้หลังคา
สามารถ ควบคุมอุณหภูมิ  ความชื้น  อากาศและแสงสว่างได้ดี  มีพื้นที่สำหรับกองขี้เลื่อย  และติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ  เช่น เครื่องผลิตไอน้ำ  ตู้อบฆ่าเชื้อ  เครื่องมือต่างๆ  และควรมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองในกรณีไฟฟ้าดับด้วย

2.การเตรียมเชื้อสำหรับ การเพาะเห็ด
เชื้อเห็ดสายพันธุ์ที่ตลาดนิยม  เลี้ยงเชื้อบริสุทธิ์ในอาหารวุ้น PDA หรือ PDYA  ที่อุณหภูมิ 20 – 25 องศาเซลเซียส  แล้วจึงขยายเชื้อลงในเมล็ดข้าวฟ่างหรือขี้เลื่อยผสมรำ 10 เปอร์เซ็นต์  ใช้เป็นหัวเชื้อ

3.การเตรียมวัสดุสำหรับ การเพาะเห็ด
 วัสดุเพาะที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ  ขี้เลื่อยผสมรำละเอียด 10 – 20 เปอร์เซ็นต์  นอกจากนี้อาจจะผสมแกลบ 5 – 10 เปอร์เซ็นต์  และอาหารเสริมอื่นๆ  ตามความเหมาะสมของเชื้อเห็ดแต่ละสายพันธุ์  ขี้เลื่อยควรรดน้ำกองทิ้งไว้จนน้ำที่ไหลซึมออกมามีใส ในระหว่างกองหมักน้ำควรกลับกองเพื่อความสม่ำเสมอในการชะล้างยางไม้ออกจากขี้ เลื่อย  เสร็จแล้วกองให้สะเด็ดน้ำเพื่อเตรียมใช้งานต่อไป  ส่วนผสมของวัสดุเพาะควรมีความชื้นอยู่ระหว่าง 58 – 62 เปอร์เซ็นต์

3.1.การเตรียมอาหารวัสดุ ที่ใช้ผสมเป็นอาหารสำหรับ การเพาะเห็ด เข็มเงินประกอบด้วย

              - ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 75 กิโลกรัม
              - รําละเอียด 20 กิโลกรัม
              - ข้าวโพดบด 5 กิโลกรัม
              - นํ้า 60 กิโลกรัม

วัสดุทั้งหมดนี้นำมาคลุกให้เข้ากันอย่างดีจะมี ความชื้น 60-65 % นำอาหารที่เตรียมแล้วนำไปบรรจุในถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 7 x 12 นิ้ว อาจบรรจุในพลาสติกได้อัดให้แน่นจะได้ปริมาณอาหารถุงละ 600 กรัม (วิธีบรรจุ เช่น เดียวกับการเตรียมถุงอาหารเห็ดโดยทั่วไป) ใส่คอขวด (พลาสติก) ปิดจุกสำลี แล้วหุ้มด้วยกระดาษป้องกันสำลีเปียก

4.ภาชนะที่ใช้ใน การเพาะเห็ด
 นิยมใช้ขวดพลาสติกทนความร้อนสูง  มีลักษณะทั่วไปโดยประมาณดังนี้
ความจุ 1 ลิตร  ปากกว้าง 6 เซนติเมตร  ใส่วัสดุเพาะหมัก 750 กรัม  บรรจุขี้เลื่อยด้วยเครื่องบรรจุ  พร้อมทั้งอัดและเจาะรูตรงกลางโดยอัตโนมัติ  ปิดปากขวดด้วยฝาพลาสติกแบบมีที่กรองอากาศ

5.การอบฆ่าเชื้อใน การเพาะเห็ด
  อบฆ่าเชื้อขวดขี้เลื่อยที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส  เป็นเวลา 4 ชั่วโมง  จากนั้น
จึงเพิ่มอุณหภูมิเป็น 120 องศาเซลเซียส  หรือจะอบที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส  เป็นเวลานาน     2 ชั่วโมง  ก็ได้  ระหว่างที่อบฆ่าเชื้อต้องระวังอย่างให้น้ำไหลเข้าไปในขวดขี้เลื่อย  จะทำให้ความชื้นสูงเกินไป  เชื้อเห็ดจะเจริญเติบโตได้ไม่ดี หรือเรียกอีกอย่างว่าการนึ่งอาหาร ถุงอาหารขี้เลื่อยผสมที่เตรียมไว้แล้วนี้ นําไปผ่านการฆ่าเชื้อ โดยนึ่งในหม้อนึ่งไม่อัดความดัน อุณหภูมิประมาณ 100  ํC เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หรือนึ่งด้วยหม้อนึ่งอัดความดัน อุณหภูมิประมาณ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง

6.การใส่เชื้อ
          เมื่ออบฆ่าเชื้อเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ทิ้งขวดขี้เลื่อยให้เย็นประมาณ 20 องศาเซลเซียส  จึงจะใส่เชื้อ  การเพาะเห็ด แบบอุตสาหกรรมจะต้องใช้เครื่องมือเป็นส่วนใหญ่  การใส่เชื้อก็เช่นกันจะใส่ด้วยเครื่องโดยใช้เชื้อที่ทำจากขี้เลื่อย  ใส่ในอัตราส่วนประมาณ 15 กรัมต่อขวด  หรือเชื้อ 1 ขวด  ต่อวัสดุเพาะ 50 ขวด หรือใส่เชื้อเห็ดที่เจริญในเมล็ดข้าวฟ่างถุงละ 15-20 เมล็ด

7.การบ่มเชื้อ
           นำขวดเพาะที่ใส่เชื้อเห็ดไปตั้งไว้ในห้องที่อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 18 – 20 องศาเซลเซียส  ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิภายในขวดขี้เลื่อยเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด  ใช้เวลา 25 – 30 วัน  เชื้อก็เจริญเต็มขวด

8.การสร้างตุ่มดอก
           เมื่อเชื้อเจริญเต็มขวด  ให้เปิดฝาออกแล้วใช้เหล็กปลายแบนงอเหมือนช้อนขุดเอาส่วนหน้าหรือส่วนที่เป็น เชื้อขี้เลื่อยออกให้หน้าเรียบ (ฟาร์มเห็ดใหญ่ๆ  จะใช้เครื่องแคะ) นำไปไว้  หรือลดอุณหภูมิห้องลงมาที่ 10 – 15 องศาเซลเซียส  (แล้วแต่สายพันธุ์เห็ด) ความชื้น 80 – 85 เปอร์เซ็นต์  ไม่ต้องใช้แสงสว่าง  รักษาอุณหภูมิและความชื้นให้สม่ำเสมอ  ใช้เวลา 5 – 10 วัน  ก็จะสร้างตุ่มดอก  แล้วเลี้ยงต่อจนดอกเห็ดโผล่พ้นปากขวด 2 – 3 เซนติเมตร

อ้างอิง : http://www.technoinhome.com/vspcite/front/board/show.php?tbl=tblwb03&gid=20&id=297&PHPSESSID=9dfdbe4c11bbf534df25278656285934 และท่านสามารถศึกษาขั้นตอนนอย่างละเอียดได้ที่เว็บไซต์ดังกล่าว

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 145231 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

มาม่า
[email protected]
น่าสนใจดี
16 ก.ค. 2555 , 03:14 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

yong
[email protected]
สนใจลงทุนติดต่อได้ที่ไหนค่ะ
19 มิ.ย. 2555 , 01:56 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ladawan
[email protected]
อยากรู้ว่าต้นทุนประมาณเท่าไร  ถ้าได้ผลผลิตแล้วจะขายยังไง  มีคนมารับซื้อมั้ยค่ะ
13 มี.ค. 2555 , 06:40 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

keeta
[email protected]
อยากรู้ว่าต้องลงทุนเท่าไร เพราะมีทุนน้อย มาก
31 ม.ค. 2555 , 04:04 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

keeta
[email protected]
วางผนไว้ว่า จะเพราะเห็ดขาย แต่งไม่มี ความรู้เลย อยากู้ว่า ขั้นตอนแรกจะทำยังไง
31 ม.ค. 2555 , 04:01 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

อ้อมแอ้ม ร๊ข พิ๊โอ้ 555+
[email protected]

18 ส.ค. 2554 , 06:52 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

สุภวัฒน์
[email protected]
ขอบคุณมากครับ
19 ธ.ค. 2553 , 11:09 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร
[email protected]
จะไหวหรือ ที่คิดจะเพาะเห็ดเข็มทอง 8-18 องศา ความชื้น 85-90% เรียกว่าเพาะในห้องเย็น ถึงจะได้ผลครับ โดย.ฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร 081-886-9920. www.phetphichit.com
26 พ.ย. 2553 , 01:17 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

มาสี
[email protected]
121545
04 พ.ย. 2553 , 01:37 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

Manisa
[email protected]
อยากจะปลูกเห็ดเข็มทองค่ะ แต่อาศัยอยู่ทางใต้(สงขลา)
อากาศที่นี้ค่อยข้างจะร้อน ชื้นไม่ทราบว่าจะพอมีวิธีให้สามารถปลูกได้รึเปล่าค่ะ
22 ก.ย. 2553 , 06:41 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

phetphichit
[email protected]
เห็ดเข็มทองที่เคยไปดูมา ชื่อ สหฟาร์ม อยู่ใกล้กับแม่โจ้ ได้ข่าวขณะนี้ขยายกิจการอยู่(ได้ข้อมูลจากช่างน้อย เชียงใหม่) เลยคิดถึงเห็ดยอดฮิดขณะนี้ คือเห็ดโคนญี่ปุ่น(ยานางิ) ซึ่งมีการเปิดอบรมกันมาก ที่ทำส่วนใหญ่พบปัญหาเห็ดออกดอกน้อยมาก ไม่คุ้มทุน ปัญหาก็คือ คุมสภาพอากาศและความชื้นไม่ได้ ก็เห็ดโคนญี่ปุ่นเป็นเห็ดเมืองหนาวออกดอกดีที่18-25องศาความชื้นในอากาศ80-90% ชอบอากาศหนาวใกล้เคียงกับเห็ดหอม ทางฟาร์มผู้อบรมเน้นที่จะขายก้อนเชื้อ และเรียกเก็บค่าอบรมเป็นหลัก ก่อนที่จะเข้ารับการอบรมไม่ว่าที่ไหน อยากจะแนะนำหนังสือ ฉบับล่าสุดที่เขียนโดย อ.บุษบา ล้อประเสริฐ นักวิชาการเห็ดของ ชมรมนักเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย อ่านดูแล้วเข้าใจง่าย ราคาแค่ 280 บาท ติดต่อที่ ชมรมเห็ด โทร.02-984-5120.www.thaimushroom.com หรือที่ร้านหนังสือทั่วไป ลองหาอ่านดูก่อนครับ(ที่จ.พิจิตร เห็ดโคนญี่ปุ่นกลายเป็นตำนานไปแล้ว ขณะนี้เปลี่ยนมาเพาะเห็ดนางฟ้า/นางรม ครับ) **//ศูนย์ข้อมูลเห็ดเพชรพิจิตร 089-850-5103//**
23 ส.ค. 2553 , 07:39 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

phetphichit
[email protected]
ถ้าเห็ดฟางโรงเรือน เห็ดฟางตะกร้า/กองเตี้ย/กองสูง เพาะเห็ดในถุงพลาสติกทั่วๆไปเชิญทางนี้ครับ ฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร เปิดอบรม การเพาะเห็ดฟางโรงเรือน และการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก ชมหมู่บ้านเพาะเห็ดฟางมืออาชีพ ทั้งหมด 102 โรงเรือน ทุกวันที่ 9 ของทุกเดือน 9.00 - 16.00 น. ฟรีครับ วันที่ 9 ส.ค. 2553 มีผู้แจ้งมาอบรม ประมาณ 50 คนแล้ว ชมการผลิตหัวเชื้อเห็ดฟาง สาธิตการเพาะเห็ดฟางตะกร้า/กองเตี้ย/กองสูง การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก //**ชมรมเห็ดฟาง-เพชรพิจิตร 089-850-5103**//
05 ส.ค. 2553 , 06:54 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

phetphichit
[email protected]
เคยไปเที่ยวชมฟาร์มเพาะเห็ดเข็มทองที่เชียงใหม่ เมื่อประมาณ 8-9 ปีที่แล้วกับคณะของท่าน อจ.ดีพร้อม ลงทุนครั้งแรก 600 ล้าน เจ้าของเป็นชาวใต้หวัน มือสมัครเล่นคงไม่มีโอกาส เป็นเห็ดเมืองหนาวๆจริงๆ ออกดอกดีที่ 8-18 องศา ทั่วไปคงไม่ไหว ถ้าจะลองเพาะ คงต้องหาตู้คอนเทรนเนอร์มาควบคุมอากาศ เหมาะสำหรับกิจการขนาดใหญ่ / อยากเข้าดูอีก คงไม่มีโอกาส เพราะว่าบุคคลทั่วไป ทางฟาร์มไม่อนุญาติ ให้เข้าไปเยี่ยม ต้องขอบคุณท่าน อจ.ดีพร้อม เป็นอย่างยิ่งครับ //** ชมรมเห็ดฟาง-เพชรพิจิตร โทร.089-850-5103 **//
05 ส.ค. 2553 , 06:46 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9182
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7499
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7569
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7906
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6892
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8149
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7379
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>