ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ประมง | อ่านแล้ว 9302 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การเลี้ยงกุ้งขาว เทคนิคการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม

การเลี้ยงกุ้งขาว - กุ้งขาว ลิโทพีเนียส แวนนาไม (Litopenaeus Vannamei) กุ้งขาว ลิโนพีเนียส แวนนาไม เป็นสายพันธุ์กุ้งทะเลในกลุ่มกุ้งขาวแป..

data-ad-format="autorelaxed">

กุ้งขาว ลิโทพีเนียส แวนนาไม (Litopenaeus Vannamei) กุ้งขาว ลิโนพีเนียส แวนนาไม เป็นสายพันธุ์กุ้งทะเลในกลุ่มกุ้งขาวแปซิฟิก (Pacific white shrimp) ที่มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ เช่นสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก กัวเตมาลา นิคารากัว คอลสตาริก้า ปานามา โคลัมเบีย อิควาดอร์ เปรู กุ้งสรพันธุ์นี้เป็นสัตว์ที่มีความแข็งแรง

 

การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม

 

และทนทาน จึงมีการขยายพันธุ์ ตามธรรมชาติได้กว้างไกลในแถบแนวชายฝั่งตะวันออก ของมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่แม็กซิโกถึงเปรู เนื่องจากภูมิภาคในแถบนี้ที่ระดับความลึกจากเส้นแนวชายฝั่งลงไปประมาณ 72 เมตร หรือ 235 ฟุต มีพื้นท้องทะเลเป็นเหมือนโคลน (muddy bottom) ที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโต และเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ประเทศอิควาดอร์ เป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งลูกกุ้ง พ่อ-แม่พันธุ์ กุ้งสายพันธุ์นี้

 

กุ้งขาวลิโทฟีเนียส แวนนาไม กุ้งขาวลิโทฟีเนียส แวนนาไม หรือที่เรียกกันว่า "กุ้งขาว หรือกุ้ง แวนนาไม" นั้นค้นพบโดย Boone ในปี ค.ศ. 1931 มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Litopenaeus Vammamei (Boone, 1931) ส่วนชื่อทาง F.A.O. รับรองเป็นภาษาอังกฤษ Whiteleg shrimp ชื่อภาษาฝรั่งเศล Crevette pattes blanches ชื่อภาษาสเปน Camaron patiblance ส่วนชื่อสามัญ และชื่อทางการค้ามีเรียกกันหลายชื่อตามแหล่งที่พบ หรือ ตามลักษณะเด่นทางกายภาพที่ปรากฏให้เห็น เป็นภาษาต่าง ๆ ได้แก่ ชื่อภาษา อเมริกา West coast white shrimp หรือ Whiteleg shrimp ชื่อภาษาเม็ดซิกัน Camaron blanco ชื่อภาษาโคลัมเบีย Camaron caf? หรือ Camaron blanco ชื่อภาษาเปรู Camoron blanco หรือ Langostino ปัจจุบันการผลิตกุ้งในโลกได้มาจาก 6 สายพันธุ์หลัก คือกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon (65%) กุ้งขาวลิโทพีเนียสแวนาไม Litopenaeus vannamei (14%) กุ้งแซบ๊วย Penaeus indicus (1%) กุ้งน้ำตาลออสเตรเลีย Metapenaeis endeavovre (2%) ที่เหลือเป็นของสายพันธุ์ Penaeus อื่น ๆ (7%) เช่น กุ้งขาวจีน Penaeus Chinensis และสายพันธุ์ Metapenaeus อื่น ๆ (4%) ซึ่งเป็นกุ้งขาวถึง 4 สายพันธุ์ ทั้งนี้ สามารถจัดแบ่งกลุ้มของกุ้งขาสในสายพันธุ์พีเนียสออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ตามถิ่นที่อยู่อาศัยของซีกโลก คือกุ้งขาวตะวันตก (Western coast white shrimp) ได้แก่ กุ้งขาวลดโทพีเนียส แวนาไม (Litopenaeus vannamei) กุ้งน้ำเงิน (Penaeus stylirostenis) และกุ้งขาวตะวันออก (Eastern coast white shrimp) ได้แก่ กุ้งแชบ๊วย Penaeus merguiensis กุ้งขาวอินเดีย Penaeus indicus และกุ้งขาวจีน Penaeus Chinensis หรือ Penaeus Orientalis การศึกษาทางชาตพันธุ์วิทยา มีการจัดอนุกรมวิธานของกุ้งสายพันธุ์นี้ ดังนี้ อยู่ในอาณาจักรสัตว์ (Kingdom Aninalia) ศักดิ์อาร์โทรโปดา (Phylun Arthropoda) ชั้นครัสเตเชีย (Class Crustacean) ชั้นรองมาลาคอสตราคา (Subclass Malacostraca) ลำดับบนยูคาริด ยูคาริดา (Superorder Eucarid Ecarida) ลำดับเดคาโปดา (Order Decapoda) ลำดับ รองนาตานเตีย (Suborder Natantia) ส่วนพีเนียเดีย (Section Penacidea) วงศ์พีเนียดาอี (Family Penaeidae) สกุลพีเนียส ลิโทพีเนียส (Genus Peneus Litopenaeus, 1931) สกุลรองพีเนียส ลิโทพีเนียส (Subgenus Penacus Litopenacus) ชนิด แวนาไม (Species Vammamci)

 

การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม2

 

ลักษณะเฉพาะตัวของกุ้งขาว ลิโทพีเนียส แวนนาไม กุ้งขาว ลิโทพีเนียส แวนนาไม มี 8 ปล้องตัว ลำตัวสีขาว ห้าอกใหญ่ การเคลื่อนไหวเร็ว ส่วนหัวมี 1 ปล้อง มีกรีอยู่ในระดับยาวประมาณ 0.8 เท่าของความยาวเปลือก หัวสันกรีสูง ปลายกรีแคบ ส่วนของกรี มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมมีสีแดง อมน้ำตาล กรีด้านบนมี 8 ฟัน กรีด้านล่างมี 2 ฟัน ร่องบนกรีมองเห็นได้ชัด เปลือกหัวสีขาวอมชมพูถึงแดง ขาเดินมีสีขาวเป็นลักษณะที่ขาว่ายน้ำ 5 คู่ มีสีขาวข้างในที่หลายมีสีแดง ส่วนหางมี 1 ปล้อง ปลายหางมีสีแดงเข้ม แพนหางมี 4 ใบ และ 1 กรีหาง ขนาดตัวโตที่สมบูรณ์เต็มที่ของกุ้งสายพันธุ์นี้จะมีขนาดที่เล็กกว่าวกุ้งกุลาดำ

 

โดยความยาวจากกรีหัวถึงปลายกรีหาง 230 มิลลิเมตร (9 นิ้ว) ความยาวจากโคนหัวถึงปลายกรีหัว 65 มิลลิเมตร ความยาวจากโคนหัวถึงปลายกรีหาง 165 มิลลิเมตร เส้นรอบวงหัว 94 มิลลิเมตร เส้นรอบวงตัว 98 มิลลิเมตร แพนหางยาว 35 มิลลิเมตร ตาห่างกัน 20 มิลลิเมตร น้ำหนักตัวเฉลี่ย 120 กรัม หากินทุกระดับความลึกของน้ำ ชอบว่ายล่องน้ำเก่ง ลอกคราบเร็วทุก ๆ สัปดาห์ ไม่หมกตัว ชอบน้ำกระด้างที่มีความกระด้างรวม 120 มิลลิกรัม ต่อลิตร มีค่าอัลคาไลน์ในช่วง 80-150 มิลลิกรัมต่อลิตร มีนิสัยที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะ ของน้ำในบ่อเพาะเลี้ยง ตื่นตกใจง่าย เป็นกุ้งที่เลี้ยงได้ทิ้งในระบบธรรมชาติและระบบกึ่งหนาแน่นโดยมีระดับน้ำประมาณ 1.0-1.5 เมตร ลักษณะพิเศษของกุ้งสายพันธุ์นี้คือ สามารถสร้างความคุ้นเคย หรือฟาร์มลักษณะนิสัยภายใต้ระบบการเพาะเลี้ยงได้เช่น สามารถทำการเพาะเลี้ยงได้ทั้งในน้ำที่มีระดับความเค็มที่ 5-35 ส่วนในพันธุ์ ส่วน (ppt) และระดับความเค็มต่ำ 0-5 ส่วนในพันส่วน แต่ระดับความเค็มที่เจริญเติบโตได้ดีคือ 10-22 ส่วน ในพันส่วน ส่วนอุณหภูมิของน้ำที่เจริญเติบโตได้ดี คือ 26-29 องศาเซลเซียส แต่สามารถทำการเพาะเลี้ยงได้ในช่วงอุณหภูมิ 25-35 องศาเซลเซียส

 

ระดับออกซิเจนละลายน้ำ (D.O.) ควรมีค่า 4-9 มิลลิเมตรต่อลิตร และสำหรับค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ควรอยู่ระหว่าง 7.2-8.6 ซึ่งอาจจะทำการเพาะเลี้ยงได้ทั้งในบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง (coastal area) หรือบริเวณพื้นที่ในแผ่นดินที่ลึกเข้ามาซึ่งเป็นเขตพื้นที่ที่มีความเค็มต่ำ (inland area) ก็ตาม อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 6-23 กรัม ในช่วง 2-5 เดือน อัตรารอดเฉลี่ย ประมาณ 30-65% ในการเพาะเลี้ยงทั่วไป และ 80-90% ในการเพาะเลี้ยงตามศูนย์วิจัยที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษจากข้อมูล ของ F.A.O. ปี ค.ศ. 2000 รายงานว่าผลผลิตกุ้งสายพันธุ์นี้ที่จับจากทะเลต่อปี มีค่าประมาณ 250 ตัน และผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงของประเทศอิควาดอร์ มีปริมาณ 72,000 ตัน และของประเทศสหรัฐอเมริกามีปริมาณ 28,000 ตัน

 

โดยทั่วไปผลผลิตในการเพาะเลี้ยงมักจะไม่แน่นอน สำหรับในกลุ่มประเทศละตินอเมริกามีปริมาณในช่วง 500-1,000 กิโลกรัม ต่อ 6.25 ไร่ต่อรุ่น และในประเทศสหรัฐอเมริกามีปริมาณตั้งแต่ 500-3,000 กิโลกรัมต่อ 6.25 ไร่ต่อรุ่น ข้อมูลของบริษัทที่ดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจกุ้งสายพันธุ์นี้ของประเทศอิสราเอลที่ทำการเพาะเลี้ยงกุ้งสายพันธุ์นี้ รายงานว่าสามารถทำการเพาะเลี้ยงกุ้งชนิดนี้ในน้ำกร่อย (brackish water) ที่มีระดับความเค็มที่ 3 ส่วน ในพันส่วน ค่าอัลคาไลน์ 180 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความกระด้างรวม 130 มิลลิกรัมต่อลิตร รักษาระดับออกซิเจนละลายน้ำ (D.O.) ที่ 6-8 มิลลิกรัมต่อลิตร ระดับค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ที่ 7.5-8.0 มีระบบเติมอากาศที่ดี ระบบบำบัดน้ำเสียที่ดีสามารถเลี้ยงในระบบความหนาแน่นสูงที่ 156.25 ตัวต่อตารางเมตร ในระยะเวลาการเลี้ยงที่ 90 วัน สามารถมีผลผลิตที่ 70 ตัวต่อกิโลกรัม ณ ค่าอัตราการและเนื้อ (FCR) ที่ 1.05

 

และข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้งสายพันธุ์นี้ที่เป็นรายใหญ่ของประเทศสหรัฐอเมริกา รายงานว่าสามารถทำการเพาะเลี้ยงกุ้งชนิดนี้ในน้ำที่มีระดับความเค็มที่ 22 ส่วนในพันส่วน คาอัลคาไลน์ ในช่วง 170 - 190 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความกระด้างรวม 110-140 มิลลิกรัมต่อลิตร รักษาออกซิเจนละลายน้ำ (D.O.) ที่ 6-8 มิลลิกรัมต่อลิตร ระดับค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ที่ 7.0-8.4 มีระบบเติมอากาศที่ดี และควบคุมโภชนะและสัดส่วนแร่ธาตุเป็นอย่างดี สามารถเลี้ยงได้ในระบบความหนาแน่นสูงที่ 200 ตัวต่อ ตารางเมตร ในระยะเวลาการเลี้ยงที่ 100 วัน สามารถมีผลผลิตที่ 40 ตัวต่อกิโลกรัม ณ ค่าอัตราการแลกเนื้อ (FCR) ที่ 1.00 นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับวงการกุ้งทั่วโลก

 

สำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งลิโทพีเนียส แวนนาไม ที่ระดับความเค็มที่ 10 ส่วนในพันส่วน การคัดเลือกลูกกุ้ง ลักษณะของลูกกุ้งที่เหมาะสม ต้องเป็นลูกกุ้งที่ได้รับการปรับสภาพ เพื่อเลี้ยงในระดับความเค็มที่ 10 ส่วนในพันส่วน จากโรงเพาะฟักที่เป็นบ่อปูน ลูกกุ้งที่มีขนาด (อายุ) พี 15 - พี 16 จะมีลักษณะของพุ่มเหงือก (gill filament) พัฒนาครบสมบูรณ์ มีหนวดสีแดงทั่วทั้งเส้น สีแดงของหนวดต้องไม่แดงเป็นปล้อง ๆ ปลายกรีตรงไม่งอนขึ้นตาโต ลำตัวอ้วน และสั้น หน้าอกใหญ่ การเคลื่อนไหวเร็ว และมีชีวิตรอด ภายหลังที่ผ่านการทดสอบการลองน้ำจากบ่อทดสอบที่เตรียมไว้ มาก 80% ในเวลา 48 ชั่วโมง ลักษณะของลูกกุ้งที่ไม่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยง ลูกกุ้งมีลำตัวยาว ผอม ปลายกรีงอนขึ้น ตาเล็ก หนวดมีสีแดงเป็นปล้อง พบว่าเมื่อปล่อยกุ้งลงบ่อดินไปได้ประมาณ 1 เดือน หากนำมาทดสอบกับน้ำที่มีความเค็มต่ำกว่า 5 ส่วนในพันส่วน ลูกกุ้งจะทยอยตาย เนื่องจากความแข็งแรงต่ำ และสารอาหาร แร่ธาตุที่จำเป็นบกพร่อง

 

หากเกษตรกรต้องการเลี้ยงต่อไปจะต้องเพิ่มปริมาณสารอาหาร แร่ธาตุ ที่จำเป็นให้พอเพียงกุ้งจึงจะรอด แต่ก็จะมีอัตรารอดที่ต่ำกว่า 30%การเตรียมบ่อเพาะเลี้ยง (บ่อดิน) วัดค่าระดับความเป็นกรด - ด่างของดิน (soilpH) และปรับให้อยู่ที่ค่าเท่ากับ 7 โดยใช้ปูนเผา (CaO) ที่มีส่วนผสมของแม็กนีเซียมออกไซด์ (MgO) 25-30% ปริมาณการใช้ขึ้นอยู่กับสภาพดินในแต่ละพื้นที่ปกติประมาณ 10 - 20 กิโลกรัมต่อไรต่อครั้ง แล้วนำน้ำเข้าบ่อเลี้ยงประมาณ 10 เซนติเมตรใช้คราดเหล็ก คราดดินที่พื้นบ่อโดยใช้รถไถนาและหว่าน ปูน ไปพร้อม ๆ กัน ให้ปูนที่ละลายน้ำซึมไปตามร่องพื้นของคราดที่ความลึกประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร คราดกลับไปกลับมาหลายครั้ง เพื่อให้น้ำปูนได้ฆ่าเชื้อโรคที่พื้นบ่อ จากนั้นจึงหว่าน ตามขอบบ่อทิ้งไว้ 1-2 วัน ก่อนนำน้ำเข้า บ่อจะต้องฆ่าเชื้อก่อนโดยนำเข้าจากบ่อพักน้ำซึ่งจะต้องมีพื้นที่ในการเก็บกักประมาณ 30% ของพื้นที่เลี้ยง ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีใด ๆ ในบ่อเลี้ยงกุ้งขาวลิโทพีเนียส แวนนาไม เนื่องจากกุ้งขาวสายพันธุ์นี้เป็นกุ้งที่ได้มาจากธรรมชาติ เป็นกุ้งที่ไม่มีความต้านทานต่อสารเคมี ทำให้กุ้งพวกนี้แพ้สารเคมี และตายลงทันที การเลี้ยงกุ้งขาวลิโทพีเนียส แวนาไม จึงเป็นการเลี้ยงแบบปลอดภัยจากสารเคมี ที่อาจเป็นพิษและตกค้างการเตรียมน้ำก่อนปล่อยกุ้ง หว่านอาหารสำหรับสร้างสัตว์หน้าดิน และจุลินทรีย์นำน้ำเข้าบ่อเลี้ยงให้ได้ในระดับความลึกของน้ำที่ 1 เมตร เมื่อนำน้ำเข้าบ่อเลี้ยงแล้ว ให้ใส่ปูนแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) อัตรา 10 - 20 กิโลกรัม ต่อไร่ต่อครั้ง ควรใส่เวลากลางวัน และตีน้ำไปพร้อม ๆ กัน 4-5 วัน ก่อนปล่อยลูกกุ้ง

 

คุณภาพของน้ำที่เตรียมไว้ควรมีค่าต่าง ๆ ดังนี้ อุณหภูมิ 28-32 องศาเซลเซียสระดับออกซิเจนละลายน้ำ 5-8 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความเป็นกรด และด่าง 7.8 - 8.8 ค่าความเค็ม10 - 12 ส่วนในพันส่วน ค่าอัลคาไลน์ 100-180 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความกระด้างรวม 120 มิลลิกรัมต่อลิตรอาหาร อาหารธรรมชาติที่เกิดขึ้นในบ่อ จากการที่หว่านอาหารชีวภาพสำหรับสัตว์หน้าดินต่าง ๆ อาหารอัดเม็ด อาหารเสริมแร่ธาตุในรูปของคีเลต อาหารธรรมชาติเช่น สาหร่าย, แครอท, ฟักทอง, กล้วย, มะเขือเทศ, เพื่อเพิ่มเอนไซม์ และปริมาณสารแอสตาแซนทิน (astaxantin) การให้อาหาร ในช่วงวันที่ 1 ถึง 40 ให้อาหารที่มีโปรตีนสุง 40% สามารถใช้อาหารของกุ้งกุลาดำได้ อาจจะใช้อาหารที่มีโปรตีนต่ำ 30% แต่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วนก็ได้ ในช่วงวันที่ 41 จนถึง วันที่จับขายให้อาหารที่มีโปรตีนต่ำลงมาประมาณ 30-35% สามารถใช้อาหารของกุ้งก้ามกรามได้จำนวนมื้อควรจำกัดอยู่ที่ 3 มื้อ คือ อาจจะเป็นเวลา 08.00 น., 16.00น., 22.00น. ทั้งนี้แล้วแต่ความสะดวก มื้อเที่ยงควรงด และควรใช้ตารางอาหารเป็นหลัก ประกอบกับการเช็คจากยอ เมื่อต้องการตรวจสอบสภาพการให้อาหาร สามารถตรวจวัดได้ จากค่าแอมโมเนีย ควรทำการวัดค่านี้อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ หากค่าแอมโมเนียเพิ่มแสดงว่าอาจจะมีอาหารเหลือเนื่องจากให้อาหารมากเกินไป ดังนั้นให้ลดปริมาณอาหารในอาทิตย์ต่อไป ลงมื้อละ 0.5 - 1 กิโลกรัม

 

และหากค่าแอมโมเนียลดลงให้รักษาระดับการให้อาหารในปริมาณนี้ไว้ก่อนหลังจากนั้นจึงค่อย ๆ ปรับการให้อาหารเพิ่มขึ้นใช้สวิงช้อน ดูที่พื้นบ่อ แบบเดียวกับการตรวจสอบอาหารกุ้งก้ามกราม และตัดสินใจปรับลด หรือเพิ่ม ตามความเหมาะสมการเติมหรือถ่ายน้ำในระหว่างการเลี้ยงควรมีการเติมน้ำหรือถ่ายน้ำ ทุก ๆ 10 วัน โดยระดับน้ำจะต้องเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่ง ถึงระดับ 1.5 เมตร เมื่อกุ้งอายุได้ 60 วัน ทุกครั้งที่เติมหรือถ่ายน้ำ ให้เติมปูนแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) ทุกครั้ง ในอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ควรหว่านในเวลากลางคืน จากบริเวณกลางบ่อจนรอบ จะสังเกตุเห็นว่ากุ้งจะกินอาหารดีขึ้นทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ และเพิ่มปูนแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) เมื่อครบกำหนด 30 วัน ควรทำการสุ่มตัวอย่างด้วย แหไนล่อน ขนาดตาถี่ 2 เซนติเมตร เพื่อตรวจสอบน้ำหนักของกุ้งและเปรียบเทียบกับตารางอาหาร หากพบว่า แตกไซส์มาก แสดงว่าอาหารที่ให้ไม่เพียงพอต้องเติมอาหารโดยทันทีโรคและการเกิดโรค โรคกุ้งทั่ว ๆ ไปทุกโรค ที่เกิดกับกุ้งกุลาดำได้ สามารถจะเกิดกับกุ้งขาวลิโทพีเนียส แวนนาไม ได้เช่นเดียวกัน เช่นโรคเหงือกดำจากเชื้อรา

 

นอกจากนั้นในกุ้งขาวนี้ยังพบอีกโรคหนึ่งคือ โรค ทอราซินโดม (Taura Syndome Virus, TSV) โรครันด์ดีฟอร์มิตี้ซินโดม (Runt Deformity Syndrome, RDS) ที่เกิดจากเชื้อ THHNV ทำให้กุ้งมีเปอร์เซ็นต์ แคระ แกรนสูงเกินกว่า 30%การจับกุ้งส่งตลาด ส่งตัวอย่างกุ้ง จากบ่อเลี้ยงไปตรวจสอบหาสารตกค้างต่าง ๆ ตามเกณฑ์ข้อตกลงในการซื้อขาย ที่สถาบันอาหารหรือสถานีประมงในพื้นที่หรือจากห้องเย็นเอง เมื่อผ่านเกณฑ์ดังกล่าวแล้วให้งดการให้อาหาร 2 มื้อ ลงมือจับโดยใช้อวนลากชนิดเดียวกับที่ใช้ในกุ้งก้ามกราม ใช้น้ำแข็งบดแช่เย็น โรยเกลือเป็นชั้น ๆ เพื่อช่วยรักษาความเย็น อย่าบรรจุน้ำหนักเกินกว่า 50 กิโลกรัม เพราะจะทำให้กุ้งที่อยู่ชั้นล่างเสียหายได้ สำหรับประเทศไทยในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา มีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และเป็นผู้ปิดทองหลังพระซึ่งเป็นผู้บุกเบิก ในการนำเข้าอย่างถูกกฎหมายที่ทำการศึกษาเรื่องการเพาะเลี้ยง การเพาะพันธุ์ การปรับเปลี่ยน ลักษณะนิสัย กุ้งสายพันธุ์นี้ ตลอดจนทำวิจัยในเรื่องโภชนะแร่ธาตุ ที่สัมพันธ์ต่อการเจริญเติบโต ชีววิทยา สรีรวิทยา พยาธิวิทยา และระบาดวิทยา โดยท่านเหล่านั้นต่างมั่นใจและเล็งเห็นว่าอนาคตอันใกล้การลดปริมาณการผลิตกุ้งกุลาดำของประเทศไทยต้องเกิดขึ้นซึ่งอาจจะเลวร้ายไปจนถึงระดับการล่มสลายก็เป็นได้ ประกอบกับความต้องการผลผลิตกุ้งที่มีคุณภาพสูง ปราศจากสารเคมีและปฏิชีวนะตกค้างของตลาดโลก นับวันยิ่งทวีจำนวนความต้องการสูงยิ่งขึ้น

 

ท่ามกลางวิกฤตการและลูกโซ่ปัญหานานับประการ จำเป็นต้องมองหาทางรอด ทางเลือก ให้กับอุตสาหกรรม การผลิตกุ้งไทย หนึ่งในทางรอดนั้นคือ การเพาะเลี้ยงกุ้งชีวะภาพเพื่อความยิ่งยืนโดยระบบธรรมชาติภิวัฒน์ ซึ่งเป็นระบบธรรมชาติเพื่อโลกของสิ่งมีชีวิตเป็นระบบการเพาะเลี้ยงที่มีหลักการที่ว่าให้ธรรมชาติเป็นยา ใช้อาหารเป็นยา ปลูกสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรค ปลอดสารพิษ ทั้งนี้เพื่อเยียวยาระบบการผลิตเดิมที่ยังคงวิกฤตอยู่ แบบแก้เกมส์ เพราะกุ้งสายพันธุ์นี้ยังมีสถานภาพของระบบภูมิคุ้มกันโรคที่ดีมีศักยภาพในการสร้างระบบอุตสาหรกรรม ได้มาก เป็นสายพันธุ์ที่สามารถปรับเปลี่ยนลักษณะนิสัยได้ นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของอุตสาหกรรมกุ้งของประเทศไทยการอนุบาลลูกกุ้ง จะเน้นอนุบาลในถังใหญ่ 30 - 40 ตัน ปริมาณของน้ำเฉลี่ยในถังอยู่ที่ 20 - 35 ตัน ความหนาแน่นของการปล่อย 150 - 200 ตัว/ลิตร หรือ 150,000 - 200,000 ตัว / ตัน ในบ่ออนุบาลจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ บ่ออนุบาลนอเพียสจนถึง พี 4 และหลังจากนั้นจะย้ายกุ้ง พี 4 ไปอนุบาลอีกบ่อหนึ่ง จนถึง พี 12 ในช่วงของ ซูเอี้ย ถึง ไมซิส จะเน้นถ่ายน้ำ 30 - 60% ทุกวัน เมื่อกุ้งเข้าระยะที่จะต้องถ่ายน้ำทุกวัน 70 - 100% ปัญหาที่เจอในระยะซูเอีย นี้คือ โรคซูเอี้ย ซินโดรม จะมีลักษณะของแบคทีเรียหรือโปรโตซัว ที่อยู่ระหว่าง เซลล์จะทำให้ลูกกุ้งตายในระยะซูเอี้ย ซึ่งมีสาเหตุมาจากเรื่องความสะอาดของสาหร่ายที่นำมาให้ลูกกุ้งกิน ส่วนในบ่ออนุบาลลูกกุ้งพี จะใช้ระบบเรสเวย์ จะย้ายกุ้งพี 12 มาลง โดยอนุบาลลูกกุ้งพี 12 - พี 45 มาลง ก่อนปล่อยลงสู่บ่อดิน จะใช้สาหร่าย แอมฟอร่าลงเลี้ยงไว้ ในบ่อเพื่อควบคุมแอมโมเนียในน้ำ อาหารจะให้พวกอาร์ทีเมีย ตัวเต็มวัย หรือผ่านโอเมก้ามาแล้ว หรือใช้อาหารสำเร็จบางตัวที่กุ้งพอ จะกินได้อุณหภูมิภายในระบบควบคุม ให้อยู่ที่ 24 - 26๐C ความหนาแน่นในการปล่อยขึ้นกับระยะเวลาที่จะเลี้ยงและอนุบาลนานขนาดไหน เฉลี่ยจะอยู่ที่ พี 20 - 40 ซึ่งอัตรารอดของการอนุบาลจะอยู่ที่ 95%ข้อดี ของกุ้งขาววานาไม คือจะไม่ค่อยแตกไซซ์ การเลี้ยงในช่วงเดือนแรก ๆ อาจจะแตกไซซ์บ้าง แต่หลังจาก 2 เดือน ไปแล้วจะไล่ทันกันหมด ไม่ค่อยแตกไซซ์กุ้งขาวตัวนี้จะล่องเก่ง กินเก่ง ข้อเสีย คือ ตกใจง่าย การสุ่มกุ้งควรระมัดระวังไม่ควรสุ่มกุ้งขึ้นมาไว้นานเกินไป เพราะกุ้งตัวนี้จะเป็นตะคริวได้ง่าย ลักษณะลำตัวจะออกสีขาวขุ่น และจะทำให้เกิดความเสียหาย สำหรับระยะเวลาการเลี้ยง

 

ดร.ชะลอ แนะนำว่าควรเลี้ยงประมาณ 80 - 90 วัน ควรจะจับแล้ว เพราะถ้าเลี้ยงเกิน 90 วัน กุ้งนี้จะโตช้าในช่วงปลาย ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นกำไรลดลงปัญหาหลักสำคัญที่เลี้ยงกุ้งขาวแล้วไม่โตลูกพันธุ์ ของกุ้งที่จะนำมาเลี้ยงส่วนมากจะประสบกับปัญหามากมาย เช่น มีการปลอมปนสายพันธุ์กุ้ง หรือลูกพันธุ์สายพันธุ์แท้ที่สั่งเข้ามาจาก ฮาวาย 100% ลูกกุ้งต้องใช้เวลาในการเดินทางนาน 8 - 10 ชั่วโมง เป็นอย่างต่ำ เมื่อนำมาอนุบาลอัตรารอดน่าพอใจ แต่กุ้งไม่แข็งแรง และยังมีปัญหาเรื่องของการขาดแคลนลูกกุ้งและนอเพียส, การใช้พ่อแม่พันธุ์ที่มีสายเลือดชิดการจัดการเลี้ยง ตั้งแต่เตรียมบ่อจนถึง การจับขาย นี้คือประเด็นสำคัญของผู้ที่เลี้ยงกุ้งตัวนี้ ต้องพิจารณาเพื่อไม่ให้เกิดการเดินหลงทาง ต้องศึกษาให้ละเอียดในข้อมูลของทุก ๆ ด้านก่อนนำมาปฏิบัติ นอกจากการจัดการแล้วพื้นฐานของบ่อหรือสภาพพื้นที่ก็ต้องให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน การเป็นอาหารมากเกินไป เนื่องจากเกษตรกรบางท่าน คิดว่ากุ้งขาวโตเร็ว กินอะไรก็ได้ซึ่งเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ต้องให้อาหารเพียงพออย่าให้อาหารน้อยเกินไปกุ้งจะไม่โต ถ้ามากเกินไปจะทำให้แอมโมเนียสูงปัญหาเรื่องการเช็คยอ ไม่ออกในกุ้งขาว มักเกิดในช่วยกุ้งอายุ 50 วัน หรืออาจเช็คยอไม่ออกจากเริ่มต้นฟักเกิดกับผู้ใช้ยอเป็นยอเหลี่ยม หรือยอของกุ้งกุลาดำ เพราะยอเหลี่ยม อาหารจะตกอยู่ที่บริเวณกลางยอ เป็นลักษณะคล้ายถุง ทำให้เข้าไปกินอาหารได้น้อยตัว ให้ลองเปลี่ยนมาใช้ยอลักษณะกลมขอบตื้นปัญหาเรื่อง ไวรัส HPV และ IHHNV เชื้อไวรัส HPV เป็นตัวกระทำให้เกิดโรคแคระแกรน ทั้งในกุ้งกุลาดำ และในกุ้งขาว เมื่อกุ้งขาวติดไวรัสชนิดนี้จะทำให้เกิดอาหารตัวลีบเล็ก กินอาหารมาก แต่ไม่สามารถแลกเนื้อได้ ผู้เลี้ยงสามารถตรวจสอบได้ด้วยวิธี PCR ส่วนไวรัส IHHNV นั้นเมื่อติดมากับลูกกุ้ง จะทำให้ลูกกุ้งมีลักษณะคล้ายกุ้งพิการ เช่น กรีคด ลำตัวบิดงอ และเลี้ยงไม่โตเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวข้างต้นสามารถตรวจสอบ ด้วยวิธี PCR การสุ่ม กุ้งขาว วานาไม นี้เมื่อจับขึ้นมาสุ่มเป็นเวลานาน ๆ ตัวขาวขุ่นถ้าขาวขุ่นมาก ๆ กุ้งจะตาย ดังนั้นอย่าพยายามยกยอช่วงเวลา แดดจัด ๆ และสุ่มโดยใช้เวลานาน ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็เป็นข้อมูลของนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศ แต่การปฏิบัติจริง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้เลี้ยง จะนำไปประยุกต์เพื่อให้เกิดความเหมาะสม เพราะกุ้งขาววานาไมยังเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องเก็บข้อมูลไปเรื่อย ๆ

 


ข้อมูลจาก pckaset.com


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 9302 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ประมง]:
เพาะปลากัดส่งนอก ขายราคาดี ที่อิหร่าน
เพียงแค่เดือนเดียว พ่อค้ามีออเดอร์ส่งไปอิหร่าน 200,000 ตัว เพราะมีความนิยมนำไปให้กันเป็นของขวัญตามความเชื่อ
อ่านแล้ว: 6219
วิธีรับมือเวลาที่กุ้งก้ามแดงราคาลง
สำหรับผมเองปีแรกที่เจอ ก็มีอาการชะงักและท้อเหมือนกัน เพราะยังไม่ทันจะเพาะลูกกุ้งได้เลยและจู่ๆร าคาก็มาลงซะและ
อ่านแล้ว: 5563
ประมงดันปลากัด สัตว์น้ำประจำชาติ
รูปถ่ายปลากัดสีทองประกายแสด ถูกบริษัทผลิตสมาร์ทโฟน ซื้อลิขสิทธิ์นำไปเป็นภาพบนโทรศัพท์มือถือยี่ห้อดัง จนโด่งดังไปทั่วโลก
อ่านแล้ว: 5783
กรมประมง ออกประกาศ คุมธุรกิจ! กุ้งก้ามแดง

อ่านแล้ว: 5175
ครม.เห็นชอบประกาศ สนย. ฉบับที่ 3 แก้ปัญหาขาดแรงงานต่างด้าวในเรือประมง

อ่านแล้ว: 5517
คลอดเกณฑ์ใหม่ทำประมงทั้งปี 6 เครื่องมือได้เฮ- ฉัตรชัย ย้ำอาเซียนยึดยั่งยืน

อ่านแล้ว: 5449
เลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน

อ่านแล้ว: 6098
หมวด ประมง ทั้งหมด >>