ความรู้พื้นฐาน |
ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก ดินที่ใช้เพื่อการเพาะปลูกโดยทั่วไปมักมีไนโตรเจนไม่เพียงพอ ต่อความต้องการของพืช นอกจากนี้พืชสามารถใช้ประโยชน์โดยตรงได้เฉพาะกรณีที่ไนโตรเจนอยู่ในรูปแอมโมเนียม (NH4+) หรือไนเตรต (NO3-) เท่านั้น ในขณะที่ไนโตรเจนในดินส่วนใหญ่อยู่ในรูปสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งจะต้องรอให้จุลินทรีย์ย่อยสลายก่อน |
อินทรีย์วัตถุในดินมีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบประมาณร้อยละ 5 ดังนั้น หากไม่ต้องการทราบค่าอย่างละเอียด ปริมาณไนโตรเจนสามารถประมาณได้จากสูตร
% N = %OM x 0.05
เมื่อ %OM = ร้อยละของอินทรีย์วัตถุในดิน
%N = ร้อยละของไนโตรเจนในดิน |
วิธีวิเคราะห์ไนโตรเจนทั้งหมดในดินที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมี 2 วิธี คือ |
1. Dumas method วิธีนี้วิเคราะห์โดยนำตัวอย่างดินมาเผาในบรรยากาศของออกซิเจน เพื่อเปลี่ยนสารประกอบ อินทรีย์ของไนโตรเจน ให้กลายเป็นออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) จากนั้นรีดิวซ์ NOx ให้กลายเป็นแก๊ส N2 แล้ววิเคราะห์ ปริมาณหรือความเข้มข้นด้วยวิธีวัดความต่างของค่าการนำความร้อน (thermal conduetivity) รายละเอียดของวิธีนี้ได้กล่าวถึงแล้วในเรื่องการวิเคราะห์ไนโตรเจน |
2. Kjeldahl method วิธีตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ Johan Kjeldahl นักวิทยาศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ที่คิดค้นวิธีนี้ให้สำเร็จประมาณ ปี พ.ศ. 2426 วิธีการดั้งเดิมคิดค้นขึ้นเพื่อวิเคราะห์ไนโตรเจนที่อยู่ในรูปสารประกอบอินทรีย์ แต่ต่อมาได้ รับการพัฒนาให้สามารถวิเคราะห์สารประกอบอนินทรีย์ได้ด้วย ขั้นตอนในการวิเคราะห์ไนโตรเจนทั้งหมดโดยวิธี Kjeldahl มี 3 ขั้นตอน คือ
2.1 ขั้นตอนการย่อย (digestion step) ขั้นตอนนี้เป็นการเปลี่ยนสารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจนไปเป็น (NH4)2SO4 เข้มข้น และใช้สารเร่งปฏิกริยา เช่น CuSO4, Se, HgSO4, HgO หรือ FeSO4 เป็นต้น สารเร่งเหล่านี้อาจใช้เพียงสารเดียว หรือผสมกันก็ได้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารปรอทเพราะมีพิษสูง นอกจากนี้ในขั้นตอนการย่อยเพื่อเพิ่มจุดเดือดให้สูงขึ้นนิยม เติม K2SO4 หรือ Na2SO4 ลงไปด้วย เนื่องจากหากอุณหภูมิต่ำกว่า 360 ปฏิกริยาจะเกิดขึ้นช้าหรือเกิดขึ้นไม่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตามหากอุณหภูมิสูงกว่า 410 ก็จะทำให้ NH4+ สูญเสียไปด้วย ในกรณีที่ตัวอย่างดินมีไนไตรต (NO2-) หรือไนเตรต (NO3-) อยู่มาก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับดินที่ใส่ปุ๋ย ไนโตรเจนใหม่ ๆ การวิเคราะห์ต้องเติมสารละลายกรด Salicylic ในกรด H2SO4 เข้มข้นลงไปก่อนนำไปย่อยเพื่อเปลี่ยนสาร ประกอบทั้งสองเป็น nitrosalicylic acid ปฏิกริยานี้สามารถเกิดขึ้นได้ที่อุณหภูมิห้อง โดยปกติมักทั้งให้เกิดปฏิกริยามากกว่า 12 ชั่วโมง ปฏิกริยาเกิดขึ้นดังสมการ
หลังจากนี้จะต้องรีดิวต์ nitrosalicylic acid เป็น aminosalicylic acid ด้วย Sodium thiosulfate (Na2S2O3) ปฏิกริยาเกิดขึ้นดังสมการ
aminosalicylic acid ที่เกิดขึ้นจะทำปฏิกริยาต่อไปกับกรด H2SO4 เพื่อให้ความร้อนเพิ่มขึ้นดังสมการ
|
2.2 ขั้นตอนการกลั่น (distillation step) ขั้นตอนนี้เป็นการเปลี่ยน (NH4)2SO4 ที่เกิดจากการย่อยในขั้นตอน แรกไปเป็นแก๊ส NH3 โดยเติม NaOH ลงไป จากนั้นจับแก๊สที่เกิดขึ้นด้วยกรดบอร์ค (H3BO3) ปฏิกริยาเกิดขึ้นดังสมการ
|
2.3 ขั้นตอนการไทเทรต (titration step) ขั้นตอนนี้เป็นการไทเทรตหา H2BO3- ที่เกิดขึ้น หากใช้กรด HCl ปฏิกริยาเกิดขึ้นดังสมการ
|
อุปกรณ์และเครื่องแก้ว |
- Digestion block สำหรับหลอดขนาด 250 cm3
- Digestion tube ขนาด 250 cm3 จำนวน 3 หลอด
- Kjeldahl’s distillation unit
- Conical flask ขนาด 250 cm3 จำนวน 3 ใบ
- Conical flask ขนาด 125 cm3 จำนวน 2 ใบ
- Buret ขนาด 25 cm3 จำนวน 1 อัน
- ขาตั้ง buret
- Volumetric pipet ขนาด 10 cm3 จำนวน 1 อัน
- Dispensor ขนาด 10 cm3 จำนวน 1 อัน
- กระบอกตวง ขนาด 20 cm3 จำนวน 1 อัน
- ขวดฉีดน้ำกลั่น ขนาด 500 cm3 จำนวน 1 ขวด
|
สารเคมี |
- กรด H2SO4 เข้มข้น (98%) LR grade
- Mixed castalyst : ผสม K2SO4 : CuSO4 : Se ในอัตราส่วน 100 :10 :1 (อัตราส่วนโดยน้ำหนัก)
- Mixed indicator : เตรียมโดยละลาย methyl red 0.066 กรัม และ bromocresol green 0.099 กรัม ใน 95% ethanol ประมาณ 80 cm3 ปรับสีของอินดิเคเตอร์ให้เป็นสีเขียวด้วย 0.1 M NaOH แล้วเติม 95% ethanol จน ได้ปริมาตร 100 cm3
- สารละลายกรดบอริค และอินดิเคเตอร์ : เตรียมโดยละลาย H3BO3 60 กรัม ด้วยน้ำกลั่นประมาณ 1800 cm3 ใน erlenmeyer flask ขนาด 2000 cm3 คนด้วยเครื่องคนแม่เหล็กจน H3BO3 ละลายหมด เติมอินดิเคเตอร์ผสมใน ข้อ 3 ลงไป 2.5 cm3 แล้วปรับปริมาตรเป็น 2000 cm3
- สารละลาย 40% NaOH : ใส่น้ำกลั่นประมาณ 1800 cm3 ลงในบีกเกอร์ขนาด 2000 cm3 นำไปวางในอ่างน้ำเย็น เพื่อช่วยระบายความร้อน เติม NaOH ลงไปครั้งละ 5-10 กรัม พร้อมทั้งคบให้สารละลายหมดก่อนจึงเติมเพิ่มลง ไปใหม่จนครบ 800 กรัม ทิ้งไว้ให้เย็นจึงเติมน้ำกลั่นเพิ่มจนสารละลายมีปริมาตรรวมเป็น 2000 cm3
- สารละลายกรด HCl : เตรียมโดยปิเปตกรด HCl เข้มข้น (37% ความหนาแน่น 1.19 g/cm3) 4.14 cm3 ใส่ใน volumetric flask ขนาด 2000 cm3 แล้วปรับปริมาตรด้วยน้ำกลั่น จะได้กรดความเข้มข้น 0.025 M
- สารละลายมาตรฐาน tris-(hydroxymethyl) amino methane : เตรียมโดยนำสารดังกล่าวไปอบที่อุณหภูมิ 100 เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงเพื่อไล่ความชื้น จากนั้นทิ้งให้เย็นในโถแก้วดูดความชื้น ชั่ง tris- มา 0.3028 กรัม ละลายในน้ำกลั่น แล้วปรับปริมาตรเป็น 100 cm3
|
วิธีวิเคราะห์ |
- ชั่งดินตัวอย่างละ 2.50 กรัม ใส่ใน digestion tube ระวังอย่าให้ดินเปื้อนด้านข้างหลอด หากดินเปื้อนให้ฉีดน้ำกลั่น เล็กน้อยเพื่อล้างดินลงไปก้นหลอด ระวังอย่าให้ดินแฉะ และใช้หลอดเปล่า 1 หลอดเป็น sample blank
- เติม mixed catalyst ลงไปประมาณ 2 กรัม
- เติมกรด H2SO4 เข้มข้น ลงไป 15 cm3 แล้วเขย่าหลอดให้ส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้ากัน
- นำไปย่อยใน digestion block ค่อยๆ เพิ่มอุณหภูมิจนถึงจุดเดือดของกรด (อุณหภูมิประมาณ 380 ) ย่อยจน ได้สารละลายใส และไม่มีฮิวมัสเคลือบเม็ดดิน (เม็ดดินไม่ถูกย่อย) จากนั้นย่อยต่อไปอีกประมาณ 30 นาที
หมายเหตุ ขั้นตอนนี้ต้องทำในตู้ดูดควัน และสวมชุดดูดไอกรดกับปากหลอดให้แน่นสนิท
- เติมสารละลายกรดบอริค (เตรียมได้จากข้อ 4) 10 cm3 ลงใน conical flask ขนาด 250 cm3 จำนวน 3 ใบ
- นำตัวอย่างที่ย่อยแล้วจากข้อ 4 ไปกลั่นด้วยเครื่องกลั่น ก่อนเริ่มกลั่นเติมสารละลาย 40% NaOH ลงไป 40 cm3 (เติมจากเครื่องกลั่น) และใช้กรดบอริคจากข้อ 5 จับแก๊สแอมโมเนียที่เกิดขึ้น สีของอินดิเคเตอร์เปลี่ยนจากสีชมพูเป็นสีเขียว
- นำกรดบอริคที่ได้จากข้อ 6 ไปไทเทรตด้วยสารละลาย 0.025 M HCl จนสีของอินดิเคเตอร์เปลี่ยนกลับไปเป็น สีชมพู ความเข้มของสีจะอ่อนลงกว่าเดิม เนื่องจากอินดิเคเตอร์เจือจากลง
- ปิเปตสารละลายมาตรฐาน tris 10 cm3 ใส่ใน conical flask ขนาด 125 cm3 จำนวน 2 ใบ หยดอินดิเคเตอร์ลงไป 2 หยด แล้วไทเทรตด้วย 0.025 M HCl
|
การคำนวณ |
ความเข้มข้นที่แท้จริงของ HCl คำนวณได้จาก
N1 = N2V2/V1
N1 = ความเข้มข้นที่แท้จริงของกรด HCl (M)
N2 = ความเข้มข้นของสารละลายมาตรฐาน tris (M)
V2 = ปริมาตรของสารละลายมาตรฐาน tris (cm3)
V1 = ปริมาตรเฉลี่ยของกรด HCl ที่ใช้ในการไทเทรตข้อ 8 (cm3)
ความเข้มข้นของไนโตรเจนทั้งหมดในตัวอย่างดินคำนวณได้จาก
% total N = 1.4 N1V/W
N1 = ความเข้มข้นที่แท้จริงของกรด HCl (M)
V = ปริมาตรของกรด HCl ที่ใช้ในการไทเทรตข้อ 7 (cm3)
W = น้ำหนักของตัวอย่างดินที่ใช้ (กรัม) |
การประเมิน |
ระดับความอุดมสมบูรณ์ของไนโตรเจนในดินสามารถประเมินได้ดังตาราง
ความเข้มข้น (%) |
ระดับ |
< 0.1 |
ต่ำมาก |
0.1 - 0.3 |
ต่ำ |
0.3 - 0.6 |
ปานกลาง |
0.6 - 1.0 |
สูง |
> 1.0 |
สูงมาก |
|
ดินที่มีไนโตรเจนในระดับต่ำหรือต่ำมาก ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (ปุ๋ยตัวหน้าสูง) หรือปุ๋ยอินทรีย์ให้กับพืชที่ปลูก |