การนำไฟฟ้าของดิน (Electrical Conductivity)
เป็นค่าการนำไฟฟ้าของน้ำที่สกัดจากดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ เนื่องจากการนำไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของเกลือในน้ำ การวัดค่าการนำไฟฟ้าจึงทำให้ประมาณค่าเกลือ ละลายในน้ำที่สกัดออกมาจากดินได้ ซึ่งจะใช้เป็นดัชนีของความเค็มที่บอกได้ว่าพืชจะเจริญเติบโต เป็นปกติหรือไม่ มีหน่วยการวัดเป็น milimhos/cm. และ micromhos/cm. โดยคิดเทียบที่อุณหภูมิ 20 องศา C
ตารางความสัมพันธ์ของค่าการนำไฟฟ้ากับปริมาณเกลือในดินและการเจริญเติบโตของพืช
ค่า EC (mmho/cm) |
เฉลี่ยในดิน (%) |
ระดับความเค็มของดิน |
อิทธิพลต่อพืช |
<2 |
< 0.1 |
ไม่เค็ม |
ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตพืช |
2-4 |
0.1-0.15 |
เค็มเล็กน้อย |
มีผลต่อพืชไม่ทนเค็ม |
4-8 |
0.15-0.35 |
เค็มปานกลาง |
มีผลต่อพืชหลายชนิด |
8-16 |
0.35-0.70 |
เค็มมาก |
พืชทนเค็มเท่านั้นเจริญเติบโตได้ |
>16 |
> 0.70 |
เค็มมากที่สุด |
พืชทนเค็มน้อยชนิดที่เจริญเติบโตได้ |
พืชต่างชนิดกันจะทนความเค็มไดในระดับต่างกัน ดังตารางที่ 5 เช่น ฝ้าย และข้าวสาลีจะทน
ความเค็มได้มากกว่าข้าวโพดและข้าว ดังนั้นในการพิจารณาปลูกพืชควรเลือกชนิดของพืช
ให้เหมาะสมกับคุณภาพของดิน หรือต้องปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับพืชที่ต้องการจะปลูก
เสียก่อน
ตารางพืชที่ทนเค็มในระดับต่าง ๆ
พืช |
EC ที่ทำให้ผลผลิตพืชลดลง 50 %
(milimhos/cm.) |
ข้าวบาร์เลย์ |
17 |
หัวผักกาดหวาน,ฝ้าย |
16 |
ข้าวสาลี |
14 |
ข้าวฟ่าง |
12 |
ถั่วเหลือง |
10 |
ข้าว,ปวยเล้ง,มะเขือเทศ,บรอคโคลี |
8 |
ข้าวโพด,กะหล่ำปลี |
7 |
มันฝรั่ง,ข้าวโพดอ่อน,มันเทศ |
6 |
ถั่ว |
3 |
อ้างอิง : http://www3.rid.go.th/