[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | + เลือกหน้า | All contents

ติดตามสินค้าที่คุณสั่ง
คุณ บุษกร คำผาลา, Friday 19 April 2024 13:57:14, เลขจัดส่ง SMAM000198031RW
คุณ ธนศักดิ์ ขวัญสุด, Friday 19 April 2024 13:35:55, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ ธรรมนูญ, Friday 19 April 2024 13:34:52, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ ณัฐวุฒิ พิกุลหอม, Friday 19 April 2024 13:33:49, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ ไมตรี พนันชัย, Friday 19 April 2024 13:31:58, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ นิยดา เจริญสุข, Friday 19 April 2024 13:23:50, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ ธนวิน บุญมาทัน, Friday 19 April 2024 13:22:10, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ ทรรศภูมิ ดาผา, Friday 19 April 2024 13:20:52, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ สังวาลย์ บุเงิน, Friday 19 April 2024 13:19:31, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ มารุต อินทร์อวยพร, Friday 19 April 2024 13:18:09, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
ดูรายการจัดส่งทั้งหมด
โป๊ยเซียน การปลูก การเลี้ยง และการดูแลรักษา
172.68.106.127: 2564/09/04 02:56:30
โป๊ยเซียน การปลูก การเลี้ยง และการดูแลรักษา
แม้ว่าต้นโป๊ยเซียนจะสามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีในทุกภูมิภาคของไทยก็ตาม แต่การปลูกโป๊ยเซียนให้สวยงามนั้น นอกจากสภาพแวดล้อมแล้ว การดูแลรักษาก็นับว่ามีส่วนสำคัญ

ดินปลูกโป๊ยเซียน

ควรเป็นดินชั้นบนมีอินทรียวัตถุพวกเศษพืช โดยเฉพาะใบก้ามปูและใบทองหลางที่เน่าเปื่อยผุพังคลุกเคล้าอยู่ในดินจนเป็นเนื้อเดียวกัน ดินประเภทนี้จะอุ้มน้ำและระบายอากาศได้ดี ทำให้รากของโป๊ยเซียนแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว การใช้ดินปลูกที่แน่นทึบและมีน้ำขังอาจทำให้รากและต้นโป๊ยเซียนเน่าได้ เมื่อปลูกโป๊ยเซียนได้ระยะหนึ่งควรทำการพรวนดินรอบๆ กระถางปลูก ห่างจากโคนต้นประมาณ 2 นิ้ว พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอกลงไปในดินประมาณ 1-2 ช้อนแกง และควรเปลี่ยนดินปลูกทุกปี

แสงแดด

โป๊ยเซียนเป็นไม้ที่ชอบแดด การปลูกถ้าให้โป๊ยเซียนได้รับแสงแดดประมาณ 60-70% จะดีมาก โดยเฉพาะแดดตอนเช้าถึงตอนสายก่อนเที่ยง ถ้าได้รับแสงแดด 100% ทั้งวันต้นจะแข็งแรง สีของดอกจะเข้มแต่เล็กลงกว่าเดิม นอกจากนี้ใบยังอาจจะไหม้เกรียมได้ ถ้าให้โป๊ยเซียนได้รับแดดน้อยหรืออยู่ในร่ม ดอกจะโต สีดอกไม่เข้ม ต้นไม่แข็งแรง ดังนั้นจึงควรจัดให้โป๊ยเซียนได้รับแสงแดดประมาณ 60-70% โดยใช้ตาข่ายพรางแสงช่วยก็จะดีมาก อย่างไรก็ตามในฤดูร้อนอากาศแห้งแล้งแดดจัดและร้อนมากเกินไปอาจทำให้โป๊ยเซียนเหี่ยวเฉาได้ ดังนั้นความชุ่มชื้นในอากาศก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโป๊ยเซียนเช่นกัน

การรดน้ำโป๊ยเซียน

ตามปกติควรรดน้ำวันละครั้งในตอนเช้าและควรรักษาระดับความชื้นของดินให้พอเหมาะไม่แฉะหรือแห้งเกินไป เช่น ถ้าเป็นช่วงฤดูแล้งดินปลูกแห้งมากควรรดน้ำทั้งเช้าและเย็น ฤดูฝนถ้าวันใดฝนตกก็ไม่จำเป็นต้องรดน้ำแต่ควรตรวจดูผิวดินในกระถางด้วย ทั้งนี้เพราะใบของโป๊ยเซียนอาจปกคลุมกระถางจนทำให้ฝนที่ตกลงมาไม่สามารถลงไปในกระถางได้ ถ้าโป๊ยเซียนกำลังออกดอกควรหลีกเลี่ยงอย่าให้น้ำไปถูกดอกเพราะจะทำให้ดอกเน่าและร่วงเร็วกว่าปกติ สำหรับน้ำที่ใช้รดควรเป็นน้ำที่มีสภาพเป็นกลาง ถ้าน้ำมีสภาพเป็นกรดอาจผสมปูนที่ใช้กินกับหมากลงไปเล็กน้อยก็ได้ ถ้าเป็นน้ำประปาหรือน้ำบาดาลควรมีบ่อหรือถังพักน้ำไว้หลายๆ วันจึงจะนำมาใช้ได้

การตัดแต่งกิ่งโป๊ยเซียน

โป๊ยเซียนบางต้นมีการแตกกิ่งก้านสาขามาก บางต้นมีลำต้นเดียวไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา ต้นที่มีกิ่งก้านสาขามากจะเป็นพุ่มทึบแสงแดดและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทำให้โป๊ยเซียนออกดอกน้อยและมีขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งหลบซ่อนของโรคและแมลงศัตรูพืช ควรตัดกิ่งก้านออกบ้างเพื่อให้แสงและอากาศถ่ายเทได้สะดวก การตัดควรตัดให้ชิดลำต้นไม่ควรเหลือตอกิ่งไว้ กิ่งที่เหลือไว้ควรให้มีรูปทรงสวยงามเป็นไปตามธรรมชาติ หลังจากตัดกิ่งออกแล้วควรใช้ปูนแดงทาบริเวณรอยตัดเพื่อป้องกันเชื้อรา ส่วนกิ่งที่ตัดออกอาจนำไปขยายพันธุ์ต่อไป สำหรับโป๊ยเซียนที่มีลำต้นเดี่ยวไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ถ้ากิ่งสูงมากเมื่อโดนลมแรงๆ อาจทำให้ต้นหักได้ควรตัดยอดไปขยายพันธุ์เป็นต้นใหม่ ส่วนโคนที่เหลือก็จะแตกกิ่งก้านออกมาใหม่

การให้ปุ๋ยโป๊ยเซียน

เมื่อปลูกโป๊ยเซียนเป็นเวลานานธาตุอาหารในดินก็จะถูกใช้ไปเรื่อยๆ จึงจำเป็นต้องเพิ่มธาตุอาหารหรือปุ๋ยลงไปในดิน การใส่ปุ๋ยให้กับโป๊ยเซียนสามารถใส่ได้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์อาจเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เช่น มูลวัว มูลสุกร มูลไก่ มูลค้างคาว รวมทั้งปุ๋ย กทม. ปุ๋ยเหล่านี้ทำให้ดินร่วนซุย ระบายถ่ายเทอากาศได้ดี ควรใส่เดือนละครั้งสลับกับการใส่ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีควรใช้ปุ๋ยที่มีคุณภาพดีซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งปุ๋ยละลายช้า ปุ๋ยเกล็ดและปุ๋ยน้ำโดยปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลากอย่างเคร่งครัด การให้ปุ๋ยเคมีควรให้ในช่วงเช้าและควรงดน้ำก่อนให้ปุ๋ย 1 วันเพื่อกระตุ้นให้รากดูดปุ๋ยได้มากขึ้น ควรรดหรือโรยเฉลี่ยรอบๆ ต้นเดือนละ 1-2 ครั้ง สำหรับไม้ที่ปลูกใหม่ๆ ยังไม่ควรให้ปุ๋ยเคมีเพราะระบบรากยังจับตัวกับดินไม่ดีพอประกอบกับรากอาจมีการฉีกขาด เนื่องจากการเปลี่ยนดินทำให้ปุ๋ยกระทบรากโดยตรงและเร็วเกินไป อาจทำให้โป๊ยเซียนตายได้ การใส่ปุ๋ยเพื่อให้โป๊ยเซียนออกกิ่งหรือดอกมีวิธีปฏิบัติดังนี้

การปลูกเลี้ยงเพื่อให้แตกกิ่ง การทำให้โป๊ยเซียนคายน้ำน้อยๆ จะทำให้โป๊ยเซียนไม่ออกดอกแต่จะแตกกิ่งแทน ดังนั้นสถานที่ปลูกจึงควรเป็นที่อับลม มีลมพัดผ่านน้อย มีแสงแดดไม่มากหรือพรางแสงด้วยที่พรางแสงประมาณ 60-70% มีความชื้นแต่ไม่แฉะ การวางกระถางก็ควรวางให้สูงจากพื้นเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้การยืดช่วงเวลากลางวันให้ยาวออกไปโดยการใช้หลอดไฟ Day Light 60-100 วัตต์ ส่องให้กับต้นโป๊ยเซียนในเวลากลางคืนก็จะช่วยให้ต้นโป๊ยเซียนออกกิ่งได้ดีขึ้น สำหรับดินที่ปลูกควรผสมปุ๋ยคอกมูลสัตว์ เช่น มูลวัว มูลไก่ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็ควรใช้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เช่น 15-5-5_ 25-7-7 ในปริมาณน้อยๆ ทุก 7-10 วัน

การปลูกเลี้ยงเพื่อให้ออกดอก จะตรงข้ามกับกับการปลูกเพื่อให้แตกกิ่ง คือการวางกระถางควรวางให้สูงจากพื้นประมาณ 60-70 ซม. เพื่อให้อากาศพัดผ่านก้นกระถางได้สะดวก เมื่อโป๊ยเซียนคายน้ำมากจะทำให้ออกดอก แสงแดดควรให้มากกว่า 50% หรือพรางแสงด้วยที่พรางแสง 40-50% แสงแดดจะช่วยให้สีของดอกมีสีเข้มขึ้น แต่ไม่ควรให้โป๊ยเซียนถูกแสงแดด 100% หรือถูกแสงแดดโดยตรงจะทำให้ใบไหม้เกรียมได้ ดินปลูกไม่ควรมีปุ๋ยคอกมูลสัตว์มากนัก

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

FK ธรรมชาตินิยม ประกอบด้วยธาตุอาหารพืชที่จำเป็น ที่จะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตให้กับโป๊ยเซียน โตไว สมบูรณ์ ออกดอกดี มีความแข็งแรง ต้านทานโตโรคพืชได้ดีขึ้น

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น โป๊ยเซียมใบไหม้ โรคราต่างๆในโป๊ยเซียน

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
อ่าน:3239
บำรุงทุเรียน ให้เจริญเติบโตดี สมบูรณ์ แข็งแรง ออกดอก ติดผลดก
118.175.237.96: 2564/05/30 22:26:13
บำรุงทุเรียน ให้เจริญเติบโตดี สมบูรณ์ แข็งแรง ออกดอก ติดผลดก
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกทุเรียน สภาพดิน ควรเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี มีหน้าดินลึก

เพราะทุเรียนเป็นพืชที่อ่อนแอต่อสภาพน้ำท่วมขัง และความเป็นกรดด่างของดิน 5.5-6.5 หากจำเป็นต้องปลูกทุเรียนในสภาพดินทราย จำเป็นต้องนำหน้าดินจากแหล่งอื่นมาเสริมและต้องใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วย และควรมีการจัดการเรื่องระบบน้ำเพื่อให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกติดผลของทุเรียนด้วย

แหล่งน้ำ ต้องมีแหล่งน้ำจืดให้ต้นทุเรียนได้เพียงพอตลอดทั้งปี

อุณหภูมิและความชื้น ทุเรียนชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วงประมาณ 25-30
องศาเซลเซียส มีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศประมาณ 75-85 เปอร์เซ็นต์ หากปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศแห้งแล้ง

พื้นที่ที่มีอากาศร้อนจัดหรือเย็นจัด และมีลมแรง จะพบปัญหาใบไหม้หรือใบร่วง ทำให้ต้นทุเรียน
ไม่เจริญเติบโตหรือเติบโตช้าให้ผลผลิตช้า น้อย และไม่คุ้มต่อการลงทุน

การเตรียมพื้นที่ จำเป็นต้องมีการปรับพื้นที่ปลูก กำหนดผังปลูกและติดตั้งระบบน้ำ โดยปรับพื้นที่
ให้ราบไม่ให้มีแอ่งน้ำท่วมขัง และควรปรับเป็นเนินลูกฟูกเพื่อปลูกทุเรียนบนสันเนิน ระยะปลูก 8*8 เมตร หรือ 9*9 เมตร (16-25 ต้น/ไร่) หากมีการทำสวนขนาดใหญ่ ควรขยายระยะระหว่างแถวให้กว้างขึ้นเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงาน การวางแนวปลูกควรขวางความลาดเทของพื้นที่ หรือกำหนดแถวปลูกในแนวทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก และถ้ามีการจัดวางระบบน้ำจะต้องพิจารณาแนวทางจัดวางท่อในสวนเพื่อให้มีการจัดการที่ง่ายและสะดวก

การวางผังปลูก

สามารถเลือกระบบการปลูกทุเรียนเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้แก่

ระบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสามเหลี่ยมด้าน
เท่าระยะปลูก 8-10 เมตร เหมาะกับพื้นที่ที่ค่อนข้างเรียบ

ระบบแถวกว้างต้นชิด (Hedge row system)
ในการปลูกระบบนี้ระยะระหว่างต้นเป็น 30-50% ของระยะระหว่างแถวและมีการวางแถวปลูกในแนวเหนือใต้ มีด้านกว้างระหว่างแถวขวางแนวขึ้นลงของพระอาทิตย์ แถวมีความกว้างพอที่จะให้เครื่องจักรกลผ่านเข้าออกได้สะดวก

การดูแลบำรุง

ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี

[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

การป้องกันกำจัดโรคทุเรียน

โรคจากเชื้อราต่าง เช่น โรคใบติด (โรคใบไหม้) โรคไฟทอปธอราในทุเรียน โรคราสีชมพูในทุเรียน โรคราแป้งทุเรียน โรคราดำทุเรียน ตัดและเก็บส่วนที่เป็นโรครวมกัน เผาทำลาย และ ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง เพื่อยับยั้งการลุกลาม ไม่ให้ขยายวง

การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูทุเรียน

เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยต่างๆ ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน หนอนเจาะผล เหล่านี้ควรฉีดป้องกันไว้ หากเป็นแล้วเสียหายไปแล้ว ผลผลิตก็เสียหาย ทำได้คือการยับยั้ง ไม่ให้ลุกลามเข้าไปทำลายผลใหม่ ที่ยังไม่โดยหนอนเจาะทำลาย ฉีดพ่น ไอกี้-บีที ชีวภัณ์กำจัดหนอน ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง

# Go..Reference..Site..
บำรุงทุเรียน ให้เจริญเติบโตดี สมบูรณ์ แข็งแรง ออกดอก ติดผลดก
อ่าน:3239
ลองกอง การเพิ่มผลผลิตในฤดูและนอกฤดู
180.180.52.133: 2564/06/05 12:06:02
ลองกอง การเพิ่มผลผลิตในฤดูและนอกฤดู
ลองกองเป็นพืชที่เพื่อนๆ เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกกันเชิงการค้านะครับ วันนี้ผมจะไม่ชวนคุยเรื่องการปลูก แต่จะมาชวนคุยเรื่องการเพิ่มผลผลิตกันครับ ทั้งเรื่องการตัดแต่งกิ่งให้ได้ผลเยอะและมีคุณภาพ และการปลูกลองกองนอกฤดู เพื่อให้พวกเราได้ผลผลิตเยอะขึ้นกันนะครับ

การตัดแต่งช่อผลในช่วง 1-2 สัปดาห์และ 7-8 สัปดาห์หลังดอกบานเลือกช่อที่สมบูรณ์ และทำการเด็ดผลบริเวณโคนช่อกรณีที่ผลแน่นมากเกินไป เพราะเมื่อเจริญเติบโตขึ้นจะเกิดการเบียดเสียดและอัดแน่นจนทำให้หลุดทั้งช่อได้ ในการตัดช่อดอกต่อกิ่ง แนะนำว่าเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้วให้ไว้ดอก 3-5 ช่อ ถ้าเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 นิ้วให้ไว้ดอก 10 ถึง 15 ช่อ สำหรับการตัดแต่งผลช่อ ควรตัดแต่งผลที่ไม่สมบูรณ์และก้านอัดแน่นเกินไปออก ให้ผลที่เหลืออยู่เจริญเติบโตเต็มที่และสม่ำเสมอทุกผล ทำให้ช่อผลลองกองมีคุณภาพดี การตัดปลายช่อผลเป็นนวัตกรรมใหม่ทำให้คุณภาพผลผลิตลองกองดีขึ้นมาก ผลสุกสม่ำเสมอจากโคนช่อและปลายช่อ โดยใช้กรรไกรปากเป็ดและกรรไกรปากนกแก้วต่อด้ามยาว 2-3 เมตร ควรทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคที่คมกรรไกรทุกครั้งที่ใช้งาน

การใส่ปุ๋ยบำรุงผลนั้น ขณะที่ผลลองกองกำลังเจริญเติบโต จำเป็นต้องเพิ่มปุ๋ยบำรุงโดยเฉพาะ ถ้ามีการแตกใบอ่อนออกมาในระยะนี้ ลองกองต้องสูญเสียสารอาหารที่สะสมไว้ออกไป ฉะนั้นต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น หรือสูตร 12-12-17 ปริมาณ 0.5- 1 กิโลกรัมต่อต้น ถ้าต้องการให้ใบอ่อนแก่เร็วขึ้นควรใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 7-13 -14 ในอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นเพิ่มเติมและให้น้ำสม่ำเสมอ

ต่อมาเรามาดูเรื่องการบังคับลองกองออกนอกฤดูกันบ้างครับ ก่อนอื่นต้องสังเกตที่ต้นลองกองที่ตาดอกว่ามีดอกออกหรืไม่ ถ้าดอกไม่ออกก็ควรฉีดพ่นฮอร์โมนเพื่อเปิดตาดอกก่อน สังเกตกิ่ง ที่ตาดอกอันเล็กๆ ถ้าหากว่าเราไม่ทำการบังคับเร่งดอก ดอกและผลก็จะไปออกตามฤดูกาล ขั้นตอนที่สำคัญคือสังเกตไปที่ใต้ต้นลองกองนะครับเห็นหญ้าเขียวปกคลุมอยู่ เราควรจะตัดออกให้เกลี้ยงแล้วโรยด้วยปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ประมาณ 3-4 กำมือ หลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ สังเกตที่ต้นลองกองว่ากิ่งก้านจะเริ่มทรุดโทรม ใบก็จะเหลือน้อยลง ถ้าหากว่ามีฝนตกในช่วงนี้ให้หาพลาสติกมาคลุมโคนต้นไว้ เมื่อต้นลองกองทรุดโทรมเหมือนกับใกล้จะตาย เราก็จะให้น้ำ ด้วยสปริงเกอร์อย่างน้อยประมาณ 2 ชั่วโมงขึ้นไป แล้วทดสอบด้วยการเหยียบไปที่โคนต้นที่เรารดน้ำ ดินจะมีการยุบตัวลง ก็ถือว่าใช้ได้ครับ และเราก็ควรจะรดน้ำทุกวันนะครับวันละประมาณครึ่งชั่วโมงก็พอนะครับหลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ ดอกก็จะเริ่มมีความยาวขึ้นมาประมาณ 2 เซนติเมตร ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์ 4 สัปดาห์ความยาวก็จะเริ่มยาวขึ้น ดอกที่ออกมาหลายๆ ช่อ เราก็จะเด็ดออกให้เหลือแค่ช่อเดียว ระยะห่างของช่อดอกให้ห่างกันอย่างน้อย 1 คืบ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดก็ประมาณ 1 ศอก เพื่อที่เราจะได้ช่อที่มีความยาวมีความสมบูรณ์เต็มที่ หลังจากนั้นประมาณ 3 เดือนผลผลิตลองกองก็จะเริ่มออกสู่ตลาด โดยรวมแล้วเราก็จะใช้เวลาบังคับลองกองจนถึงผลผลิตออกก็ประมาณ 5 เดือนครับ

Reference http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3238
ป้องกัน กำจัด หนอนเจาะผลขนุน ด้วย ไอกี้ สารชีวินทรีย์ ปลอดภัย เร่งฟื้นฟู บำรุง ด้วย FK-T
162.158.178.204: 2565/07/25 07:21:31
ป้องกัน กำจัด หนอนเจาะผลขนุน ด้วย ไอกี้ สารชีวินทรีย์ ปลอดภัย เร่งฟื้นฟู บำรุง ด้วย FK-T
ไอกี้ และ FK-T สามารถใช้ได้กับทุกพืช ใช้ฉีดพ่นทางใบ กับอุปกรณ์ฉีดพ่นทั่วไป และใช้โดรนบินฉีดพ่นได้เช่นกัน

ที่พบอยู่เสมอคือ หนอนไชลำต้น โดยเฉพาะในสวนที่ไม่ค่อยดูแลรักษา ปล่อยให้รกรุงรังจะพบมาก และยังพบมากในต้นขนุนที่มี
อายุมาก ๆ ตัวหนอนจะ เจาะไชอยู่ตามกิ่ง ต้น สังเกตได้ดือรูที่หนอนไชจะมียางขนุนไหลออกมา เมือพบว่า หนอนเจาะไชเข้าไปในกิ่งหรือต้นแล้ว การกำจัดจะทำได้ลำบาก ที่ทำได้คือเปิดปากรูแล้วใช้สำลีชุบยาฆ่าแมลงเช่น ดีลดรีน ดีดีที อุดเข้าไปในรู แล้วใช้ดินเหนียว อุดปากรูไว้ หรือใช้ยาฉีดยุงฉีดเข้าไปในรูแล้วอุดด้วยดินเหนียว ยาจะระเหยเข้า ไปฆ่าหนอนได้ ส่วนกิ่งที่พบว่ามีหนอนไชมากให้ตัดเอาไปเผาทิ้งเสีย นอกจากนี้อาจมีตัวหนอนหรือแมลงไชผล ทำให้บริเวณนั้นเน่าเป็นสีดำ ผลแป้วหรือเบี้ยวขายไม่ได้ราคา


ไอกี้ เป็นสารชีวินทรีย์ (ชีวภาพ) ปลอดภัย กำจัดหนอนต่างๆหลายชนิด
ขนาด 500 กรัม (แนะนำให้ใช้คู่กับ FK ธรรมชาตินิยม เพื่อเร่งฟื้นฟูบำรุง)
อัตราผสม 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

FK-T (FK ธรรมชาตินิยม) ปลอดภัย อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ ลดต้นทุนปุ๋ย ได้ผลผลิตเพิ่ม พืชฟื้นตัวได้เร็ว
ขนาด 1 ลิตร
อัตราผสม 50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

แนะนำให้ผสม ไอกี้ และ FK-T ฉีดพ่นไปพร้อมกัน
อัตราผสม สำหรับการฉีดพ่นพร้อมกัน
ไอกี้ 25 กรัม และ FK-T 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

การผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันส่งผลให้..

เมื่อพืช ถูกโรคหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้าทำลาย พืชจะมีความอ่อนแอ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูได้ต่ำกว่าปกติ
การที่เราใช้เฉพาะตัวยา ตัวยาจะช่วยหยุดโรค หรือกำจัดแมลง แต่พืชของเรานั้นจะยังทรงตัว ฟื้นตัวจากโรค หรือฟื้นตัวจากความเสียหายของการเข้าทำลายของแมลงได้ช้า

เปรียบได้คล้ายกับคนป่วย หากได้รับแต่เฉพาะยา ไม่ทานอาหาร ไม่บำรุง ร่างกายก็จะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิมได้ช้า
พืชก็เช่นกัน หากเราให้ยา และให้อาหารเสริมพืชทางใบหรือ FK-T ไปพร้อมกัน พืชจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นไปพร้อมกับยารักษาโรคหรือยาปราบศัตรูพืช จึงช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม

สั่งซื้อ
โทร 090-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
อ่าน:3237
รับมือ โรคราน้ำค้าง ในพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด
172.70.147.65: 2564/08/10 11:59:54
รับมือ โรคราน้ำค้าง ในพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด
อากาศเย็นมีความชื้นสูงในตอนเช้า และอากาศร้อนในเวลากลางวันช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด อาทิ กวางตุ้ง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม และบรอกโคลี ให้เตรียมรับมือการระบาดของโรคราน้ำค้าง ที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช จะพบอาการของโรคบนใบที่อยู่บริเวณด้านล่างของต้นก่อน จากนั้นแผลจะขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบนของต้นพืช โดยมีอาการเริ่มแรกบริเวณด้านบนใบเป็นจุดแผลสีเหลือง หรืออาจเป็นปื้นสีเหลือง

เมื่อสภาพอากาศมีความชื้นสูงในตอนเช้า มักพบเส้นใยเชื้อราเป็นขุยสีขาวถึงเทาตรงแผลด้านใต้ใบ หากพบโรคระบาดรุนแรง แผลจะลามขยายใหญ่ทำให้เนื้อใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต่อมาใบจะเหลืองและแห้งตาย กรณีพบโรคในระยะต้นกล้า ใบเลี้ยงจะเกิดจุดแผลสีน้ำตาล ทำให้ต้นแคระแกร็นและตายในที่สุด ส่วนในกะหล่ำดอกและบรอกโคลี ถ้าพบเชื้อราเข้าทำลายรุนแรง ก้านดอกจะยืดและดอกอาจจะบิดเบี้ยวเสียรูปทรงได้

เกษตรกรควรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์สะอาดที่มีคุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค และก่อนปลูกควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส (ต้มน้ำจนเดือดแล้วเติมน้ำอุณหภูมิปกติลงไปผสมอีก 1 เท่า) นาน 20-30 นาที หรือคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิล 35% ดีเอส อัตรา 10 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม จากนั้น เกษตรกรควรปลูกพืชให้มีระยะห่างกันพอสมควร ไม่เบียดแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความชื้นสูง อากาศไม่ถ่ายเท และโรคระบาดได้รวดเร็ว

หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว เกษตรกรควรเก็บเศษซากพืชส่วนที่หลงเหลือในแปลง และหมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงนำไปทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดการสะสมเชื้อราสาเหตุโรค หลีกเลี่ยง การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำในพื้นที่แปลงเดิม ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน และควรทำความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์ทางการเกษตรที่ใช้กับต้นเป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่กับต้นปกติทุกครั้ง

หากพบโรคเริ่มระบาด ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ+เมทาแลกซิล-เอ็ม 64%+4% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วทั้งด้านบนใบและใต้ใบ ทุก 5-7 วัน

อังคณา ว่องประสพสุข : ข่าว

กรมวิชาการเกษตร

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น ไอเอส เพื่อป้องกันกำจัด โรคราน้ำค้าง ฉีดพ่น FK-1 เพื่อฟื้นฟู บำรุง สร้างภูมิต้านทาน และส่งเสริมผลผลิต
อ่าน:3237
โรคมะพร้าวยอดเน่า ใบแห้ง ใช้ ไอเอส และ FK-1
172.71.218.39: 2566/02/28 13:56:41



ต้นมะพร้าว มีความอ่อนไหวต่อโรคต่าง ๆ ที่สามารถลดผลผลิตและมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ หนึ่งในโรคต้นมะพร้าวที่พบมากที่สุดคือโรคมะพร้าวเน่า มะพร้าวยอดเน่า ใบเน่า มะพร้าวใบแห้ง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อรา.

ไอเอส เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สามารถป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในพืช ทำงานได้โดยการควบคุมไอออนในพืชซึ่งจะช่วยป้องกันการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเชื้อรา ไอเอส นั้นมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการป้องกันและรักษาโรคมะพร้าวใบเน่า.

การใช้ ไอเอส ให้ผสม 50 ซีซีของสารในน้ำ 20 ลิตรและคนให้ละลายจนละลายอย่างสมบูรณ์ จากนั้นพ่นลงบนต้นมะพร้าวโดยมุ่งเน้นไปที่พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโรค ควรทำฉีดพ่นซ้ำทุก ๆ 10-14 วันจนกว่าโรคจะถูกกำจัด.

FK-1 ฉีดพ่นเพื่อผลผลิตสูงสุด.

นอกเหนือจากการป้องกันและกำจัดโรคมะพร้าวแล้ว สิ่งสำคัญที่จะเพิ่มผลผลิตของต้นมะพร้าว วิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพคือการใช้ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ FK1.

FK1 ประกอบด้วยไนโตรเจน_ ฟอสฟอรัส_ โพแทสเซียม_ แมกนีเซียม_ สังกะสีและสารลดแรงตึงผิวซึ่งทั้งหมดนี้มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของต้นมะพร้าว ด้วยการใช้ FK1 เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของมะพร้าวได้อย่างดีเยี่ยม.

ในการใช้ FK1 ให้ผสมโดยตักถุงแรก 50 กรัม และ ถุงที่สอง 50 กรัม (ทั้งสองบรรจุอยู่ในกล่อง FK1) ผสมในน้ำ 20 ลิตร คนให้เข้ากันละลายอย่างสมบูรณ์แล้วฉีดลงบนต้นมะพร้าว ควรทำซ้ำทุก ๆ 10-14 วันเพื่อให้แน่ใจว่าผลผลิตสูงสุด.

บทสรุป.

โรคมะพร้าวใบเน่า ใบเน่า ใบแห้ง ยอดเน่า ยอดแห้ง อาจเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อผลผลิตของต้นมะพร้าว อย่างไรก็ตามด้วยการใช้สารประกอบอินทรีย์ ไอเอส และปุ๋ยสเปรย์ทางใบ FK-1 เกษตรกรสามารถป้องกันและกำจัดโรคนี้ได้ในขณะที่ยังเพิ่มผลผลิตของพืชมะพร้าว โดยใช้อัตราการผสมที่แนะนำ เกษตรกรสามารถมั่นใจได้ว่าต้นมะพร้าวของพวกเขายังคงมีสุขภาพดีและมีประสิทธิผล

http://ไปที่..link..

เลือกซื้อ ไอเอส และ FK-1 เลื่อนลงล่างอีกนิดนะคะ
โรคมะพร้าวยอดเน่า ใบแห้ง ใช้ ไอเอส และ FK-1
อ่าน:3237
ยารักษาโรคพืช กำจัดโรคใบจุด ใน มะเขือเทศ โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด(ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
172.71.218.39: 2566/05/31 10:48:14
ยารักษาโรคพืช กำจัดโรคใบจุด ใน มะเขือเทศ โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด(ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
IS: สารต้านเชื้อราอินทรีย์ที่กำจัดโรคใบจุดในมะเขือเทศ

โรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อราหลายชนิดเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับผู้ปลูกมะเขือเทศทั่วโลก เชื้อราก่อโรคเหล่านี้สามารถทำลายล้างต้นมะเขือเทศ ทำให้ใบเปลี่ยนสี ใบร่วง และทำให้ผลผลิตพืชลดลงในที่สุด วิธีการแบบดั้งเดิมในการควบคุมโรคเชื้อรามักเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีฆ่าเชื้อรา ซึ่งอาจสร้างความกังวลเกี่ยวกับผลเสียที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ต้องขอบคุณการวิจัยและพัฒนาที่กว้างขวาง ความก้าวหน้าได้เกิดขึ้นในรูปแบบของ IS ซึ่งเป็นสารต้านเชื้อราอินทรีย์ที่ได้จากส่วนผสมจากธรรมชาติทั้งหมด

พัฒนาผ่านการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างเข้มงวด IS ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับต่อสู้กับโรคใบจุดในมะเขือเทศ สูตรประกอบด้วยส่วนผสมจากธรรมชาติที่คัดสรรมาอย่างดีซึ่งมีคุณสมบัติต้านเชื้อราที่แข็งแกร่ง ส่วนประกอบที่ออกฤทธิ์ภายใน IS ทำหน้าที่โดยสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยที่ผิวใบพืช ยับยั้งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคใบจุด

ข้อได้เปรียบที่สำคัญอย่างหนึ่งของ IS คือความสามารถในการยึดติดกับพื้นผิวใบพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้มั่นใจได้ถึงการครอบคลุมที่ดีขึ้นและการป้องกันที่ยาวนานขึ้น การยึดเกาะที่ดีขึ้นนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากยังคงอยู่แม้ในช่วงฝนตกหรือการให้น้ำ ช่วยปกป้องพืชจากการโจมตีของเชื้อรา

IS ได้รับการพัฒนาโดยเน้นที่ความปลอดภัยสำหรับทั้งผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม ซึ่งแตกต่างจากสารเคมีกำจัดเชื้อราหลายชนิด ธรรมชาติของส่วนผสมออร์แกนิกช่วยลดความเสี่ยงของสารตกค้างที่เป็นอันตรายในมะเขือเทศที่เก็บเกี่ยว ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้บริโภคจะได้เพลิดเพลินกับผลผลิตที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ สูตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยังช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับแมลงที่เป็นประโยชน์ จุลินทรีย์ในดิน และสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่เป้าหมายอื่นๆ

การพัฒนาระบบ IS แสดงถึงความก้าวหน้าครั้งสำคัญของเกษตรอินทรีย์ ซึ่งนำเสนอแนวทางที่ยั่งยืนสำหรับการจัดการโรคใบจุดในมะเขือเทศ ด้วยการควบคุมพลังของส่วนผสมจากธรรมชาติ สารต้านเชื้อรานี้ช่วยให้ผู้ปลูกมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพซึ่งสอดคล้องกับหลักการของการทำฟาร์มที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

การประยุกต์ใช้ IS นั้นตรงไปตรงมา ผู้ปลูกต้องฉีดพ่นสารละลายให้ทั่วใบมะเขือเทศ เนื่องจากทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา การใช้ซ้ำหลายครั้งในช่วงเวลาที่เหมาะสมจึงสามารถป้องกันโรคใบจุดได้อย่างต่อเนื่องตลอดฤดูปลูก นอกจากนี้ การบูรณาการระบบ IS เข้ากับโปรแกรมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM) ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการควบคุมโรคด้วยการรวมหลายกลยุทธ์เข้าด้วยกัน และลดการพึ่งพาวิธีการควบคุมเพียงวิธีเดียว

สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่าในขณะที่ IS ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่โดดเด่นในการต่อต้านโรคใบจุดในมะเขือเทศ ขอแนะนำให้ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติในการเพาะปลูกที่เหมาะสมเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดและการแพร่กระจายของโรคเชื้อรา ซึ่งรวมถึงแนวทางปฏิบัติต่างๆ เช่น จัดให้มีระยะห่างระหว่างพืชอย่างเพียงพอ ให้แน่ใจว่ามีการหมุนเวียนของอากาศที่เหมาะสม และรักษาระดับความชื้นที่เหมาะสม

โดยสรุป IS เป็นผู้เปลี่ยนเกมในการต่อสู้กับโรคใบจุดในมะเขือเทศ ผ่านการวิจัยและพัฒนาอย่างพิถีพิถัน สารต้านเชื้อราอินทรีย์นี้ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมและยับยั้งเชื้อรา ในขณะที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้ใช้และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ด้วย IS ผู้ปลูกมะเขือเทศสามารถปกป้องพืชผลของตนได้อย่างมั่นใจ รับประกันการเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์ และตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับผลผลิตที่ปลอดภัยและมีคุณภาพสูง

ไอเอส ขนาด 3 ลิตร
อัตรส่วนการใช้ 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
1 แกลลอน ผสมน้ำได้ 1200 ลิตร ใช้ได้ 15 ไร่


สั่งซื้อ
โทร 090-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link.. และช้อปปี้ http://ไปที่..link.. ได้เช่นกัน
ยารักษาโรคพืช กำจัดโรคใบจุด ใน มะเขือเทศ โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด(ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
อ่าน:3237
ทุเรียนผลแตก ทุเรียนผลปลิ และเกิดอาการเน่า รอบรอยปลิแตก เนื่องจาก ทุเรียนขาดธาตุแคลเซียม ผลไม้อื่นก็เช่นกัน ฉีดพ่น FK-1
172.68.106.119: 2564/03/11 21:55:16
ทุเรียนผลแตก ทุเรียนผลปลิ และเกิดอาการเน่า รอบรอยปลิแตก เนื่องจาก ทุเรียนขาดธาตุแคลเซียม ผลไม้อื่นก็เช่นกัน ฉีดพ่น FK-1
แคลเซียมเป็นธาตุอาหาร ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ในพืช เพราะฉนั้น อาการขาดธาตุแคลเซียม จะพบได้ที่เนื้อเยื่อใหม่ เช่น ใบที่ผลิออก ตาดอก และผลใหม่ การขาดธาตุแคลเซียมนำไปสู่การเสื่อมสลายของเนื้อเยื่อของผลทุเรียนที่กำลังเจริญเติบโต

🍠โดยทั่วไปแล้ว
- จะพบเนื้อเยื้อที่ปลายผลผลิแตก
- ทำให้เกิดอาการเน่าตามมา
- พบได้ทั้งในทุเรียน และพืชออกผลอื่นๆหลายชนิด

🥝อาการขาดแคลเซียม แย่ลงเพราะ
ดินกรด ดินทรายหรือดินร่วน (ชะละลาย) ดินมีอินทรียวัตถุเป็นกรด ดินมีโซเดียมมาก ดินมีอลูมิเนียมมาก สภาพแห้งแล้ง ผลมีไนโตรเจนหรือโพแทสเซียมสูง ผลใหญ่

🍎แคลเซียม สำคัญสำหรับ
โครงสร้าง ความคงตัวและความสามารถในการซึมผ่านของน้ำของเยื่อผนังเซลล์ ควบคุมระบบเอนไซม์ ทำหน้าที่ร่วมกับโพแทสเซียมในการควบคุมการเปิดปิดของปากใบ ทำให้พืชมีความต้านทานต่อความเครียดที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ทำให้ใบและผลมีการพัฒนาที่เหมาะสม ป้องกันผลเสียหลังเก็บเกี่ยว

☘ฉีดพ่น FK-1 เพื่อป้องกันการขาดแคลเซียม ลดโอกาสเกิดอาการทุเรียนผลแตก ใน FK-1 ประกอบด้วย
✔N ไนโตรเจน
✔P ฟอสฟอรัส
✔K โพแตสเซียม
✔Ca แคลเซียม
✔Mg แมกนีเซียม
✔Zn สังกะสี
✔สารจับใบ
✔สารสังเคราะห์คลอโรคฟิลล์

Reference: main content from yara.co.th
อ่าน:3235
การขอโควต้าอ้อยจากโรงงาน มีวิธีการอย่างไร
202.122.130.31: 2563/04/18 21:27:02
เป็นเกษตรกรรายย่อย ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ60-70 ไร่ อยากจะขายอ้อยตรงเข้าโรงงาน โดยไม่ผ่านคนกลาง
จะสามารถทำได้หรือไม่ และมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง 
รบกวนผู้รู้ช่วยตอบด้วยค่ะ
อ่าน:3234
🔥โรคราสนิม ในพืชต่างๆ ใช้ ไอเอส
162.158.167.231: 2564/07/08 16:47:19
🔥โรคราสนิม ในพืชต่างๆ ใช้ ไอเอส
ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น โรคใบไหม้ ใบจุดสีน้ำตาล กิ่งแห้ง โรคใบติด โรคราน้ำค้าง ราสนิม แอนแทรคโนส ไฟธอปโทร่า หรือ โรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ใช้ไอเอส หยุดโรค และ FK-1 บำรุงให้แข็งแรง โตไว ผลผลิตดี สร้างภูมิคุ้มกันโรค

✅ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
✅ฉีดพ่นต่อเนื่องไม่อันตราย
✅ใช้ได้กับพืชทุกชนิด
✅ราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับปริมาณ ซีซี ที่ได้

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎖สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บฟาร์มเกษตรโดยตรง http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Lazada

ไอเอส http://www.farmkaset..link..
FK-1 http://www.farmkaset..link..
ชุดคู่ ไอเอส + FK-1 http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Shopee

ไอเอส http://www.farmkaset..link..

FK-1 http://www.farmkaset..link..

ชุดคู่ ไอเอส + FK-1 http://www.farmkaset..link..


ข้อมูลและอัตราผสมใช้

🍂 การใช้ ไอเอส : ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)

🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด


ข้อมูลและอัตราผสมใช้

🍂 ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)

🌿 ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี [FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

🎯 สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด


🍂ข้อมูล ไอเอส

สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติทั้งหมด ผ่านการวิจัยพัฒนา เพื่อคัดเลือกวัตถุดับที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุม และยับยั้งเชื้อรา ด้วยเทคโนโลยี “การควบคุมด้วยประจุไฟฟ้า (Ion Control)” โดยควบคุมสภาพแวดล้อมที่ผิวใบพืช ทำให้เกิดภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการขยายพันธุ์ของเชื้อรา อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดผิวใบพืชได้ดียิ่งขึ้น ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้ใช้และผู้บริโภค
*การใช้ ไอเอส ในช่วงรักษาโรคพืชจากเชื้อรา กรณีลูกค้าใช้ปุ๋ยหมัก ที่หมักเอง ใช้น้ำหมักต่างๆ ให้เลิกใช้ทันที เนื่องจากอาจเป็นการเติมเชื้อโรคเข้าไปเรื่อยๆขณะทำการรักษา (80% ของการเกิดโรคพืช และล้อแมลง มีสาเหตุจากการใช้กากน้ำตาล การหมักปุ๋ย การทำน้ำหมักใช้เอง อย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง)

🌿ข้อมูล FK-1

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig's law of the minimum ปุ๋ยตรา FK ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ เช่น

- ขาดธาตุ แคลเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ แต่พืชเอาไปใช้ได้น้อย ถ้าขาดแคลเซียม) ธาตุแคลเซียม [Ca] ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด
การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะพืชไม่สามารถนำสารอาหารในดินที่มีอยู่ไปใช้งานได้

- ขาดธาตุ แมกนีเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ ฉีดทางใบก็เยอะ แต่พืชก็ยังเหลือง ไม่สมบูรณ์) ธาตุแมกนีเซียม [Mg] เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

- ขาดธาตุ สังกะสี (พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะขาดสังกะสี) ธาตุสังกะสี [Zn] เป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).
การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

การฉีดพ่น FK-1 ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น
อ่าน:3234
3487 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 348 หน้า, หน้าที่ 349 มี 7 รายการ
|-Page 51 of 349-| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 |
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธาตุอาหารของพืช ธาตุหลัก ธาตุรอง ที่พืชจำเป็นต้องใช้ในการเจริญเติบโต
Update: 2563/06/16 22:23:14 - Views: 6999
ควบคุม ป้องกัน กำจัด แมลงศัตรูพืช และโรคพืช ที่ติดเชื้อ และไม่ติดเชื้อ
Update: 2563/11/05 09:37:56 - Views: 4372
ป้องกัน กำจัด รักษา โรคแอนแทรคโนสใน มะลิ
Update: 2563/12/03 08:49:14 - Views: 3838
ยาแก้โรคกะหล่ำปลี โรคกะหล่ำปลีเน่าคอดิน โรคราน้ำค้าง ยากำจัดหนอนกะหล่ำปลี ยาแก้เพลี้ยกะหล่ำปลี และปุ๋ยสำหรับกะหล่ำปลี
Update: 2563/06/22 21:49:36 - Views: 3977
ระวัง!!! เพลี้ยหอย ในต้นลำไย สร้างเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร?
Update: 2566/11/06 12:46:34 - Views: 406
ยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง กู๊ดโซค เร่งมันโต FK-1 และระเบิดหัวมันด้วย FK-3C นะคะ
Update: 2564/08/27 23:32:25 - Views: 3628
เที่ยวเกษตรที่สูง ภูหินร่องกล้า
Update: 2558/10/24 23:50:40 - Views: 3890
ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวปน ข้าววัชพืช
Update: 2564/05/12 23:34:53 - Views: 4055
การจัดการเพลี้ยในต้นงา: วิธีแก้ปัญหาและรักษาพืช
Update: 2566/11/23 14:43:25 - Views: 313
มันสำปะหลังอินทรีย์ จ.อุบลราชธานี พืชยกระดับรายได้เกษตรกร มีตลาดรองรับ
Update: 2564/05/03 15:16:55 - Views: 3818
แตงโมใบไหม้ แตงโมใบแห้ง โรคราแตงโม แก้ด้วย ไอเอส
Update: 2564/08/12 00:07:53 - Views: 4442
ป้องกัน กำจัด โรคผลเน่าในทุเรียน อาการทุเรียนผลเน่า (Fruit Rot)
Update: 2564/04/24 21:38:16 - Views: 3536
ยาฆ่าเพลี้ย กำจัดเพลี้ย ด้วย มาคา ยาฆ่าเพลี้ยปลอดสารพิษ
Update: 2563/01/16 14:54:52 - Views: 3605
การจัดการโรคเชื้อราในมันสำปะหลังอย่างมีประสิทธิภาพ
Update: 2566/05/04 09:43:22 - Views: 3035
แก้โรคใบไหม้ รักษาโรคใบไหม้ด้วยยาอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีทางใบ (ปุ๋ยเคมี ไม่ได้อันตรายเหมือนยาเคมี)
Update: 2563/09/11 07:33:59 - Views: 3533
คุณปริม ปิยะมาศ บัวแก้ว ร่วมพิธีลงนาม MOU รับซื้อโก้โก้ และ มะม่วงเบา ผู้ประกอบการอำนาจและ 2 บริษัทใหญ่
Update: 2562/08/31 10:00:52 - Views: 4186
จีนตอบโต้มาตรการภาษีอเมริกา สะเทือนถึงเกษตรกรขาดรายได้
Update: 2562/09/02 09:40:53 - Views: 3553
Fujinon xf 35mm f1.4 และ xf 35mm f2.0 เลนส์สามัญประจำชาว Fuji ที่น่าจะมีไว้สักตัว
Update: 2564/04/25 02:38:08 - Views: 4750
สารอินทรีย์ ป้องกันกำจัดเพลี้ย มาคา แก้ปัญหา เพลี้ย และแมลงปากดูดต่างๆ ฉีดพ่น มาคา
Update: 2564/03/07 12:32:03 - Views: 3999
โรคมะพร้าวใบไหม้ มะพร้าวใบแห้ง และโรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู บำรุง สร้างภูมิคุ้มกันโรค 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
Update: 2564/07/09 09:29:48 - Views: 3453
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022