ไก่คอล่อน วันนี้ไม่สูญพันธุ์
โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ หลายกิจกรรมก็มีงานด้านการขยายพันธุ์ไก่คอล่อนเพื่อ....
data-ad-format="autorelaxed">
"ไก่คอล่อน" วันนี้ไม่สูญพันธุ์ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี พร้อมด้วย นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ เลขาธิการ กปร. และคณะ เดินทางไปตรวจเยี่ยมโครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถบ้านครองชีพ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
การนี้ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เปิดเผยว่า “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ให้จัดตั้งโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ขึ้นที่บ้านครองชีพ เพื่อเป็นแหล่งจ้างแรงงานสำหรับเกษตรกรในพื้นที่ เป็นแหล่งเรียนรู้ปฏิบัติงานการเกษตร และเป็นแหล่งผลิตอาหารของจังหวัดพัทลุง โดยได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2544 และนับตั้งแต่มีโครงการฯ นี้ขึ้นมา ได้มีกิจกรรมหลายอย่างด้วยกัน อาทิ การปลูกพืชผัก พืชไร่ ไม้ผล นาข้าว การปศุสัตว์ การประมง การปรับปรุงบำรุงดิน การเพาะชำกล้าไม้ และการแปรรูป ฯลฯ ซึ่งในปี 2551 โครงการฯได้ขยายผลกิจกรรมจากฟาร์มตัวอย่าง เพื่อให้เกษตรกรเข้ามาเรียนรู้และศึกษาการทำการเกษตรที่เหมาะสม และถูกต้องและได้นำผลสำเร็จของโครงการขยายผลสู่เกษตรกรในพื้นที่ตำบลนาปะขอ และตำบลท่ามะเดื่อ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร”
และในหลายกิจกรรมก็มีงานด้านการขยายพันธุ์ไก่คอล่อนเพื่อการเลี้ยงเชิงพาณิชย์เป็นสิ่งที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย เนื่องจากเป็นไก่สายพันธุ์ดีเหมาะแก่การนำไปเลี้ยงของเกษตรกรโดยทั่วไป
ไก่คอล่อน เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างไก่คอล่อนกับไก่พื้นเมืองของจังหวัดพัทลุง (ไก่ชน) “ไก่คอล่อน” เชื่อว่าเป็นไก่ที่มีสายพันธุ์มาจากไก่ของฝรั่งเศส ที่นำมาเลี้ยงในประเทศเวียดนามและกัมพูชา เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยทหารญี่ปุ่นได้นำไก่คอล่อนจากประเทศเวียดนามและกัมพูชามาเป็นอาหารในกองทัพ
ไก่คอล่อนเป็นไก่ประเภทให้เนื้อ มีลักษณะคล้ายไก่ชน โดยบริเวณกระเพาะพักจนถึงปากไม่มีขน หรือมีขน แต่หนาไม่เกิน 1.5 นิ้ว จึงเรียกว่า “คอล่อน” สีขนมีสีเขียวจนถึงดำ หงอนถั่ว แข้งเหลือง ผิวหนังสีเหลืองหรือสีขาว จะมีสีปากและขา สีดวงตาและขนจะมีสีเดียวกัน ส่วนคอไม่มีขนและรูขุมขน แนวสันหลังเปลือย ล่อน ขนน่องในเพศผู้แทบจะไม่มี เพศเมียมีบ้างเล็กน้อย ลักษณะหน้าอกใหญ่ เนื้อหน้าอกเยอะ ไหล่กว้าง มองด้านบนเป็นรูปสามเหลี่ยม สีหน้าจะมีสีชมพู ลำตัวเมื่อกางปีกจะไม่มีขน ขนาดน้ำหนักตัว วัยเจริญพันธุ์ ตัวผู้อายุประมาณ 7 เดือน มีน้ำหนักตัว 2.5–3.0 กก. เพศเมียอายุประมาณ 5.5 เดือน หนัก 1.5–2.0 กก. เมื่อโตเต็มที่ เพศผู้หนัก 3.0–4.5 กก. เพศเมียหนัก 2.0–2.8 กก. ไก่คอล่อนแม่พันธุ์ สามารถผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 5–5.5 เดือน ส่วนตัวผู้จะใช้ทำพันธุ์ได้เมื่ออายุ 7–8 เดือน พ่อพันธุ์ 1 ตัว สามารถคุมแม่พันธุ์ได้ 7–10 ตัว อัตราการไข่เฉลี่ยปีละ 4–5 ชุด ชุดละ 12–15 ฟอง ฟักเป็นตัว 10–12 ตัว เลี้ยงรอด 8–10 ตัว โดยที่แม่ไก่จะฟักและเลี้ยงลูกเอง
คุณลักษณะที่ดีของไก่คอล่อนคือ การเจริญเติบโตเร็ว เนื้อแน่น น้ำหนักตัวดี ทนทานต่อโรค ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีอากาศร้อน ให้เนื้อมากและนุ่มกว่าไก่พื้นเมืองทั่วไป เนื้อล่อนไม่ติดกระดูก เหมาะที่นำไปบริโภค ตลาดมีความต้องการ นิยมบริโภค เลี้ยงลูกเก่ง อารมณ์ดี ไม่ดุร้าย เหมาะที่จะเลี้ยงรวมเป็นฝูง ในที่โล่งกว้าง ผสมกับไก่พันธุ์อื่นจะได้ลักษณะเด่นลูกออกมาเป็นคอล่อน
หากนำไปเลี้ยงแบบปล่อยลาน จะต้องมีเนื้อที่กว้าง และมีอาหารจำพวกหญ้าและธัญพืชอย่างสมบูรณ์ เพราะไก่คอล่อนชอบอยู่อย่างอิสระ สภาพพื้นแห้ง มีเนินดินน้ำไม่ท่วม มีไม้พุ่ม ไม้อาศัยนอน ให้อาหารที่มีโปรตีนต่างกัน 3 ระยะ ระยะแรก อายุ 0–4 สัปดาห์ ให้อาหารไก่เนื้อเล็ก ระยะสอง อายุ 4–12 สัปดาห์ ให้รำผสมปลายข้าวและอาหารไก่รุ่น อัตรา 55:35:10 กก. ระยะสาม อายุ 12–16 สัปดาห์ ให้รำละเอียดผสมปลายข้าวและอาหารไก่ใหญ่ อัตรา 50:40:10 กก. ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3–4 เดือน สามารถให้น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1.5–1.8 กก.
หรือเลี้ยงแบบขังคอก จะต้องจัดกลุ่มหรือฝูงไก่ให้มีขนาดใกล้เคียงกัน และฝูงหนึ่ง ๆ ไม่ควรเกิน 50 ตัว เพราะถ้ามีพื้นที่เลี้ยงน้อยไก่จะจิกตีกัน และจะต้องให้อาหารที่มีคุณภาพดี โปรตีนสูง เพราะเลี้ยงขังคอกไม่สามารถหาอาหารโปรตีนจากแหล่งอื่นได้ ใช้อาหารสำเร็จรูปเช่นเดียวกับการเลี้ยงไก่เนื้อทุกประการ ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 2.5–3 เดือน สามารถให้น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1.4–1.6 กก. การเตรียมคอก เริ่มต้นโดยโรยปูนขาวให้ทั่ว ใช้วัสดุรองพื้น เช่น แกลบ ขี้เลื่อย รองพื้นคอกหนา 1 นิ้ว พร้อมพ่นยาฆ่าเชื้อให้ทั่วก่อนนำไก่เข้าเลี้ยง ที่ฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถบ้านครองชีพ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้วจังหวัดพัทลุง มีการเลี้ยงเพื่อศึกษาและขยายผลสู่การเลี้ยงของราษฎรในพื้นที่ สนใจผ่านไปเข้าไปชมศึกษาความเป็นไปได้เพื่อนำมาเลี้ยงในพื้นที่ของตนเองได้.
อ้างอิง:www.dailynews.co.th
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 18957 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
เลือกหมวด :
แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด,
สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,