ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 30442 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ความสำคัญของการตรวจวิเคราะห์ดิน ก่อนปลูกพืช

ความสำคัญของการตรวจวิเคราะห์ดิน ก่อนปลูกพืช ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยได้ถูกต้อง และลดต้นทุนการผลิตซึ่งเป็นการเตรียมคว.

data-ad-format="autorelaxed">

ความสำคัญของการตรวจวิเคราะห์ดิน ก่อนปลูกพืช

ความสำคัญของการตรวจวิเคราะห์ดิน ก่อนปลูกพืช ความสำคัญของการตรวจวิเคราะห์ดิน ก่อนปลูกพืช หมายถึงการใช้เทคนิคทางเคมีที่สะดวกและรวดเร็วใน การตรวจสอบความ สามารถของดินในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เทคนิคดังกล่าวนี้ได้จากการเลียนแบบการดูดดึงธาตุอาหารของรากพืช โดยการใช้น้ำยาสกัดซึ่งประกอบด้วยกรดเจือจางบางชนิด เป็นตัวทำละลายธาตุอาหารในดินและธาตุอาหารที่สกัดออกมาได้จากน้ำยาสกัดเหล่า นี้ (extractable nutrient) จะถูกสมมติเป็นธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (available nutrient) ดังนั้นปริมาณธาตุอาหารที่ได้จากการวิเคราะห์ดินนี้จึงเป็นแต่เพียงตัวเลข ที่ไม่มีความหมายโดยตัวของมันเองแต่จะมีความหมายและ นำไปใช้ประโยชน์ได้เมื่อนำไปหาความสัมพันธ์กับผลผลิตของพืชที่ได้จากการ ทดลองในสภาพไร่นาเสียก่อน

หลักการและขั้นตอนการวิเคราะห์ดิน

หลักการวิเคราะห์ดิน
หลักการสำคัญในการวิเคราะห์ดินมี 2 ประการคือ
1) การสกัด คือ การละลายธาตุอาหารที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อพืช ออกมาทั้งหมดหรือออกมาในปริมาณที่เป็นสัดส่วนที่แน่นอนกับปริมาณที่พืชใช้ ประโยชน์ได้จริง โดยใช้น้ำยาสกัดซึ่งเป็นสารละลายที่เหมาะสม

2) การวิเคราะห์ปริมาณ คือการนำน้ำยาที่สกัดได้จากดินมาวิเคราะห์หาปริมาณของธาตุอาหารแต่ละชนิดโดยใช้เครื่องมือที่อ่านค่าได้ละเอียดมีความแม่นยำและแน่นอน

ขั้นตอนการวิเคราะห์ดิน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ

1) การเก็บตัวอย่างดิน เป็น ขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญที่สุด เนื่องจากตัวอย่างดินที่เก็บจะต้องเป็นตัวแทนที่ดีของพื้นที่ทั้งหมดจึงควร แบ่งพื้นที่ออกเป็น แปลงย่อยที่มีขอบเขตชัดเจนโดยภายในแปลงย่อยเดียวกันควรมีความแตกต่างกันน้อย ที่สุดหรือไม่มีเลย

2) การวิเคราะห์ดินในห้องปฏิบัติการ เป็นการวิเคราะห์ดินด้วยวิธีมาตรฐานเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้อง

3) การแปลความหมายของผลการวิเคราะห์ดิน เป็นการนำข้อมูลที่ได้จาก การวิเคราะห์มาเปรียบเทียบกับผลการวิจัยที่มีผู้ศึกษามาก่อน แล้วแปลข้อมูลนั้นว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์ในระดับใด

4) การให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยหรือการปรับปรุงดิน คือ การให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการจัดการที่ทำให้ได้ผลตอบแทนสูงในการปลูกพืช เช่น คำแนะนำเกี่ยวกับชนิดอัตราและวิธีการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม

วิธีการวิเคราะห์ดินในห้องปฏิบัติการ

วิธีการวิเคราะห์ดินทางเคมีบางรายการซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่หน่วยราชการให้บริการแก่เกษตรกรแสดงไว้ในตาราง

การวิเคราะห์ดินทางเคมีมีข้อดีคือสามารถวิเคราะห์ตัวอย่าง ดินได้เป็นจำนวนมากโดยใช้เวลาน้อย ค่าใช้จ่ายไม่แพงมากนัก ทำให้สามารถรู้ผลการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินก่อนปลูกพืชได้ และสามารถนำค่าวิเคราะห์ดินไปเชื่อมโยงกับผลการทดลองปุ๋ยในไร่นาเพื่อให้คำ แนะนำการใช้ปุ๋ยหรือปูนอย่างเหมาะสมก่อนการปลูกพืชได้

ตาราง วิธีวิเคราะห์ดินทางเคมีบางรายการโดยสรุป

 

รายการที่วิเคราะห์

วิธีสกัด

วิธีวัดปริมาณ

หน่วย

pH

ใช้น้ำกลั่นอัตราส่วนดิน : น้ำ =1:1 กวนประมาณครึ่งชั่วโมง

ใช้ pH meter วัดในสารแขวนลอยโดยตรง

หน่วย pH ซึ่งมีค่าระหว่าง
1-14

อินทรียวัตถุ

ใช้สารเคมีออกซิไดส์ อินทรียวัตถุในดินจนหมด

ไทเทรตออกซิไดซิงเอเจนต์ ที่เหลือด้วยรีดิวซิงเอเจนต์

เปอร์เซ็นต์ (%)

ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์

สกัดด้วยน้ำยาสกัดที่เหมาะสม

วัดด้วย spectrophotometer

ppm P

โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้

สกัดด้วยสารละลาย
แอมโมเนียมแอซีเตต

วัดด้วย flame photometer หรือ atomic absorption spectrophotometer

ppm K

แคลเซียมและ แมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้

สกัดด้วยสารละลาย
แอมโมเนียมแอซีเตต

วัดด้วย atomic absorption spectrophotometer

ppm Ca

ppm Mg

ความต้องการปูน

เติมปูนหรือสารละลายบัฟเฟอร์ pH 7 ปริมาณต่าง ๆ ลงไปในดินแล้ววัดค่า pH

จากค่า pH ที่ลดลงนำมาคำนวณปริมาณปูน ที่ใช้สะเทินฤทธิ์กรดในดิน

กก. CaCO 3 ต่อไร่

ความเค็ม

ใช้น้ำกลั่นสกัดเกลือ ออกจากดิน โดยสกัดในขณะที่ ดินอิ่มตัวด้วยน้ำ

วัดด้วยเครื่องวัดการนำไฟฟ้า

เดซิซีเมนต์ / เมตรหรือ
มิลลิโมล์ / ซม.

 


การแปลความหมายผลการวิเคราะห์ดิน

ปัจจุบันกองสำรวจดิน (2523) กรมพัฒนาที่ดิน ได้ใช้หลักการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินจากค่าวิเคราะห์ทางเคมีของดินที่ สำคัญ ได้แก่ ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่าง ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์และปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ โดยทำการแบ่งระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินออกเป็น 3 ระดับคือ ต่ำ ปานกลาง และสูง ดังแสดงในตารางที่ 13.2

อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ดินเพียงอย่างเดียว จะเป็นเพียงตัวเลขที่ไม่มีความหมายใด ๆ หากไม่นำตัวเลขนั้นไปหาความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของพืชหรือการตอบสนอง ของพืช ต่อระดับธาตุอาหารชนิดที่ต้องการประเมินที่มีอยู่ในดินหรือในรูปของปุ๋ยที่ ใส่เสียก่อน

ตารางที่ 13.2 วิธีการประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินจากผลการวิเคราะห์ดิน

ระดับความ อุดมสมบูรณ์ ของดิน

ปริมาณ อินทรียวัตถุ
(%)

ความอิ่มตัวด้วย ประจุบวกที่เป็นด่าง
(%)

ความจุในการ แลกเปลี่ยน ประจุบวก (me/ ดิน 100 กรัม )

ปริมาณ P ที่เป็น ประโยชน์ (ppm)

ปริมาณ K
ที่เป็นประโยชน์ (ppm)

ต่ำ

<1.5

<35

<10

<10

<60

 

(1)

(1)

(1)

(1)

(1)

ปานกลาง

1.5-3.5

35-75

10-20

10-25

60-90

 

(2)

(2)

(2)

(2)

(2)

สูง

>3.5

>75

>20

>25

>90

 

(3)

(3)

(3)

(3)

(3)


วิธีประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินใช้วิธีการให้คะแนน ( ตัวเลขที่อยู่ในวงเล็บในตาราง ) ถ้าคะแนนเท่ากับ 7 หรือน้อยกว่าถือว่าดินมีระดับความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ถ้าคะแนนอยู่ระหว่าง 8-12 ถือว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ถ้าคะแนนเท่ากับ 13 หรือมากกว่า ถือว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง

ความสำคัญของการตรวจวิเคราะห์ดิน ก่อนปลูกพืช ยังช่วยลดต้นทุนในการปุ๋ยอีกด้วย

การ ใช้ปุ๋ยให้คุ้มค่า เกษตรกรต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการใช้ปุ๋ยให้ “ถูกชนิด ถูกปริมาณ ถูกเวลา และถูกวิธี” แต่ขณะนี้เกษตรกรไทยเกือบ 100%ไม่มีการตรวจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดินก่อนปลูกพืช ทั้งยังใส่ปุ๋ยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ใส่ปุ๋ยไม่เหมาะสมกับดินและไม่ตรงตามความต้องการของพืช ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการผลิตพืช ดังนั้น จึงได้พัฒนาเทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” ขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรโดยเฉพาะผู้ปลูกข้าว, ข้าวโพด และอ้อยภาคอีสาน…นี่เป็นคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ เป็นการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับแต่ละชุดดินที่มีมากกว่า 200 ชุดดิน ทั้งยังต้องสอดคล้องกับความต้องการของพืช โดยนำปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช ได้แก่ พันธุ์พืช แสงแดด อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน ชุดดิน และปริมาณ เอ็น-พี-เค ในดินมาพิจารณาร่วมกัน โดยใช้แบบจำลองการปลูกพืชและโปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจมาคำนวณโดยใช้ คอมพิวเตอร์ คาดคะเนคำแนะนำปุ๋ย เอ็น-พี-เค ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด เพื่อให้การใช้ปุ๋ยมีความแม่นยำและสอดคล้องกับความต้องการของพืช และยังสามารถคาดคะเนผลผลิตและผลตอบแทนที่เกษตรกรจะได้รับเมื่อใช้เทคโนโลยี

การใช้เทคโนโลยี ขั้นแรก เกษตรกรต้องตรวจสอบชุดดินในแปลงของตนเองก่อน โดยสามารถสอบถามข้อมูลชุดดินได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด หรือดูจากแผนที่ชุดดิน หรือสอบถามได้ที่เว็บไซต์ http://www.ilab.asia/ilab/iLab.html ขั้นที่สองตรวจสอบปริมาณ เอ็น-พี-เค ในดิน โดยเก็บตัวอย่างดินส่งตรวจวิเคราะห์ หรือเกษตรกรอาจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดินแบบรวดเร็ว (Soil Test Kit) และ ขั้นสุดท้าย ใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ โดยศึกษาจากคู่มือคำแนะนำจาก http://www.ilab.asia/ilab/iLab.html

เกษตรกรส่วนใหญ่มองว่า การตรวจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดิน มีวิธีการและขั้นตอนยุ่งยากจึงไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว ทำให้ไม่รู้จักดินในแปลงของตนเอง อย่างไรก็ตาม เกษตรกรควรเก็บตัวอย่างดินเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยเบื้องต้นต้องแบ่งพื้นที่ก่อน หากพื้นที่ใหญ่มากหรือดินไม่สม่ำเสมอและดินมีลักษณะแตกต่างกัน ปลูกพืชต่างกัน ใช้ปุ๋ยต่างกัน และดินมีสีต่างกัน ต้องแบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อย และแยกเก็บดิน 1 ตัวอย่างต่อ 1 แปลงย่อย

ความสำคัญของการตรวจวิเคราะห์ดิน ก่อนปลูกพืช ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยได้ถูกต้อง และลดต้นทุนการผลิตซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนปลูกพืช และเป็นแนวทางนำไปสู่การลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ปลูกข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง ใน “โครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร” .

อ้างอิง : http://courseware.rmutl.ac.th ,www.legendnews.net

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 30442 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9890
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7926
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7982
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 8348
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 7300
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8584
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7771
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>