ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่อ้อย | อ่านแล้ว 24531 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

โรคใบขาวของอ้อย

โรคนี้จัดว่าเป็นโรคที่สำคัญอันดับหนึ่งของอ้อยเนื่องจากระบาดทำความเสียหายมาก และกว้างขวาง ยากที่จะทำการป้องกันกำจัด

data-ad-format="autorelaxed">

โรคใบขาวของอ้อย
ลักษณะกออ้อยที่แสดงอาการใบขาว
โรคใบขาวของอ้อย
อาการใบขาวของอ้อยบนอ้อยตอในระยะเริ่มต้น
โรคใบขาวของอ้อย
อาการของโรคใบขาวในอ้อยปลูกในระยะเริ่มต้น
โรคใบขาวของอ้อย
อาการบนอ้อยแก่ ใบยอดขาว แตกตาด้านข้างมีสีขาวเช่นเดียวกัน
โรคใบขาวของอ้อย
ลักษณะของเซลล์ของเชื้อไฟโตพลาสมาในเซลล์ท่อน้ำท่ออาหารของอ้อย ซึ่งเชื้อไฟโตพลาสมาสามารถเคลื่อนที่ผ่านจากเซลล์หนึ่งไปสู่อีกเซลล์หนึ่งได้

โรคใบขาวของอ้อย สาเหตุของโรค

เชื้อไฟโตพลาสมา (Phytoplasma)

ความเสียหาย/ความสำคัญ

โรคนี้จัดว่าเป็นโรคที่สำคัญอันดับหนึ่งของอ้อยเนื่องจากระบาดทำความเสียหายมาก และกว้างขวาง ยากที่จะทำการป้องกันกำจัด หลังจากที่พบโรคนี้ 1 ปี (พ.ศ.2499) มีรายงานว่าที่จังหวัดลำปางมีโรคใบขาวระบาดทำความเสียหาย 500 ไร่ อีก 6-7 ปีต่อมา (พ.ศ. 2505-2506) ระบาดเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า และทำให้ผลผลิตอ้อยลดลง 50% ในปี 2517 น้อม ขันติคุณ ประมาณว่าโรคนี้ทำความเสียหายกับอ้อย 50,000 ไร่ คิดเป็นมูลค่า 100 ล้านบาท ในปัจจุบันความเสียหายเพิ่มขึ้น เนื่องจากโรคระบาดกว้างขวางและเป็นปัญหาของชาวไร่อ้อยในเกือบทุกแหล่งปลูก

เชื้อสาเหตุของโรคเข้าไปมีผลต่อการสร้าง chlorophyll ซึ่งเป็นส่วนสีเขียวของอ้อย ทั้งนี้เชื้ออาจทำให้การสร้าง chlorophyll ช้าลง หรือไม่อาจจะสร้างได้เลย จึงทำให้พืชแสดงอาการขาวหรือเหลืองมากน้อยแตกต่างกันไป

อ้อยที่เป็นโรครุนแรง ผลผลิตของอ้อยลดลงมากกว่า 50%

ลักษณะอาการโรค

โรคใบขาวสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกระยะการเจริญเติบโตของอ้อย โดยอาการจะปรากฎให้เห็นได้ชัดเจนในระยะกล้า อ้อยแตกกอฝอยมีหน่อเล็ก ๆ ที่มีใบสีขาวจำนวนมาก คล้ายกอหญ้า หน่อไม่เจริญเป็นลำ หากอาการโรครุนแรงอ้อยจะแห้งต่ายทั้งกอในที่สุด หากหน่ออ้อยในกอเจริญเป็นลำได้ ลำอ้อยที่ได้จะไม่สมบูรณ์ อาจมีใบขาวที่ปลายยอด หรือมีหน่อขาวเล็ก ๆ งอกจากตาข้างของลำ บางครั้งอาการของโรคจะมีลักษณะแฝง พบเสมอในอ้อยปลูกปีแรก โดยอ้อยเป็นโรคเจริญเติบโตเป็นลำ มีใบสีเขียวคล้ายอ้อยปกติ มีเพียงหน่อขาวเล็ก ๆ ที่โคนกอ แต่อาการโรคจะปรากฎให้ห็นได้ชัดเจนในอ้อยตอในระยะเวลาต่อมา รวมทั้งแหล่งระบาดที่สำคัญของโรค ซึ่งเมื่อนำอ้อยที่มีอาการแฝงคล้ายอ้อยปกติดังกล่าวไปปลูกต่อ ก็จะทำให้โรคระบาดต่อไปได้อย่างกว้างขวาง

อาการของโรคปรากฎทั้งบนอ้อยปลูกและอ้อยตอ ในบางครั้งพบว่าอ้อยเป็นโรคตั้งแต่เริ่มปลูก บางครั้งพบเมื่อเป็นอ้อยตอ ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากปริมาณของเชื้อสาเหตุของโรคว่ามีอยู่มากน้อยแค่ไหน พอที่จะทำให้อ้อยแสดงอาการของโรคหรือไม่

การแพร่ระบาด

โรคใบขาวของอ้อยแพร่ระบาดโดยมีเชื้อติดไปกับท่อนพันธุ์อ้อย นอกจากนั้นยังมีเพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาล (Matsumuratettix hiroglyphicus) เป็นแมลงพาหะ ถ่ายทอดเชื้อจากกออ้อยที่เป็นโรคไปยังกออ้อยปกติในไร่ พบจำนวนมากในช่วงฤดูฝน

ระบาดรุนแรงในเขตพื้นที่ปลูกอ้อยที่เป็นดินทราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี จ.กาฬสินธุ์ จ.ขอนแก่น ในเขตพื้นที่ปลูกอ้อยภาคตะวันออก จ.สระแก้ว รวมทั้งพื้นที่ปลูกภาคกลางและภาคตะวันตก จ.นครสวรรค์ กำแพงเพชร ราชบุรี กาญจนบุรี ลงไปถึง จ.ประจวบคีรีขันธ์

1.ติดมากับท่อนพันธุ์

2.แมลงพาหะพวกเพลี้ยจั๊กจั่น 2 ชนิด คือ Epitetix hiroglyphicus หรือ Matsumuratettix hiroglyphicus แล Cicadulina bipunctella ในประเทศไทยเคยมีรายงานการพบ M.hiroglyphicus แต่ยังไม่มีรายงานยืนยันการถ่ายทอดโรค

3.มีรายงานแพร่ระบาดโดยเครื่องมือที่ใช้ตัดอ้อยหรือเก็บเกี่ยวอ้อย แต่จากการทดลองไม่พบการถ่ายทอดโรคโดยมีดตัดอ้อย

คำแนะนำการป้องกันกำจัด

ก่อนการเก็บเกี่ยว/การดำเนินการในไร่

ตรวจแปลงอ้อยสม่ำเสมอ ในแปลงที่เริ่มพบกอเป็นโรคให้รีบขุดทิ้งทำลาย หรือพ่นกอเป็นโรคด้วยสารกำจัดวัชพืชไกลโฟเสท 1%
เตรียมคัดเลือกหาพันธุ์อ้อยที่ทนทานต่อโรค เช่ล ฟิลล์ 58-260, 85-118, 85-105, 87-2-113
จัดทำแปลงพันธุ์อ้อย เพื่อขยายปลูกในปีต่อไป การเตรียมแปลงปลูกพันธุ์ควรใช้ท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์ ปลอดโรค แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส 2-3 ชั่วโมงก่อนปลูก แปลงพันธุ์ควรอยู่ห่างจากพื้นที่โรคระบาดและมีการตรวจโรคในแปลงสม่ำเสมอ

หลังการเก็บเกี่ยว

ไถทำลายแปลงอ้อยตอที่เป็นโรครุนแรงทิ้งเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งระบาดของเชื้อ
คราดตอเก่าออกให้หมด ปลูกพืชบำรุงดินหมุนเวียน และไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดก่อนปลูกอ้อยใหม่
เลือกฤดูปลูกให้เหมาะสม (ตุลาคม-ธันวาคม) เพื่อลดการติดเชื้อจากแมลงพาหะที่ระบาดในฤดูฝน
ใช้ท่อนพันธุ์สำหรับปลูกที่สมบูรณ์ ปลอดโรค จากแปลงพันธุ์ที่เตรียมไว้ข้างต้น และหากจำเป็นต้องซื้อพันธุ์ ควรคัดเลือกท่อนพันธุ์จากพื้นที่ที่ไม่มีโรค และตรวจอ้อยพันธุ์ที่จะซื้อตั้งแต่อ้อยยังยืนต้นอยู่ในไร่ว่าปราศจากอาการของโรคใบขาวจริง

พันธุ์อ้อยที่ต้านทาน

ฟิลล์ 58-260, 85-118, 85-105, 87-2-113, เอฟ 140ม เอฟ 134, เอฟ 137

อ้างอิง : http://oldweb.ocsb.go.th

 

 

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 24531 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่อ้อย]:
อ้อยแคระ แกร็น อ้อยโตช้า อ้อยไม่ย่างปล้อง อ้อยปล้องสั้น อ้อยใบเหลือง อ้อยใบไหม้
พืชจะไม่สมบูรณ์ได้อย่างไร เราก็ใส่ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีแล้ว แต่ทำไมพืชยังไม่โตเท่าที่ควร ทั้งๆที่เราใส่ปุ๋ย
อ่านแล้ว: 7265
อ้อยยอดเหลือง แต่กอยังเขียว เพราะ หนอนกออ้อย เข้าทำลายต้นอ้อย ฆ่าหนอน กำจัดหนอน ไอกี้-บีที
อ้อยกำลังงาม อยู่ๆก็ยอดเหลือง ทั้งๆที่กออ้อยยังเขียวอยู่ นั่นท่านอาจเจอกับปัญหาหนอนกอ ป้องกันกำจัด ก่อนจะลุกลาม
อ่านแล้ว: 7123
อ้อยใบเหลือง อ้อยใบซีด เหลืองซีดเป็นหย่อมๆ ลักษณะนี้เป็นอาการของ อ้อยขาดธาตุอาหาร
หากพืชมีความอ่อนแอ ความรุนแรงของโรคก็จะมาก การเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ก็เข้าทำลายได้มากเช่นกัน บวกกับสภาพแวดล้อม..
อ่านแล้ว: 9744
อ้อยเป็นหนอน หรือเห็น อ้อยยอดแห้งตาย นั่นเพราะหนอนกอสีขาวเข้าทำลาย
หน่ออ้อยที่ยังเล็กอยู่ หากโดน หนอนกอสีขาว เข้าทำลาย หน่ออ้อยมักจะตาย อ้อยที่เป็นลำจะชะงักโต ผลผลิตลด คุณภาพลด
อ่านแล้ว: 8114
ผลผลิตอ้อยลด ค่าความหวานลด อ้อยชะงักโตเพราะ แมลงหวี่ขาวอ้อย ต้องแก้
แมลงหวีขาว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบอ้อย ในระยะตัวอ่อนนั้น จะสร้างความเสียหายให้กับอ้อย
อ่านแล้ว: 8598
อ้อยมีราดำ มีแป้งสีขาวใต้ใบ ใบเหลืองซีด เพราะเพลี้ยสำลี ปล่อยไป อ้อยแห้งตาย
เพลี้ยสำลี หากมีการระบาดในไร้อ้อยแล้ว จะทำให้อ้อยในไร่ชะงักการเติบโต หรืออาจจะทำให้อ้อยแห้งกรอบทั้งใบ
อ่านแล้ว: 8767
อ้อยเหลือง แห้งตายทั้งกอ เป็นเพราะ แมลงนูนหลวง กัดกินรากอ้อย กำจัดอย่างไร
มักระบาดในสภาพดินทรายที่มี pH 6-6.5 และสภาพดินที่มีอินทรียวัตถุ 0.56-0.84% การเข้าทำลายอ้อยมักปรากฏเป็นหย่อมไม่แพร่..
อ่านแล้ว: 7567
หมวด ไร่อ้อย ทั้งหมด >>