ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่อ้อย | อ่านแล้ว 21005 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การบำรุงตออ้อย

อ้อย : เป็นพืชที่เมื่อปลูกครั้งหนึ่งแล้ว สามารถตัดหรือเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง จำนวนครั้งที่เก็บเกี่ยว

data-ad-format="autorelaxed">

การบำรุงตออ้อย

การบำรุงตออ้อย อ้อยเป็นพืชที่เมื่อปลูกครั้งหนึ่งแล้ว สามารถตัดหรือเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง จำนวนครั้งที่เก็บเกี่ยว ตลอดจนผลผลิตที่ได้รับในการเก็บเกี่ยวแต่ละครั้ง ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุ์ ลมฟ้าอากาศ เวลาในการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการปฏิบัติของชาวไร่ในการเตรียมดิน การปลูก การใส่ปุ๋ย และการตัด เป็นต้น การบำรุงตอควรกระทำโดยเร็วภายหลังการเก็บเกี่ยว การบำรุงตอประกอบด้วยขั้นตอน ต่างๆ ดังนี้

๑. คราดใบและยอดที่เหลือภายหลังตัดให้รวมกันไว้ ในระหว่างแถวของอ้อย โดยให้มีแถวว่างสองแถว สลับแถวที่มีใบและยอดคลุมอยู่หนึ่งแถวเป็นเช่นนี้เรื่อยไป หรืออาจจะใช้จอบหมุน (rotavator) สับใบและยอดจนละเอียด และผสมคลุกเคล้าไปกับดิน ก็จะช่วยทำให้ดินดีขึ้น ในกรณีที่เผา มักจะเผาในตอนเย็น หรือกลางคืน ซึ่งเป็นเวลาที่อุณหภูมิต่ำ และลมสงบเผาโดยไม่ต้องมีการคราด

๒. ถากตอ หรือสับตอที่เหลือบนพื้นดินภายหลังการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้เพื่อบังคับให้หน่อที่จะเกิดใหม่เกิดจากตอใต้ดิน ซึ่งจะเป็นหน่อที่แข็งแรงเติบโตเร็ว และให้ผลผลิตสูงกว่า การถากตออาจจะใช้แรงคน หรือเครื่องตัดหญ้าขนาดใหญ่ชนิดใบมีดหมุน (rotary slasher)

๓. ใช้ไถสิ่ว หรือเครื่องไถระเบิดดินชั้นล่าง ไถลงระหว่างแถวอ้อย เพื่อตัดรากเก่า และแยกดินบริเวณรากให้แตกออก เพื่อให้ดินมีสภาพแวดล้อมเหมาะแก่การเจริญเติบโตของราก

๔. ใส่ปุ๋ยลึกลงในดิน เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่ออ้อยมากที่สุด ปริมาณปุ๋ยที่ใส่แก่อ้อยตอต้องมากกว่าอ้อยปลูก เพราะอ้อยตอมีระบบรากด้อยกว่าอ้อยปลูก ประกอบกับการที่ดินแน่น เนื่องจากมิได้มีการเตรียมดินนั่นเอง

๕. ใช้จอบหมุนตีดินระหว่างแถวอ้อย ก่อนใช้ต้องถอดใบจอบตัวกลางออก เพื่อให้จอบหมุนคร่อมแถวอ้อย และจอบหมุนจะเฉือนบางส่วนของตออ้อยออก ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดหน่อมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ได้อ้อยลำเล็ก ผลผลิตต่ำ การใช้จอบหมุนตีดิน จะทำให้ดินแตกละเอียดคลุมผิวดินได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยรักษาความชื้นของดินด้วย

อ้างอิง : http://kanchanapisek.or.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 21005 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่อ้อย]:
อ้อยแคระ แกร็น อ้อยโตช้า อ้อยไม่ย่างปล้อง อ้อยปล้องสั้น อ้อยใบเหลือง อ้อยใบไหม้
พืชจะไม่สมบูรณ์ได้อย่างไร เราก็ใส่ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีแล้ว แต่ทำไมพืชยังไม่โตเท่าที่ควร ทั้งๆที่เราใส่ปุ๋ย
อ่านแล้ว: 7265
อ้อยยอดเหลือง แต่กอยังเขียว เพราะ หนอนกออ้อย เข้าทำลายต้นอ้อย ฆ่าหนอน กำจัดหนอน ไอกี้-บีที
อ้อยกำลังงาม อยู่ๆก็ยอดเหลือง ทั้งๆที่กออ้อยยังเขียวอยู่ นั่นท่านอาจเจอกับปัญหาหนอนกอ ป้องกันกำจัด ก่อนจะลุกลาม
อ่านแล้ว: 7123
อ้อยใบเหลือง อ้อยใบซีด เหลืองซีดเป็นหย่อมๆ ลักษณะนี้เป็นอาการของ อ้อยขาดธาตุอาหาร
หากพืชมีความอ่อนแอ ความรุนแรงของโรคก็จะมาก การเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ก็เข้าทำลายได้มากเช่นกัน บวกกับสภาพแวดล้อม..
อ่านแล้ว: 9744
อ้อยเป็นหนอน หรือเห็น อ้อยยอดแห้งตาย นั่นเพราะหนอนกอสีขาวเข้าทำลาย
หน่ออ้อยที่ยังเล็กอยู่ หากโดน หนอนกอสีขาว เข้าทำลาย หน่ออ้อยมักจะตาย อ้อยที่เป็นลำจะชะงักโต ผลผลิตลด คุณภาพลด
อ่านแล้ว: 8114
ผลผลิตอ้อยลด ค่าความหวานลด อ้อยชะงักโตเพราะ แมลงหวี่ขาวอ้อย ต้องแก้
แมลงหวีขาว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบอ้อย ในระยะตัวอ่อนนั้น จะสร้างความเสียหายให้กับอ้อย
อ่านแล้ว: 8598
อ้อยมีราดำ มีแป้งสีขาวใต้ใบ ใบเหลืองซีด เพราะเพลี้ยสำลี ปล่อยไป อ้อยแห้งตาย
เพลี้ยสำลี หากมีการระบาดในไร้อ้อยแล้ว จะทำให้อ้อยในไร่ชะงักการเติบโต หรืออาจจะทำให้อ้อยแห้งกรอบทั้งใบ
อ่านแล้ว: 8767
อ้อยเหลือง แห้งตายทั้งกอ เป็นเพราะ แมลงนูนหลวง กัดกินรากอ้อย กำจัดอย่างไร
มักระบาดในสภาพดินทรายที่มี pH 6-6.5 และสภาพดินที่มีอินทรียวัตถุ 0.56-0.84% การเข้าทำลายอ้อยมักปรากฏเป็นหย่อมไม่แพร่..
อ่านแล้ว: 7567
หมวด ไร่อ้อย ทั้งหมด >>