ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่อ้อย | อ่านแล้ว 30697 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การปลูกอ้อยข้ามแล้ง

การปลูกอ้อยข้ามแล้ง จะดำเนินการหลังฝนหมด คือ ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม ถึง ปลายเดือนพฤศจิกายนหรือจนกว่าดินจะหมดความชื้น คือ

data-ad-format="autorelaxed">

การปลูกอ้อยข้ามแล้ง

การปลูกอ้อยข้ามแล้ง
1.ฤดูกาลปลูก
การปลูกอ้อยของประเทศไทยนั้นมากกว่า 90% อาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ การปลูกอ้อยเพื่อส่ง โรงงานจะมี 3 ช่วง คือหลังฝน (ข้ามแล้ง) ก่อนฝน (น้ำราด) และต้นฝน การปลูกอ้อยข้ามแล้ง จะดำเนินการหลังฝนหมด คือ ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม ถึง ปลายเดือนพฤศจิกายนหรือจนกว่าดินจะหมดความชื้น คือความชื้นไม่เพียงพอที่อ้อยจะงอก

การปลูกอ้อยน้ำราด จะดำเนินการก่อนฝน คือ หลังจากการปลูกอ้อยข้ามแล้ง หรือการรื้อตอแล้วปลูกใหม่ ความชื้นในดินเหลือน้อยไม่เพียงพอที่อ้อยจะงอกจะต้องให้น้ำ โดยใช้น้ำเพียงพอให้อ้อยงอกเพียงครั้งเดียว ปริมาณน้ำที่ให้ขึ้นกับความชื้นของดินขณะนั้น จะดำเนินการปลูกต้นเดือนธันวาคม ถึง ต้นเดือนมีนาคมอากาศยังไม่ร้อนจัด สำหรับระยะเวลาจากกลางเดือนมีนาคม ถึง กลางเดือนเมษายน ปกติอากาศจะร้อนจัดมาก ดินแห้งมาก การปลูกในช่วงนี้ถ้าให้น้ำแล้วกลบบางเกินไปตาอ้อยจะสุกไม่งอก หรือถ้าเกิดฝนตกหนักดินอัดแน่น อ้อยอาจจะเน่าไม่งอกฉะนั้นการปลูกอ้อยราวมีนาคม – เมษายน เป็นจุดเสี่ยง จะต้องติดตามสภาพดินฟ้าอากาศอย่างใกล้ชิด

การปลูกอ้อยต้นฝน จะดำเนินการเมื่อเริ่มเข้าฤดูฝน ซึ่งจะอยู่ในช่วงปลายเดือนเมษายน – กลางเดือนมิถุนายน ถ้าปลูกหลังจากนี้ไปแล้ว ผลผลิตและคุณภาพอ้อยจะลดลงตามลำดับ

2. การปลูกอ้อยข้ามแล้งดีอย่างไรต่างจากการปลูกอ้อยต้นฝนอย่างไร

ข้อดีของการปลูกอ้อยข้ามแล้งเมื่อเทียบกับอ้อยต้นฝน

2.1 ด้านต้นทุน

- พันธุ์อ้อย ถ้าต้องการเปลี่ยนพันธุ์ สามารถหาพันธุ์ที่ต้องการได้ง่าย ราคาถูกกว่าอ้อยต้นฝน
- การควบคุมวัชพืช ต้นทุนการควบคุมวัชพืชจะต่ำกว่าต้นฝนและง่ายกว่า
- การเตรียมดิน ปลูกอ้อยข้ามแล้งจะต้องเตรียมดินให้ละเอียด ต้นทุนการเตรียมดินจะสูงกว่าต้นฝน แต่อ้อยจะแตกกอดีกว่า
- ดอกเบี้ย การปลูกตั้งแต่ตุลาคม ต้นทุนด้านดอกเบี้ยจะสูงกว่าปลูกเดือนพฤษภาคม แต่ช่วงตัดเข้าหีบจะตัดเข้าหีบได้ตั้งแต่เริ่มเปิดหีบ (เดือนธันวาคม) จะได้เงินใช้ก่อน

2.2 ระยะเวลาการปลูก

- ปลูกข้ามแล้งมีระยะเวลาปลูกตั้งแต่ปลายตุลาคม – ปลายพฤศจิกายน หรือต้นธันวาคม มีระยะเวลาปลูกต่อเนื่อง อากาศเย็น แรงงานตัดพันธุ์ปลูกทำงานได้เต็มที่
- อ้อยต้นฝน ระยะเวลาปลูกจะขึ้นกับฝน การเตรียมดิน การปลูกจะเสี่ยงกับฝนตกในขณะปฏิบัติงาน ถ้าฝนตกหนักไม่สามารถเตรียมดิน ปลูก ทำให้เสียเวลารอคอย ทำให้การปลูกมีเวลาจำกัด หรือเสี่ยงกับท่อนพันธุ์เน่า ในกรณีปลูกแล้งมีน้ำแช่ขัง การควบคุมวัชพืชยาก

2.3 ผลผลิตและคุณภาพการปลูกอ้อยข้ามแล้ง

- อ้อยมีเวลาเติบโตในไร่มากกว่า 12 เดือน ผลผลิตและคุณภาพย่อมสูงกว่าอ้อยต้นฝน ซึ่งเวลาเติบโตในไร่ 9 – 10 เดือน

2.4 ด้านความเสื่อมของดิน

- การปลูกอ้อยข้ามแล้งจะช่วยลดการชะล้างพังทลายของหน้าดินเพราะใบอ้อยที่คลุมพื้นที่ จะช่วยลดแรงกระทบของฝนต่อดิน

3. หลักสำคัญในการปลูกอ้อยข้ามแล้ง

หลักการสำคัญในการปลูกอ้อยข้ามแล้ง คือ การใช้น้ำฝนให้เกิดประโยชน์สูงสุด กล่าวคือ ในช่วงอ้อยเริ่มปลูกก่อนถึงย่างปล้อง อ้อยต้องการน้ำน้อย จะใช้ความชื้นที่ เก็บไว้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อเข้าฤดูฝนอ้อยเริ่มย่างปล้องต้องการน้ำมาก เมื่อได้น้ำฝนก็เติบโตอย่างต่อเนื่องผลผลิตจะสูง ดังตัวแบบของ ธวัช ตินนังวัฒนะ ที่ว่า ถ้าปริมาณฝน 1,000 มม./ปี ต้องได้ผลผลิต 16 ตัน/ไร่ ถ้าปริมาณฝน 1,100 มม./ปี ต้องได้ผลผลิต 17.6 ตัน/ไร่ ถ้าปริมาณฝน 1,200 มม./ปี ต้องได้ ผลผลิต 20 ตัน/ไร่

ขั้นตอนและวิธีการปลูกอ้อยข้ามแล้ง

1. การปรับปรุงดิน พื้นที่ดินต้องไม่มีตอไม้ ต้นไม้ หรือหิน ดินที่จะปลูกอ้อยข้ามแล้งควรมีอินทรีย์วัตถุไม่น้อยกว่า 1%ถ้าหากมีอินทรีย์วัตถุต่ำ ต้องปรับปรุงดินเพื่อให้อินทรีย์วัตถุช่วยอุ้มน้ำและปลดปล่อยธาตุอาหารให้อ้อย ซึ่งอาจจะใช้ปุ๋ยพืชสด กากตะกอน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก ในปัจจุบันจะ มีการใช้สารโพลิเมอร์ ช่วยอุ้มน้ำไว้ให้พืชใช้พื้นที่ที่เหมาะสมและจัดการง่าย คือ ดินร่วนปนทราย ร่วนเหนียว ร่วนทรายสำหรับดินเหนียว ต้องมีเครื่องมือเตรียมดิน และปลูกที่พร้อมจึงจะได้ผลดี

2. การเตรียมดิน การเตรียมดินเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดที่จะให้รากอ้อยได้หยั่งลึกลงไปหาน้ำและอาหาร และต้องเตรียมดินให้ละเอียดเพื่อให้เดินเก็บน้ำไว้ได้นานที่สุด โดยมีขั้นตอนและวิธีการดังนี้

1. ไถเปิดหน้าดินด้วยผาน 3 หรือผาน 4 หมักวัชพืช ปุ๋ยพืชสด และเพื่อเก็บน้ำฝนไว้ใต้ดิน
2. หลังหมดฝน พรวนด้วยผาน 7 หรือผานพรวนออฟเสท (18 จาน หรือ 20 จาน)
3. ระเบิดดาน ใช้ริบเปอร์ หรือไถสิ่ว เพื่อให้ดินดานแตก รากพืชหยั่งลงไปได้ และทำให้ดินมีอากาศ
4. พรวน 1 – 2 ครั้ง ให้ดินละเอียดและเรียบ เพื่อให้ดินเก็บความชื้นได้นาน

ถ้าหากชาวไร่มีพื้นที่น้อยและมีรถไถเดินตาม หลังจากจ้างไถเปิดหน้าดิน หลังหมดฝนใช้รถไถเดินตามพรวนดินให้เรียบ แล้วจ้างไถแปร หลังจากนั้นใช้รถไถเดินตามพรวนและคราดให้ดินละเอียดสม่ำเสมอ เมื่อเตรียมดินละเอียดแล้วก็พร้อมปลูก

3. การเตรียมท่อนพันธุ์ พันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูกข้ามแล้งสามารถใช้ได้ทุกพันธุ์ แต่ถ้าพันธุ์อ้อยโตเร็ว ล้มง่าย จะไม่เหมาะสมนัก เนื่องจากอ้อยล้มจะทำให้ผลผลิตและคุณภาพลดลง การเก็บเกี่ยวยาก ถ้าหากเป็นอ้อยโตช้าในระยะแแรกแล้วโตเร็วในช่วงหลังอ้อยไม่ล้มจะเหมาะสมที่สุด อายุของท่อนพันธุ์ที่เหมาะสมคือ 8 – 10 เดือน ปลอดจากโรคและแมลงไม่แตกแขนง ขนาดของลำโตสม่ำเสมอ ถ้ามีลำเล็กปะปนห้ามนำไปปลูกการตัดพันธุ์ห้ามลอกกาบถ้าจะริดใบออกให้ริดขึ้นไม่ให้มีด ถูกตาอ้อย การขนย้ายท่อนพันธุ์อย่าให้ตาแตก หรือช้ำ เพราะจะทำให้ไม่งอก หลังจากตัดท่อนพันธุ์ ควรปลูกให้แล้วเสร็จภายใน 5 วัน ถ้าหลังจากนี้เปอร์เซ็นต์การงอกจะลดลงตามลำดับ ถ้าหากมีแหล่งน้ำและแรงงาน การนำพันธุ์อ้อยแช่น้ำ 24 ชั่วโมง จะช่วยฆ่าแมลง หนอนที่ติดมากับอ้อยได้ และจะทำให้อ้อยงอกเร็วขึ้น

4. การปลูกอ้อยข้ามแล้ง

การปลูกอ้อยข้ามแล้งมีทั้งปลูกด้วยแรงงานและเครื่องปลูก การใช้เครื่องปลูกจะเหมาะสมที่สุด เนื่องจากสามารถกำหนดความลึกของการปลูก ความหนาของการกลบ และลูกกลิ้งบดทับเพื่อให้ดินสัมผัสกับท่อนอ้อย จะทำให้อ้อยงอกเร็วขึ้น และดินไม่สูญเสียความชื้น เครื่องปลูกอ้อยมีทั้งชนิดตัดท่อน (Billet planter) และชนิดเสียบบนและเสียบท้าย ก่อนใช้เครื่องปลูกจะต้องตรวจความเรียบร้อยของเครื่องปลูก ตั้งแต่ใบมีด ลูกยาง เฟือง โซ่ เครื่องใส่ปุ๋ย ใบกลบ ลูกกลิ้ง สปริงอัดลูกกลิ้งทั้งหมดจะต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์

การใช้เครื่องปลูก

การขับเครื่องปลูกอ้อยให้ใช้เกียร์โลว์ 1 หรือ 2 เพื่อให้ท่อนพันธุ์ลงสม่ำเสมอ ถ้าหากเป็นพันธุ์อ้อยที่แตกกอน้อย ให้ใส่ท่อนพันธุ์คู่หรือซ้อนกันให้มาก เพื่อให้อ้อยเกิดมาก ถ้าหากท่อนพันธุ์แตกกอดีใส่ท่อนพันธุ์ซ้อนกันเล็กน้อย ปุ๋ยรองพื้น ควรใช้สูตรที่มีไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสูง เพื่อเร่งรากให้แข็งแรง และเร่งการแตกหน่อ เช่นสูตร 20-20-0 หรือ 16-20-0 ในที่ดินเหนียว และ 16-16-8 หรือ 18-12-6 ในที่ดินทรายหรือดินร่วนปนทราย อัตรา 50 กก./ไร่ ระยะปลูกควรใช้ระยะ 1.50 เมตร เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องมือ บำรุงรักษา หรือเก็บเกี่ยว

การใช้แรงงานปลูก

การใช้แรงงานปลูกจะต้องมีความพร้อมทั้งรถแทรกเตอร์ยกร่อง คนงาน ท่อนพันธุ์ การกลบท่อนพันธุ์ จะต้องให้แล้วเสร็จในเวลาใกล้เคียงกัน โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. การเปิดร่อง ควรใช้ไถหัวหมูติดตั้งถังปุ๋ย เพราะจะเปิดร่องเป็นรูปตัววี การสูญเสียความชื้นจะน้อยกว่าใช้ผานจาน ซึ่งเปิดร่องกว้าง ความลึก 20 – 25 ซม. พร้อมกับปุ๋ยรองพื้นตามสูตร และอัตราที่ได้กล่าวมาแล้ว ระยะปลูก 1.50 เมตร ถ้าบำรุงรักษาด้วยเครื่องจักร และ 1.20 เมตร ถ้าบำรุงรักษาด้วยรถไถเดินตาม

2. ถ้าไถหัวหมูที่เปิดร่องไม่ได้ติดตั้งถังปุ๋ย ให้ใช้แรงงานคนหว่าน อัตรา 50 กก./ไร่ ถ้าบำรุงรักษาด้วยเครื่องจักร และอัตรา 60 กก./ไร่ ถ้าบำรุงรักษาด้วยรถไถ เดินตาม

3. วางท่อนพันธุ์ ถ้าหากพันธุ์อ้อยแตกกอน้อย เช่น เค.84-200 ให้วางท่อนคู่ ให้โคนและปลายเหลื่อมกันกลางท่อน ถ้าพันธุ์ที่แตกกอดี ให้วางท่อนพันธุ์เหลื่อมกัน เล็กน้อยเพื่อลดการเสี่ยงจากส่วนโคน หรือปลายอ้อยที่อาจจะไม่งอก

4. สับท่อนพันธุ์ด้วยมีดที่คม 3 – 4 ตา/ท่อน ถ้ามากกว่านี้ตาอ้อยที่เกิดจากส่วนโคนจะไม่แตกกอ

5. กลบท่อนพันธุ์ด้วยแรงงานหรือใช้รถไถเดินตาม บางแห่งใช้แรงงานสัตว์ เช่น ควาย กลบหนา 8 – 10 ซม.

6. ถ้าดินมีความชื้นไม่ค่อยดีนัก แต่เพียงพอสำหรับอ้อยที่จะงอก ให้ใช้รถ-แทรกเตอร์เหยียบในร่องอ้อย เพื่อให้ดินสัมผัสท่อนอ้อย และลดการสูญเสียความชื้น

-----------------------------------------------------------------------------
5.การบำรุงรักษา

การปลูกอ้อยข้ามแล้งการดูแลรักษาง่ายกว่าการปลูกอ้อยต้นฝน และจะลดต้นทุนเรื่องการ-กำจัดวัชพืชได้มาก การบำรุงรักษามีขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติดังนี้

5.1 หลังปลูกภายใน 3 สัปดาห์ ใช้คัทอะเว(Cutaway)พรวนดินคราดลูกหญ้า และจะเร่งให้อ้อย งอกพร้อมกันทั้งหมด คาดว่า 1 เมตร อ้อยจะต้องงอก 4 – 6 ต้น

5.2 หลังจากปลูกประมาณ 10 สัปดาห์ ฝังปุ๋ยกลางร่องด้วยเครื่องฝังปุ๋ยลึก 20 – 30 ซม. หรือฝังห่างโคนอ้อยประมาณ 30 ซม.เพื่อไม่ให้รากขาด ปุ๋ยแต่งหน้าจะ ใช้สูตรที่มีไนโตรเจนสูงและโปแตสเซี่ยมสูง เพื่อเร่งการเติบโต และเพิ่มความหวาน เช่น 22-7-18 หรือ 21-7-14 เป็นต้น อัตรา 50 กก./ไร่การฝังปุ๋ยลึกดินยังมีความชื้น ปุ๋ยจะละลาย พืชจะนำไปใช้ได้ การฝังปุ๋ยลึกลดการสูญเสียปุ๋ย นอกจากนี้วัชพืชไม่สามารถไปแย่งปุ๋ยได้

5.3 หลังจากฝังปุ๋ยแล้ว ถ้าหากอ้อยยังเล็กและมีวัชพืช ให้ใช้คราด 48 ซี่ คราดลูกหญ้า หรือใช้เครื่องมือ เอ็ม 1 พรวนคราดลูกหญ้า

5.4 ฉีดพ่นด้วยสารเคมีคุม-ฆ่าวัชพืช โดยเฉพาะ เวลปาร์ – เค ซึ่งสามารถฉีดได้ผลดีในสภาพความชื้นน้อย สามารถฆ่าวัชพืช และยังคุมได้นานถึง 3 เดือน การฉีดพ่นยาคุม-ฆ่าวัชพืชให้ได้ผลดี

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติดังนี้

1. หัวฉีดจะต้องเป็นแบบพัดน้ำยาออกเป็นฝอยสม่ำเสมอ ถ้าไม่สม่ำเสมอให้เปลี่ยนหัวหัวฉีดใหม่ทันที

2.อัตรายาต่อไร่จะต้องใช้ตามอัตราที่ฉลากยากำหนด การที่จะใช้อัตรายาต่อไร่ตามอัตราที่ฉลากยากำหนด นั้น จะต้องคำนวณน้ำที่ออกจากหัวฉีด และอัตราเร็ว การฉีดพ่นด้วยเครื่องจักรจะคำนวณได้แม่นยำ แต่การใช้แรงงานคนฉีดพ่นจะมีปัญหาในเรื่องอัตรายาต่อไร่ เพราะบางคนเดินเร็ว บางคนเดินช้า วิธีการแก้ไข คือ ผสมยาลงในถัง 200 ลิตร 2 ถัง สำหรับคนเดินช้า 1 ถัง คนเดินเร็ว 1 ถัง

3. น้ำควรเป็นน้ำที่สะอาด

4. ขณะฉีดพ่นควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกใบหรือยอดอ้อย

5. เวลปาร์-เค ไม่ควรใช้ฉีดพ่นในที่ลุ่ม ที่มีน้ำขัง จะทำให้อ้อยชะงักการเจริญเติบโต หรือตาย และอย่าใช้ในสภาพแวดล้อมเป็นนาข้าวถ้าใช้อัตรายาได้ตาม กำหนด จะไม่มีวัชพืชขึ้นรบกวนอ้อยอีกเลย

6. ควรหมั่นสุ่มตรวจแปลงอ้อยของตนเองทุกสัปดาห์ เพื่อตรวจดูโรคที่สำคัญเช่น แส้ดำ ใบขาว ใบด่าง เหี่ยวเน่าแดง ฯลฯ ถ้าหากเห็นผิดปกติให้รีบขุดทำลาย หรือตรวจแมลง เช่นหนอนเจาะลำต้น ถ้าหากพบไข่ให้ทำลายไข่ ปล่อยแตนเบียนไข่ ถ้าพบหนอนให้ตัดต้นออก ถ้ากลายเป็นหนอนแล้วให้ปล่อยแตนเบียนหนอน

ถ้าหากปลูกและดูแลรักษาตามขั้นตอนที่ได้กล่าวมาแล้ว คาดว่าอ้อย 1 ไร่ จะมีไม่ต่ำกว่า 10,000 ลำ ถ้า 1 มัด หนัก 20 กก. 1 ไร่จะได้ผลผลิต 20 ตัน

-----------------------------------------------------------------------------
สรุป ขั้นตอนการปลูกอ้อยข้ามแล้งให้ได้ผล
1.ปรับปรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ และเตรียมดินให้ลึกให้รากหยั่งลงไปหาน้ำและอาหารได้ พร้อมทั้งเตรียมดินให้ละเอียดให้ดินเก็บความชื้นได้

2.การปลูก ถ้าปลูกด้วยเครื่องปลูกจะเหมาะที่สุด ถ้าปลูกด้วยแรงคน เมื่อเบิกร่องแล้ว จะต้องวางท่อนพันธุ์ ปุ๋ยรองพื้น สับท่อนพันธุ์แล้วกลบให้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน

3.ใส่ปุ๋ยรองพื้นและแต่งหน้า ให้เพียงพอกับความต้องการของอ้อย

4.ควบคุมวัชพืชให้ได้โดยไม่กระทบอ้อย และมีต้นทุนต่ำ

5.ควบคุมโรคและแมลงไม่ให้ระบาด

ถ้าหากชาวไร่อ้อยมีการบริหารจัดการที่ดี มีปัจจัยการผลิตพร้อม ผลผลิตย่อมจะสูงขึ้นจากปัจจุบันอย่างแน่นอน

-----------------------------------------------------------------------------
อ้างอิง : www.mitkaset.biz

 

สินค้าเกษตร ไบโอเอ็น ปลอดสารพิษ จากฟาร์มเกษตร
อจุลินทรีย์ตริงไนโตรเจนเสริมอ้อยโตเพิ่มผลผลิตอ้อยด้วยจุลินทรีย์พิเศษ ที่สามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศ มาเปลี่ยนเป็นไนโตรเจนในรูปแบบที่อ้อยนำไปใช้ได้
ไบโอเอ็นตรานกอินทรีคู่
คุณสมบัติของไบโอเอ็น จุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน
- เพิ่มการตรึงไนโตรเจนโดยชีววิธีให้กับอ้อย (Biological Nitrogen Fixation; BNF)
- เพิ่มการย่อยสลาย การปลดปล่อยและการเปลี่ยนรูปธาตุอาหารในดิน
- ป้องกันการเกิดโรคทางดิน ได้แก่ โรคแส้ดำ โรคลำต้นเน่าแดง โรคกลิ่นสับปะรด โรคเหี่ยวเน่า โรครากเน่า
- ปรับปรุง และปรับสภาพโครงสร้างดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน

วิธีการใช้งาน อัตตราส่วนผสม และช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการใช้งาน

- ใช้ฉีดพ่นให้นำทางใบกับอ้อย ในเดือนที่ 2 เดือนที่ 3 และเดือนที่ 4 ใช้ได้ทั้งอ้อยปลูก และอ้อยตอ
- หากใช้ถัง 20 ลิตร หรือ 18 ลิตร ใช้ผสมกับไบโอเอ็น 100 ซีซี (ประมาณหนึ่งขวดเอ็มร้อย หรือขวดลิโพ)
- กรณีใช้ถัง 200 ลิตร ผสมกับไบโอเอ็นจำนวน 1000 ซีซี (1000 ซีซี เท่ากับ 1 ลิตร)
- ใน 1 ไร่ ฉีดน้ำ ที่ผสมกับ ไบโอเอ็นแล้ว 80 ลิตร หรือ ฉีดพ่นอ้อย ในอัตรา 70-80 ลิตร ต่อ 1 ไร่

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 30697 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่อ้อย]:
อ้อยแคระ แกร็น อ้อยโตช้า อ้อยไม่ย่างปล้อง อ้อยปล้องสั้น อ้อยใบเหลือง อ้อยใบไหม้
พืชจะไม่สมบูรณ์ได้อย่างไร เราก็ใส่ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีแล้ว แต่ทำไมพืชยังไม่โตเท่าที่ควร ทั้งๆที่เราใส่ปุ๋ย
อ่านแล้ว: 7265
อ้อยยอดเหลือง แต่กอยังเขียว เพราะ หนอนกออ้อย เข้าทำลายต้นอ้อย ฆ่าหนอน กำจัดหนอน ไอกี้-บีที
อ้อยกำลังงาม อยู่ๆก็ยอดเหลือง ทั้งๆที่กออ้อยยังเขียวอยู่ นั่นท่านอาจเจอกับปัญหาหนอนกอ ป้องกันกำจัด ก่อนจะลุกลาม
อ่านแล้ว: 7122
อ้อยใบเหลือง อ้อยใบซีด เหลืองซีดเป็นหย่อมๆ ลักษณะนี้เป็นอาการของ อ้อยขาดธาตุอาหาร
หากพืชมีความอ่อนแอ ความรุนแรงของโรคก็จะมาก การเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ก็เข้าทำลายได้มากเช่นกัน บวกกับสภาพแวดล้อม..
อ่านแล้ว: 9744
อ้อยเป็นหนอน หรือเห็น อ้อยยอดแห้งตาย นั่นเพราะหนอนกอสีขาวเข้าทำลาย
หน่ออ้อยที่ยังเล็กอยู่ หากโดน หนอนกอสีขาว เข้าทำลาย หน่ออ้อยมักจะตาย อ้อยที่เป็นลำจะชะงักโต ผลผลิตลด คุณภาพลด
อ่านแล้ว: 8114
ผลผลิตอ้อยลด ค่าความหวานลด อ้อยชะงักโตเพราะ แมลงหวี่ขาวอ้อย ต้องแก้
แมลงหวีขาว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบอ้อย ในระยะตัวอ่อนนั้น จะสร้างความเสียหายให้กับอ้อย
อ่านแล้ว: 8598
อ้อยมีราดำ มีแป้งสีขาวใต้ใบ ใบเหลืองซีด เพราะเพลี้ยสำลี ปล่อยไป อ้อยแห้งตาย
เพลี้ยสำลี หากมีการระบาดในไร้อ้อยแล้ว จะทำให้อ้อยในไร่ชะงักการเติบโต หรืออาจจะทำให้อ้อยแห้งกรอบทั้งใบ
อ่านแล้ว: 8767
อ้อยเหลือง แห้งตายทั้งกอ เป็นเพราะ แมลงนูนหลวง กัดกินรากอ้อย กำจัดอย่างไร
มักระบาดในสภาพดินทรายที่มี pH 6-6.5 และสภาพดินที่มีอินทรียวัตถุ 0.56-0.84% การเข้าทำลายอ้อยมักปรากฏเป็นหย่อมไม่แพร่..
อ่านแล้ว: 7567
หมวด ไร่อ้อย ทั้งหมด >>