ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่อ้อย | อ่านแล้ว 29829 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ประวัติถิ่นฐานดั้งเดิมของอ้อยและการกระจายตัวของอ้อย

ประวัติถิ่นฐานดั้งเดิมของอ้อยและการกระจายตัวของอ้อยมาฝาก อาจจะเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ เนื้อหาแบบเบาๆนะครับ

data-ad-format="autorelaxed">

ประวัติอ้อย

ประวัติถิ่นฐานดั้งเดิมของอ้อยและการกระจายตัวของอ้อย- สวัสดีครับ : ผม sam.FarmKaset วันนี้ผมเอาเรื่องประวัติถิ่นฐานดั้งเดิมของอ้อยและการกระจายตัวของอ้อยมาฝาก อาจจะเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ เนื้อหาแบบเบาๆนะครับ
อ้อยเป็นพืชที่มนุษย์รู้จักมานานนับหมื่นปี การปลูกโดยวิธีตัดลำต้นออกเป็นท่อนๆ มีการกำจัดวัชพืช และป้องกันสัตว์ต่างๆ ที่จะมาทำลายอ้อยที่ปลูก นับว่าเป็นศิลปะที่เก่าแก่มาก ในสมัยโบราณ อ้อยปลูกเป็นพืชสวนครัวสำหรับบริโภคโดยตรงภายในครัวเรือนเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงจากพืชสวนครัวมาเป็นพืชไร่นั้นเชื่อกันว่า เกิดขึ้นในประเทศอินเดียเมื่อหลายร้อยปีก่อนคริสต์ศักราช ส่วนกรรมวิธีการทำน้ำตาลจากอ้อยนั้น เพิ่งจะมาทราบกันเมื่อไม่นานมานี้เอง

ก่อนที่จะกล่าวถึงถิ่นกำเนิดของอ้อย ใคร่ขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับการแบ่งพืชในสกุล (genus)Saccharum เสียก่อน การแบ่งชนิด (species) ของพืชในสกุลนี้ ได้กระทำโดยนักพฤกษศาสตร์หลายท่านในวาระต่างๆ กัน แต่ที่ยอมรับกันโดยทั่วไปก็คือ การแบ่งของกราสซึล (Grassl, 1968) ซึ่งได้แบ่งพืชในสกุลนี้ออกเป็น ๔ ชนิด คือ

(๑) อ้อยปลูกดั้งเดิม (S.officinarum L.)
(๒) อ้อยป่าแถบร้อน (S. spontaneum L.)
(๓) อ้อยอินเดีย (S. barberi Jesw.)
(๔) อ้อยป่านิวกินี (S. robustum Brand. et Jesw.ex Grassl.)

ลักษณะทั่วๆ ไปและถิ่นกำเนิดของอ้อยชนิดต่างๆ มีดังนี้

๑. อ้อยปลูกดั้งเดิม เป็นอ้อยที่เกิดแถบเกาะนิวกินี ลักษณะของอ้อยชนิดนี้ถือเป็นลักษณะประจำของพืชในสกุลนี้ ลักษณะที่สำคัญคือ ลำใหญ่ ใบยาวและกว้าง มีน้ำตาลมาก เปลือกและเนื้อนิ่ม และมีสีสวย ซึ่งเรารู้จักกันในนามของ "อ้อยเคี้ยว" เท่าที่มีอยู่ในบ้านเรา คือ อ้อยสิงคโปร์ อ้อยมอริเชียส (Mauritius) และอ้อยบาดิลา (Badila) ซึ่งชาวดัทช์ที่อยู่ในชวาสมัยก่อนเรียกอ้อยเหล่านี้ว่า โนเบิลเคน (noble cane) ต่อมาบรานดิซ (Brandes, ๑๙๕๖) เรียกว่า เนทิฟ การ์เดน ชูการ์เคน (native garden sugarcane หรือ native sugarcane) เพราะชาวเกาะนิวกีนีปลูกไว้ในสวน เพื่อใช้รับประทานสด อ้อยชนิดนี้มีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลทรายของโลก ในสมัยเริ่มแรกเป็นอย่างมาก อ้อยที่ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบันก็สืบเชื้อสายมาจากอ้อยชนิดนี้ ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงประวัติ และถิ่นฐานดั้งเดิมของอ้อยจึงหมายถึงอ้อยชนิดนี้เสมอ

๒. อ้อยป่าแถบร้อน เป็นอ้อยป่าซึ่งขึ้นอยู่ทั่วไปในแถบร้อนและชุ่มชื้น มีอยู่หลายร้อยชนิดแตกต่างกันตามแหล่งกำเนิด แต่มีลักษณะที่สำคัญคล้ายคลึงกัน คือมีอายุยืน (perennial) ขึ้นอยู่เป็นกอ มีลำต้นใต้ดิน (rhizome) ลำต้นผอมและแข็ง ไส้กลวงมีความหวานน้อย ในประเทศไทยเรียกว่า แขมพง หรือ อ้อยป่า (wild cane)

๓. อ้อยอินเดีย เป็นอ้อยที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียตอนเหนือ นักวิชาการเชื่อกันว่าเป็นอ้อยที่เกิดจากการผสมตามธรรมชาติ ระหว่าง S.officinarum และ S.spontaneum อ้อยพวกนี้มีลำต้นขนาดเล็ก ใบเล็ก ข้อโป่ง มีความหวานสูง เปลือกและเนื้อนิ่ม อ้อยขาไก่ในประเทศเราอาจเป็นอ้อยพวกนี้

๔. อ้อยป่านิวกีนี เป็นอ้อยป่าแถบเกาะนิวกินี เปลือกแข็ง ไส้ฟ่าม มีลักษณะลำต้นใหญ่ แข็งแรง อาจสูงถึง ๑๐ เมตร มีความหวานต่ำ ชาวเกาะใช้ปลูกทำรั้ว อ้อยชนิดนี้พบว่า มีในประเทศไทย นักวิชาการเชื่อกันว่า เป็นต้นตระกูลของอ้อยปลูกดั้งเดิม อ้อยได้ถูกนำไปจากเกาะนิวกีนี โดยการติดต่อค้าขาย และการล่าเมืองขึ้นของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ดี บรานดิซได้สันนิษฐานการแพร่กระจายของอ้อยจากนิวกินีไว้เป็นสามทาง ตามลำดับเวลา คือ

๑. ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่หมู่เกาะโซโลมอน นิวเฮบริดิส และนิวคาเลโดเนีย เกิดขึ้นนานนับจำนวนหมื่นๆ ปีก่อนคริสต์ศักราช

๒. ไปทางทิศตะวันตกสู่หมู่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย แหลมมลายู ฟิลิปปินส์ อินโดจีน ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ตลอดถึงชายฝั่งแถบอ่าวเบงกอลประเทศอินเดีย การกระจายตัวด้านนี้เริ่มเมื่อประมาณ ๖,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช กว่าที่อ้อยจะกระจายจากนิวกินีไปถึงอินเดียนั้น ต้องใช้เวลาถึง ๓,๐๐๐ ปี การกระจายตัวทางทิศตะวันตกนี้มีความสำคัญมาก เพราะได้ก่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำตาล จนมีความเจริญอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

๓. ไปทางทิศตะวันออกสู่เกาะต่างๆ คือ ฟิจิ ตองกา ซามัว คุก มาร์เคซัส โซไซเอตี อิสเทอร์ และฮาวาย รวมทั้งเกาะอื่นๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกด้วย การกระจายตัวตามทิศทางดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อประมาณไม่เกิน ๕๐๐ ปี หลังจากที่อ้อยถึงอ่าวเบงกอลแล้ว

สุดท้ายนี้ผมหวังว่า ทุกท่านได้ประโยชน์ที่อ่านบทความนี้ตามพอสมควร
ขอความกรุณา แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ เพือปรับปรุงบทความต่อๆไป ขอบคุณครับ

อ้างอิง : http://kanchanapisek.or.th

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 29829 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่อ้อย]:
อ้อยแคระ แกร็น อ้อยโตช้า อ้อยไม่ย่างปล้อง อ้อยปล้องสั้น อ้อยใบเหลือง อ้อยใบไหม้
พืชจะไม่สมบูรณ์ได้อย่างไร เราก็ใส่ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีแล้ว แต่ทำไมพืชยังไม่โตเท่าที่ควร ทั้งๆที่เราใส่ปุ๋ย
อ่านแล้ว: 7266
อ้อยยอดเหลือง แต่กอยังเขียว เพราะ หนอนกออ้อย เข้าทำลายต้นอ้อย ฆ่าหนอน กำจัดหนอน ไอกี้-บีที
อ้อยกำลังงาม อยู่ๆก็ยอดเหลือง ทั้งๆที่กออ้อยยังเขียวอยู่ นั่นท่านอาจเจอกับปัญหาหนอนกอ ป้องกันกำจัด ก่อนจะลุกลาม
อ่านแล้ว: 7123
อ้อยใบเหลือง อ้อยใบซีด เหลืองซีดเป็นหย่อมๆ ลักษณะนี้เป็นอาการของ อ้อยขาดธาตุอาหาร
หากพืชมีความอ่อนแอ ความรุนแรงของโรคก็จะมาก การเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ก็เข้าทำลายได้มากเช่นกัน บวกกับสภาพแวดล้อม..
อ่านแล้ว: 9744
อ้อยเป็นหนอน หรือเห็น อ้อยยอดแห้งตาย นั่นเพราะหนอนกอสีขาวเข้าทำลาย
หน่ออ้อยที่ยังเล็กอยู่ หากโดน หนอนกอสีขาว เข้าทำลาย หน่ออ้อยมักจะตาย อ้อยที่เป็นลำจะชะงักโต ผลผลิตลด คุณภาพลด
อ่านแล้ว: 8114
ผลผลิตอ้อยลด ค่าความหวานลด อ้อยชะงักโตเพราะ แมลงหวี่ขาวอ้อย ต้องแก้
แมลงหวีขาว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบอ้อย ในระยะตัวอ่อนนั้น จะสร้างความเสียหายให้กับอ้อย
อ่านแล้ว: 8599
อ้อยมีราดำ มีแป้งสีขาวใต้ใบ ใบเหลืองซีด เพราะเพลี้ยสำลี ปล่อยไป อ้อยแห้งตาย
เพลี้ยสำลี หากมีการระบาดในไร้อ้อยแล้ว จะทำให้อ้อยในไร่ชะงักการเติบโต หรืออาจจะทำให้อ้อยแห้งกรอบทั้งใบ
อ่านแล้ว: 8767
อ้อยเหลือง แห้งตายทั้งกอ เป็นเพราะ แมลงนูนหลวง กัดกินรากอ้อย กำจัดอย่างไร
มักระบาดในสภาพดินทรายที่มี pH 6-6.5 และสภาพดินที่มีอินทรียวัตถุ 0.56-0.84% การเข้าทำลายอ้อยมักปรากฏเป็นหย่อมไม่แพร่..
อ่านแล้ว: 7567
หมวด ไร่อ้อย ทั้งหมด >>