data-ad-format="autorelaxed">
ทางเลือกใหม่สมุนไพรไทยกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง การระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังในหลายพื้นที่หลายจังหวัดที่แก้ไม่ตกเป็นเวลายาวนาน เพลี้ยชนิดนี้ชอบระบาดในสภาพอากาศแห้ง ไม่มีฝน ซึ่งเหมาะต่อการขยายพันธุ์ ซึ่งเพลี้ยแป้งชนิดนี้จะเริ่มเจริญเติบโตจากระยะไข่เป็นตัวอ่อนหรือตัวเต็มวัยที่ติดมากับท่อนพันธุ์ แล้วเจาะทำลายต้นมันดูดน้ำเลี้ยงจากยอด ทำให้ยอดหงิกงุ้ม เหี่ยวแห้งตายในที่สุด จากนั้นจะย้ายไปทำลายต้นข้างๆ ต่อโดยมีมดเป็นพาหะ ทำให้ตายเป็นหย่อมๆ คล้ายแอ่งกระทะ จนขยายเต็มพื้นที่ นอกจากนั้นยังขับถ่ายมูลหวานทำให้ดึงดูดราดำ อีกด้วย
เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง จะมีขนาดลำตัวยาว 3 ม.ม.สีเหลืองอ่อน อ้วนสั้นมีผงสีขาวปกคลุมลำตัว ไม่มีปีก วางไข่เป็นกลุ่มๆ ละ 100-200 ฟองบนกิ่ง-ใบ เพศเมียหนึ่งตัวสามารถวางไข่ได้ 600-800 ฟอง ในเวลา 14 วัน ไข่จะฟักอยู่ในถุงใต้ท้องเพศเมีย ประมาณ 6-10 วัน ไข่จึงจะฟักออกเป็นตัวอ่อนส่วนเพศเมียเมื่อหยุดไข่ก็จะตายไป ตัวอ่อนที่จะฟักออกจากไข่ใหม่ๆ มีสีเหลืองอ่อนและไม่มีผงสีขาว ตัวอ่อนจะคลานออกจากกลุ่มไข่หาที่เหมาะสมเพื่ออยู่อาศัย เพศเมียมีการลอกคราบจำนวน 3 ครั้ง และไม่มีปีก ส่วนเพศผู้ มีปีก มีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย เพศเมียจะวางไข่ภายหลังจากลอกคราบครั้งที่ 3 เพลี้ยแป้งหนึ่งตัวสามารถขยายพันธุ์ได้ 2-3 รุ่น ใน 1 ปี ช่วงเวลาไม่เหมาะสมหรือต้นพืชไม่สมบูรณ์เพลี้ยชนิดนี้จะหลบอาศัยอยู่ใต้ดินตามรากพืช
สำหรับวิธีควบคุมป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งชนิดนี้ แนะนำให้เกษตรกรลองใช้สารสกัดจากหางไหล-หนอนตายอยาก ใบสาบเสือหรือแพล้นเซฟ-MT 300 ซีซี.ร่วมกับสมุนไพรที่มีส่วนประกอบของฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน(ไทเกอร์เฮิร์บ) 250 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทั้งบนใบใต้ใบให้ชุมโชก ทุกๆ 5-7 วันครั้ง ทำซ้ำติดต่อกัน 2-3 ครั้ง และให้เสริมฤทธิ์ด้วยซิลิซิค แอซิค (25 กรัม), ม้อยเจอร์แพล้นท์ (สารจับใบ) 50 ซีซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร นอกจากควบคุมป้องกันกำจัดแล้ว การทำให้ต้นหรือเซลล์แข็งแกร่งนั้นก็สำคัญเช่นเดียวกันที่จะช่วยลดการทำลายของเพลี้ยแป้ง การนำเอาหินแร่ภูเขาไฟมาใช้เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต(การจับตรึงปุ๋ยเป็นปุ๋ยละลายช้า)เพิ่มธาตุอาหารในดินโดยเฉพาะซิลิก้าหรือซิลิซิค แอซิค (เพิ่มความแข็งแกร่ง) ยกตัวอย่างเช่น ทำปุ๋ยละลายช้า (พูมิช 20 กก./เคมี50 กก.หรืออินทรีย์100 กก.) ,ปรับปรุงสภาพดิน (พูมิชซัลเฟอร์ 30-60 กก./ไร่)เพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดิน ปรับค่า pH กรด-ด่างให้มีความเหมาะสม
อ้างอิง : http://www.thaigreenagro.com/