data-ad-format="autorelaxed">
ชมพู่น้ำดอกไม้ เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3 - 4 ซม. 12 - 17 ซม. ดอก ช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อย 3 - 8 ดอก กลีบดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ฐานรองดอกรูปกรวย เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลเป็นผลสด กินได้ รูปเกือบกลม เส้นผ่าศูนย์ กลาง 5 - 6 ซม. ไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 10 เมตร
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ผล - ใช้ปรุงเป็นยาหอม ชูกำลัง บำรุงหัวใจ แก้ลมปลายไข้
เปลือก, ต้น และเมล็ด - แก้เบาหวานและแก้ท้องเสีย
ประโยชน์ : ใช้ผลปรุงเป็นยาหอม ชูกำลัง บำรุงหัวใจ แก้ลมปลายไข้ เปลือก ต้น และเมล็ด แก้เบาหวานและแก้ท้องเสีย
วิธีการปลูก : การขยายพันธุ์ชมพู่น้ำดอกไม้ ทำได้ 2 วิธี คือ ใช้เมล็ดและกิ่งตอน การปลูก ขุดดินให้ลึก – กว้าง 50 เซนติเมตร แล้วนำเมล็ดหรือกิ่งตอนของชมพู่ลงปลูก เกลี่ยดินกลบ แล้วนำใบตองปิดโคนต้นเพื่อช่วยเก็บความชื้น รดน้ำ 2 วัน /ครั้ง เมื่อปลูกแล้ว ( ถ้าเป็นกิ่งตอน ) ให้ทำไม้ปักยึดผูกกับต้น เพื่อป้องกันการโค่นล้ม โดนลม ป้องกันไม้ให้เฉา ควรปลูกใกล้คลอง เพราะชมพู่น้ำดอกไม้เป็น ไม้ผลที่ชอบน้ำ ชมพู่น้ำดอกไม้จะเริ่มออกผลปลายฤดูหนาว ช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน การดูแลรักษาง่ายไม่ต้องฉีดยาฆ่าแมลง เพียงแต่ห่อผลด้วยถุงพลาสติก เพื่อป้องกันนก กระรอกและแมลงรบกวนเท่านั้น ชมพู่น้ำดอกไม้ปลูกง่าย โตไวให้ผลได้ใน 2 ปี ลักษณะใบจะเรียวยาวคล้ายใบมะม่วงขนาดเล็ก ผลคล้ายลูกจัน เมื่อสุกมีกลิ่นหอมคล้ายดอกนมแมว ถ้าปลูกไว้ห่างจากบ้านประมาณ 2 เมตร จะได้กลิ่นหอม ผลมีน้ำหนักประมาณ 80 – 100 กรัม ความหวาน 16 องศาบริกซ์ ( หวานกว่าชมพู่ทุกชนิด ) เนื้ออ่อนนุ่มชวนรับประทาน มีการศึกษาวิจัย พบว่าสารสกัดจากอะซิโตนและน้ำจากเปลือกของต้นชมพู่น้ำดอกไม้(Syzygium jambos ( L. ) Alston แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus aureus , Yersinia enterocolitica , Staphylococcus hominis , Staphylococcus cohnii และ Staphylococcus warneri โดยสารสำคัญในการแสดงฤทธิ์ดังกล่าวคือ แทนนิน ที่มีปริมาณมากในสารสกัด ( 77% ในสารสกัดจากน้ำและ 83% ในสารสกัดจากอะซิโตน ) ชมพู่น้ำดอกไม้เป็นผลไม้ไทยโบราณที่นับวันจะหายากมากขึ้นเรื่อยๆ ผลสุกมีกลิ่นหอมแบบดอกกุหลาบ โตไวและเลี้ยงง่าย ผลไม้เก่าแก่ชนิดนี้กำลังจะสูญหายไปกับกาลเวลา คงถึงเวลาที่เราต้องเร่งอนุรักษ์กัน เข้ามาเยี่ยมชมและรู้จักกับสมบัติของท้องถิ่นไทยอีกชนิด
อ้างอิง : http://www.bspwit.ac.th/