data-ad-format="autorelaxed">
พญาสัตบรรณ
ลักษณะ พญาสัตบรรณ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็กๆ สีขาวปนน้ำตาลกรดดูจะมียางสีขาวลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามากลักษณะเป็นชั้นๆ ใบเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่งมีใบประมาณ 5-7 ใบ ก้านใบสั้น ใบสีเขียวถ้าเด็ดก้านใบจะมียางสีขาว ลักษณะใบยาวรีปลายใบมนโคนใบแหลมขนาดใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร ออกดอกสีเขียวอ่อนเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกมีกลิ่นฉุนรุนแรง (สูดดมเพียงเล็กน้อยจะรู้สึกกลิ่นหอม หากสูดสมมากจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ) ยอดของลำต้นดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็มช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่มดอกมีสีขาวอมเหลือง ผลเป็นฝักยาว ลักษณะเป็นเส้นๆ มีขุยสีขาวคล้ายฝ้ายปลิวไปตามลมได้ในฝักมีเมล็ดเล็กๆ ติดอยู่กับขุยนั้น
คนไทยโบราณเชื่อว่า : บ้านใดปลูก พญาสัตบรรณ ไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเกียรติเพราะพญาสัตบรรณ หรือ ฉัตรบรรณคือ เครื่องสูงที่ และ พญา ก็คือผู้เป็นใหญ่ที่ควรยกย่อง เคารพนับถือ ดังนั้นพญาสัตบรรณจึงเป็นไม้มงคลนาม นอกจากนี้การเจริญเติบโตของทรงพุ่มมีลักษณะคล้ายกับฉัด คือ เป็นชั้นๆ และยังมีความเชื่ออีกว่า จะได้รับการยกย่องและนับถือจากบุคลทั่วไป เพราะ สัตร คือ สิ่งที่ดีงามมีคุณธรรมดังนั้นจึงเป็นที่นับถือ และยกย่อง
ตำแหน่งที่ปลูก : เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้น พญาสัตบรรณไว้ทางทิศเหนือผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์เพราะโบราณเชื่อว่า การปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ถ้าให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญที่ควรเคารพนับถือและเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก
การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
ดิน ชอบดินร่วนซุย
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2: 3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง
การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด และการปักชำ
โรคและศัตรู ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะมีความทนทานสภาพธรรมชาติได้ดี
อ้างอิง : http://www.maipradabonline.com/