ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 60308 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

วิธีกำจัดหอยทาก

วิธีกำจัดหอยทาก วัชพืชตัวร้าย หอยทาก จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และจะพบแพร่หลายในช่วงฤดูฝน เพื่อออกหา...

data-ad-format="autorelaxed">

วิธีกำจัดหอยทาก

วิธีกำจัด “หอยทาก” วัชพืชตัวร้าย

หอยทาก จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และจะพบ แพร่หลายในช่วงฤดูฝน เพื่อออกหากิน ในเวลากลางคืน เวลากลางวัน จะอาศัยที่ร่มหลบแสงแดด หอยทากมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เมื่ออายุได้ประมาณ 5 ถึง 8 เดือน ชอบวางไข่ ตามซากกองใบไม้ ขอนไม้ที่ผุ หรือใต้ผิวดินที่ร่วนซุยและชื้น วางไข่ เป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 200-300 ฟอง ตัวหนึ่งๆจะวางไข่ได้ปีละประมาณ 1,000 ฟอง เมื่อฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้วเปอร์เซ็นรอดน้อยมาก หอยทากมีอายุยืนเฉลี่ยประมาณ 5 ปี และถึงจะเป็นสัตว์ที่เคลื่อนที่ช้าแต่ก็สามารถกัดกินยอดอ่อน ทําลายผลผลิตของ เกษตรกรได้อย่างคาดไม่ถึงเช่นกัน ซึ่งวิธีการกําจัดหอยทาก มีดังนี้

1.กากกาแฟ นอกจากจะเป็นปุ๋ยได้อย่างดีแล้ว คาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟยังเป็นสารพิษขนานเอกของและหอย ทากอีกด้วย นํากากกาแฟมาโรยไว้รอบๆแปลงผัก หรือรอบๆ กระถาง ความหยาบของกากกาแฟจะช่วยไม่ให้หอยทากเดินผ่านเข้าไปกินพืชผัก เพราะกากกาแฟจะติดลําตัวหอยทากเมื่อมันเดินผ่าน และกาแฟดําเข้มข้นที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนเยอะ ก็สามารถนํามาฉีดพ่นให้ทั่วแปลงผัก เพื่อป้องกันแมลง ทาก และ หอยทาก ไม่ให้กิน ใบพืชได้อีกด้วย หรือหากมันกินเข้าไปจะตายทันที เพราะฤทธิ์ของคาเฟอีนนั่นเอง หากจะฉีดพ่นทางใบควรใช้กาแฟดําเข้มข้นผสมนํ้า อัตราส่วนเข้มข้น 1 ถ้วยต้องมีคาเฟอีนไม่ตํ่ากว่า 1-2 % หากเจือจางจะเหมือนนํ้าชาทั่วไปจะไม่สามารถทําให้ตายได้

2.หินภูเขาไฟ มีอยู่หลายชนิด ลักษณะมีฟองอากาศอยู่ข้างใน เป็นรูโพรงเหมือนฟองนํ้า นอกจากจะนํามา เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง และใช้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ และยังสามารถนํามาโรยรอบๆ กระถางหรือแปลงผัก เพื่อ ป้องกันหอยทากได้ด้วย เพราะหินภูเขาฟะมีความคมและหยาบถึงขั้นบาดผิวหนังได้เลย ซึ่งเป็นสิ่งที่หอยทากไม่ ชอบ เพราะมันต้องใช้ลําตัวเดิน นอกจากนี้หินภุเขาไฟมีพลังลึกลับในตัวของมันเอง มีแรงดึงดูดเหมือนแม่เหล็ก หากหอยทาก เดินผ่านมันจะหมดเรี่ยวแรงทันที

3.สาหร่ายทะเล เป็นพืชที่เราสามารถนํามาป้องกันหอยทากได้ โดยการนําสาหร่ายไปตากแดดให้แห้ง และนํามาวางไว้รอบๆ แปลงผัก หรือรอบๆกระถาง หอยทากจะไม่มาใกล้ เพราะสาหร่ายทะเลมีความเค็มอยู่ใน ตัว และเวลาแห้งแล้วมันจะหยาบๆ กรอบๆ หอยทากไม่ชอบอะไรที่เค็มๆ หยาบๆ

4.ลวด ให้นําลวดมาพันไว้รอบกระถางต้นไม้ หรือหากปลูกพืชลงดิน ก็ให้หาแผ่นไม้เก่าๆ ที่ไม่ใช้แล้วมา ทํารั้วกั้นแปลงผัก ความสูงจากดินประมาณ 1 คืบ แล้วใช้ลวดมาวางราบกับสันไม้ จากนั้นตอกยึดลวดให้เป็น แนวขนานกับไม้เพื่อป้องกันหอยทากเดินเข้าไปกินแปลงผัก เพราะลวดที่ตากแดดในตอนกลางวัน จะมีพลังงานจากแสงอาทิตย์เก็บอยู่เป็นจํานวนมากพอที่จะช๊อตหอยทากได้เมื่อปากหรือหนวดของมันไปสัมผัสกับลวด แล้วมันจะหันเหไปทิศทางอื่น

5.เปลือกไข่ มีประโยชน์สารพัด ไม่ใช่แค่ปุ๋ยอย่างดี แต่เป็นเพชรฆาตของหอยทากเลยทีเดียว นําเปลือก ไข่ไปล้างให้สะอาด ตากแดดให้แห้ง แล้วนํามาบี้ให้แตกเป็นชิ้นๆ ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป แล้วนําไปโรยไว้ รอบแปลงผัก หรือรอบกระถางต้นไม้ โดยหงายเปลือกด้านในสีขาวขึ้น ห้ามควํ่า เปลือกไข่ที่คมจะบาดลําตัวของ ทากและหอยทาก และในเปลือกไข่จะมีสารแคลเซียมคาร์บอเนตที่ทากและหอยทากไม่ชอบ ซึ่งจะละเหยออกมา ทําให้มันไม่เข้าใกล้

6.กระเทียม มีธาตุกํามะถันสูง ที่สามารถต่อต้าน ขจัด ยับยั้ง และป้องกันสัตว์และแมลงต่างๆ ได้เป็น อย่างดี โดยการนํากระเทียมประมาณ 2-3 กํามือ มาตําให้ละเอียด แล้วนําไปแช่นํ้า 1 แกลลอน หรือ 16 ถ้วย (ตัก เปลือกกะเทียมที่ลอยอยู่ทิ้งไป) แช่นํ้าค้างคืนไว้ 1 คืน จากนั้นกรองนํ้ากระเทียมด้วยผ้าขาวบาง เอาแต่นํ้าและ นําไปฉีดพ่นตามแปลงผัก และตามกระถางต้นไม้ให้รอบ กลิ่นของกระเทียมจะขับไล่หอยทาก และแมลงต่างๆ ออกไป โดยไม่เป้นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงและสภาพแวดล้อมแต่อย่างใด

7.ถ่านที่ใช้หุงต้ม วิธีการโดยการนําถ่านมาบดให้เป็นผงๆ หยาบๆ ไม้ที่ใช้เผาถ่านบางชนิด มีความแข็งมาก เมื่อนํามาบดถ่านจะมีมุมแหลมๆ แข็งๆที่สามารถบาดลําตัวของหอยทากได้ และถ่านที่ตากแดดไว้ อย่างน้อย3 ชั่วโมง จะมีพลังงานกระแสไฟฟ้าสะสมอยู่ เมื่อหอยทาก เดินผ่านจะโดนถ่านดูด ลักษณะคล้ายไฟดูด ทําให้ทากและหอยเสียการทรงตัว มึนๆ แต่ไม่ถึงตาย ซึ่งสามารถใช้เป็นรั้วป้องกันขโมยได้อีกทางหนึ่ง หรือถ้ามี ปริมาณมากก็ต้องกําจัดด้วยสารเคมีจําพวกนิโคลชาไมด์ เมทไทโอคาร์บ หรือเมททัลดีไฮด์ ในอัตราส่วนที่เหมาะสม

อ้างอิง: www.wdoae.doae.go.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 60308 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9891
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7929
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7987
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 8353
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 7303
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8590
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7777
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>