ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ผักและการปลูกผัก | อ่านแล้ว 23968 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เพาะกล้าผัก...ธุรกิจที่กำลังได้รับความนิยมสูง

วิธีการปลูกพืชผักที่ปลูกโดยเมล็ดจะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดพืช พืชหลายๆชนิดจะเป็นการหว่านโดยตรง เช่น ผักบุ้ง คะน้า........

data-ad-format="autorelaxed">

ธุรกิจที่กำลังมาแรง

เรื่อง อรพรรณ วิเศษสังข์และจุมพล สาระนาค จากวารสารเคหการเกตร ฉบับเดือน พฤษภาคม 2554

การปลูกผักนั้นมีกระจัดกระจายกันอยู่ทั่วไปในทุกจังหวัด จะแตกต่างกันที่ชนิดพืชและปริมาณ เนื่องจากความแตกต่างกันในสภาพอากาศและสภาพพื้นที่ และรวมไปถึงวัฒนธรรมการบริโภคพืชผักในแต่ละภาคด้วย นอกจากเพื่อการบริโภคภายในประเทศแล้ว พืชผักหลายๆชนิดยังต้องผลิตเพื่อการส่งออกซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอีกด้วย ด้วยสาเหตุที่ความต้องการของตลาดเป็นไปอย่างต่อเนื่องและปริมาณสูง ส่งผลให้การปลูกพืชผักมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทั้งเทคโนโลยีในด้านการเขตกรรมและการป้องกันกำจัดศัตรูพืช

วิธีการปลูกพืชผักที่ปลูกโดยเมล็ดจะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดพืช พืชหลายๆชนิดจะเป็นการหว่านโดยตรง เช่น ผักบุ้ง คะน้า ผักกาดเขียวปลี บางชนิดเป็นการหยอดหลุมในแปลงโดยตรง เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ข้าวโพดอ่อน การปลูกพืชหลายๆชนิดที่ต้องย้ายกล้า เช่น พริก มะเขือเทศ มะเขือต่างๆ พืชบางชนิดจะใช้วิธีการปลูกหลายวิธีขึ้นอยู่กับฤดูปลูก เช่น ผักกาดขาวปลี บางช่วงจะใช้วิธีการย้ายปลูก แต่บางช่วงจะหว่านแล้วถอนแยกให้ได้ระยะที่เหมาะสม

การเพาะกล้าส่วนมากจะเพาะไว้ในแปลงเพาะใกล้ๆบริเวณที่จะปลูกพืชนั้นๆ หรือในบริเวณที่มีแหล่งน้ำสะดวก หรือบางครั้งในบริเวณที่มีน้ำท่วม เพื่อให้การปลูกเป็นไปตามฤดูการเกษตรกรจะจัดทำแปลงเพาะในบริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึง หรือในบางแหล่งจะใช้ภาชนะที่ใช้ในครัวเรือนจนหมดสภาพแล้วเป็นภาชนะเพาะ เพื่อจะได้ดูแลต้นกล้าอย่างใกล้ชิด เนื่องจากในปัจจุบันนี้เมล็ดพันธุ์พืชผักหลายๆชนิดเป็นเมล็ดพันธุ์ลูกผสม ที่ได้รับการพัฒนาให้มีผลผลิตสูง มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งส่งผลให้ราคาเมล็ดพันธุ์สูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นวิธีการเดิมๆที่เกษตรกรจะใช้เมล็ดหว่านในแปลงปลูกแล้วค่อยถอนต้นที่ขึ้นมากๆออกเพื่อให้เหลือต้นพืชผักในระยะปลูกที่เหมาะสม นั้นจะเป็นการสิ้นเปลืองทั้งต้นทุนเมล็ดพันธุ์ และแรงงานที่จะต้องดูแลพืช และการจัดการถอนแยกพืช

เมื่อมีการปรับเปลี่ยนมาเป็นการเพาะกล้า ในระยะแรกเป็นการเพาะกล้าในแปลงปลูกดังกล่าวแล้วข้างต้น แต่ต่อมาจาการพัฒนาการปลูกพืชบางชนิดในโรงเรือนซึ่งรวมไปถึงพัฒนาวิธีการเตรียมกล้าให้เหมาะสมกับสภาพการปลูกในโรงเรือน มีการพัฒนาอุปกรณ์เพาะปลูกต่างๆ เช่นถาดเพาะขนาดต่างๆตามความเหมาะสมของชนิดพืช ดินผสมสำหรับใช้ในการเพาะในถาด หลายๆแหล่งพัฒนาถึงการใช้วัสดุปลูกที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นต้น และการพัฒนาดังกล่าวส่งผลให้มีการนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาปรับใช้กับการผลิตพืชผักนอกโรงเรือนหรือในแปลงปลูกทั่วๆไป จากการที่เกษตรกรหัวก้าวหน้าบางรายนำเทคโนโลยีการเพาะกล้าในถาดหลุมมาใช้ จนมีผู้นำไปผลิตกล้าในถาดหลุมจำหน่ายในหลายๆแหล่งปลูกพืช และในบางแหล่งจะเป็นการรับจ้างผลิตตามที่เกษตรกรต้องการ ซึ่งจากการสำรวจแหล่งปลูกผักที่จังหวัด ตาก เชียงใหม่ นครราชสีมา และ หนองคายพบว่าการเตรียมกล้านั้นร้อยละ 80 ที่ปรับเปลี่ยนมาเป็นการเพาะกล้าในถาดเพาะ โดยแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะคือ

1. เกษตรกรเพาะเองจะมีอยู่น้อยมาก

2. มีผู้รับจ้างเพาะซึ่งมีทั้งรายย่อยและรายใหญ่ โดยเกษตรกรนำเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการปลูกไปให้ และกำหนดวันที่จะมารับกล้าไปปลูก และส่วนมากที่ได้มีโอกาสแวะเข้าไปดูกิจการจะอยู่ในกลุ่มนี้เป็นส่วนมาก เช่นการรับจ้างเพาะพริก และมะเขือเทศที่ปากช่อง ในเขตพบพระจะมีผู้รับจ้างอยู่หลายราย ทั้งรายเล็กที่มีโรงเรือนเป็นประเภทโรงเรือนชั่วคราว และรายใหญ่ที่มีโรงเรือนมากกว่า 30 โรงเรือนพืชที่รับจ้างเพาะ เช่น พริก มะเขือเทศ มะเขือยาว ผักกาดขาวปลี(ลุ้ย) กะหล่ำปลี ดาวเรือง มะละกอ เป็นต้น เกษตรกรจะนำเมล็ดมาให้พร้อมทั้งกำหนดวันที่จะมารับไปปลูก หรือบางครั้งผู้รับจ้างต้องนำต้นกล้าไปส่งถึงแปลงปลูก

3. เกษตรกรแจ้งความประสงค์กับผู้รับจ้างเพาะกล้า ว่าต้องการพืชอะไรสายพันธุ์อะไร ปริมาณเท่าไหร่ กำหนดจะใช้เมื่อไหร่ แล้วผู้รับจ้างจะดำเนินการให้ตามที่ต้องการ ที่อำเภอสันทราย ซึ่งที่นี่จะเพาะพืชหลากหลายมากทั้งพืชผักและไม้ดอกหลากหลายชนิดแต่ที่นี่เมื่อเกษตรกรแจ้งความจำนงแล้วทางบริษัทจะจัดหาเมล็ดพันธุ์มาดำเนินการให้เลย

4. มีผู้เพาะกล้าจำหน่าย แต่มีไม่มากนัก จะพบเฉพาะในแหล่งที่มีการปลูกพืชนั้นกันเป็นพื้นที่ใหญ่ๆ จากการสำรวจ พบที่ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ แห่งเดียว ที่มีการเพาะกล้าพริกจำหน่าย นอกจากนั้นจะเป็นการเพาะกล้าให้กับลูกไร่ เช่นการปลูกมะเขือเทศส่งโรงงงานที่ จังหวัดหนองคาย

ข้อดีของการเพาะกล้าในถาดเพาะ

1. ถ้าเพาะเองสะดวกในการดูแลกล้าในพื้นที่ไม่มากนัก ทั้งการให้น้ำและศัตรูพืช

2. ทราบจำนวนกล้าที่จะใช้แน่นอน ไม่ต้องเพาะเผื่อมากนัก

3. ถ้าจ้างเพาะไม่ต้องเสียเวลาในการดูแลกล้า และไม่ต้องจ้างแรงงงานดูแลกล้า

4. ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับต้นกล้า และ มีการรับประกันว่าจะได้ตรงตามเวลา

5. การย้ายกล้าโดยมีวัสดุปลูกติดไปด้วย โอกาสที่จะต้องปลูกซ่อมต่ำมาก

ความเสี่ยงของการเพาะอยู่ที่ผู้รับจ้าง

อย่างไรก็ตามในการเพาะเมล็ดพันธุ์จำหน่ายนั้น ผู้เพาะจะประสบปัญหาในด้านศัตรูพืชเช่นกัน โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับต้นเน่ายุบ หรือโรคบนใบหลายๆชนิด เช่นโรคราน้ำค้าง โรคใบจุด โรคใบด่าง เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้มีโอกาสติดหรือปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์ได้

อ้างอิง: http://www.kehakaset.com

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 23968 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

คุณDentz วธัญญู
[email protected]
เครื่องวัดค่าคุณภาพน้ำ pH meter, EC meter, TDS meter แบบ Pocket, Portable จากประเทศสิงคโปร์ สำหรับตรวจวัดคุณภาพน้ำและปุ๋ยในการปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์ 
http://www.transinstruments.com 

สนใจสอบถามข้อมูล
086 332 3632
[email protected]
02 ม.ค. 2557 , 01:00 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ผักและการปลูกผัก]:
กระเทียมใบไหม้ กระเทียมใบแห้ง ใบจุด โรครา เพลี้ยไฟ ไร แก้ไขได้ ให้ถูกวิธี
สาเหตุหลักเลย ที่ทำให้ โรคและแมลงศัตรูพืช เข้าโจมตี หรือเข้าทำลายต้นกระเทียมได้ง่าย เพราะเกิดจาก กระเทียมอ่อนแอต่อโรค
อ่านแล้ว: 8105
มะเขือเทศใบไหม้ มะเขือเทศใบเหลือง ใบหงิก ต่างอาการ ต่างสาเหตุ แก้ต่างวิธี
ต้นเหตุหลักๆที่แท้จริงเลยคือ มะเขือเทศ ได้รับธาตุอาหารที่เป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ไม่เพียงพอ
อ่านแล้ว: 6723
มะเขือเทศใบเหลือง มะเขือเทศใบหงิกเหลือง มะเขือเทศใบด่าง ป้องกันได้ โดยการกำจัดแมลงศัตรูพืช
ใบอ่อนหดย่นเป็นคลื่นมีขนาดเล็กกว่าปกติ และใบยอดที่ปลายกิ่งบิดเกลียว ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดผลน้อย ผลด่าง
อ่านแล้ว: 6741
โรคราพริก โรคใบจุดตากบ ส่งผลใบพริกร่วง ชะงักการโต ผลผลิตลดลง
โรคใบจุดตากบ หากระบาดรุนแรง ใบพริกจะร่วง การออกดอกและการให้ผลผลิตจะต่ำลง โรคสามารถจะลุกลามไปที่ กิ่ง การ ผล ได้
อ่านแล้ว: 8354
พืชตระกูลแตง เป็นปื้นเหลืองบนใบ แห้งตาย เพราะ โรคราน้ำค้าง ควรเร่งแก้ไข
โรคราน้ำค้าง สร้างความเสียหายให้กับพืชตระกูลแตง ปล่อยไปถึงตายได้ ลักษณะการระบาดของ โรคราน้ำค้าง นี้ อาการที่แสดง..
อ่านแล้ว: 7478
โครงการหลวงปังค่า หนุนเกษตรกรพะเยา ปลูกมะเขือเทศสร้างรายได้
ทำให้มีอาชีพสร้างรายได้ และจำหน่ายได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องราคา ได้ผลผลิต 2-3 ตันขายได้ราวๆ 75,000 บาทต่อรอบ
อ่านแล้ว: 7674
หอมญี่ปุ่น ปลูกได้ในไทย
ปัจจุบันมีการนำมาปลูกในประเทศไทยหลายพื้นที่ สำหรับดินที่เหมาะสมในการปลูกควรเป็นดินร่วนซุย
อ่านแล้ว: 6960
หมวด ผักและการปลูกผัก ทั้งหมด >>