data-ad-format="autorelaxed">
มันสำปะหลังช่วงพัฒนาทรงพุ่ม
ช่วงพัฒนาทรงพุ่มของมันสำปะหลัง โดยเฉลี่ยแล้วจะมีช่วงอายุ 30-45 วัน ช่วงนี้จะมีการแตกกิ่ง ก้าน ใบ การเจริญเติบโตในช่วงนี้มีการพัฒนาเร็วมาก
ตามรูปด้านบน เป็นมันสำปะหลังอายุประมาณ 40 วัน ปลูกข้ามแล้ง ของไร่ขุนพลกรุ๊ฟ ระยะปลูก ห่างระหว่างร่อง 1.30 เมตร ระหว่างต้น 1 เมตร การปลูกข้ามแล้งมันสำปะหลังจะโตช้ากว่าปลูกต้นฝน แต่ข้อดีของการปลูกข้ามแล้งคือ วัชพืชมีน้อย ควบคุมได้ไม่ยาก หากเป็นการปลูกต้นฝน ในช่วงพัฒนาทรงพุ่มของมันสำปะหลังนี้ มันสำปะหลังจะโตเร็วกว่าการปลูกข้ามแล้ง แต่ควรเฝ้าระวังหญ้าวัชพืช อย่าให้โตท่วมต้นมันสำปะหลังของเรา
ควรทำอย่างไร กับมันสำปะหลังช่วงพัฒนาทรงพุ่ม
ทำรุ่นหญ้า หรือการกำจัดวัชพืชในร่องมันสำปะหลัง หากเป็นไปได้ ทางฟาร์มเกษตรไม่แนะนำให้ใช้ยาฆ่าหญ้า เพราะการใช้ยาฆ่าหญ้าแล้ว นอกจากจะทำให้มันสำปะหลังของเราชะงักการเจริญเติบโตแล้ว ยังเป็นสารพิษสะสม ไม่ดีต่อสุขภาพของเราเอง และผู้ใกล้ชิดด้วย หากท่านเป็นผู้ลงทุน ก็อย่าคิดว่า จ้างคนอื่นฉีดยาฆ่าหญ้าแล้วจะไม่ส่งผลกระทบถึงท่าน การทำรุ่นหญ้าอาจจะสามารถทำได้โดยการนำรถไถเดินตาม ลงไปในร่องมันสำปะหลัง
แต่ใครไม่ใช้ควายเหล็ก อยากจะใช้ควายแท้ๆ อย่างไร่ปริซโตน ลูกค้าฟาร์มเกษตร พี่เค้าก็ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆครับ ฟาร์มเกษตรเองก็สนับสนุน ควายได้ทำงาน คนเลี้ยงควายก็ได้ทำงาน ได้เงินใช้ เป็นการสนับสนุนพวกเรากันเอง ไม่ต้องเอาตังไปให้ญี่ปุ่นครับ
เช่นนี้ นอกจากจะเป็นการเอาหญ้าออกจากร่องมันสำปะหลังแล้ว ยังเป็นการช่วยพรวนดินไปในตัว ทำให้ดินมีความร่วมซุยมากขึ้น เมื่อลงไถรอบแรก ใช้ผานพนม เรียกอย่างนี้หรือปล่าวไม่แน่ใจ แต่ดูรูปด้านล่างครับ เป็นประมาณนี้
หลังจากลงไถแล้ว จาเป็นการเอาดินจากทั้งสองข้าง มากลบตรงกลางร่องก่อน การชำเช่นนี้ ดินจะร่วมซุยมากขึ้น และหญ้าวัชพืช จะถูกไถกลบมารวมกันที่กลางร่อง จากนั้นต้องเปลี่ยนผานเป็นผานหัวหมู คือเป็นผานตรงกันข้ามกับที่เป็น เพื่อเอาดินจาก ตรงกลางร่อง แหวกกลบกับไปบนร่องตามเดิม แต่อย่าเพิ่งลงผานหัวหมูครับ ก่อนไถรอบสอง ให้เราใส่ปุ๋ยก่อน
การใส่ปุ๋ยในช่วงที่สองนี้ เราสามารถทำอุปกรณ์ช่วยใส่ปุ๋ยอย่างง่าย เพื่อควบคุมปริมาณปุ๋ยให้สม่ำเสมอ โดยการใช้ท่อ PVC มาบากให้เป็นรูป ขนาดพอที่จะให้นิ้วโป้ง สอดลงไปเพื่อกั้น หรือปล่อยปุ๋ย ให้ปุ๋ยเม็ดไหลลงผ่านทางท่อ PVC ได้มากหรือน้อยตามต้องการ และนำไปเจาะรูปเสียบไว้กับก้นถุงปุ๋ย จากนั้น เราก็แปลงกระสอบปุ๋ยให้เป็นคล้ายๆย่ามสพายข้าง
เอาปุ๋ยใส่ในย่ามสะพายตามน้ำหนักที่เรายกไหว เดินใส่ปุ๋ยลงร่องมันสำปะหลัง ดังรูป ก็จะเป็นการสะดวกอีกทางหนึ่ง ให้สังเกตุ ว่าดินยังถูกกลบอยู่ตรงกลางร่องนะครับในขณะที่เดินใส่ปุ๋ย
หลังจากใส่ปุ๋ยเสร็จ เปลี่ยนเป็นผานที่มีหน้าตาแบบนี้ครับ จะเป็นแบบนี้ทั้งสองด้าน จะทำหน้าที่ ไถกลบทั้งดินและปุ๋ยกลับมายังร่องและ โคนต้นมันสำปะหลัง และร่องมันเราก็กลับมาเป็นร่องสวยเหมือนเดิม
ปุ๋ยที่ใช้ หากเป็นของฟาร์มเกษตรสำหรับใส่ช่วง 30-45 วัน หรือ 1 เดือน ของอายุมันสำปะหลังนี้ ฟาร์มเกษตรแนะนำ ปุ๋ย เพอร์เฟค เอส (Perfect S) สูตร 16-3-3 ครับ นอกจากมีอาหารหลัก N P K ซึ่งก็คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมแล้ว ก็ประกอบไปด้วย OM หรือ Organic Matter หรือปริมาณอินทรียวัตถุ อีก 10% และประกอบด้วย Si ซิลิกา ที่ช่วยสร้างความแข็งแรงให้ผนังเซลของพืช
เพอร์เฟคเอส ตอบโจทย์เรื่อง Law of the Minimum
นักวิทยาศาสตร์ที่สามารถลบล้างทฤษฎีฮิวมัสได้สำเร็จคือ จุสตุส ฟอน ลีบิก (Justus von Liebig, ค.ศ. 1803-1873) ชาวเยอรมัน ลีบิกมีความคิดว่า ปัจจัยที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืชคืออาหารแร่ธาตุต่าง ๆ จึงได้ตั้งทฤษฎีขึ้นมาใหม่แทนทฤษฎีฮิวมัส คือ “ Law of the minimum” ซึ่งมีใจความว่า เมื่อพืชได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นเพียงพอแล้วทุกธาตุยกเว้นธาตุหนึ่งซึ่งยังขาดอยู่หรือยังมีไม่เพียงพอ ธาตุนั้นจะเป็นตัวจำกัดการเจริญเติบโตของพืช ทฤษฎีของลีบิกนี้ยังได้รับความเชื่อถือมาตราบจนทุกวันนี้และเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพียงเล็กน้อยเท่านั้นลีบิก มีแนวคิดว่า การแนะนำการใส่ปุ๋ยให้กับพืช (Fertilizer recommendation) สามารถทำได้โดยการวิเคราะห์หาธาตุที่เป็นส่วนประกอบของพืช แล้วใส่ธาตุเหล่านั้นลงไปในดิน เขาเป็นบุคคลแรกที่คิดทำปุ๋ยเคมีขึ้น แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากปุ๋ยที่เขาผสมขึ้นในครั้งนั้นเป็นสารประกอบที่ไม่ละลายน้ำ ผลการทดลองที่สำคัญของ ลีบิกสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) ยืนยันว่าคาร์บอนในพืชมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ 2) ไฮโดรเจนและออกซิเจนในพืชมาจากน้ำ 3) พืชต้องการโลหะที่เป็นด่าง (alkaline metals) เพื่อสะเทิน (nutralize) กรดที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเมตาโบลิซึมในพืช (metabolic activities) 4) ฟอสเฟตจำเป็นสำหรับการสร้างเมล็ดของพืช 5) พืชดูดแร่ธาตุต่าง ๆ ในดินโดยไม่เลือกชนิด แล้วเลือกใช้เฉพาะธาตุที่จำเป็นเท่านั้นส่วนที่ไม่จำเป็นจะถูกขับ (excretes) ออกมาทางราก 6) พืชได้รับไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียมไอออน (NH4+) ทั้งจากดิน ปุ๋ยอินทรีย์ และอากาศ 7) พืชจะปลดปล่อยกรดแอซีติก (acetic acid) ออกมาทางราก จะเห็นได้ว่าข้อสรุปของลีบิกนั้นไม่ถูกต้องไปเสียทั้งหมด เช่น ข้อสรุปที่ว่ารากพืชจะปลดปล่อยกรดแอซีติกออกมาและพืชได้รับไนโตรเจนในรูปของ แอมโมเนียมไอออนทั้งจากดิน ปุ๋ยอินทรีย์และอากาศ เป็นต้น
อ้างอิง : http://courseware.rmutl.ac.th/courses/53/unit103.htm
มันสำปะหลังช่วงพัฒนาทรงพุ่มนี้ ต้องการไนโตรเจนเพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโต ในส่วนของโปแตสเซียม หรือธาตุอาหารตัว K ซึ่งเป็นตัวหลัง ยังต้องการไม่มากในช่วงนี้ หากเอาปุ๋ยตัวหลังสูง หรือปุ๋ยระเบิดหัวมันสำปะหลังมาใส่ในช่วงนี้ ผิดช่วงนะครับ อาจจะทำให้ต้นมันสำปะหลังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เพราะแท้ที่จริงแล้ว ปุ๋ยระเบิดหัวมันสำปะหลังนั้น ทำหน้าที่เกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล จากใบ สู่ลำต้น สู่ราก และสะสมเป็นหัวมันสำปะหลัง จะให้ถูกต้องสำหรับมันสำปะหลังแล้ว ต้องใส่ช่วงเดือนที่ 3-6 เพราะตอนนั้น มันสำปะหลังเจริญเติบโตพร้อมที่จะลงหัวแล้ว
สำหรับท่านที่สนใจผลิตภัณฑ์สำหรับมันสำปะหลัง ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาแช่ท่อนพันธุ์ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด สำหรับมันสำปะหลัง อย่าลืมนึกถึงฟาร์มเกษตร หรือเว็บไซต์ FarmKaset.ORG นะครับ โทร 089-4599003 เป็นเบอร์โทรศัพท์ของคุณปิยะมาศ หรือคุณปริมครับ และตอนนี้ ยังมี http://iBlog.FarmKaset.NET ที่รองรับการเข้าชมด้วย iPad ลองใช้งานดูนะครับ