data-ad-format="autorelaxed">
จุลินทรีย์ท้องถิ่น (IMO: Indigenous Microorganism)
เป็นจุลินทรีย์ที่เราได้จากท้องถิ่นของเราเอง ในสวนของเราเองเพราะผมคิดว่าจุลินทรีย์ก็เหมือนกับสัตว์ การที่เราเอาสัตว์ต่างถิ่นมาเลี้ยงมันย่อมไม่เหมาะกัน ทั้งสภาพอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น อาหาร การที่เราเอาจุลินทรีย์ต่างถิ่นที่ถูกวิจัยว่ามีความสามารถสูง แต่พอเอามาไว้ในถิ่นที่มันไม่คุ้นเคย มันอาจจะลดความสามารถลงก็ได้ แต่ถ้าเป็นจุลินทรีย์ที่มีในท้องถิ่นอยู่แล้ว คุ้นเคยกับสภาพอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น อาหาร อยู่แล้วย่อมไม่มีปัญหา จุลินทรีย์ท้องถิ่น ช่วยในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่มีอยู่ในดินทั้งบนผิวดินและใ ต้พื้นดิน IMO จัดเป็นจุลินทรีย์ที่อยู่ในประเภทจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ช่วยในการกำจัดจุลินทรีย์ที่ไม่มีประโยชน์หรือจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโทษ (จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการเน่าเหม็นต่างๆ) ช่วยให้พืชสามารถนำธาตุอาหารต่างๆไปใช้ได้สะดวก ทำให้พืชแข็งแรง และเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น
วิธีการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่น ที่ค้นหามามีอยู่หลายวิธีครับเป็นวิธีที่สามารถทำได้ไม่ยากนัก แล้วผมลองสรุปออกเป็นขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนการคัดสรรจุลินทรีย์ท้องถิ่น
วัสดุที่ใช้
1. ข้าวเจ้า 2 ลิตร (หุงด้วยน้ำเสมอกับข้าวสาร ให้ออกมาแข็งหน่อย ทิ้งให้เย็น 1-2 ชั่วโมง)
2. กล่องพลาสติกใส ที่ลึกไม่เกิน 5 นิ้ว
3. ผ้าขาวบาง
4. เชือกรัด
5. ผ้าพลาสติกหรือถุงพลาสติก
วิธีทำ
1. นำข้าวสวยใส่ลงในกล่องพลาสติก โดยให้หนาประมาณ 1-2 นิ้ว แล้วห่อด้วยผ้าขาวบางมัดด้วยเชือกพอหลวมๆ
2. ขุดหลุมที่ใต้กองใบไม้ที่มีการเน่าเปื่อย ให้กว้างยาวลึกเท่ากับขนาดของกล่องพลาสติก แล้วนำกล่องใส่ข้าว วางลงในหลุม แล้วคลุมปากหลุมด้วยใบไม้ที่มีอยู่เดิม ควรทำในช่วงเย้นที่อากาศไม่ร้อนนัก ถ้าทำในช่วงฤดูฝน ให้ใช้ผ้าพลาสติกคลุมทับอีกชั้นเพื่อกันฝน ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 วัน
สิ่งที่ได้คือ ข้าวจะมีเชื้อราขึ้น เป็นราสีต่างๆ เช่น สีขาว, สีดำ, สีเหลือง-เขียว เป็นต้น ให้เขี่ยเอาเฉพาะเชื้อราสีขาว เพราะเป็นเชื้อราที่จัดว่าเป็นประโยชน์ไม่เกิดโทษ หรือไม่สร้างสารพิษ เท่านี้ก็จะได้เชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่นมาแล้ว
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการขยายเชื้อ
วัสดุที่ใช้
1. กล้วยน้ำว้าสุกงอม แต่ไม่เน่าเสีย 3 กิโลกรัม บดหรือสับ
2. น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำอ้อย 1 กิโลกรัม ต้มกับน้ำฝน 10 ลิตร ทิ้งให้เย็น(น้ำต้องปราศจากเคมีเช่นคลอลีน ถ้าจำเป็นต้องใช้น้ำปะปา ต้องทิ้งน้ำไว้ 2-3 วันก่อนนำมาใช้)
3. ถังพลาสติกกันแสงและมีฝาปิดสนิท ขนาดพอใช้หมักวัสดุ ทั้งหมด
4. ข้าวที่มีเชื้อราจาก ขั้นตอนการคัดสรรจุลินทรีย์ท้องถิ่น
วิธีทำ
นำวัสดุทั้งหมด ผสมเข้าด้วยกัน ในถังพลาสติกกันแสง แล้วนำข้าวที่มีเชื้อรามาเขี่ยราสีขาวใส่ลงไป (พยายามทำขั้นตอนต่างๆ ให้เร็วและสะอาดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น พอน้ำเชื่อมเย็นแล้วบดกล้วย เข้าผสม ไม่ควรบดไว้ก่อนแล้วทิ้งไว้ เพราะอาจจะมีจุลินทรีย์ที่เราไม่ต้องการปะปนมากเกินไป) ปิดฝาให้สนิท หมักทั้งไว้ 45 อาจเปิดฝาทุกๆ 15 วันเพื่อระบายแก๊สเท่านั้น ไม่ต้องเปิดทิ้งไว้ เนื่องจากจุลินทรีย์ท้องถิ่น เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในกระบวนการย่อยสลาย เมื่อเปิดฝาดมดูหากมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน แสดงว่า จุลินทรีย์กำลังเจริยเติบโต หากเหม็นเน่าแสดงว่าเน่าเสียใช้การไม่ได้ เมื่อหมักครบ 45 วัน แล้วกรองกากออก จึงเอาน้ำที่ได้ไปใช้
วิธีการใช้
น้ำจุลินทรีย์ผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1:500 หรือ 1:1000 นำไปฉีดพ่น โคนต้นไม้, กองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก, กองมูลเล้าไก่เล้าหมู จุลินทรีย์จะช่วยย่อยสลาย ทำให้กองมูลไม่มีกลิ่นเหม็น โดยรดให้ทั่วทุก 5-7 วัน
อ้างอิง : http://www.bankaset.com
สินค้าจากฟาร์มเกษตรที่เกี่ยวข้อง
IMO จุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูง กำจัดเชื้อราในดิน แก้ปัญหาโรคราในยางพารา เร่งการย่อยสลายใบไม้ในสวนยาง คลิกที่นี่