data-ad-format="autorelaxed">
ลิ้นจี่ใบจุดสนิม หรือใบจุดสาหร่าย
สาเหตุของโรค จาก สาเหตุ สาหร่าย เซฟาลิวโรส ( Cephaleuros virescens)
ใบลิ้นจี่จะเป็นแผล เริ่มแรก จะเห็นใบลิ้นจี่จุดขุยสีเทาอมเขียว ฟูเล็กน้อย มีกระจัดกระจายบนใยลิ้นจี่ ต่อมาจุดจะขยายออกใหญ่ขึ้น และเปลี่ยนสีเป็นสีคล้ายสนิม กลมๆ เส้นผ่านศูนย์กลางราวๆ 3-5 มิลลิเมตร ต่อจากนั้นใบจะแห้ง ทำให้ดูเป็นสีน้ำตาลดำ และจากนั้น ลิ้นจี่จะใบซีดเหลือง ปนน้ำตาล ใบแห้ง และร่วง
ลิ้นจี่ใบจุด เป็นจุดนูนเล็กๆสีเหลือง กระจายใต้ใบ เกิดจาก ลิ้นจี่เป็นโรคราสนิม
สาเหตุจาก เชื้อราสเกอกา (Skierka nephelii) สปอร์ของโรคราสนิมในลิ้นจี่นี้ จะฟุ้งกระจายแพร่ระบาดไปกับลม ฉนั้น หากพบในบริเวณใกล้เคียง ตำบล อำเภอเดียวกัน หรือใกล้เคียง ควรฉีดพ่นยาป้องกันไว้ จะคุ้มค่ากว่า ปล่อยให้เกิดโรคแล้วค่อยกำจัดเป็นอย่างมาก แก้ไขอาการด้วย เอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา
ลิ้นจี่ต้นแห้ง ลิ้นจี่กิ่งแห้ง
ลักษณะนี้ยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริง แต่อาจเป็นไปได้ว่า เกิดจากอาการขาดธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงให้กับพืช เมื่อลิ้นจี่เติบโตโดยได้รับธาตุอาหารไม่ครบ นอกจากธาตุหลัก NPK ที่พืชต้องการแล้ว ยังมีธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จะช่วยให้ลิ้นจี่เติบโตอย่างสมบูรณ์ แข็งแรง ในส่วนของธาตุรองธาตุเสริมนั้น จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง ควรฉีดพ่นปุ๋ย ที่ให้ทั้งธาตุหลัก NPK และธาตุรอง ธาตุเสริมอย่างครบถ้วน ซึ่งมีอยู่ในปุ๋ยน้ำ FK-1
ลิ้นจี่เป็นโรคราดำ
สาเหตุ เชื้อรา แคบโนเดียม และเมลิโอลา (Copnodium sp. และMeliola sp.)
ใบลิ้นจี่ กิ่ง ช่อดอก และช่อผล จะมีลักษณะคล้ายคราบเขม่า หรือฝุ่นผง มีสีดำ เข้าปกคลุม ทำให้ลิ้นจี่ชงักการเจริญเติบโต ผิวของผลลิ้นจี่จะไม่สะอาด
สาเหตุที่ทำให้ลิ้นจี่เกิดโรคราดำ เกิดจากแมลงพวกปากดูด เช่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง ที่เข้าทำลายลิ้นจี่ แล้วขับถ่ายสารเหนี่ยวเป็นละอองน้ำหวาน ซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราดำ ราดำจึงเข้ามาติด ป้องกันกำจัดได้ด้วย มาคา และ ไอเอส
ลิ้นจี่ผลแตก
สาเหตุเกิดจาก ลิ้นจี่ได้รับน้ำหรือธาตุอาหารไม่เพียงพอ ในระยะที่ผลลิ้นจี่กำลังเจริญเติบโต วิธีแก้คือให้น้ำลิ้นจี่ทีละน้อยอย่างสม่ำเสมอ ระหว่างผลลิ้นจี่กำลังพัฒนา และให้ปุ๋ยที่มีธาตุรอง ธาตุเสริม เช่น ปุ๋ยน้ำ เอฟเค-1 อย่างสม่ำเสมอ ระหว่างที่ผลลิ้นจี่กำลังเจริญเติบโต
ลิ้นจี่ผลร่วง อาจเกิดจากการทำลายของ หนอนเจาะขั้วลิ้นจี่
เกิดในช่วง 30-50 วันภายหลังการผสมเกสร หากสังเกตุเห็นว่ามีหนอนเจาะขั้วลิ้นจี่ ป้องกันและกำจัดได้โดยการฉีดพ่น ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์ป้องกันและกำจัดหนอนปลอดสารพิษ
ลิ้นจี่ผลไหม้สีน้ำตาล เกิดจากโรคราน้ำค้างเทียม
สาเหตุ เชื้อราเพอร์โรโนไฟโธรา (Peronophythora litchii)
จะเกิดแผลสีน้ำตาลดำบนผลลิ้นจี่ แผลมีรูปร่างไม่แน่นอน เชื้อราจะสร้างส่วนขยายพันธุ์สีขาวฟูบนแผลในช่วงระยะการติดเชื้อ ป้องกันและรักษาได้ โดยการฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งเชื้อรา
หนอนชอนใบลิ้นจี่ หนอนเจาะกิ่งลิ้นจี่ สร้างความเสียหายต่อใบและกิ่ง ส่งผลให้ลิ้นจี่ได้ผลผลิตน้อยลง ป้องกันและกำจัดได้ด้วย ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ
เร่งการเจริญเติบโตของพืช ทำให้พืชเจริญเติบโตแข็งแรง มีภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง ด้วย ปุ๋ยน้ำ (FK-1) ปุ๋ยน้ำ เอฟเค-1 ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริมที่จำเป็น ธาตุหลัก N-P-K ช่วยเร่งการเสริมเติบโตของพืช เพิ่มความเขียว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการสังเคราะห์แสง พืชออกดอกออกผลได้ดี ผลผลิตดี ได้น้ำหนักดี และในส่วนของ ธาตุรอง และ ธาตุเสริม ที่มีใน ปุ๋ยน้ำ เอฟเค-1 จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง และสร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลงให้กับพืช
ปุ๋ยน้ำเข้มข้น FK-1 บำรุงต้น เร่งการเจริญเติบโต เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค
หนอน ป้องกัน กำจัดหนอน ยับยั้งการแพร่พันธุ์ของหนอน ป้องกันไม่ให้ลุกลาม ด้วย (AiKi-BT) ไอกี้-บีที เป็นสารชีวินทรีย์ สำหรับกำจัดหนอนโดยเฉพาะ ผลิตจากเชื้อ บีที ที่ออกฤทธิ์เพราะกับหนอน เชื้อบีทีนี้ ไม่มีผลและไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม จึงทำให้เป็นสารธรรมชาติที่ปลอดภัย ออกฤทธิ์ทำลายหนอนได้เป็นอย่างดี
ไอกี้-บีที สารกำจัดหนอน กำจัดหนอนแมลงวัน ปลอดสารพิษ
โรคของพืช ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา ใช้ IS ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและกำจัดโรคยอดไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคราสนิม และโรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
ไอเอส ป้องกันกำจัด ยับยั้งโรครา
ป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้ง แมลงปากดูด เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ด้วย (MAKA) มาคา สารอัลคาลอยด์ กำจัดแมลงและเพลี้ยต่างๆ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ปลอดภัยต่อผู้ใช้
มาคา กำจัดแมลงปลอดสารพิษ
อ้างอิง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
oae.go.th/fruits/index.php/protect/ 97-production/protection/107- lyncheedetected?showall=1&limitstart=