เพิ่มผลผลิตอ้อย ปลูกข้ามแล้งระยะปลูกเหมาะสม
การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อยโดยการปรับเปลี่ยนระยะแถวปลูกและอัตราปุ๋ยที่เหมาะสม
data-ad-format="autorelaxed">
การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อยโดยการปรับเปลี่ยนระยะแถวปลูกและอัตราปุ๋ยที่เหมาะสม: อ้อยปลูกข้ามแล้ง
................................................................................................................................................
สุรเดช จินตกานนท์1,2 ศุภฤกษ์ กลิ่นหวล2 และ ผกาทิพย์ จินตกานนท์ 2
1ศูนย์วิจัยและพัฒนาอัอยและน้ำตาล สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2 ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การศึกษาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อยลูกผสมเบอร์ 90-2-029 ที่ปลูกในชุดดินยโสธร (Yt: Typic Paleustults) ในพื้นที่เกษตรน้ำฝนของเกษตรกร อ.พิมาย จ. นครราชสีมา โดยปลูกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 และเก็บเกี่ยวในเดือน พฤศจิกายน 2544 มีการวางแผนการทดลองแบบ split plot in randomized complete block มีระยะแถวปลูก 3 ระยะ ได้แก่ 24, 48 และ 67 แถว/ไร่ เป็น main plot และมีอัตราปุ๋ยในโตร- เจน 3 อัตราได้แก่ 8, 20 และ 50 กก N/ไร่ เป็น subplot แปลงย่อยทุกแปลงจะได้รับปุ๋ยฟอสฟอรัส และปุ๋ยโพแทสเซียม ในอัตราเดียวกันคือ 10 กก P2O5/ไร่ และ 20 กก K2O/ไร่ ตามลำดับ โดยปุ๋ยฟอสเฟตใช้เป็นปุ๋ยรองพื้น ส่วนปุ๋ยไนโตรเจน และโพแทสเซียมใช้เป็นปุ๋ยแต่งหน้า โดยแบ่งใส่ 1/3 ของทั้งหมด เมื่ออ้อยอายุ 4 เดือน และที่เหลืออีก 2/3 ของทั้งหมดใส่เมื่ออ้อย อายุ 6 เดือน ทำการทดลองจำนวน 4 ซ้ำด้วยกัน
ผลการทดลองปรากฎว่าระยะปลูกแถวชิด (67 แถว/ไร่) ให้ผลผลิต อ้อยสูงที่สุดคือ 21.8 ตัน/ไร่ สูงกว่าการปลูกระยะแถวมาตรฐาน (24 แถว /ไร่) ถึง 35.6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผลผลิตที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากการที่จำนวน ลำอ้อยต่อไร่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนั่นเอง สำหรับอัตราปุ๋ย พบว่าการใช้ไน- โตรเจนอัตรา 20 กก N/ไร่ และ 50 กก N/ไร่ ให้ผลผลิตใกล้เคียงกัน และสูง กว่าการใส่ในอัตรา 8 กก N /ไร่ ประมาณ 11 เปอร์เซ็นต์ สำหรับระยะแถว ปลูกและอัตราปุ๋ยไม่มีผลต่อคุณภาพของอ้อยแต่อย่างใด ดังนั้นผลผลิตน้ำตาล ต่อไร่ที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นผลเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอ้อยเป็นสำคัญ
วิธีวิจัย วางแผนการทดลองแบบ split plot in randomized complete block ที่มี 4 ซ้ำ โดยมีระยะแถวปลูกเป็น main plot ดังแสดงในภาพ
ภาพที่ 1 ระยะแถวปลูกใน main plot
สำหรับ subplot เป็นอัตราของไนโตรเจน 3 อัตราคือ 8, 20 และ 50 กก N/ไร่ แต่ละแปลงย่อยซึ่งมีขนาด 6.6x10 ตารางเมตร จะได้รับปุ๋ยฟอสฟอรัสในอัตรา 10 กก P2O5/ไร่ และปุ๋ยโพแทสเซียมในอัตรา 20 กกK2O/ไร่ ปุ๋ยฟอสฟอรัส ทั้งหมดใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นพร้อมปลูก ปุ๋ยไนโตรเจนและ โพแทสเซียมใส่เป็นปุ๋ยแต่งหน้า 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ 1/3 ของทั้งหมดเมื่ออ้อยมีอายุได้ 4 เดือน ครั้งที่สองใส่ส่วนที่ เหลือ (2/3 ของปริมาณทั้งหมด) หลังการใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้ง แรกนาน 2 เดือน
ดินในแปลงทดลองเป็นชุดดินยโสธร (Yb: Typic Paleustults) เป็นแปลงเกษตรกรในเขตน้ำฝน อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ปริมาณฝนรวมตลอดช่วงของการเจริญ เติบโต (พ.ย. 2543-พ.ย.2544) วัดได้ 720 มม. โดยใน ช่วงระหว่าง พ.ย. 2543- สิ้นเดือน ก.พ. 2544 ไม่มีรายงาน ฝนตกแต่อย่างใด
สรุปผลการทดลอง 1) การปลูกระยะแถวชิด (67 แถว/ไร่) ให้ผลผลิตอ้อยสดมากที่สุด โดยสูงกว่าการปลูกในระยะแถวปรกติ (24 แถว/ไร่) ถึง 35.6 เปอร์เซ็นต์
2) การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตรา 20 กก N/ไร่ น่าจะพอเพียงแล้ว เพราะให้ผลผลิตไม่แตกต่างจากใส่ในอัตรา 50 กก N/ไร่ ผลผลิตที่เพิ่มจากอัตรา 8 กก N/ไร่ มีค่าเท่ากับ 10.45 เปอร็เซ็นต์
3) องค์ประกอบของผลผลิตที่มีผลสอดคล้องกับการเพิ่มของผลผลิตอ้อยสด คือ จำนวนลำอ้อยต่อไร่ ซึ่งการปลูกระยะ แถวชิดมีจำนวนลำเพิ่มขึ้นจากการปลูกตามระยะแถวมาตรฐาน (24 แถว/ไร่) ถึง 52.6 เปอร็เซ็นต์
4) ทั้งระยะแถวปลูกและอัตราปุ๋ยที่ใช้ในการทดลองไม่มีผลต่อคุณภาพอ้อย (ค่า CCS) แต่อย่างใด
5) การที่ผลผลิตน้ำตาลในการปลูกระยะแถวชิด (67 แถว/ไร่) สูงกว่าระยะแถวปลูกอื่นๆ ที่ทดลอง เป็นเพราะมีน้ำหนัก อ้อยสดสูงที่สุดนั่นเอง
อ้างอิง : http://www.ku.ac.th/kaset60/Theme04/theme-04-06/index-04-0602.html
สินค้าจากฟาร์มเกษตร ที่พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิตสำหรับอ้อย
เตรียมดิน รองพื้น |
เดือนที่ 1-2 |
เดือนที่ 2 |
เดือนที่ 2-3 |
เดือนที่ 4-5 |
เดือนที่ 5 |
กำจัดหนอน |
|
|
|
|
|
|
|
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 55200 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
คุณธนกฤต จิระสุข[email protected]พี่คับ 67แถวที่พี่พูดถึง แต่ละแถวห่างเท่าไหร่คับถึงได้67แถวต่อไร่ แล้วหน้าแถวแต่ละแถวกว้างเท่าไหร่คับ แล้วแต่ละต้นในแถวปลูกห่างเท่าไหร่คับ เปอร์เซนต์ปลูกจึงจะขึ้นตามที่พี่พูดถึง หากเป็นอย่างที่พี่กล่าวมาจิงรบกวนขอคำตอบด้วยนะคับ...ขอขอบคุณล่วงหน้าคับผม
25 ต.ค. 2555 , 03:22 AM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |
Jack GIS[email protected]
ผมว่าถ้าได้ผลผลิตเพิ่ม 35เปอร์เซนต์ยังไงก็คุ้มครับ เพราะลองคิดแบบคร่าว ๆ เราต้องใช้พันธุ์เพิ่ม จากปกติ 1.5ตัน/ไร่ เป็น 4.8 ตัน/ไร่ หักส่วนต่างซึ่งหมายถึงต้องจ่ายค่าพันธุ์อ้อยเพิ่ม 2.7 ตันต่อไร่ ลองจำลองราคา เบื่องต้น ได้ผลผลิตเพิ่ม 3.5ตัน จากปกติ 10 ตัน/ไร่ เอา3.5*ราคาอ้อยสมมติ 1000 บาท/ตัน จะได้เท่ากับ 3500 ที่นี้เราลองดูค่าพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นซึ่งก็คือ 2.7 * 1000 เท่ากับ 2700 เพราะฉะนั้นเราจะได้รับส่วนต่าง 3500-2700 เท่ากับ 800 ซึ่งก็อาจนำไปหักในเรื่องของค่าเตรียมดินที่เพิ่มขึ้นแต่ผมว่า คงไม่เกิน 500 ท้ายสุดอาจเหลือกำไรเพิ่มไร่ละ 300 ยังไงก็ได้เพิ่มอยู่ดีครับ แล้วถ้าเราทำตันต่อไร เกิน10 ก็จะยิ่งเป็นกำไรให้เรามากขึ้น เพราะต้นทุนค่าพันธุ์คงที่หากพี่ทำยิวได้ 20 *35 เปอร์ก็จะยิ่งได้เงินเยอะขึ้นแน่นอนครับ เอาแบบไม่ต้องนักสถิติวิเคราะห์นะครับ
ยิว10 = 3500 -2700
ยิว20 = 7000-2700
ยิว30 = 10500 - 2700 ในเมื่อต้นทุนมันคงที่ เราก็แค่คิดสิ่งที่จะได้รับว่าคุ้มกันรึป่าว ถ้าหักแล้วมีถึงจะไม่มาก ก็ควรทำครับ อันนี้ผมเข้ามาอ่านแล้วแสดงความคิดเห็นเฉยๆนะครับ ไม่ใช่เจ้าของกระทู้
13 ก.ค. 2554 , 09:01 PM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |
คณาวุฒิ[email protected]ผมสงสัยการปลูกแบบ 67 แถว/ไร่ ใหผลผลิตสูงกว่าปลูกแบบ 24 แถว/ไร่ 35.6% นั้น ต้นทุนแบบ 67 แถว จะสูงกว่าแบบ 24 แถว กี่% ครับ ผมคิดแบบง่ายๆ เฉพาะค่าพันธุ์อ้อยแบบ 24 แถว จะถูกกว่า แบบ 67แถว 179.2% แล้วไม่รวมค่าปุ๋ย ค่าแรงอีก ช่วยไขความข้องใจด้วย ครับ
25 ก.ค. 2553 , 07:29 AM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |