data-ad-format="autorelaxed">
หากใครเป็นแฟนพันธุ์แท้ขนมหวานแบบเบเกอรี่แล้วหล่ะก็ ขนมหวานกลิ่นวนิลาน่าจะเป็นสิ่งที่ทุกท่านคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะในขนมเหล่านี้รวมทั้งไอศกรีมส่วนใหญ่มักจะใช้ วนิลา เข้ามาช่วยแต่งกลิ่นให้ดูน่ารับประทาน นอกจากนี้วนิลายังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อันหลากหลาย ซึ่งแม้แต่น้ำหอมก็ยังมีการทำกลิ่นวนิลาออกขาย ดังนั้นจึงการันตีได้ว่าวนิลาเป็นเครื่องปรุงแต่งกลิ่นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเลยทีเดียว
วนิลาเป็นพืชในวงศ์กล้วยไม้และมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแม็กซิโก
การใช้ประโยชน์ของ วนิลา ได้เผยแพร่ไปในทวีปยุโรปและอเมริกาและต่อมาได้กระจายไปทั่วโลก โดยนิยมนำมาแต่งกลิ่นไอศกรีม เครื่องดื่ม ขนมเค้ก คัสตาร์ด พุดดิ้ง และขนมหวานอื่นๆ นอกจากนี้ยังใช้ในการแต่งกลิ่นน้ำหอมและทำยา เพราะฉะนั้นการใช้วนิลาจึงมีจำนวนมาก มันจึงมีความต้องการของตลาดสูงเป็นอย่างยิ่ง
ในร้านไอศกรีม ไอศกรีมวนิลาเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียว เพราะเป็นไอศกรีมยอดฮิตที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
วิธีการปลูกวนิลา
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก วานิลา นั้นวนิลาจะเจริญดีในป่าเขตร้อนชื้น ปลูกได้ในพื้นที่มีความสูงไม่เกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล พื้นที่ปลูกวานิลาควรลาดเทเล็กน้อย น้ำไม่ท่วมถึง ดินร่วนซุย มีชั้นอินทรีย์วัตถุหนามีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ต้องการช่วงแล้ง 2 เดือน สำหรับการออกดอก ปริมาณน้ำฝน 2,000 – 2,500 มิลลิเมตรต่อปี ต้องการร่มเงาและไม่มีลมพัดแรง
ในการปลูกจะใช้วิธีปักชำเถาจากต้นแม่ที่แข็งแรงสมบูรณ์ โดยตัดส่วนที่เหลืออยู่เหนือพันดิน 20 – 25 เซนติเมตร เถาควรยาวประมาณ 1 เมตร ซึ่งจะให้ผลผลิตเร็ว ภายในเวลา 2 ปี ถ้าเถาสั้นจะใช้เวลานานกว่านี้ นำเถามาชำหรือปลูกเลยก็ได้การปลูกต้องยึดติดกับค้างเพื่อให้รากยึดเกาะ ค้างวนิลามีความสูงไม่เกิน 2 เมตร อาจใช้ร่วมเงาจากพืชอื่นเป็นค้างซึ่งต้องมีลำต้นตั้งตรง กิ่งก้านไม่มาก ไม่หักล้มง่าย เช่น แคฝรั่ง ทองหลางระยะระหว่างค้าง 2 เมตร ระหว่างแถว 2.5 – 3 เมตร ปลูก 2 -ต้นต่อหลุม การปลูกปรับปรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ ริดใบ 2 ข้อล่างออก จัดวางเถาเอียง กลบดินหนาเพียง 2 – 3 เซนติเมตร ส่วนปลายผูกกับค้าง การเก็บเกี่ยวผลผลิตของวนิลา วนิลาจะให้ผลผลิตเมื่ออายุ 2 – 3 ปี และให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจนอายุ 7 – 8 ปี ฝักวนิลานับแต่ได้รับการผสมเกสรจนถึงเจริญเต็มที่ใช้เวลาประมาณ 10 เดือน การเก็บเกี่ยวระยะเหมาะสมคือ ฝักเริ่มมีสีเหลืองที่ปลายฝัก หากปล่อยให้ฝักเหลืองจะเริ่มปริแตก หลังเก็บเกี่ยวต้องทำการบ่มฝักวนิลาเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของฝัก ชะลอการแห้งให้เป็นไปอย่างช้าๆ และให้เกิดขบวนการที่ทำให้สารวานิลินที่มีกลิ่นหอม วิธีการบ่มน้ำฝักไปจุ่มน้ำอุ่น 63 – 65 องศาเซลเซียส นาน 3 นาที แล้วทำให้แห้งอย่างรวดเร็ว ห่อด้วยผ้าเก็บไว้ในหีบ จากนั้นนำไปตากแดดโดยรองด้วยตาข่ายสีดำ 6 – 8 วัน แล้วผึ่งในถาดในที่ร่มระบายอากาศดีฝักแห้งที่มีคุณภาพดีจะขึ้นอยู่กับกระบวนการบ่ม ซึ่งควรมีลักษณะคือ มีความชื้น 30 – 40 เปอร์เซ็นต์ ฝักยาวตรง สีดำ ฉ่ำน้ำเป็นมันเงาและมีสารวานิลินสูงวนิลาจะให้ผลผลิตฝักสดประมาณ 500 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งมีน้ำหนักฝักเมื่อแห้งแล้วอยู่ในอัตรา 1 : 5
ผงวนิลาเป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากฝักวนิลาเพื่อนำมาใช้แต่งกลิ่นอาหาร
การดูแลรักษา ต้นวนิลาต้องการดูแลรักษาสม่ำเสมอ เพื่อจะได้บังคับเถาให้เจริญบนค้างในทิศทางแนวนอนของกิ่งแขนง ซึ่งมีผลต่อการออกดอกของวนิลา หากปล่อยให้เจริญขึ้นข้างบนเรื่อยๆ จะไม่ค่อยออกดอก ควรใช้กิ่งไม้ไผ่เป็นราวให้วนิลาไต่ห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร ไม่ควรใช้ปุ๋ยคอกกับวนิลา แต่ควรคลุมโคนด้วยเศษใบไม้ เศษวัชพืชปีละ 2 – 3 ครั้ง เพื่อกันรากลอยซึ่งจะเน่าสลายเป็นธาตุอาหารที่ดีแก่วนิลาด้วย ปุ๋ยเคมีควรใช้ปุ๋ยทางใบในช่วงที่มีการเจริญทางลำต้น ทำการตัดแต่งทุกปีในช่วงก่อนฤดูออกดอก โดยตัดปลายเถาทิ้งประมาณ 7.5 – 10 เซนติเมตร เพื่อกระตุ้นให้เกิดตาดอกที่มุมใบ ตัดแต่งกิ่งที่แก่ แห้งและไม่สมบูรณ์ทิ้ง เมื่อวนิลาออกดอกจำเป็นต้องช่วยผสมเกสรมิฉะนั้นจะไม่ติดฝัก ช่วงเวลาที่เหมาะคือ ช่วงเช้า ในต้นเดียวกันควรผสมไม่เกิน 10 – 12 ช่อ เด็ดตาดอกที่เหลือทิ้งเพื่อไม่ให้แย่งอาหารวิธีผสมเกสรโดยใช้ไม้ไผ่แหลม หรือไม้จิ้มฟันด้านแหลมเขี่ยแผ่นบางๆ ที่กั้นระหว่างเกสรตัวผู้กับตัวเมียออกและ ใช้หัวแม่มือบีบเกสรตัวเมียให้ติดกับเกสรผู้เกลี่ยละอองเกสรให้ทั่ว ศัตรูพืชวนิลาที่สำคัญได้แก่ โรครากเน่า ป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี เช่น Methy Benzimidazole Carbomate ราดบริเวณรากพืช โรคเหี่ยว ควรนำต้นที่เป็นโรคไปทำลายทิ้ง กำจัดวัชพืชรอบต้นพืช หลีกเลี่ยงการทำให้รากพืชมีบาดแผล และราดสารเคมีรอบโคนต้นด้วย Bavistin อัตรา 200 กรัมต่อน้ำ 100 ลิตร
วนิลาเป็นพืชไม้เลื้อยอายุหลายปี ลักษณะลำต้นสีเขียวอวบน้ำเลื้อยพันหลัก
เมื่อดูจากความนิยมในการใช้งานของวนิลาจะเห็นได้ว่ามันเป็นพืชที่น่าจะสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้เป็นอย่างดี ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นควรจะต้องปลูกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยในประเทศไทยก็สามารถปลูกวนิลาได้เช่นกัน ดังนั้นโอกาสในการสร้างรายได้ที่งดงามจึงอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม เพราะวนิลา 1 กิโลกรัมมีราคาขายเป็นหลักพันเลยทีเดียว
ลักษณะของดอกวานิลาเป็นช่อ หลังจากผสมเกสรแล้วจะได้ฝัก
เบเกอรี่ต่างๆ นิยมนำวนิลาเข้ามาช่วยแต่งกลิ่นให้มีความน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น
source: thaiarcheep.com