ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: การปลูกพืช | อ่านแล้ว 6084 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การปลูกและดูแลรักษาดาวเรือง

การปลูกและดูแลรักษาดาวเรือง



data-ad-format="autorelaxed">

การเพาะเมล็ดและการดูแลต้นกล้า

 

วัสดุเพาะเมล็ดที่แนะนำคือ “พีทมอส” (Peat Moss) เนื่องจากมีธาตุอาหารที่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตในช่วงแรกของต้นกล้า และขุยมะพร้าวร่อนซึ่งมีคุณสมบัติอุ้มน้ำได้ดี โดยใช้พีทมอสสองส่วนผสมกับขุยมะพร้าวร่อนหนึ่งส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากันบรรจุลงถาดหลุมรดน้ำให้มีความชื้นพอประมาณ จากนั้นนำเมล็ดดาวเรืองจิ้มลงหลุมโดยนำด้านที่มีลักษณะแหลมเป็นด้านที่จิ้มลงหรืออาจใช้วิธีการวางเมล็ดลงในหลุมแล้วกลบด้วยขุยมะพร้าวก็ได้ หลังจากนั้น 3-5 วัน เป็นช่วงที่เมล็ดพัฒนาการงอกให้ต้นกล้าได้รับการพรางแสงประมาณ 80% เมื่อต้นกล้ามีใบเลี้ยงบานเต็มที่ ให้มีการพรางแสงประมาณ 50% เป็นเวลา 2-3 วัน จากนั้นเมื่อต้นกล้าพัฒนาใบจริงขึ้นมา 1 คู่ จึงสามารถให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดปกติโดยไม่มีการพรางแสง เมื่อต้นกล้าอายุได้ประมาณ 15-18 วัน หลังจากวันเพาะ หรือให้สังเกตว่าต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 2-3 คู่ หรือรากเจริญเต็มหลุม จึงสามารถย้ายปลูกลงแปลงได้ ในช่วงนี้เกษตรกรควรเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งหากต้นกล้าที่เพาะมีความสมบูรณ์แข็งแรงดี การเจริญเติบโตหลังจากลงแปลงก็จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การย้ายกล้าในกรณีที่ต้นกล้ามีอายุมากเกินไปหรือเกิน 20 วัน จะทำให้ระบบรากแพร่กระจายได้ช้า การเจริญเติบโตก็ช้าไปด้วย

 

 IMG_1060.00_00_21_11.Still012

 

 

การเตรียมแปลง

เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากสำหรับการปลูกดาวเรือง การไถตากดินจะเป็นการช่วยฆ่าเชื้อโรคในดินซึ่งจะเป็นการช่วยลดการเกิดโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อรา-แบคทีเรียในดิน ควรมีการไถตากดินก่อนปลูกอย่างน้อยประมาณ 2 สัปดาห์ และทำการยกแปลงโดยแปลงควรมีขนาดกว้าง 1-1.2 ม. การเตรียมแปลงแนะนำให้มีการหว่านปูนขาว 300-400 กก./ไร่ จากนั้นก่อนปลูก ควรมีการใส่ปุ๋ยรองพื้น สูตร 0-46-0 หรือสูตรเสมอ หรืออาจเป็นปุ๋ยคอกก็ได้ เช่น ขี้ไก่อัดเม็ด ขี้วัว เป็นต้น หากดินเป็นดินเหนียวจัด ควรมีการปรับปรุงดินก่อนปลูกโดยการเติมอินทรีย์วัตถุ เช่น แกลบดิบเปลือกถั่ว รวมถึงปุ๋ยคอกและปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น เพื่อเป็นการปรับโครงสร้างของดินให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก

 

 

IMG_1060.00_00_26_06.Still013 IMG_1060.00_00_29_12.Still014     IMG_1060.00_00_33_06.Still015 IMG_1060.00_00_37_29.Still016

 

 

การย้ายปลูก

แนะนำให้ย้ายปลูกในช่วงบ่ายหรือเย็นเป็นต้นไป เนื่องจากต้นกล้าสามารถตั้งตัวได้ดีกว่าการย้ายปลูกตั้งแต่ช่วงเช้า ระยะห่างระหว่างต้นอยู่ที่ประมาณ 40-60 ซ.ม. ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1-1.2 ม. แล้วแต่ฤดูกาล ช่วงหน้าหนาวและหน้าร้อน แนะนำให้ปลูกแถวคู่จะช่วยในการเก็บความชื้นในดิน ส่วนหน้าฝนแนะนำให้ปลูกแถวเดี่ยวซึ่งสามารถช่วยลดการเกิดโรคได้

 

IMG_1060.00_00_43_18.Still017 IMG_1060.00_00_51_14.Still018 IMG_1060.00_00_57_23.Still019

 

 

การเด็ดยอด

หลังจากปลูกลงแปลงได้ประมาณ 10-15 วัน ทำการเด็ดยอดดาวเรือง โดยให้ดาวเรืองเหลือใบจริงไว้ 3 คู่ (6 ใบ) ทำการเด็ดคู่ที่ 4 ทิ้งไป ช่วงนี้ให้ระวังแมลงศัตรูดาวเรืองจำพวกเพลี้ยไฟ ไรแดง โดยจะทำลายยอดอ่อนที่ขึ้นมาใหม่ ทำให้ดาวเรืองชะงักการเจริญเติบโตได้

 

ดาวเรือง_เด็ดยอด IMG_1060.00_01_07_18.Still020

 

การเก็บเกี่ยว

หลังจากดาวเรืองอายุได้ประมาณ 60-65 วัน จะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ช่วงนี้เป็นช่วงที่สำคัญมาก ควรให้ปุ๋ยดาวเรืองอย่างสม่ำเสมอ หรือทุก 7-10 วัน เพื่อให้อายุการเก็บเกี่ยวยาวนานและต้นไม่โทรมเร็ว โดยแปลงต้องมีความชื้นอยู่เสมอ

 

 

 

 

 

IMG_1060.00_01_23_20.Still021 IMG_1060.00_01_29_20.Still022

 

 

แมลงศัตรูที่สำคัญที่ควรระวังของดาวเรือง

  1. เพลี้ยไฟ จะเข้าทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน จะทำให้ใบหงิกงอไม่แตกใบใหม่ มักเกิดในช่วงหลังจากเด็ดยอด และในสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว ควรฉีดพ่นสารเคมีในกลุ่ม ฟูโนบูคาร์บฟิโพรนิลทุก ๆ 5-7 วัน หรือทุก 2-3 วัน หากมีการระบาดมาก
  2. ไรแดง พบมากในช่วงฤดูร้อนส่วนใหญ่อยู่ใต้ใบชอบอยู่เป็นกลุ่ม หากมีปริมาณมากจะสร้างเส้นใยคล้ายใยแมงมุม พืชที่โดนทำลายจะแสดงอาการเป็นจุดด่างๆ สีเหลือง ควรฉีดพ่นสารเคมีในกลุ่ม อมิทราช, ไดโคโฟลทุก ๆ 5-7 วัน
  3. หนอนชอนใบ ตัวหนอนจะชอนไชเป็นทางยาว ใบที่ถูกทำลายจะแสดงลักษณะแคระแกร็น บิดเบี้ยว ควรฉีดพ่นสารเคมีในกลุ่มคาร์แท็ปไฮโดรคลอไรด์, อบาแม็กติน ทุก ๆ 5-7 วัน
  4. หนอนเจาะดอก จะเข้าทำลายในช่วงที่ดอกตูมหรือดอกเริ่มบาน หากรุนแรงจะทำให้กลีบดอกร่วงเสียหายไม่สามารถจำหน่ายได้ ควรป้องกันโดยการฉีดพ่นสารเคมีในกลุ่ม คาร์แท็ปไฮโดรคลอไรด์, ไซเพอร์เมทริน 35 ในช่วงดอกตูมทุก 3-5 วัน หากพื้นที่นั้นมีการระบาด

 

ตารางการดูแลรักษาดาวเรืองตัดดอกสายพันธุ์ทองเฉลิม

อายุต้นกล้าการใส่ปุ๋ย + สารเคมีอาหารเสริม (ฉีด-พ่น)
1-18 วันต้นกล้าอยู่ในถาดหลุม 
เริ่มปลูกลงแปลงวันแรกรดสารเคมีกลุ่มแคปแทนและ

 

กลุ่มคลอไพริฟอส เพื่อป้องกัน

เชื้อราและแมลง (หลังจากย้าย

ปลูกทันที)

 
ลงแปลง 3-5 วันปุ๋ยสูตร 25-7-7 หรือ 15-0-0

 

อัตรา 35-50 กก./ไร่

แมกนีเซียม + ปุ๋ยเกร็ดตัวหน้าสูง
 เด็ดยอด 10-15 วันปุ๋ยสูตร 25-7-7 หรือ 15-0-0

 

อัตรา 35-50 กก./ไร่

 แมกนีเซียม + ปุ๋ยเกร็ดตัวหน้าสูง
 ช่วงดอกตูม 30-35 วันปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15

 

อัตรา 35-50 กก./ไร่

แมกนีเซียม + สังกะสี + ปุ๋ยเกร็ด สูตรเสมอ ทุก ๆ 7-10 วัน
ดอกเริ่มบาน 40-45 วันปุ่ยสูตร 8-24-24 หรือ 13-13-21

 

อัตรา 35-50 กก./ไร่

ปุ๋ยเกร็ดตัวกลางและตัวท้ายสูง + สังกะสี + แคลเซียมโบรอน ทุก ๆ 7-10 วัน
ระยะเก็บเกี่ยว 60-70 วันปุ่ยสูตร 8-24-24 หรือ 13-13-21

 

อัตรา 35-50 กก./ไร่

ปุ๋ยเกร็ดตัวกลางและตัวท้ายสูง + สังกะสี + แคลเซียมโบรอน ทุก ๆ 7-10 วัน

 

หมายเหตุ : ควรทำการฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชและแมลงทุก ๆ 5-7 วัน หรือทุก ๆ 2-3 วันหากพื้นที่นั้นเกิดการระบาด

 

ที่มาข้อมูล: เว็บไซต์ http://www.thongchalerm.com/


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 6084 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [การปลูกพืช]:
หนอน หนอนกินใบ หนอนเจาะผล หนอนเจาะลำต้น ทุกหนอน แก้ด้วยไอกี้-บีที
เกลือเป็นหนอน ต้องแก้ปัญหาขององค์กร แต่พืชเป็นหนอน กำจัดง่าย ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ
อ่านแล้ว: 6476
พืชใบเหลือง ต้นไม้ใบเหลือง ใบไม้เหลือง อย่าตกใจ บางครั้งแค่ขาดไนโตรเจน
ในบางกรณี ที่เราให้ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เขียว หรือพืชดูคล้ายจะไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยที่เรา..
อ่านแล้ว: 6865
ชวนชมใบเหลือง ชวนชมใบร่วง ชวนชมใบจุด เป็นได้สองถึงสามสาเหตุ แต่หลักๆคือ ชวนชมไม่แข็งแรง
โรคและแมลงศัตรูพืช จะเข้าทำลายต้นชวมชมเมื่ออ่อนแอ แต่หากเรารู้วิธีการดูแลชวนชมให้สมบูรณ์แข็งแรง โรคและแมลงก็ไม่มี
อ่านแล้ว: 8814
เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี่ยอ่อน เพลี้ยกระโดด แก้ด้วย มาคา
เพลี้ยจักจั่นปีกลาย เพลี้ยไฟ ที่ทำลายเมล่อน และผักต่างๆ ป้องกันและจำกัดเพลี้ยด้วย มาคา สารอัลคาลอยด์
อ่านแล้ว: 7386
หนอนชอนใบ เมล่อน แตงโม แตงกวา แคนตาลูบ แตงโม ฟักทอง มะระจีน กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
แมลงวันหนอนชอนใบ มักจะพบตัวหนอนชอนไช อยู่บริเวณในใบ สังเกตุง่าย จะเห็นรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวเลี้ยวไปมา อยู่บนใบของพืช
อ่านแล้ว: 7333
ปุ๋ยอินทรีย์ เร่งโต สร้างภูมิต้านทางโรค คุณภาพดีจาก ฟาร์มเกษตร FarmKaset.ORG
ลดอาการคลายน้ำในพืช และช่วยให้พืชใบเขียวเข้ม เจริญเติบโตได้ดีแม้ในช่วงหน้าแล้ง ด้วย บูตเตอร์สีเงิน มีธาตุเหล็ก และ..
อ่านแล้ว: 6695
พริกใบหงิก ดอกหลุดร่วง ใบเหลือง ออกผลน้อย นั้นเพราะ เพลี้ยไฟพริก ระบาดแล้ว
เพลี้ยไฟพริก จะระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มไว ของ เพลี้ยไฟพริกนี้ จะใช้ปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช
อ่านแล้ว: 6849
หมวด การปลูกพืช ทั้งหมด >>