ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: Agri live update | อ่านแล้ว 4620 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ฟังเสียงเอกชน-ชาวนา! กฎหมายนํ้า เพิ่มต้นทุน

ฟังเสียงเอกชน-ชาวนา! กฎหมายนํ้า เพิ่มต้นทุน



data-ad-format="autorelaxed">

ยังเป็นประเด็นร้อนที่ต้องติดตามต่อเนื่อง สำหรับร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. .... ที่จะส่งผลกระทบกับคนไทยทุกภาคส่วน วันที่ 11 ต.ค. 2560 กองบรรณาธิการ “ฐานเศรษฐกิจ” ร่วมกับสถานีข่าวสปริงนิวส์ จัดเสวนาหัวข้อ “ชำแหละ พ.ร.บ.น้ำ : ประชาชนรับกรรม?” มีวิทยากรตัวแทนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมเสวนาคับคั่ง ประกอบด้วย นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย) และกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. .... , ดร.อภิชาต อนุกูลอำไพ นายกสมาคมทรัพยากรน้ำแห่งประเทศไทย, นายเชิดชาย ปิติวัชรากุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ยูนิเวอร์แซล ยูทิลิตี้ส์ จำกัด (มหาชน) ในเครืออีสท์วอเตอร์ และนายสุเทพ คงมาก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย

 

นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการนํ้าแบบบูรณาการ(ประเทศไทย)

นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการนํ้าแบบบูรณาการ(ประเทศไทย)



… มาตรา 39 ล่อแหลมสุด! ...
นายหาญณรงค์ กล่าวว่า ในร่าง พ.ร.บ.นี้ ที่มองว่า ล่อแหลมมากสุด คือ มาตรา 39 ว่าด้วยการจัดสรรน้ำ ที่แบ่งน้ำออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.น้ำเพื่อการยังชีพ 2.น้ำเพื่ออุตสาหกรรม และ 3.การใช้น้ำขนาดใหญ่ ซึ่งจะต้องมีข้อยกเว้นบางส่วนในการจัดเก็บค่าน้ำ หากไปเขียนทั้งหมดเป็นกฎกระทรวงจะถูกต่อต้านแน่ ความเห็นส่วนตัวที่เคยพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับน้ำมาหลายฉบับมาก่อนหน้านี้ก็เคยท้วงติง และเคยคว่ำกฎหมายมาแล้ว ครั้งนี้จะสังเกตเห็นว่า หากคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นี้ ไม่ห่วงก็คงไม่ขยายเวลาพิจารณาออกไป เพราะรับหลักการมาตั้งแต่เดือน มี.ค. 2560 ล่าสุด ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติขยายเวลาพิจารณาร่างออกไปอีก 90 วัน จากเดิมจะครบกำหนดในวันที่ 25 ม.ค. 2561 ก่อนเข้าสู่การพิจารณาในวาระ 2 และ 3 ต่อไป

“พอเราพูดเรื่องคำว่า ‘น้ำเกษตรกร’ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ที่ผ่านมา ส.ส. ไม่มีใครกล้าเสนอกฎหมายนี้ เพราะพูดคำว่า ‘น้ำเกษตรกร’ แล้วเก็บเงินไม่ผ่านทันที แต่อันนี้ล็อกไว้เลยในมาตรา 39 หมวดการจัดสรรน้ำ แบ่งน้ำออกเป็น 3 ประเภทข้างต้น โดยในประเภทที่ 1 ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการยังชีพ เพื่ออุปโภคบริโภคในครัวเรือน เพื่อเกษตรกรรม การเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ และการใช้น้ำในปริมาณน้อย ประเภทที่ 1 นี้ ไม่ต้องจ่ายค่าน้ำ”

 

ดร.อภิชาต อนุกูลอำไพ นายกสมาคมทรัพยากรนํ้าแห่งประเทศไทย

ดร.อภิชาต อนุกูลอำไพ นายกสมาคมทรัพยากรนํ้าแห่งประเทศไทย



… ห่วง ก.ก.ลุ่มน้ำ ทำงานยาก ...
ดร.อภิชาต กล่าวว่า ในกฎหมายน้ำมีองค์กรหรือคณะกรรมการกำกับดูแลใน 3 ระดับ 1.ระดับชาติหรือระดับนโยบาย ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน 2.คณะกรรมการระดับลุ่มน้ำ ใน 25 ลุ่มน้ำ (มีผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งในเขตลุ่มน้ำเป็นประธาน) และ 3.กรรมการระดับผู้ใช้น้ำ ที่เห็นว่า สำคัญสุด คือ คณะกรรมการลุ่มน้ำที่เป็นหัวใจหลักในการบริหารจัดการและจัดสรรน้ำให้กับภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ ไม่ว่าน้ำที่อยู่ในภาวะปกติ น้ำท่วม น้ำแล้ง มีน้ำเสียปะปน หรือมีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ใช้น้ำ ที่ต้องพิจารณาอย่างเป็นธรรมให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ เพราะแต่ละลุ่มน้ำมีสภาพสังคม เศรษฐกิจ และภูมิศาสตร์ที่ตั้งแตกต่างกัน


“ในอดีตเรามีคณะกรรมการลุ่มน้ำ แต่มีปัญหามาก ทำงานไม่ได้ จากขอบเขตของลุ่มน้ำต่างกัน ลุ่มน้ำหนึ่งครอบคลุมหลายจังหวัด และบางจังหวัดอาจอยู่หลายลุ่มน้ำ คำถาม คือ คณะทำงานนี้จะทำงานอย่างไร จะจัดสรรน้ำอย่างไร อันที่ 2 คือ เราพยายามจะให้กรรมการลุ่มน้ำมีบทบาทชัดเจนในการพิจารณาแผนงานในแต่ละลุ่มน้ำ แต่ในทางปฏิบัติยังมีปัญหาอยู่ เพราะมีหลายหน่วยงานจากหลายกระทรวงในแต่ละจังหวัด และไม่ได้ดูตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ส่วนใหญ่ยังติดยึดขอบเขตจังหวัดใครจังหวัดมัน เรื่อง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำนี้ เราอยากให้เป็นกฎหมายหลัก หรือ Master Law ครอบคลุมเรื่องน้ำทั้งหมดของประเทศซึ่งกฎหมายอื่น ๆ จะต้องไม่ขัดแย้งกับกฎหมายนี้”

 

เชิดชาย ปิติวัชรากุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ยูนิเวอร์แซล ยูทิลิตี้ส์ จำกัด (มหาชน)

เชิดชาย ปิติวัชรากุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ยูนิเวอร์แซล ยูทิลิตี้ส์ จำกัด (มหาชน)



… เอกชนขอมีส่วนร่วม ...
ด้าน นายเชิดชาย กล่าวว่า เห็นด้วยกับเจตนารมณ์ของร่าง พ.ร.บ.นี้ แต่ผู้มีส่วนได้เสียควรมีโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ที่ผ่านมาได้ยินเสียงจากภาคเกษตรกรมาพอสมควร แต่ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม ภาคสาธารณูปโภค ก็น่าจะมีส่วนร่วมในการที่จะระดมความคิดเห็นเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อช่วยกันในภาพรวม และเพื่อทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น ไม่ใช่ไปเพิ่มภาระต้นทุนให้มากเกินไป

“กลุ่มอีสท์วอเตอร์ใช้น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะในการผลิตน้ำประปา สัดส่วนราว 10% หากต้องเสียค่าน้ำในส่วนนี้ตามที่มีข่าวออกมาในอัตราที่ 3 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ถ้าเรารองรับไม่ไหวจริง ๆ ก็อาจมีการขอขยับราคาลูกค้าบ้าง แต่คงไม่ขยับเท่ากับอัตราที่เพิ่มขึ้น เพราะอีกส่วนหนึ่งเรามีการลงทุนระบบท่อส่งน้ำไปยังภาคอุตสาหกรรมในแต่ละพื้นที่ และยังมีต้นทุนด้านพลังงาน ที่ผ่านมาต้นทุนจากน้ำคิดเป็นสัดส่วน 20-30% จากค่าน้ำที่เราใช้จากกรมชลประทาน (สัดส่วน 90%) ต้องจ่าย 50 สตางค์ต่อลูกบาศก์เมตร”

 

สุเทพ คงมาก นายกสมาคมชาวนาและ
เกษตรกรไทย

สุเทพ คงมาก นายกสมาคมชาวนาและ
เกษตรกรไทย



… ค่าน้ำชาวนาให้ยกออก! ...
ขณะที่ นายสุเทพ คงมาก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า การปลูกข้าวของชาวนาวันนี้ ต้นทุนน้ำมาจากธรรมชาติเป็นหลัก ซึ่งรัฐต้องบริหารจัดการให้คนไทยหรือเกษตรกรได้ใช้น้ำอย่างเพียงพอและคุ้มค่า ไม่ใช่มาเก็บเงินค่าใช้น้ำที่มาจากฟ้า ปัจจุบันยอมรับว่า ภาคเกษตร โดยเฉพาะการทำนาต้องใช้น้ำมาก แต่ไม่มีใครไปให้ความรู้เรื่องการลดต้นทุน เพราะยิ่งใช้น้ำมากก็เพิ่มต้นทุนมาก เช่น สูบน้ำเข้านา 1 ไร่ มีค่าน้ำมัน 400-500 บาท

“เรื่องการเก็บค่าน้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะจากเกษตรกรเป็นการไม่สมควร วันนี้รัฐบาลต้องเอากฎหมายนี้ไปทบทวน แล้วยกออกไปเลย เพราะถ้าอย่างนี้คุยกันไม่รู้เรื่อง ชาวนาตื่นตระหนกกันทั้งประเทศ นอกจากนี้ก็ไม่ควรแบ่งว่า ทำนากี่ไร่ เลี้ยงหมู เลี้ยงวัว เท่าไหร่ต้องเสียค่าน้ำ เพราะมันแบ่งไม่ได้ ขอตั้งคำถามว่า เขียนกฎหมายออกมาลักษณะนี้ วัตถุประสงค์เพื่ออะไร เพื่อจัดการน้ำให้ดีใช่หรือไม่ ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง เพื่อน้ำเพียงพออุปโภคบริโภค พอเลี้ยงชีพ เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคง หรือเพื่อจะเอาเงินเข้ารัฐบาล?”

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,306 วันที่ 19-21 ต.ค. 2560


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 4620 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [Agri live update]:
คาราวานส้มสีทอง GI น่าน สู่ห้างสรรพสินค้า TOP Supermarket
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก) ร่วมกับ หน่วยงานภาคีต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดแถลงข่าวส้มสีทอง GI น่าน..
อ่านแล้ว: 6511
เปิดปฏิบัติการ แผนแก้จน คลังผนึกพาณิชย์-แรงงาน-เอกชน ระดมกำลังสร้างอาชีพ-เพิ่มรายได้
คนจนหมดประเทศ! กลายเป็นวลีที่ถูกค้นหา และพูดถึงกันมากในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะคำนี้ถูกตีความมาจากคำกล่าวของ..
อ่านแล้ว: 6569
อึ้ง! พบสารเคมีตกค้าง เกินมาตรฐานในผัก-ผลไม้
อึ้ง!! พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน 64% ถั่วฝักยาว คะน้า ใบบัวบก กะเพรา พริกแดง องุ่น แก้วมังกร
อ่านแล้ว: 6531
ค้านทำเหมืองหินชัยภูมิ ยื่นศูนย์ดำรงธรรมช่วย
คัดค้านขอใช้ประโยชน์พื้นที่ทำเหมืองแร่หินก่อสร้าง ของบริษัท พารุ่งฯ หลังคณะกรรมการตรวจสอบไฟเขียว ส่งให้กรมป่าไม้พิจารณา
อ่านแล้ว: 7783
ครม.ไฟเขียว งบปลูกพืชแทนข้าว 2 โครงการ 488ล.
ครม.อนุมัติ 488 ล้าน หนุนลดพื้นที่ปลูกข้าว 2 โครงการ หันไปปลูกพืชหลากหลาย ปลูกพืชปุ๋ยสด
อ่านแล้ว: 6176
พบ หนอนตัวแบนนิวกินี ทุกภาคทั่วไทย แนะควรทำลายป้องกันการระบาด
นักวิชาการเผยพบ หนอนตัวแบนนิวกินี ในพื้นที่ทุกภาคทั่วประเทศแล้ว แนะควรทำลายทิ้งเพื่อป้องกันการระบาด
อ่านแล้ว: 6332
ส.ป.ก. เตรียมแจกที่ดินยึดคืน แก่เกษตรกรเพิ่มอีก 5จ. กว่าหมื่นไร่

อ่านแล้ว: 5612
หมวด Agri live update ทั้งหมด >>