ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ผักและการปลูกผัก | อ่านแล้ว 6403 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ถั่วงอกหัวโต เพาะไม่ยาก.. เลยนะ..

ถั่วงอกหัวโต เพาะไม่ยาก.. เลยนะ..



data-ad-format="autorelaxed">

   ปัจจุบันกระแสการกินถั่วงอกทั้งต่างประเทศและในประเทศ มีความนิยมกันมากขึ้น และนิยมเพาะกินเองเป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นผักที่ปลูกง่ายได้ผลเร็ว ที่สำคัญการเพาะกินเอง ทำให้มั่นใจได้ว่าปลอดภัยไร้สารพิษ

    ถั่วงอกที่เพาะขายเป็นการค้า ในท้องตลาดทั่วไปมีหลายชนิด เช่น  ถั่วงอกจากถั่วเมล็ดเขียว และเมล็ดดำ แต่ที่เริ่มมีความนิยมเพิ่มมากขึ้นคือถั่วงอกหัวโต ที่เพาะจากเมล็ดถั่วลิสง หรือ เมล็ดถั่วเหลือง 

    ถั่วงอกคือ หน่ออ่อนที่งอกออกมาจากเมล็ดถั่วอาศัยธาตุอาหารที่สะสมอยู่ในเมล็ดถั่ว โดยการนำเมล็ดถั่วไปเพาะในภาชนะที่มีความชื้นและความร้อน หรืออุณหภูมิที่พอเหมาะ โดยไม่ให้โดนแสงสว่าง เพื่อไม่ให้รากและใบเลี้ยงงอกออกมา ภายในระยะเวลา 2-3 วัน ก็จะได้ถั่วงอกนำไปรับประทานหรือจำหน่ายได้

    องค์ประกอบสำคัญในการเพาะถั่วงอก มีอยู่ 3 อย่างคือ 1.  เมล็ดถั่ว 2.  ภาชนะสำหรับการเพาะ และ 3. น้ำ ในการเลือกเมล็ดพันธุ์ที่จะนำมาเพาะถั่วงอก ไม่ว่าจะเป็นถั่วพันธุ์ใดก็ตาม ควรเป็นเมล็ดถั่วที่ใหม่ ยิ่งเป็นเมล็ดพันธุ์ที่เพิ่งเก็บเกี่ยวมาจากแปลงปลูกเร็วเท่าไรอัตราการงอกของเมล็ดถั่วก็จะมากขึ้นเท่านั้น ไม่ควรนำเมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้นานมาเพาะ 

    โดยหลักการแล้วไม่ควรเกิน 6 เดือนถึง 1 ปี เพราะอัตราการงอกจะลดลงไปเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาที่เก็บ คุณสมบัติที่สำคัญอีกประการหนึ่งของเมล็ดพันธุ์ที่จะนำมาเพาะถั่วงอกก็คือ ควรเป็นเมล็ดพันธุ์ที่สะอาด เพราะเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สะอาด มีเชื้อโรคไม่ว่าจะเป็นเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อรา หรือแบคทีเรีย แม้เพียงเมล็ดเดียวก็อาจทำให้ถั่วงอกที่เพาะทั้งหมดเน่าได้

    ภาชนะที่ใช้เพาะต้องป้องกันถั่วไม่ให้โดนแสงสว่างกับสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดถั่วได้ นอกจากนั้นยังทำหน้าที่สร้างขอบเขตที่จำกัดต่อการงอกของถั่วงอก เพื่อให้ถั่วงอกมีลักษณะอวบอ้วน ไม่สั้นเกินไปหรือยาวเกินไป

    ภาชนะที่ใช้สำหรับการเพาะถั่วงอกนั้นมีหลากหลายมากมายหลายชนิดอาจจะเป็นภาชนะที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ เช่น หม้อดินเผา กระถางดินเผา ไห ตุ่ม ถังซีเมนต์ เข่ง หรือตะกร้าสานจากไม้ไผ่ก็ได้ หรือจะเป็นภาชนะจำพวกถังพลาสติก ถังเหล็กก็ได้ หากใช้ภาชนะจำพวกหม้อดินเผา กระถางดินเผา ตุ่ม ถังซีเมนต์ จะรักษาความชื้นไว้ได้นานทำให้ไม่ต้องรดน้ำบ่อย คือ อาจจะรดน้ำทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง แต่ถ้าใช้ถังพลาสติก ข้อดีก็คือ น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้สะดวก แต่ต้องรดน้ำบ่อยขึ้นคือ ทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง

    ภาชนะเพาะควรมีสีดำหรือสีทึบ เพื่อป้องกันแสงสว่าง ส่วนขนาดของภาชนะหรือความกว้าง ยาว สูง ของภาชนะก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของถั่วงอกที่ต้องการเพาะ แต่โดยหลักการแล้วเมล็ดถั่ว 1 ส่วน จะโตเป็นถั่วงอก 5-6 ส่วนโดยน้ำหนัก และในการเพาะถั่วงอกเมล็ดถั่วต้องได้น้ำอย่างพอเพียงและสม่ำเสมอตลอดการเพาะ 2-3 วัน หากขาดน้ำช่วงใดช่วงหนึ่ง จะทำให้ถั่วงอกชะงักการเจริญเติบโตได้

    นอกจากนี้ยังสามารถใช้วัสดุช่วยเพาะอื่น ๆ เช่น ทราย แกลบดิน แกลบเผา หรือฟางข้าว มาเป็นวัสดุเพาะก็ได้ โดยการนำมาปิดทับเมล็ดถั่ว เพื่อช่วยกันแสงสว่างและช่วยรักษาความชุ่มชื้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มน้ำหนักในการกดทับถั่ว ก็จะทำให้ถั่วงอกเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งเป็นวิธีการที่ชาวบ้านหลายแห่งนำมาใช้ เช่นการเพาะถั่วงอกตามหาดทรายริมแม่น้ำ หรือริมแหล่งน้ำจืดหรือทำกระบะทราย กระบะแกลบเผาขึ้นมาแล้วใช้ผ้าขาวบางห่อถั่วเขียวฝังลงในหลุมทราย หรือหลุมแกลบแล้วปิดทับด้วยทรายหรือแกลบรดน้ำทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง 2-3 วันก็ขุดเอาห่อผ้าขึ้นมาก็จะได้ถั่วงอกอวบอ้วนน่ากินเช่นกัน

     สำหรับถั่วลิสงงอก  จะให้รสชาติกรอบอร่อย มีรสมัน แต่อาจจะเพาะยากกว่าถั่วอื่น ๆ นิดหนึ่งตรงที่มักจะขึ้นราได้ง่าย จึงมีการเพาะเพื่อขายทั่วไปในตลาดน้อย ส่วนใหญ่จึงนิยมเพาะเอง โดยเฉพาะประชาชนแถบภาคใต้จะนิยมและคุ้นเคยกับการกินถั่วลิสงงอกมากกว่าถั่วงอกชนิดอื่น ๆ

 

source: dailynews.co.th/agriculture/604714


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 6403 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ผักและการปลูกผัก]:
กระเทียมใบไหม้ กระเทียมใบแห้ง ใบจุด โรครา เพลี้ยไฟ ไร แก้ไขได้ ให้ถูกวิธี
สาเหตุหลักเลย ที่ทำให้ โรคและแมลงศัตรูพืช เข้าโจมตี หรือเข้าทำลายต้นกระเทียมได้ง่าย เพราะเกิดจาก กระเทียมอ่อนแอต่อโรค
อ่านแล้ว: 8105
มะเขือเทศใบไหม้ มะเขือเทศใบเหลือง ใบหงิก ต่างอาการ ต่างสาเหตุ แก้ต่างวิธี
ต้นเหตุหลักๆที่แท้จริงเลยคือ มะเขือเทศ ได้รับธาตุอาหารที่เป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ไม่เพียงพอ
อ่านแล้ว: 6723
มะเขือเทศใบเหลือง มะเขือเทศใบหงิกเหลือง มะเขือเทศใบด่าง ป้องกันได้ โดยการกำจัดแมลงศัตรูพืช
ใบอ่อนหดย่นเป็นคลื่นมีขนาดเล็กกว่าปกติ และใบยอดที่ปลายกิ่งบิดเกลียว ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดผลน้อย ผลด่าง
อ่านแล้ว: 6741
โรคราพริก โรคใบจุดตากบ ส่งผลใบพริกร่วง ชะงักการโต ผลผลิตลดลง
โรคใบจุดตากบ หากระบาดรุนแรง ใบพริกจะร่วง การออกดอกและการให้ผลผลิตจะต่ำลง โรคสามารถจะลุกลามไปที่ กิ่ง การ ผล ได้
อ่านแล้ว: 8354
พืชตระกูลแตง เป็นปื้นเหลืองบนใบ แห้งตาย เพราะ โรคราน้ำค้าง ควรเร่งแก้ไข
โรคราน้ำค้าง สร้างความเสียหายให้กับพืชตระกูลแตง ปล่อยไปถึงตายได้ ลักษณะการระบาดของ โรคราน้ำค้าง นี้ อาการที่แสดง..
อ่านแล้ว: 7478
โครงการหลวงปังค่า หนุนเกษตรกรพะเยา ปลูกมะเขือเทศสร้างรายได้
ทำให้มีอาชีพสร้างรายได้ และจำหน่ายได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องราคา ได้ผลผลิต 2-3 ตันขายได้ราวๆ 75,000 บาทต่อรอบ
อ่านแล้ว: 7674
หอมญี่ปุ่น ปลูกได้ในไทย
ปัจจุบันมีการนำมาปลูกในประเทศไทยหลายพื้นที่ สำหรับดินที่เหมาะสมในการปลูกควรเป็นดินร่วนซุย
อ่านแล้ว: 6960
หมวด ผักและการปลูกผัก ทั้งหมด >>