data-ad-format="autorelaxed">
เรื่องราวการเรียกร้องให้กัญชาเป็น สารเสพติดที่ถูกกฎหมาย ไม่ใช่ประเด็นใหม่ในสังคมไทย ทว่าเป็นเรื่องที่มีการพูดถึงกันมานานแล้ว แต่ก็ไม่ได้มีการดำเนินการอะไรในเชิงของการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนอย่างจริงจัง แม้จะมีงานวิจัยทั้งต่างประเทศและประเทศไทยเอง ที่ได้ศึกษาเรื่องราวของ กัญชา อย่างมากมายก็ตาม
โหวตได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้
https://www.prachamati.org/polls/288
ปัจจุบัน กัญชาถูกจัดอยู่ในสารเสพติดประเภทที่ 5 ซึ่งประกอบไปด้วยสารเสพติดทั้งหมด 4 รายการคือ กัญชา กระท่อม ฝิ่น และเห็ดขี้ควาย ตามพระราชบัญญัติสารเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2552 โดยกำหนดโทษสำหรับผู้เสพไว้ ให้จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท สำหรับการผู้ผลิตนำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือครอบครองเพื่อจำหน่าย ให้มีโทษ จำคุกตั้งแต่ 2 - 15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 - 150,000 บาท
ประเด็นนี้ที่ได้มีการพูดถึงกันอย่างจริงจัง ยกตัวอย่างในประเทศแคนาดา โดยรัฐสภาแคนาดาได้ตั้งคณะกรรมาธิการ 2 คณะเพื่อตรวจสอบนโยบายและกฎหมายยาเสพติดของแคนาดาและได้ข้อสรุปดังนี้
1.คณะกรรมาธิการวิสามัญของวุฒิสภาว่าด้วยเรื่องยาที่ผิดกฎหมาย ได้ทบทวนนโยบายยาเสพติดของแคนาดาและกฎหมายในขณะนั้นแล้วออกรายงานเมื่อเดือนกันยายน 2002 ว่า กัญชาไม่ใช่ gateway drug หรือยาตัวแรกที่นำไปสู่การใช้ยาอื่นๆ และควรจัดให้กัญชาอยู่ในสถานะเดียวกับยาสูบหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มากกว่าให้เป็นยาเสพติดผิดกฎหมาย
2.คณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎร (House of Commons) ว่าด้วยการใช้ยาเสพติดที่มิใช่เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ ได้ศึกษายุทธศาสตร์ด้านยาเสพติดโดยรวมของแคนาดาและออกรายงานในเดือนธันวาคม 2002 ว่า ถึงแม้ว่ากัญชาจะไม่ดีต่อสุขภาพแต่โทษทางอาญาสำหรับความผิดฐานครอบครองและใช้กัญชาปริมาณเล็กน้อยมีโทษรุนแรงไม่เหมาะสมกับความผิด และเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หายุทธศาสตร์ในการลดทอนความเป็นความผิดอาญา (decriminalization) สำหรับการครอบครองและปลูกกัญชาปริมาณไม่เกิน 30 กรัม (ประมาณ 1 ออนซ์) เพื่อใช้เอง
อย่างไรก็ตาม ในความคิดของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการให้ กัญชาถูกกฎหมาย ระบุว่าจะทำให้มีการขยายตัวของผู้ใช้กัญชาเพิ่มมากขึ้นหากเปลี่ยนให้กัญชาเป็นสิ่งถูกกฎหมาย และจะเป็นสาเหตุในการนำไปสู่สารเสพติดชนิดอื่นๆ และจะสร้างปัญหาสังคมตามมา