ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เศรษฐกิจเกษตร | อ่านแล้ว 4702 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

4แผนรับมือภัยแล้งคืบหน้า ดัน7พันแปลงใหญ่ปฏิรูปเกษตรไทย

4แผนรับมือภัยแล้งคืบหน้า ดัน7พันแปลงใหญ่ปฏิรูปเกษตรไทย

ล่าสุด ได้มีการวิเคราะห์ ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา คาดการณ์ว่าจะมีพื้นที่เสียหายจากภัยแล้งในปีนี้ไม่เกิน 105 อำ..

data-ad-format="autorelaxed">

ประเทศไทยได้เข้าสู่ช่วงฤดูแล้งปี 2559/60 มาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 สถานการณ์ล่าสุดเป็นอย่างไรบ้างนั้น "ฐานเศรษฐกิจ" ได้สัมภาษณ์พิเศษ "พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึงแผนการรับมือเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้งด้านการเกษตร ที่ในปีนี้ถือว่าได้เตรียมการณ์ไว้เป็นอย่างดี

 

โชว์4 แผนสู้แล้งฉลุย

 

"พล.อ.ฉัตรชัย" กล่าวว่า นับแต่รัฐบาลชุดปัจจุบันได้เข้ามาบริหารประเทศได้มีการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำ รวมทั้งระบบกระจายน้ำได้มากขึ้น โดยระบุว่า "เราทำงาน 2-3 ปี ผลงานเทียบเท่ากับ 8-10 ปีในช่วงรัฐบาลที่ผ่านๆมาได้ทำ" ประกอบกับปีที่แล้วมีฝนตกมากทำให้มีปริมาณน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้น ปัญหาภัยแล้งในหลายพื้นที่ได้บรรเทาลง แต่เรื่องภัยแล้งนี้ทางกระทรวงไม่ประมาท ได้เตรียมการรับมือล่วงหน้ามาตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2559 (ฤดูแล้งจะสิ้นสุดในเดือนเมษายน) มีการประเมินเป็นระยะๆ

 

"ล่าสุด ได้มีการวิเคราะห์ ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา คาดการณ์ว่าจะมีพื้นที่เสียหายจากภัยแล้งในปีนี้ไม่เกิน 105 อำเภอ ใน 34 จังหวัด ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทานที่น้ำต้นทุนอาจไม่เพียงพอ หากเปรียบเทียบกับปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกันมีพื้นที่ประสบภัยแล้ง 391 อำเภอใน 46 จังหวัด พื้นที่ภัยแล้งลดลงมา 3 เท่ากว่า โดย ณ วันที่ 13 มีนาคม 2560 ทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศพื้นที่วิกฤติภัยแล้งมีเพียงจังหวัดเดียวคือ สระแก้ว ใน 3 อำเภอ"

 

อย่างไรก็ดีในปี 2560 ทางกระทรวงมีแผนรับมือภัยแล้ง 4 แผนได้แก่ 1.แผนการจัดสรรน้ำในฤดูแล้งปี 2559/60 (พ.ย.59-เม.ย.60) จำนวน 17,661 ล้านลูกบาศก์เมตร แยกเป็นเพื่อการอุปโภค-บริโภค 2,339 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) เพื่อการรักษาระบบนิเวศและอื่นๆ 5,743 ล้าน ลบ.ม. และเพื่อการเกษตร 9,579 ล้าน ลบ.ม.ผลการจัดสรรน้ำทั้งประเทศ ปัจจุบันมีการใช้น้ำไปแล้ว 12,588 ล้านลบ.ม.คิดเป็น 71% ซึ่งเป็นไปตามแผน แม้ว่าในเขตชลประทานการใช้น้ำจะเกินแผนก็ตาม

 

ส่วนลุ่มน้ำเจ้าพระยา วางแผนใช้น้ำจาก 4 เขื่อนหลัก (ภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) รวมทั้งสิ้น 5,950 ล้าน ลบ.ม.แยกเป็นเพื่อการอุปโภค-บริโภค 1,100 ล้าน ลบ.ม. เพื่อรักษาระบบนิเวศและอื่นๆ 1,450 ล้าน ลบ.ม. และเพื่อการเกษตร 3,400 ล้าน ลบ.ม.โดยสำรองน้ำไว้ใช้ต้นฤดูฝน 3,754 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการใช้น้ำไปแล้ว 4,588 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น77 % ของแผนฯ มากกว่าแผนที่วางไว้ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 435 ล้าน ลบ.ม.

 

รับมือนาปรังปลูกเกินแผน

 

แผนที่ 2.การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2559/60 แผนทั้งประเทศ 12.76 ล้านไร่ ปลูกจริงแล้ว 13.16 ล้านไร่ เกินกว่าแผน 3% ผลการเพาะปลูกข้าวนาปรังทั้งประเทศ ณ วันที่ 1 มีนาคม 2560 รวมทั้งสิ้น 9.91 ล้านไร่ มากกว่าแผน 2.98 ล้านไร่ แยกเป็นในเขตชลประทานมีการทำนาปรังไปแล้ว 7.34 ล้านไร่มากกว่าแผนที่วางไว้ 3.34 ล้านไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา (แผนที่วางไว้ 4 ล้านไร่) ส่วนนอกเขตชลประทานมีการเพาะปลูกข้าวนาปรังไปแล้ว 2.57 ล้านไร่น้อยกว่าแผน 0.36 ล้านไร่

 

"ในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตามแผนการบริหารข้าวครบวงจร ชาวนาจะต้องปลูกข้าวเพียง 4 ล้านไร่ แล้วส่วนที่เหลือจะสนับสนุนให้ปลูกพืชเสริมชนิดอื่นที่จะมีรายได้ไม่น้อยกว่าปลูกข้าว แต่ปรากฏว่าชาวนาปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว เมื่อห้ามไม่ได้ ก็ต้องให้ทางคณะกรรมการบริหารข้าวครบวงจรไปปรับแผนรองรับข้าวที่ออกมาเพื่อไม่ให้เสถียรภาพราคาเสียไป"

 

แผนที่ 3 ปฏิบัติการฝนหลวง มีแผนปฏิบัติการ 8 เดือน(เริ่ม 3 มี.ค.60) มีเครื่องบิน 27 ลำ แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ 1.ช่วงมีนาคม -พฤษภาคม เน้นเติมน้ำในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำแม่กลอง อีสานตอนล่าง และภาคตะวันออก รวมถึงการช่วยเหลือบรรเทาหมอกควัน และไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ และเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่เกษตรกรรมที่ประสบภัยแล้ง และ 2.ช่วงมิถุนายน-ตุลาคม เน้นการเติมน้ำต้นทุนในเขื่อนที่มีน้ำน้อยและพื้นที่การเกษตรที่ฝนทิ้งช่วง


ส่วนแผนที่ 4 การลดความเสี่ยงจากภัยแล้งด้านการเกษตร(6 มาตรการ 29 โครงการ)งบประมาณรวม 17,174.42 ล้านบาท (ครม.อนุมัติแล้วเมื่อ 24 ม.ค.60) ซึ่งแต่ละมาตรการมีผลดำเนินการที่เป็นรูปธรรมตามลำดับ อาทิ มาตรการส่งเสริมความรู้เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้ง 7 โครงการ (งบ 9.14 ล้านบาท) ทั้งการปลูกพืชฤดูแล้ง 12.58 ล้านไร่ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 99,313 ราย (49%) เลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน 8,870 ราย (100%)ปรับปรุงข้อมูลแผนที่พื้นที่แล้งซ้ำซาก(45%) เป็นต้น, มาตรการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน 8 โครงการงบ 12,966.51 ล้านบาท อาทิ เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนด้านการเกษตรให้เพียงพอ อ่างเก็บน้ำ 10 แห่ง (เสร็จแล้ว 2 แห่ง) และแก้มลิง 24 แห่ง(อยู่ระหว่างก่อสร้าง 30%) การก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน 4.4 หมื่นบ่อ (เสร็จแล้ว 34,867 บ่อ) เป็นต้น

 

"ผมไม่เคยเบาใจเลย เพราะภัยแล้ง เป็นภาระหน้าที่ของกระทรวงเกษตร ถึงแม้ว่าปีนี้ภัยแล้งจะน้อยกว่าปีที่แล้ว จากการประเมินจะลดลงมากกว่า 1 ใน 3 แต่ก็ยังมีพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งอยู่ เกษตรกรเดือดร้อน ส่วนใหญ่จะอยู่นอกเขตชลประทาน เป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข"

 

พัฒนาอะกริ-แมปบนมือถือ

 

พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวอีกว่า กระทรวงได้มีการพัฒนาอะกริแมป (Agri-Map) หรือแผนที่เกษตรเพื่อบริหารจัดการเชิงรุก จากเดิมเป็นภาพแผนที่อยู่ในกระดาษ ปัจจุบันได้พัฒนาไปอยู่ในอินเตอร์เน็ต และในเร็วๆ นี้ ประมาณเดือนเมษายน กระทรวงจะพัฒนาเป็นแอพพลิเคชันอยู่บนมือถือ เพื่อใช้ตรวจสอบที่ดินในแต่ละพื้นที่ว่าควรจะปลูกอะไร เป็นที่ดินที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หรือถ้าปลูกพืชชนิดนี้แล้ว มีแหล่งรับซื้ออยู่ตรงไหน เพราะถ้าปลูกแล้วไม่มีแหล่งรับซื้อ หรือแหล่งรับซื้ออยู่ไกล จะเสียค่าโลจิสติกซ์แพงก็ไม่คุ้ม จะพัฒนาให้ทันสมัย ใช้งานง่าย เพราะต้องการให้เยาวชนได้ใช้งานด้วย

 

"การปลูกพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่เป็นพื้นฐานที่ดี ที่จะนำไปสู่การรวมกลุ่มกันทำเป็นเกษตรแปลงใหญ่ แล้วเชื่อมโยงการยกระดับสินค้าเกษตรขึ้นจะต้องมีมาตรฐานการทำเกษตรที่ดี(GAP) สินค้าปลอดภัยทั่วโลกยอมรับ โดยใช้เทคโนโลยีเครื่องจักร ผสมนวัตกรรม เพื่อต้องการให้เกษตรกรลดต้นทุนได้จริง ผลผลิตจะเพิ่มขึ้น และเพิ่มอำนาจต่อรองทางการตลาด นี่เป็นนโยบายปฏิรูปการเกษตร เป้าหมายส่งเสริมการทำเกษตรแปลงใหญ่ใน 5 ปีจะต้องมี 7,000 แปลงวันนี้มองแล้วอาจทำได้เกินเป้าที่วางไว้ จากปี 2559 ดำเนินการและประสบความสำเร็จแล้ว 600 แปลง และปี 2560 ตั้งเป้าอีก 1,000 แปลง”

 

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,244 วันที่ 16 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2560


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 4702 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เศรษฐกิจเกษตร]:
ชำแหละ บัตรคนจน คืนชีพโชห่วย?
หวังประโยชน์สองต่อ ต่อแรกจากเงินรัฐอัดฉีด 4 หมื่นล้าน เข้ากระเป๋าคนจน 11.4 ล้านคน ต่อที่สองฟื้นชีวิตชีวาโชห่วย
อ่านแล้ว: 5594
ปั้นชาวนายุค 4.0 เคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
ถึงเวลาชาวนายุค 4.0 ทวงคืนศักดิ์ศรี ทำธุรกิจมีกำไร เคลื่อนศก.ฐานราก ด้วยเกษตรไฮเทค ไม่ง้อการเมือง..!!
อ่านแล้ว: 5327
ชง 14 เมกะโปรเจค 5 แสนล้าน
เผยเอกชนเสนอรัฐบาลดันเมกะโปรเจคภาคใต้ 5 ปี 14 โครงการ มูลค่า 5 แสนล้าน หวังบูมเศรษฐกิจภาคใต้โตไม่ต่ำกว่า 6%
อ่านแล้ว: 5747
สมคิด ดึงรัฐวิสาหกิจร่วมแก้ปัญหาความยากจน
รองนายกฯ สมคิด จี้รัฐวิสาหกิจร่วมพัฒนาท้องถิ่น ช่วยเศรษฐกิจฐานราก แจงรัฐบาลมุ่งแก้ปัญหาความยากจนควบคู่การปฏิรูปเศรษฐกิจ
อ่านแล้ว: 5715
พัฒนาเกษตร 4.0 ให้คนไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง
ศุภชัย หนุนรัฐบาลยกระดับประเทศ แนะพัฒนาเกษตรกรสู่ยุค 4.0 สมาร์ทฟาร์มเมอร์ ช่วยไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง
อ่านแล้ว: 5955
เศรษฐกิจไทยโต4.3%สูงสุดในรอบ18ไตรมาส
สศช.เผยเศรษฐกิจไทยไตรมาส3ปี60เติบโต 4.3% สูงสุดในรอบ 18 ไตรมาส หลังส่งออก-การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว
อ่านแล้ว: 5646
ดัชนีรายได้เกษตร 3 ไตรมาส
รายงานดัชนีรายได้เกษตรกร 3 ไตรมาส ปี 2560 (ม.ค.-ก.ย.) อยู่ที่ระดับ 155.34 เพิ่มขึ้น 8.88% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
อ่านแล้ว: 4964
หมวด เศรษฐกิจเกษตร ทั้งหมด >>