ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: นาข้าว | อ่านแล้ว 6188 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เร่งปิดคดีจำนำข้าวใน 6 เดือน 6 พันชื่อหากไม่ผิดไม่ต้องกลัว

เร่งปิดคดีจำนำข้าวใน 6 เดือน 6 พันชื่อหากไม่ผิดไม่ต้องกลัว

ล่าสุด ศอตช.ได้ระบุผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีนี้มีถึง 6,000 ราย สร้างความตื่นตระหนก และหวาดผวาให้กับข้าราชการ และเจ้า..

data-ad-format="autorelaxed">

จากที่นายมนัส แจ่มเวหา อดีตอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาความผิดทางแพ่งของกระทรวงการคลัง ได้ลงนามรับรองมติที่ประชุม(21 ก.ย.59)ให้เรียกค่าเสียหายจากโครงการจำนำข้าวเปลือกสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แบ่งเป็นนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบค่าเสียหายสัดส่วน 20% หรือมูลค่า 35,717 ล้านบาท ของมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 178,586 ล้านบาท ส่วนสัดส่วนอีก 80% หรือมูลค่ากว่า 142,868 ล้านบาท จะเรียกจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดความเสียหาย

 

จากมติดังกล่าวคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้มอบหมายให้ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ(ศอตช.)ที่มีพล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานเป็นเจ้าภาพในการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุปในระดับนโยบายว่าผู้ใดบ้างจะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายในส่วนที่เหลือ

 

ทั้งนี้ล่าสุด ศอตช.ได้ระบุผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีนี้มีถึง 6,000 ราย สร้างความตื่นตระหนก และหวาดผวาให้กับข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการในหลายกระทรวง ตลอดจนภาคเอกชนที่หวั่นจะถูกตรวจสอบและติดร่างแห หลายฝ่ายเริ่มจับตามองเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด “ฐานเศรษฐกิจ” ฉบับนี้ สัมภาษณ์พิเศษ “ประยงค์ ปรียาจิตต์” เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการ ศอตช.ที่จะรับผิดชอบไต่สวนคดีดังกล่าว ถึงขั้นตอนและแนวทางการทำงานเพื่อพิจารณาเรียกค่าเสียหายทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา เพื่อหาคนผิดตัวจริงมาลงโทษ

 

6 พันชื่อเกี่ยวข้องแต่ต้องแยกคนผิด

 

“ประยงค์” กล่าวว่า โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ประเด็นชัดว่ามีการทุจริตจริง เพราะบางคดีมีการดำเนินคดีอยู่ในชั้นศาล ทั้งนี้ในระเบียบของทางราชการชัดเจนว่า หากมีเจ้าหน้าที่รัฐจงใจที่จะละเมิดหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนก่อให้เกิดความเสียหายก็ต้องรับผิดชอบอยู่แล้วตามการกระทำที่ละเมิด นั่นคือหลักซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดมานานแล้ว เพียงแต่อาจจะไม่เคยเกิดเหตุที่มีการชดใช้วงเงินสูงขนาดนี้ อย่างไรก็ดีโดยหลักคือ หากใครไม่ได้ทำผิด ก็ไม่ต้องยอมรับผิด แต่ถ้าหากกระทำผิดก็ต้องรับผิดทั้งแพ่งและอาญา

“6,000 ราย ที่ ศอตช. ระบุไม่ใช่ชื่อที่จะต้องรับผิดและชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด เพียงแต่ตัวเลข 6,000 คน คือรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงาน ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการไปจนถึงระดับนโยบาย ตั้งแต่คณะรัฐมนตรี (ครม.) คณะกรรมนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) จนถึงคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนกระบวนการรับจำนำข้าวเปลือก จนถึงการระบายข้าวออกจากคลัง ขายให้ใคร ใครเป็นผู้รับซื้อ จะเช็คตลอดทุกห่วงโซ่อุปทาน แต่ทั้งหมดนี้ไม่ใช่จะรับผิดนะ เป็นแค่กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเรื่องนี้เท่านั้น”

 

ตั้งอนุฯไต่สวน 986 คดี

 

สำหรับ “ใคร” จะต้องรับผิดโครงการรับจำนำข้าวบ้างจะมีกระบวนการตรวจสอบผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง ดังนั้นไม่ต้องไปกังวลกับรายชื่อ ซึ่งโดยปกติการทำงานของ ป.ป.ท. ลำดับแรกจะต้องตรวจสอบว่าใครเกี่ยวข้องบ้าง เสียหายขั้นตอนไหน แล้วในขั้นตอนที่เสียหายมีใครบ้างที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจะนำไปการพิจารณา ไม่ใช่ว่าจะไปจิ้มหรือชี้เอาความผิดได้ทันที ที่สำคัญคนที่ตรวจสอบว่าใครทำให้เกิดความเสียหายบ้างก็คือต้นสังกัดที่มีเจ้าหน้าที่ที่ไปเกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีคดีที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการทุจริตรับจำนำข้าวทั้งหมด 986 คดี ซึ่งล้วนเป็นคดีที่องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ได้ไปแจ้งความกับตำรวจ และทางตำรวจได้สอบสวนเบื้องต้นแล้ว พบว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไปร่วมกระทำผิดกับเอกชนด้วย ซึ่งตามกฎหมายหากเจ้าหน้าที่รัฐกระทำผิดก็ต้องส่งเรื่องมา ที่ ป.ป.ท.

 

สำหรับขั้นตอนเมื่อตำรวจส่งคดีให้ ป.ป.ท. พิจารณา จะเสนอตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาตรวจสอบตั้งแต่ 3-5 คน ต่อ 1 คดี ดังนั้นเมื่อมี 986 คดี จึงมีคณะอนุกรรมการ 986 คดี ตั้งกรอบการทำงานจะเร่งปิดคดีภายใน 6 เดือนนับจากนี้ โดยคณะอนุกรรมการแต่ละชุด จะไปรวบรวมเอกสาร หลักฐานแล้วมาตรวจสอบดูว่าใครบ้างเกี่ยวข้อง เกี่ยวข้องในช่วงขั้นตอนใด หลังจากได้พยานหลักฐานหมดแล้วจะนำมาวิเคราะห์แล้วนำกลับไปเสนอคณะกรรมการพิจารณาว่าตรงนี้มีใครผิดหรือถูก หากชี้มูลว่าไม่ผิด ให้ยุติก็จบ แต่หากพบว่ามีความผิดก็จะสรุปสำนวนส่งพนักงานอัยการเพื่อส่งฟ้องต่อไป

“กระบวนการตรวจสอบรายชื่อคนที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่าง จังหวัดหนึ่งอาจจะมีผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 100 คนหรือ 1,000 คน ก็ใช่ว่ากลุ่มคนเหล่านี้จะกระทำผิดทั้งหมด กล่าวคือ ถ้าใครไม่เกี่ยวข้องกระทำความผิดเลยเป็นแค่หนึ่งในคณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุมเท่านั้นก็ไม่ถือว่ากระทำความผิด แต่จะนำบุคคลที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนที่ทำให้เกิดความเสียหายที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้นจริง ๆ เท่านั้นที่ต้องรับผิดชอบ ขอย้ำ”

 

แจงยิบวิธีชดใช้ค่าเสียหาย

 

เลขา ป.ป.ท. กล่าวอีกว่า สำหรับ 986 คดีข้างต้น สามารถจำแนกตามหมวดหมู่ได้แก่ 1. ข้าวหาย 2.ข้าวผิดประเภท 3.ข้าวไม่ได้มาตรฐาน 4.ข้าวเสื่อมคุณภาพ ยกตัวอย่าง ข้าวในคลังกลางของ อ.ต.ก. จังหวัดปทุมธานี ใช้นั่งร้าน แล้วนำข้าวมาล้อมทับไว้ นี่ความผิดเด่นชัด เกิดจากการกระทำ ไม่ใช่จากความประมาทหรือเลินเล่อ โดยผู้ที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหาย ได้แก่ หัวหน้าคลัง เซอร์เวเยอร์ และผู้ที่ได้รับมอบหมายจากทางจังหวัด เพราะจะไม่รู้เลยหรือว่านำโครงเหล็กเข้าไปต่อข้างใน ซึ่งต้องไปดูในรายละเอียด

 

โดยสรุปการชดใช้ค่าเสียหายจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบ เพราะฉะนั้นอย่าไปกังวล ในระดับการตรวจสอบความเสียหาย จะมีกลไกการพิสูจน์ ป.ป.ท.กำลังไต่สวนอยู่ ส่วนระดับบน ก็ต้องดำเนินการโดยใช้ระเบียบสำนักนายรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จะต้องเป็นไปตามขั้นตอน

“ผมเชื่อว่าใน 6,000 รายชื่อ ย่อมมีความกังวลเป็นธรรมดา อย่างไรก็ตามกระบวนการตรวจสอบอย่างนี้มีมานานแล้ว หลักก็คือ 1. คุณมีหน้าที่หรือเปล่า 2. หน้าที่นั้นทำตามกฎหมายกำหนดหรือไม่ 3.ทำหน้าที่ที่ได้รับอย่างโปร่งใสหรือไม่ 4.ครบขั้นตอนหรือไม่ 5. ทำเพื่อเอาผลประโยชน์ของตัวเองหรือเปล่า ถ้าตามอำนาจหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา มีความโปร่งใส ไม่มีใครเอาผิดได้ ในคดีรับจำนำข้าว ผมยึดถือกฎหมายเป็นหลัก หากกฎหมายกำหนดให้คุณมีหน้าที่อะไรผมก็ทำตามกฎหมาย แล้วก็ไม่เคยไปแกล้งใคร”

 

ที่มาตั้ง ศอตช. สอบทุจริต

 

“ประยงค์” กล่าวถึง บทบาท ของ ป.ป.ท.ว่า มีอำนาจหน้าที่อยู่ 2 ประการ 1. ขับเคลื่อนนโยบายให้กับรัฐบาล ในการป้องกันการทุจริตส่วนราชการทั้งหมด 8,000 กว่าแห่งทั่วประเทศ 2.บทบาทในการไต่สวน 986 คดีโครงการจำนำข้าว บวกกับคดีทุจริตในภาครัฐของเก่ากว่า 2,000 คดี รวมแล้วกว่า 3,000 คดี ทั้งนี้ที่ผ่านมา ป.ป.ท.มีบุคลากรเพียง 246 คนไม่มีพลังจะขับเคลื่อน ขณะที่ปัญหาทุจริตแรงมาก เปรียบเหมือนน้ำท่วมทำนบแล้วต้านทานไม่ไหว จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้หลังการรัฐประหาร นายกรัฐมนตรีได้ตั้ง “ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ” หรือ “ศอตช.” ขึ้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 ภายในสำนักงาน ป.ป.ท. เพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรอำนวยการระดับชาติเพื่อให้การแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอยู่ภายใต้คณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันได้มอบหมายให้ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมายกำกับดูแล ซึ่งทำงานผ่านมา 2 ปีกว่าแล้ว สถานการณ์ทุจริตถือว่าเบาบางลงมาก

 

source: thansettakij.com/2016/12/09/118612


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 6188 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [นาข้าว]:
ข้าวใบเหลือง ขอบใบข้าวม้วน ยอดใบข้าวมีจุดประสีขาว เพราะขาดธาตุต่างกัน ปล่อยไว้ผลผลิตลด
ธาตุรองธาตุเสริมต่างๆ ที่จำเป็นต่อพืช ถูกพืชดึงไปใช้ทุกๆครั้งที่ปลูก จึงค่อยๆหมดไป เราเติมได้ พืชจะสมบูรณ์ ผลผลิตสูงขึ้น
อ่านแล้ว: 7938
ตั๊กแตน กัดกินใบข้าว ทำผลผลิตลด ป้องกันและกำจัดด้วย มาคา กำจัดแมลง
ใบข้าวแหว่ง หากจะบาดมาก โดนตั๊กแตน โลกัสต้าโจมตี จะกินใบข้าวจนหมดทั้งใบ สร้างความเสียหายในนาข้าว
อ่านแล้ว: 8332
หนอนกอ ที่ทำลายต้นข้าว ป้องกันและ กำจัดหนอนกอ
หนอนกอ จะเข้าทำลายต้นข้าวในระยะข้าวแตกกอ หนอนกอจะเข้ากัดกิน ทำลายในส่วนที่เป็นท่ออาหาร ท่อน้ำของลำต้นข้าว
อ่านแล้ว: 9627
ลุ้นส่งออกข้าวสถิติสูงสุด คาดปีนี้ทะลุ11ล้านตัน
ส่งออกข้าวไทย 11 เดือน พุ่ง 21.01% ปริมาณ 10.42 ล้านตัน ขณะที่ราคาหอมมะลิปรับสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดรอบ 4 ปี
อ่านแล้ว: 8022
สิ้น จำนำข้าว 3 ปี 300 โรงสีม้วนเสื่อ
โรงสีกระทบหนัก ปิดตัวแล้วกว่า 300 แห่ง เหตุไม่ปรับตัวแตกไลน์ธุรกิจ ขณะแข่งเดือดแย่งข้าวเปลือก หลังกำลังสีแปรรวมมากกว่า..
อ่านแล้ว: 8304
พาณิชย์ยัน ข้าวเปลือกหอมมะลิราคาไม่ตก
กระแสข่าวราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกหอมจังหวัด มีราคาตกต่ำ ไม่เป็นความจริง
อ่านแล้ว: 8065
พาณิชย์เลือกเอกชน2ราย เอ็มโอยูตั้งตลาดกลางข้าว
พาณิชย์ดันตลาดไทตลาดต่อยอด ร่วมจัดตั้งตลาดกลางข้าวสาร ลงนามเอ็มโอยูต้นเดือน ธ.ค. เปิดให้บริการได้เดือน พ.ค. 2561
อ่านแล้ว: 7935
หมวด นาข้าว ทั้งหมด >>