data-ad-format="autorelaxed">
ความแตกต่างระหว่างข้าวหอมมะลิ 105 และ หอมมะลิ กข 15
ข้าวหอมมะลิ 105 มีชื่อเรียกทางการว่า ข้าวขาวดอกมะลิ 105 (Khao Dawk Mali 105)รับรองสายพันธุ์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502
ลักษณะของสายพันธุ์
– นิยมปลูกในฤดูนาปี จะมีกลิ่นหอมมาก เมื่อพบภาวะน้ำแห้งและอากาศเย็น
– เป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสง (จะออกดอกเฉพาะช่วงกลางวันสั้น กลางคืนยาว และมีอากาศเย็น) เป็นข้าวหนัก คุณภาพดี
– เก็บเกียวได้ประมาณช่วงกลางเดือน พ.ย. อายุจนเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน
– ผลผลิตประมาณ 363 กกต่อไร่ (แต่ถ้าดูแลดีก็ได้ผลผลิตสูงขึ้นกว่านี้ได้)
– ทนต่อสภาพดินเค็ม ดินเปรี้ยว ความแล้ง ได้ดี
– พื้นที่แนะนำในการปลูก ภาคอิสานและเหนือตอนบน
– ปริมาณ อะมิโลสต่ำคือประมาณ 12-17% (ยิ่งมีค่าต่ำเท่าไหร่ ยิ่งมีความหอมมาก)
ข้อเด่น
– มีกลิ่นหอม นุ่ม อร่อย แม้ตอนข้าวสุกและเย็น หากเก็บเป็นข้าวเปลือก
เมือนำมาสีเป็นข้าวสารก็ยังคงความนุ่มหอมไว้ได้
พันธุ์ กข15 (RD15)
(ที่เรียกว่า หอมมะลิ ได้จากการปรับปรุงพันธุ์
โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ ของข้าวหอมมะลิ 105)
รับรองสายพันธุ์เมื่อ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2521
ลักษณะของสายพันธุ์
– นิยมปลูกในฤดูนาปี จะมีกลิ่นหอมมาก เมื่อพบภาวะน้ำแห้งและอากาศเย็น แต่เป็นข้าวชนิดเบา ให้ผลผลิตได้มาก
จะสุกและสามารถเกี่ยวได้ก่อนข้าวหอมมะลิ 105 ประมาณ 20 วัน
-ผลผลิต ประมาณ 560 กิโลกรัมต่อไร่
– ทนแล้งและดินเค็ม ดินเปรี้ยว ได้ดี
– ปลูกในพื้นที่ภาคอิสาน
– ปริมาณอมิโลส 14-17 % (ยิ่งมีค่าต่ำเท่าไหร่ ยิ่งมีความหอมมาก)
ข้อเด่น
– มีกลิ่นหอม นุ่ม เหมือนข้าวหอมมะลิ 105 แต่กลิ่นจะหอมน้อยกว่า เนื่องจากการปรับปรุงสายพันธุ์
ข้าวหอมปทุม
ชื่อเรียก กข31(ปทุมธานี 80) รับรองสายพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550
ลักษณะของสายพันธุ์
– เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง เม็ดสั้น เป็นข้าวนาปรัง อายุเก็บเกี่ยวแน่นอนประมาณ 110 วัน
– ผลผลิตเฉลี่ย 738 กิโลกรัมต่อไร่ (นาหว่านน้ำตม)
– ปริมาณอมิโลสสูง (27.3 – 29.8 %)
– มีกลิ่นหอมและนุ่มเวลาหุงเสร็จใหม่ๆ แต่จะกระด้างเมื่อข้าวเย็นตัวลง
ข้อมูลอ้างอิง
กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว www.brrd.in.th
rakbankerd.com
tos-lamoon.com
http://www.bizamnat.com/?p=1471