ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่หมู่บ้านหนองใหญ่ ต.หนองห้าง อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เกษตรกรประสบปัญหาพื้นดินไม่เหมาะสมกับการทำนาข้าวมานับสิบๆ ปี เนื่องจากเป็นที่ดินเป็นดินทรายและอยู่บนที่ราบสูง ในฤดูฝนหากปริมาณน้ำไม่มากพอก็จะไม่มีน้ำท่วมขังในแปลงนา เรียกได้ว่า หากนาข้าวหมู่บ้านอื่นๆ ไม่ท่วม แปลงนาหมู่บ้านหนองใหญ่แห่งนี้ก็จะไม่มีน้ำขังเพื่อใช้ในในการทำนา หรือทำแบบนาข่มขืนทำก็จะไม่ได้ผลเท่าที่ควร
ด้วยอาชีพการทำนาที่สืบทอดกันมานับตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย จึงจำต้องทำเพื่อความอยู่รอด เพราะอย่างน้อยๆ มีข้าวเก็บไว้กินก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรเลย จนมาวันนี้ ได้มีโครงการปรับเปลี่ยนที่นาที่ไม่เหมาะสมมาปลูกพืชทดแทนที่ใช้น้ำน้อย และให้ผลตอบแทนสูง โดยได้มีพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธกส.สาขาอุทุมพรพิสัย นำพาไปศึกษาดูงานอบรม และให้เงินกู้ปลูกพืชทดแทนในอันตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ในการสร้างโรงเรือน ทำแปลงปลูก ซื้อเมล็ดพันธุ์ นำพาปลูกเริ่มต้นจากศูนย์และกำลังจะได้เก็บผลผลิตในรุ่นแรก โรงเรือนแรกเฉลี่ยโรงละ 300 ลูก เร็วๆนี้
นายบุดดี ปิ่นแก้ว ผู้ใหญ่บ้านหนองใหญ่ เปิดเผยว่า บ้านหนองใหญ่ เป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีราษฎรเพียง 159 ครัวเรือน อาชีพหลักก็คือการทำนาข้าว ซึ่งพื้นดินเป็นนาโนน แม้ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูกนาข้าว แต่ชาวบ้านก็ไม่รู้จะไปประกอบอาชีพอะไร เคยเปลี่ยนไปปลูกข้าวโพดหวาน ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกถั่วลิสง ปลูกปอ ทำมามากมายแต่ก็ไม่ได้ผล มาวันนี้ได้มี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) มาแจ้งว่ารัฐบาลโดย ฯพญฯ นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา ได้ประกาศให้เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนการทำนาที่ไม่เหมาะสม มาปลูกพืชทดแทนที่เหมาะแก่พื้นที่ เน้นการใช้น้ำน้อย และเป็นพืชที่ตลาดผู้บริโภคนิยม ขายได้ราคา
หมู่บ้านหนองใหญ่แห่งนี้ เลือกพืช แตงโมญี่ปุ่น หรือเมล่อน ซึ่งตอนนี้ปลูกจำนวน 20 โรงๆละ 350 ต้น มีอายุการปลูกเพียง 90 วันจะให้ผลเก็บได้ ราคาตลาดอยู่กิโลกรัมละ 120 บาท ลูกหนึ่งเฉลี่ย 1.78 กิโลกรัม แม้จะเป็นพืชที่เกษตรกรไม่เคยปลูก แต่ก็มีนักวิชาการจากธนาคารฯ ธกส.มาช่วยกำกับดูแล ตอนนี้เดินทางถึงช่วงท้าย ที่จะได้เก็บผลผลิตปลายเดือนกันยายน นี้แล้ว ซึ่งอนาคตจะมีพัฒนาหมู่บ้านนี้เป็นศูนย์ฝึกอบรมเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงการปลูกเมล่อน และเลี้ยงกบ เลี้ยงปลา ปลูกป่า หัตกรรมพื้นบ้าน หรือตัดเย็บเสื้อผ้าไหม ผ้าฝ้าย เป็นอาชีพเสริมด้วย
source: komchadluek.net/news/agricultural/245192