data-ad-format="autorelaxed">
ปลูกกาแฟ
จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากการเสด็จฯ ทอดพระเนตรแปลงกาแฟที่ขุนวาง เมื่อปี พ.ศ. 2525 ทรงให้กรมวิชาการเกษตรพัฒนาสายพันธุ์กาแฟที่เหมาะสมกับพื้นที่สูงของประเทศไทย เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น ได้ศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง
จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากการเสด็จฯ ทอดพระเนตรแปลงกาแฟที่ขุนวาง เมื่อปี พ.ศ. 2525 ทรงให้กรมวิชาการเกษตรพัฒนาสายพันธุ์กาแฟที่เหมาะสมกับพื้นที่สูงของประเทศไทย เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาได้ศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง
โดยในปี พ.ศ. 2526 ได้มีการวิจัยและพัฒนากาแฟอาราบิก้าที่ต้านทานโรคราสนิม ได้นำพันธุ์กาแฟอาราบิก้าคาติมอร์ จากศูนย์วิจัยโรคราสนิมกาแฟ ประเทศโปรตุเกส จำนวน 3 สายพันธุ์ คือ CIFC 7958 7962 และ 7963 โดยนำไปปลูกไว้ที่สถานีวิจัยกาแฟอาราบิก้า มูลนิธิโครงการหลวงแม่หลอด สถานีทดลองเกษตรหลวงขุนวาง จังหวัดเชียงใหม่ สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี จังหวัดเชียงราย สถานีทดลองเกษตรที่สูงเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และสถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ จังหวัดตาก ทำการศึกษาวิจัยกาแฟอาราบิก้าที่ต้านทานโรคราสนิมสายพันธุ์คาติมอร์ CIFC 7963-13-28 จน ได้พันธุ์กาแฟคาติมอร์ “เชียงใหม่ 80” ในปี พ.ศ. 2550 ที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายใน ปัจจุบัน
นายอุทัย นพ คุณวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา การเกษตร เขตที่ 1 กล่าวว่า กาแฟอาราบิก้าพันธุ์เชียงใหม่ 80 ได้คัดเลือกจากการผสมพันธุ์ H.W. 26/5 กับพันธุ์ SL28 โดยศูนย์วิจัยโรคราสนิมกาแฟ ได้ลูกผสมชั่ว ที่ 1 ในปี พ.ศ. 2503 และได้ส่งไปปลูกคัดเลือกในประเทศต่าง ๆ ในแต่ละชั่ว และได้ดำเนินการคัดเลือกในประเทศไทยในลูกผสมชั่วที่ 6 และ 7 ในปี พ.ศ. 2527 จนถึงปี พ.ศ. 2544 ได้สายพันธุ์ดีเด่นและนำไปปลูกทดสอบ ในพื้นที่ปลูกกาแฟทางภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน และเพชรบูรณ์
จนกระทั่งได้รับพิจารณาเป็นพันธุ์รับรองของกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 50 และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548-2553 ได้ผลิตต้นกล้ากาแฟอาราบิก้าสายพันธุ์ดังกล่าว เพื่อแจกจ่ายให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ มูลนิธิโครงการหลวง โครงการพระราชดำริ กลุ่มเกษตรกร หน่วยงานราชการ และเอกชน จำนวน 2,258,212 ต้น ได้ใช้เวลานานนับ 10 ปี ในการวิจัยและพัฒนากาแฟ ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่าง ๆ จนได้ผลผลิตกาแฟเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟดอยคำ ดอยตุง และโครงการพระราชดำริต่าง ๆ ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ ได้มีพระราชเสาวนีย์ให้มีการปลูกตามดอย
นอกจากนี้ยังมีแหล่งปลูกและผลิต ที่สำคัญ ได้แก่ ดอยช้าง ปางขอน สันเจริญ และห้วยฮ่อม ซึ่งในปัจจุบันกาแฟดอยช้างและ ดอยตุงก็เป็นที่ยอมรับในเรื่องคุณภาพและเอกลักษณ์เฉพาะในระดับโลก และได้รับการยกระดับเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) และมีการขยายผลการดำเนินงานไปสู่โครงการพระราชดำริต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ที่มั่นคง
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ได้ดำเนินการส่งเสริมการปลูกกาแฟ การดูแลรักษา การผลิตและแปรรูปแบบครบวงจร ภายในสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงบ้านปางขอนและขยายผลสู่แปลงเกษตรกร ตั้ง แต่ปี พ.ศ. 2545 สำหรับดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกาแฟอาราบิก้า โดยจัดเป็นแปลงต้นแบบการฟื้นฟูสภาพต้นกาแฟ อาราบิก้าที่มีอายุมาก ส่งผลให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามลำดับ โดยพบว่าในปี พ.ศ. 2551 เกษตรกรบ้านปางขอนสามารถผลิตกาแฟได้ 103 ตัน และเพิ่มขึ้นเป็น 266 ตัน ในปี พ.ศ. 2557 คิดเป็นจำนวนเงินที่ขายสารกาแฟกว่า 30 ล้านบาท ทำให้มีรายได้เฉลี่ย 214,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ซึ่งแต่เดิมก่อนที่เกษตรกรจะเข้าร่วมโครงการมีรายได้จากการขายกาแฟเพียง 50,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี เท่านั้น
นับเป็นความสำเร็จของโครงการผลิตกาแฟอาราบิก้าโดยมีส่วนร่วมของเกษตรกรบ้านปางขอน ที่สามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ เพื่อลดการทำลายป่า ทำไร่เลื่อนลอย ใช้พื้นที่ทำการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามแนวพระราชดำริ คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน
จาก dailynews.co.th/agriculture/509887