ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เศรษฐกิจเกษตร | อ่านแล้ว 3441 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ส่งออกปุ๋ย AEC มีผลกระทบต่อการผลิตและการค้าปุ๋ยไทยอย่างไร

ปุ๋ย เป็นปัจจัยการผลิตพืชที่สำคัญ ในปัจจุบันแต่ละปีประเทศไทยได้สั่งปุ๋ยเคมีเข้ามาใช้ในประเทศ ตลอดจนส่งไปจำหน่ายต่อในปร..

data-ad-format="autorelaxed">

ส่งออกปุ๋ย

ส่งออกปุ๋ย

ดร. ประเสริฐ สุดใหม่ นักวิชาการอิสระ อดีตหัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาระบบตรวจสอบคุณภาพปุ๋ย สำนักวิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทร. (081) 629-8159, (02) 940-5990 E-mail : [email protected]

 

การเข้า AEC มีผลกระทบต่อการผลิตและการค้าปุ๋ยของประเทศไทยอย่างไร

 

ดร. ประเสริฐ สุดใหม่ นักวิชาการอิสระ น.บ. Ph.D (Soils) ประกาศนียบัตรวิชาว่าความ, ประกาศนียบัตรทนายความผู้รับรองลายมือชื่อและเอกสาร, ประกาศนียบัตรวิชากฎหมายปกครอง เนติบัณฑิตยสภา (1) อดีตหัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาระบบการตรวจสอบคุณภาพปุ๋ย กลุ่มวิจัยเกษตรเคมี สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร (2) ที่ปรึกษากฎหมายและทนายความ (3) ที่ปรึกษาสมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย

 

ปุ๋ย เป็นปัจจัยการผลิตพืชที่สำคัญ ในปัจจุบันแต่ละปีประเทศไทยได้สั่งปุ๋ยเคมีเข้ามาใช้ในประเทศ ตลอดจนส่งไปจำหน่ายต่อในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งประเทศลาว เขมร มาเลเซีย และพม่า มียอดการสั่งเข้ามาจำหน่ายล่าสุดคือ พ.ศ. 2554 สูงถึง 5.579 ล้านตันผลิตภัณฑ์ มูลค่า 78.899 พันล้านบาทเศษ เป็นข้อมูลที่เปิดเผยโดยสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ปุ๋ยเหล่านี้นำมาใช้กับพืชเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผักและผลไม้ เป็นต้น ทั้งที่นำไปใช้โดยตรงและเป็นแม่ปุ๋ยที่นำมาผสมเป็นปุ๋ยเคมีเชิงผสมแบบปั้นเม็ด และปุ๋ยเคมีเชิงผสมแบบคลุกเคล้า และมีปุ๋ยจำนวนบางส่วนส่งไปจำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้านตามที่กล่าวแล้วข้างต้น จึงมีข้อสงสัยว่าการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 จะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตและการค้าปุ๋ยของประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร ปุ๋ยจะมีใช้เพียงพอแก่ความต้องการของเกษตรกรหรือว่าจะขาดแคลน จนสร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร

 

ผู้เขียนในฐานะผู้อยู่ในแวดวงการเกษตร อดีตเคยเป็นนักวิทยาศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร ดูแลคุณภาพและมาตรฐานปุ๋ยของประเทศมาเป็นระยะเวลายาวนาน ปัจจุบันเป็นนักวิชาการอิสระ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษากฎหมายและทนายความ และยังเป็นที่ปรึกษาของสมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย ยังอยู่ในวงการปุ๋ยและมีความห่วงใยพี่น้องเกษตรกร จึงขอเสนอความคิดเห็นทางวิชาการเป็นการส่วนตัวในเรื่องนี้ไว้ เพื่อผู้อ่านซึ่งเป็นเกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปจะได้ไว้พิจารณาดังต่อไปนี้

 

1. ข้อมูลทั่วไป

1.1 เออีซี (AEC) คืออะไร

AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติในกลุ่มอาเซียน (Asean) 10 ประเทศ โดยมี ไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่มยูโรโซน (Euro Zone) ในทวีปยุโรป นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์ด้านอำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกสินค้าและบริการของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่า สินค้าอ่อนไหว)

อาเซียน (Asean) จะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผล ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ณ วันนั้น จะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมาก

1.2 ประเทศในกลุ่ม AEC มีกี่ประเทศ อะไรบ้าง

ปัจจุบัน ประเทศสมาชิกอาเซียนประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน

ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน +3 โดยจะเพิ่มประเทศจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วย และต่อไปก็จะมีการเจรจา อาเซียน +6 จะมีประเทศจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ต่อไป

1.3 สามเสาหลัก ของ AC (Asean Community)

1.3.1 APSC

ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน ( ASEAN Political-Security Community) ความมั่นคงและเสถียรภาพทางการเมืองเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาด้านอื่นๆ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนจึงเป็นเสาหลักความร่วมมือหนึ่งในสามเสาหลัก ที่เน้นการรวมตัวของอาเซียน เพื่อสร้างความมั่นใจ เสถียรภาพ และสันติภาพ ในภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนในอาเซียนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และปราศจากภัยคุกคามด้านการทหาร และภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ เช่น ปัญหายาเสพติด และปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียนมีเป้าหมาย 3 ประการ ได้แก่

 

1) สร้างประชาคมให้มีค่านิยมร่วมกันในเรื่องของการเคารพความหลากหลายของแนวคิด และส่งเสริมให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางของนโยบายและกิจกรรมภายใต้เสาการเมืองและความมั่นคง

2) ให้อาเซียนสามารถเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ และส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์

3) ให้อาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก โดยอาเซียนมีบทบาทเป็นผู้นำในภูมิภาค และจะช่วยส่งเสริมความมั่นคงของภูมิภาค นอกจากการมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคแล้ว ผลลัพธ์ประการสำคัญที่จะเกิดขึ้นจากการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ก็คือ การที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีกลไกและเครื่องมือที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งด้านการเมืองระหว่างสมาชิกกับรัฐสมาชิกด้วยกันเอง ซึ่งจะต้องแก้ไขโดยสันติวิธี หรือปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง เช่น การก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด ปัญหาโจรสลัด และอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น

1.3.2 ความมุ่งมั่นของ AEC

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) ท่ามกลางบริบททางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันสูง อันส่งผลให้ประเทศต่างๆ ต้องปรับตัวเองเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจโลก รวมถึงการรวมกลุ่มการค้ากันของประเทศต่างๆ อาทิ สหภาพยุโรป และเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบ ให้จัดตั้ง "ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน" ภายในปี 2558 มีประสงค์ที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้โดย

(1) มุ่งที่จะจัดตั้งให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน

(2) มุ่งให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า การบริการ การลงทุน แรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกโดยเสรี

(3) ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือ CLMV) เพื่อลดช่องว่างระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน และช่วยให้ประเทศสมาชิกเหล่านี้เข้าร่วมในกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกได้อย่างไม่อยู่ในภาวะที่เสียเปรียบ และส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน

(4) ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมาย การพัฒนาความร่วมมือด้านการเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือ ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียนจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยขยายปริมาณการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาค ลดการพึ่งพาตลาดในประเทศที่สาม สร้างอำนาจการต่อรองและศักยภาพในการแข่งขันของอาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก เพิ่มสวัสดิการและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียน

1.3.3 ASCC

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community) มีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน โดยมีแผนปฏิบัติการด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ระบุอยู่ในแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ซึ่งประกอบด้วย ความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่

1) การพัฒนามนุษย์ (Human Development)

2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection)

3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights)

4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability)

5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building and ASEAN Identity)

6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap)

 

2. วิเคราะห์ผลกระทบของการเข้าสู่ AEC ต่อธุรกิจการผลิตและการค้าปุ๋ยของประเทศ

2.1 ปัจจัยที่เป็นบวกต่ออุตสาหกรรมการผลิตและการค้าปุ๋ยของประเทศ

2.1.1 มีตลาดกว้างขึ้น

(1) มีพื้นที่การเกษตรเพิ่มขึ้น ทำให้โอกาสในการประกอบอาชีพการเกษตรของคนไทยที่มีศักยภาพสูง มีพื้นที่ทำการเกษตรมากขึ้น เช่น คนไทยเข้าไปลงทุนปลูกยางพาราในประเทศลาว พม่า เขมร เป็นต้น

(2) พืชที่เน้นมีมากขึ้น เช่น ข้าว ยาง ปาล์มน้ำมัน ทำให้มีปริมาณวัตถุดิบหรือสินค้ามากขึ้น ประเทศในแถบนี้ทำการเพาะปลูกได้เกือบทุกประเทศ แต่บางประเทศปลูกข้าวไม่พอกับการบริโภคของประชากรภายในประเทศ เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ ต้องนำเข้าจากประเทศอื่นด้วย

(3) มีผู้บริโภคมากขึ้น รวมพลเมือง 10 ประเทศ ประมาณ 600 ล้านคน

2.1.2 ประเทศไทยมีเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยผสมที่หลากหลายชนิดกว่า คิดว่าจะทำให้มีตลาดปุ๋ยกว้างขึ้น โดยประเทศไทยสามารถผลิตปุ๋ยได้ดี มีทั้ง (1) ปุ๋ยปั้นเม็ด (2) ปุ๋ยน้ำ (3) ปุ๋ยเกล็ด (4) ปุ๋ยเคมีเชิงผสมแบบคลุกเคล้า (5) ปุ๋ยอินทรีย์เคมี (6) ปุ๋ยอินทรีย์ (7) ปุ๋ยชีวภาพ (8) ปุ๋ยเคมีเชิงเดี่ยว หรือแม่ปุ๋ย จะสามารถนำเงินตราเข้าประเทศได้มากขึ้นกว่าเก่า

2.1.3 ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของ AEC

(1) เป็นศูนย์กลางของการคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ

(2) สะดวกแก่การกระจายปุ๋ย และกระจายสินค้าอื่นๆ เพื่อนำสู่ตลาดต่างประเทศทั่วโลก รวมทั้งการนำเข้าด้วย

2.1.4 ประเทศไทยมีกำลังการเงินที่สนับสนุนการลงทุนทางการเกษตร อุตสาหกรรมปุ๋ย และอุตสาหกรรมอื่นๆ มากกว่าหลายประเทศ เพราะมีทุนเอกชน ยกเว้นสิงคโปร์ มาเลเซีย ทำให้สามารถเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น รวมทั้งอาจไปลงทุนผลิตปุ๋ยผสมในประเทศเหล่านั้นในโอกาสต่อไป

2.1.5 การเคลื่อนย้ายวัสดุแม่ปุ๋ยที่นำมาใช้ผลิตปุ๋ยจะง่ายขึ้น เช่น แม่ปุ๋ยไนโตรเจน จาก เวียดนาม หรือมาเลเซีย

2.1.6 ข้อได้เปรียบในเชิงคุณภาพของปุ๋ย เป็นที่ต้องการของประเทศเพื่อนบ้าน ปุ๋ยที่ผลิตในเมืองไทยเป็นที่ต้องการของเพื่อนบ้าน

2.1.7 มีเทคโนโลยีด้านการควบคุมคุณภาพสูงกว่าบางประเทศ หลายประเทศเอาอย่างไทย

2.1.8 กฎหมายปุ๋ยของไทยควบคุมเคร่งครัดกว่า มีการควบคุม การผลิต การนำเข้า และการส่งออก โดยประเทศไทยมีพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญของความรู้ในการควบคุมการผลิตการค้าปุ๋ยของประเทศไทย

2.1.9 ปริมาณการผลิตและการนำเข้ามีปริมาณมากและผลิตส่งออกไปสู่เพื่อนบ้านด้วย รวมมีการใช้ปุ๋ย ประมาณ 5.579 ล้านตันผลิตภัณฑ์ (ข้อมูล พ.ศ. 2554) มูลค่า 78.899 พันล้านบาทเศษ

2.1.10 จำนวนของผู้ผลิตมีมากราย ใบอนุญาตผลิตเคมี เมื่อ พ.ศ. 2554 จำนวน 160 ราย

2.1.11 ประเทศไทยเปิดกว้างและเสรีด้านอุตสาหกรรมปุ๋ย ทำให้เกิดการแข่งขันในเชิงอุตสาหกรรมและทางการค้าเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 84 (1)

2.1.12 ประเทศไทยมีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมปุ๋ยมาก่อน จึงได้เปรียบในเชิงการนำ

2.1.13 ทำให้นักธุรกิจไทยปรับตัวเพื่อดำรงไว้ซึ่งความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน

2.1.14 จะทำให้เพิ่มความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการใช้ปุ๋ยให้สูงขึ้น

 

3. ปัจจัยที่เป็นจุดด้อยต่ออุตสาหกรรมปุ๋ยและอุตสาหกรรมอื่นๆ ของประเทศ

3.1 มีคู่แข่งมากกว่าเก่า เพราะมีการเคลื่อนย้ายปุ๋ยและสินค้าอื่นๆ ได้สะดวกขึ้น ปุ๋ยจากเวียดนามและมาเลเซียจะมีการนำเข้า แต่ผลดีในการขนย้ายแม่ปุ๋ยเข้ามาผลิตภายในประเทศ

3.2 ประเทศไทยไม่มีแหล่งผลิตแม่ปุ๋ยไนโตรเจนที่ราคาถูก ดังเช่น ประเทศมาเลเซีย

3.3 ประเทศไทยไม่มีแหล่งผลิตแม่ปุ๋ยฟอสเฟตที่มีปริมาณมากพอ ดังเช่น ประเทศจีน

 

4. ข้อเด่นของประเทศไทยในอนาคต

(1) มีรายงานจากกรมทรัพยากรธรณีว่า แหล่งแร่โพแทสสำรองมากและใหญ่ที่สุดในโลก ประมาณ 407,000 ล้านตัน กำลังรอการพัฒนา อนาคตคงจะผลิตใช้ในประเทศและส่งออกเพื่อนำเงินตราเข้าสู่ประเทศได้ไม่น้อยกว่าหมื่นล้านบาทต่อปีจากโครงการเหล่านี้

(2) มีแหล่งแร่ที่จะพัฒนาเป็นปุ๋ยธาตุอาหารรองครบและมากมาย (แคลเซียม แมกนีเซียม และซัลเฟอร์) ส่วนธาตุอาหารเสริมกำลังรอการพัฒนาเป็นปุ๋ย ปุ๋ยเหล่านี้นำมาใช้ในการผลิตปุ๋ยผสมหรือปุ๋ยสูตรต่างๆ ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

5. สรุป

(1) หากมองในภาพรวมประเทศไทยได้เปรียบในเชิงการค้าและอุตสาหกรรมการผลิตและการค้าปุ๋ยในการเข้า AEC ด้วยเหตุผลที่กล่าวตอนต้น

(2) เกษตรกรไทยจะมีปุ๋ยเพื่อใช้สำหรับการผลิตพืช เช่น ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผัก และผลไม้ ตลอดจนพืชอื่นๆ อย่างเพียงพอต่อการทำการเกษตรไม่ก่อให้เกิดการขาดแคลน แม้ประเทศไทยจะส่งออกปุ๋ยไปต่างประเทศที่เป็นเพื่อนบ้าน เช่น ลาว เขมร พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ด้วยก็ตาม

(3) การเข้าสู่ AEC น่าจะนำความเจริญก้าวหน้าแบบยั่งยืนมาสู่ประเทศไทย แต่ประชาชนไทยและเกษตรกรไทยจะต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้

อนึ่ง หากท่านผู้อ่านสามารถติดต่อขอคำปรึกษาหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องนี้เกี่ยวกับปุ๋ยทุกชนิด ตลอดจนกฎหมายปุ๋ย สารปรับปรุงดิน และปัจจัยการผลิตการเกษตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชนได้

 

ผนวก

วัสดุและแม่ปุ๋ยที่ใช้สำหรับผลิตปุ๋ยเคมีเชิงผสมแบบคลุกเคล้า (Bulk Blending Fertilizers) เป็นสูตรต่างๆ ให้เหมาะสมกับพืชและตามค่าวิเคราะห์ดิน รวมทั้งใช้โดยตรงตามคำแนะนำ

1. ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 เพื่อใช้ประโยชน์ในการทำปุ๋ยผสมสูตรต่างๆ หรือจะใช้โดยตรงเพื่อเพิ่มธาตุอาหารโพแทสเซียมแก่พืชก็ได้ (ได้รับความอนุเคราะห์วัสดุตัวอย่างปุ๋ยจาก บริษัท ศักดิ์สยามอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สมาชิกสมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย)

2. ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (DAP) สูตร 18-46-0 เพื่อใช้ประโยชน์ในการทำปุ๋ยผสมสูตรต่างๆ หรือจะใช้โดยตรงเพื่อเพิ่มธาตุอาหารโพแทสเซียมแก่พืชก็ได้ (ได้รับความอนุเคราะห์วัสดุตัวอย่างปุ๋ยจาก บริษัท ศักดิ์สยามอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สมาชิกสมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย)

3. ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (MOP) สูตร 0-0-60 เพื่อใช้ประโยชน์ในการทำปุ๋ยผสมสูตรต่างๆ หรือจะใช้โดยตรงเพื่อเพิ่มธาตุอาหารโพแทสเซียมแก่พืชก็ได้ (ได้รับความอนุเคราะห์วัสดุตัวอย่างปุ๋ยจาก บริษัท ศักดิ์สยามอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สมาชิกสมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย)

4. ฟิลเลอร์โดโลไมท์ สารตัวเติม หรือ สาร Filler เพื่อใช้เป็นวัสดุปรับสูตรปุ๋ยต่างๆ ให้ได้สัดส่วนตามที่ต้องการ หรือจะใช้เป็นสารปรับปรุงดิน ซึ่งมีแหล่งแร่ที่ใช้ผลิตในประเทศ และเป็นแหล่งของธาตุอาหารรองที่ให้ธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียมแก่พืชก็ได้ แล้วแต่วัตถุประสงค์ของการใช้ (ได้รับความอนุเคราะห์วัสดุตัวอย่างปุ๋ยจาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงงานผลิตปุ๋ยท่ามะกา สมาชิกสมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย)

5. ปุ๋ยเคมีเชิงผสมแบบคลุกเคล้า สูตร 15-5-35 (ได้รับความอนุเคราะห์วัสดุตัวอย่างปุ๋ยจาก บริษัท ศ.วัฒนาการเกษตร จำกัด สมาชิกสมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย)

6. ปุ๋ยเคมีเชิงผสมแบบคลุกเคล้า สูตร 15-7-18 (ได้รับความอนุเคราะห์วัสดุตัวอย่างปุ๋ยจาก บริษัท ศ.วัฒนาการเกษตร จำกัด สมาชิกสมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย)

 

บรรณานุกรม

1. สำนักอุตสาหกรรมพื้นฐาน. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม 2554. โครงการเหมืองแร่โปแตช. หน้า 5.

2. เกรียงศักดิ์ สุวรรณธราดล และสงกรานต์ จิตรากร. 2556. การศึกษากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรด้านพืชเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน.

3. ทวีศักดิ์ สุทิน นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย. 2556. วิเคราะห์ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปุ๋ยอันเนื่องจากการเข้า AEC ของประเทศไทย (ยกร่างโดย ดร. ประเสริฐ สุดใหม่ ที่ปรึกษาสมาคม).

4. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร. 2556. AEC คืออะไร/จาก www.thai-aec.com. Cite at 17 October 2013.

5. ประชาคมอาเซียน. 2556. 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน/จาก ประชาคมอาเซียน.net/3-pillar-asean.

 

ข้อมูลจาก matichon.co.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 3441 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เศรษฐกิจเกษตร]:
ชำแหละ บัตรคนจน คืนชีพโชห่วย?
หวังประโยชน์สองต่อ ต่อแรกจากเงินรัฐอัดฉีด 4 หมื่นล้าน เข้ากระเป๋าคนจน 11.4 ล้านคน ต่อที่สองฟื้นชีวิตชีวาโชห่วย
อ่านแล้ว: 5591
ปั้นชาวนายุค 4.0 เคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
ถึงเวลาชาวนายุค 4.0 ทวงคืนศักดิ์ศรี ทำธุรกิจมีกำไร เคลื่อนศก.ฐานราก ด้วยเกษตรไฮเทค ไม่ง้อการเมือง..!!
อ่านแล้ว: 5324
ชง 14 เมกะโปรเจค 5 แสนล้าน
เผยเอกชนเสนอรัฐบาลดันเมกะโปรเจคภาคใต้ 5 ปี 14 โครงการ มูลค่า 5 แสนล้าน หวังบูมเศรษฐกิจภาคใต้โตไม่ต่ำกว่า 6%
อ่านแล้ว: 5745
สมคิด ดึงรัฐวิสาหกิจร่วมแก้ปัญหาความยากจน
รองนายกฯ สมคิด จี้รัฐวิสาหกิจร่วมพัฒนาท้องถิ่น ช่วยเศรษฐกิจฐานราก แจงรัฐบาลมุ่งแก้ปัญหาความยากจนควบคู่การปฏิรูปเศรษฐกิจ
อ่านแล้ว: 5709
พัฒนาเกษตร 4.0 ให้คนไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง
ศุภชัย หนุนรัฐบาลยกระดับประเทศ แนะพัฒนาเกษตรกรสู่ยุค 4.0 สมาร์ทฟาร์มเมอร์ ช่วยไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง
อ่านแล้ว: 5951
เศรษฐกิจไทยโต4.3%สูงสุดในรอบ18ไตรมาส
สศช.เผยเศรษฐกิจไทยไตรมาส3ปี60เติบโต 4.3% สูงสุดในรอบ 18 ไตรมาส หลังส่งออก-การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว
อ่านแล้ว: 5643
ดัชนีรายได้เกษตร 3 ไตรมาส
รายงานดัชนีรายได้เกษตรกร 3 ไตรมาส ปี 2560 (ม.ค.-ก.ย.) อยู่ที่ระดับ 155.34 เพิ่มขึ้น 8.88% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
อ่านแล้ว: 4960
หมวด เศรษฐกิจเกษตร ทั้งหมด >>