data-ad-format="autorelaxed">
1.พันธุ์ มะเขือพวงที่ปลูกกันอยู่ส่วนมากเป็นพันธุ์พื้นเมืองซึ่งปลูกกันมานาน
2. การเตรียมดิน ไถ หรือขุดดินตากไว้ประมาณ 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก เก็บวัชพืช พรวนดิน ยกร่องเป็นแปลงๆ หรือชักร่องสำหรับปล่อยน้ำไปตามร่องรอการปลูก
3. การเพาะกล้า ขุด ดินตากแดดประมาณ 10 วัน ย่อยดิน ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักลงแปลง หว่านเมล็ดพันธุ์ โรยทับด้วยฟางข้าว รดน้ำให้ชุ่ม เช้า-เย็น จนกว่าเมล็ดพันธุ์งอก หรือเพาะในกะบะเพาะ เมื่อกล้ามีใบจริงประมาณ 3-4 ใบ ก็นำไปปลูกได้จะทำให้ต้นกล้าตั้งตัวได้ดีกว่าการเพาะในแปลงเพาะ
4. การปลูก เมื่อ ต้นกล้าอายุได้ประมาณ 30 วัน สูงประมาณ 15 เซนติเมตร ใช้ระยะปลูกระหว่างต้นประมาณ 2-3 เมตร ระหว่างแถวประมาณ 3-4 เมตร ขุดหลุมใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก กลบโคนให้แน่น คลุมด้วยฟางข้าว รดน้ำให้ชุ่ม ส่วนปลูกในร่องปล่อยน้ำ ก็ขุดหลุมนำกล้าลงปลูกได้เลย จะรักษาความชื้นได้ดีกว่าการปลูกแบบร่อง แต่ควรดูแลอย่าให้น้ำขัง หรือท่วม
5. การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างพอเพียง และสม่ำเสมอโดยระยะแรกของการเจริญเติบโต แต่อย่าให้มากเกินไปจนแฉะ
6. การใส่ปุ๋ย ควร ใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกรองพื้น และครั้งที่ 2 เมื่อมะเขือพวงอายุได้ 30 วัน โดยโรยรอบโคนต้น และพรวนดินกลบ
7. การกำจัดวัชพืช ควรกำจัดวัชพืชอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้แย่งน้ำแย่งอาหาร และเป็นที่อยู่ของแมลงศัตรูมะเขือพวงด้วย
8. การเก็บเกี่ยว เมื่อ ผลมะเขือพวงโตเต็มที่ไม่อ่อน และแก่จนเกินไป ก็ทะยอยเก็บไปเรื่อยๆ และเก็บได้เป็นเวลานาน ส่วนมากมะเขือพวงจะมีราคาดีในฤดูแล้ง (เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน) ของทุกปี
9. โรค โรค ของมะเขือพวง เช่น โรคเหี่ยวตาย โรคใบไหม้ โรคราน้ำค้าง โรคราสนิม ป้องกันกำจัดด้วยการพ่นสารป้องกันโรคพืช เช่น เมทาแลคซิล คาร์เบนดาซิม เมนโคเชป ตัวใดตัวหนึ่งตามอาการของโรค
10. แมลงศัตรู มะเขือพวง ได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาว หนอนเจาะผล หนอนกระทู้ผัก ป้องกันกำจัดเหมือนกับมะเขือเปราะ มะเขือยาว ถั่วแขก และถั่วฝักยาว
ข้อมูจาก กรมวิชาการเกษตร