data-ad-format="autorelaxed">
เตือนการเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนทางภาคใต้ของประเทศไทยที่อยู่ในระยะการพัฒนาของผล ระวังการระบาดของหนอนเจาะผลทุเรียน ผลทุเรียนที่ถูกหนอนทำลายจะเน่าและร่วง เนื่องจากมีเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงทุเรียนอย่างสม่ำเสมอ
ชื่อวิทยำศำสตร์ Conogethes punctiferalis Guenee
วงศ์ Pyralidae
อันดับ Lepidoptera
รูปร่ำงลักษณะ
ผีเสื้อตัวเต็มวัยของหนอนเจาะผลทุเรียนมีขนาดเมื่อกางปีกกว้างประมาณ ๒.๓ เซนติเมตร ปีกทั้งสองคู่มีสีเหลืองและมีจุดสีด ากระจายอยู่ทั่วปีก วางไข่ไว้ภายนอกผลทุเรียนบริเวณที่ผลอยู่ติดกัน ระยะไข่ ๔ วัน หนอนมีสีขาว หัวสีน้ าตาล จะแทะกินผิวเปลือกทุเรียนก่อน เมื่อโตขึ้นจะเจาะกินเข้าไป ในผล ตัวหนอนมีลักษณะสีน้ าตาลอ่อนและมีจุดสีน้ าตาลเข้มประอยู่บริเวณหลังตลอดล าตัวและมีหัว สีน้ าตาลเข้ม หนอนเจริญเต็มที่มีขนาดยาวประมาณ ๑.๕ - ๑.๘ เซนติเมตร และจะเข้าดักแด้อยู่ระหว่าง หนามของผลทุเรียนโดยมีใยและมูลของหนอนหุ้มตัว เมื่อเลี้ยงด้วยผลละหุ่ง พบว่า ระยะหนอนกินเวลา ๑๒ - ๑๓ วัน ระยะดักแด้๗ - ๙ วัน ผีเสื้อตัวเต็มวัยเพศผู้มีชีวิตอยู่ได้๑๐ - ๑๘ วัน และเพศเมีย ๑๔ - ๑๘ วัน
แมลงชนิดนี้พบทั่วไปตลอดทั้งปีเนื่องจากมีพืชอาศัยกว้าง จะพบแมลงชนิดนี้เข้าท าลายใน ระยะที่ทุเรียนติดผลถึงระยะเก็บเกี่ยว
ลักษณะการทำลำย
หนอนเจาะผลจะเข้าทำลายทุเรียนตั้งแต่ผลยังเล็ก อายุประมาณ ๒ เดือน ไปจนถึงผลใหญ่ทำให้ผลเน่าและร่วง เนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ ผลที่มีรอยแมลงทำลายทำให้ขายไม่ได้ราคาถ้าหากหนอนเจาะกินเข้าไปจนถึงเนื้อจะทำให้บริเวณดังกล่าวเน่าเมื่อผลสุก ภายนอกผลทุเรียนจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้อย่างชัดเจน และจะมีน้ าไหลเยิ้มเมื่อทุเรียนใกล้แก่ หนอนจะเข้าทำลายผลทุเรียนที่อยู่ติดกันมากกว่าผลที่อยู่เดี่ยว ๆ เพราะหนอนที่เพิ่มฟักออกจากไข่ชอบอาศัยที่รอยสัมผัสนี้
กรมส่งเสริมกำรเกษตรแนะนำวิธีกำรป้องกันและกำจัด ดังนี้
๑. หมั่นตรวจดูตามผลทุเรียนเมื่อพบรอยท าลายของหนอนให้ใช้ไม้หรือลวดแข็งเขี่ยตัวหนอนออกมาท าลายทิ้ง
๒. ผลทุเรียนที่เน่าและร่วงเพราะถูกหนอนท าลายควรเก็บท าลายโดยเผาไฟหรือฝัง
๓. ตัดแต่งผลทุเรียนที่มีจ านวนมากเกินไป โดยเฉพาะผลที่อยู่ติดกันควรใช้กาบมะพร้าวหรือกิ่งไม้กั้นระหว่างผล เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยวางไข่หรือตัวหนอนเข้าหลบอาศัย
๔. ห่อผลด้วยถุงพลาสติกสีขาวขุ่นเจาะรูที่บริเวณขอบล่างเพื่อให้หยดน้ าระบายออก โดยเริ่มห่อผลตั้งแต่ผลทุเรียนมีอายุ ๖ สัปดาห์เป็นต้นไป จะช่วยลดความเสียหายได้
๕ ใช้สารเคมีตามแนะน า เช่น
- แลมบ์ดาไซฮาโลทริน (คาราเต้ ๕% อีซี) อัตรา ๒๐ มิลลิลิตร ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร
- คลอร์ไพรีฟอส (ลอร์สแบน ๔๐% อีซี) อัตรา ๒๐ มิลลิลิตร ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร
- คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์ ๒๐% อีซี) อัตรา ๕๐ มิลลิลิตร ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร
ข้อมูลจาก doae.go.th