data-ad-format="autorelaxed">
ขอบคุณเพื่อนสมาชิกผู้ติดตาม ที่ใช้แอพ เกษตรโพส ถ่ายรูปและส่งคำถามเข้ามา เกี่ยวกับโรคใบจุดสีน้ำตาล ที่เกิดในข้าวครับ
ข้อความที่ได้รับ
คำถาม
----------------------------
เกษตรของฉันวันนี้: ขอทราบวิธี จัดการและควบคุมครับ
ติดต่อฉันได้ที่: 0863438300
เวลา 2559/03/03 18:54:53
ใบเป็นรอยครับ
เมล็ดก็มีร่องรอยของโรคครับ
-----------------------------
คำตอบ
โรคใบจุดสีน้ำตาล (Brown Spot Disease)
พบมาก ทั้ง นาน้ำฝน และ นาชลประทาน ใน ภาคกลาง ภาคเหนือ
ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้
สาเหตุของโรคใบจุดสีน้ำตาล
เชื้อรา Bipolaris oryzae (Helminthosporium oryzae Breda de Haan.)
อาการของโรคใบจุดสีน้ำตาล
แผลที่ใบข้าว พบมากในระยะแตกกอมีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล รูปกลมหรือรูปไข่ ขอบนอกสุดของแผลมีสีเหลือง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 มิลลิเมตร แผลที่มีการพัฒนาเต็มที่ขนาดประมาณ 1-2 x 4-10 มิลลิเมตร บางครั้งพบแผลไม่เป็นวงกลมหรือรูปไข่ แต่จะเป็นรอยเปื้อนคล้ายสนิมกระจัดกระจายทั่วไปบนใบข้าว แผลยังสามารถเกิดบนเมล็ดข้าวเปลือก(โรคเมล็ดด่าง) บางแผลมีขนาดเล็ก บางแผลอาจใหญ่คลุมเมล็ดข้าวเปลือก ทำให้เมล็ดข้าวเปลือกสกปรก เสื่อมคุณภาพ เมื่อนำไปสีข้าวสารจะหักง่าย
การแพร่ระบาดของโรคใบจุดสีน้ำตาล
เกิดจากสปอร์ของเชื้อราปลิวไปตามลม และติดไปกับเมล็ด
การป้องกันกำจัดโรคใบจุดสีน้ำตาล
- ใช้พันธุ์ต้านทานที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ และโดยเฉพาะพันธุ์ที่มีคุณสมบัติต้านทานโรคใบสีส้ม เช่น ภาคกลางใช้พันธุ์ปทุมธานี 1 ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้พันธุ์เหนียวสันป่าตอง และหางยี 71
- ปรับปรุงดินโดยการไถกลบฟาง หรือเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ดินโดยการปลูกพืชปุ๋ยสด หรือปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค
- คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซบ หรือคาร์เบนดาซิม+แมนโคเซบ
อัตรา 3 กรัม / เมล็ด 1 กิโลกรัม
- ใส่ปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) อัตรา 5-10 กิโลกรัม / ไร่ ช่วยลดความรุนแรงของโรค
- กำจัดวัชพืชในนา ดูแลแปลงให้สะอาด และใส่ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสม
อ้างอิง โรคใบจุดสีน้ำตาล จาก brrd.in.th
ผลิตภัณท์แนะนำ สำหรับป้องกันและกำจัดโรคใบจุดสีน้ำตาล
สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อราในนาข้าว สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติทั้งหมด ผ่านการวิจัยพัฒนา เพื่อคัดเลือกวัตถุดับที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุม และยับยั้งเชื้อรา ด้วยเทคโนโลยี โดยควบคุมสภาพแวดล้อมที่ผิวใบข้าว ทำให้เกิดภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการขยายพันธุ์ของเชื้อรา อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดผิวใบข้าวได้ดียิ่งขึ้น ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้ใช้และผู้บริโภค..