data-ad-format="autorelaxed">
ลักษณะทางธรรมชาติของทับทิม
* เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปี ทรงพุ่มสูงใหญ่ขนาดกลาง กิ่งเล็กโปร่งระเกะระกะ ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายโปร่ง มีอินทรีย์วัตถุมากๆ น้ำและอากาศผ่านสะดวก ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังนานหรือชื้นแฉะ และต้องการแสงแดดร้อยเปอร์เซ็นต์
* ช่วงพักต้นต้องการน้ำน้อย แต่ช่วงพัฒนาดอกและผลต้องการน้ำสม่ำเสมอ
* การเจริญเติบโตของต้นโดยการแตกกิ่งหรือหน่อเรียกว่า ลำ จากส่วนโคนต้นใกล้ผิวดิน ลำนี้เมื่อโตขึ้นจะเป็นส่วนหนึ่งของต้น ซึ่งจะแตกกิ่งแขนงและกิ่งย่อยสำหรับออกดอกติดผลต่อไป
* ต้นที่ปลูกจากเพาะเมล็ดให้ผลผลิตได้เมื่ออายุต้น 2-3 ปี แต่ต้นที่ปลูกจากกิ่งตอนหรือกิ่งทาบจะให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 1 ปีครึ่ง - 2 ปี
* ต้นที่อายุมากๆทรงพุ่มขนาดใหญ่จะให้ผลไม่ดกและคุณภาพไม่ดี ใน 1 ต้น (กอ) ควรมีลำ 3-5 ลำแล้วตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่งจะให้ผลดกและคุณภาพดีกว่า
* ออกดอกติดผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่น การจัดแปลงปลูกแบบแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆแล้วปฏิบัติบำรุงให้ได้ผลผลิตคุณภาพเกรด เอ. ขนาดจัมโบ้. ได้ผลผลิตในช่วงที่ตลาดมีความต้องการสูง สามารถทำได้ไม่ยากนัก
* ออกดอกจากซอกใบของปลายกิ่งแขนงที่เกิดใหม่ในปีนั้น ดอกตัวผู้ (เกสรตัวผู้) กับดอกกระเทย (เกสรตัวผู้เกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน) แยกกันคนละดอกแต่อยู่ในต้นเดียวกัน เกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียในดอกกระเทยผสมกันได้แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีโอกาสได้ผสมกันเองเพราะเกสรตัวผู้ซึ่งเกิดก่อนและพร้อมผสมก่อนเกสรตัวเมียฝ่อหรือบอดก่อน เกสรตัวเมียจึงต้องอาศัยละองเกสรตัวจากดอกอื่นทั้งจากต้นเดียวกันและต่างต้น.... ถ้านำเมล็ดของผลที่เกิดจากเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียในดอกเดียวไปเพาะโอกาสกลายพันธุ์จะมีน้อย แต่ไม่หมายความว่าไม่กลายพันธุ์ทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ นั่นคือ ยังมีโอกาสกลายพันธุ์อยู่เหมือนกัน
* เป็นพืชที่มีระบบรากตื้นหากินบริเวรผิวหน้าดิน กรณีนี้ให้พูนดินโคนต้นสูงๆแผ่กว้างทั่วพื้นที่ทรงพุ่มปีละครั้ง และแก้ไขด้วยการเสริมราก หรือปลูกโดยเพาะเมล็ด เสริมรากแล้วเปลี่ยนยอด
* ชอบสภาพแวดล้อมลักจืดลักเค็ม แปลงปลูกที่อยู่ใกล้ทะเล มีลมทะเลพัดผ่านเสมอจะให้ผลผลิตดีกว่าแปลงปลูกในพื้นที่ห่างทะเล แต่ต้นที่ปลูกในแปลงใกล้ทะเลจะมีระบบรากน้อยกว่าแปลงปลูกในพื้นที่ห่างทะเล
* ใช้ใบชาที่ชงจนน้ำจืดแล้วผสมอินทรีย์วัตถุหรือใส่โคนต้นจะช่วยให้คุณภาพผลผลิตดีขึ้น
* ออกดอกติดผลได้ตลอดปีโดยทยอยออกแบบไม่มีรุ่น
* เป็นดอกสมบูรณ์เพศผสมกันเองในดอกเดียวกันต้นเดียวกันหรือต่างดอกในต้นเดียวกันหรือจากต่างต้นได้
* เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหารหรือฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) ผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว
* อายุผลตั้งแต่ผสมติดถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 4-5 เดือน
* ไม่ควรห่อผลด้วยกระดาษหยาบเพราะจะไปเสียดสีกับผิวทำให้ผิวหยาบกร้าน
* เริ่มห่อผลเมื่อขนาดเท่ามะนาว ช่วงที่ผลยังมีสีเขียวอมเหลืองครีมเล็กน้อยให้ห่อด้วยวัสดุโปร่งแสง เมื่อถึงช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวให้เปลี่ยนวัสดุห่อแบบโปร่งแสงเป็นทึบแสง และจังหวะนี้ถ้ามีการแย้มถุงห่อให้ผิวผลได้รับแสงแดดบ้าง ส่วนผิวผลบริเวณที่ได้รับแสงแดดจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดง ถ้าแดดจัดก็จะเป็นสีแดงจัดมาก (แดงเลือดนก) ส่วนผิวผลบริเวณที่ไม่ได้รับแสงแดดก็จะเป็นสีเหลืองครีมเช่นเดิม.....ทั้งนี้ ผลที่สีผิวแดงมาก (กว้างและจัด) จะมีราคาดีกว่าผลที่ผิวสีเหลืองครีมธรรมดาๆ
* ทับทิมมีกิ่งขนาดเล็กยาวเก้งก้างค่อนข้างไม่เป็นระเบียบ บางกิ่งมีผล 4-5 ผล/กิ่ง บางครั้งติดผลเป็นพวง 2-3 ผล ทำให้กิ่งต้องรับน้ำหนักมากถึงขนาดโน้มเอนราบลงพื้น แก้ไขโดยการทำคอก 4 เหลี่ยมมีค้าง 1-2 ระดับล้อมต้นไว้คอยรับกิ่ง
* เป็นผลไม้ประเภทมงคลนาม เหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสารทจีน ตรุษจีน ไหว้พระจันทร์ เชงเม้ง ทับทิมผลขนาดใหญ่ สีแดงเลือดนก สะอาดสดใส คุณภาพเนื้อในดี จะขายได้ราคาแพงมาก แม้แต่การเซ่นไหว้ในวันปกติก็ยังใช้ได้ดี นอกจากมงคลนามแล้ว อายุหลังเก็บเกี่ยวที่อยู่ได้นาน คุณค่าทางโภชนาการสูง และคุณลักษณะอื่นๆที่เด่นเฉพาะตัว ยังเสริมให้ทับทิมเป็นผลไม้ในระดับแนวหน้าได้
สายพันธุ์ของทับทิม
ทับทิมพันธุ์เมล็ดแดง :
แสงตะวัน. สายปัญญา. แดงอินเดีย. แดงมารวย. แดงเจ้าพระยา. เด่นตะวัน. อติชัย. ทับทิมใหญ่ (ทับทิมแดงหรือพิลาสี).
ทับทิมพันธุ์เมล็ดขาว :
ทั่วๆไปเรียกว่า ทับทิมขาวหรือพิลาขาว อยู่ในกลุ่มของทับทิมใหญ่ เนื้อสีขาวครีม กลิ่นและรสเหมือนทับทิมเมล็ดแดง แต่ต้นมีหนามมากกว่าทับทิมแดง
ทับทิมพันธุ์เมล็ดนิ่ม :
ทับทิมเมล็ดนิ่มที่รู้จักกันมานาน คือ สายพันธุ์จากประเทศสเปน ชื่อ อติชัย เคยมีผู้นำมาปลูกเหมือนกันย่านกลางดง ปากช่อง โคราช แต่ไม่ได้ผลเพราะทับทิมพันธุ์นี้ไม่อาจปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศร้อนอย่างประเทศไทยได้
หมายเหตุ :
ทับทิมมีทั้งพันธุ์กินผลและพันธุ์ดอก (ทับทิมกุหลาบ, ทับทิมเล็กหรือทับทิมหนู. ทับทิมซ้อน.) สำหรับเป็นไม้ประดับ......ทับทิมพันธุ์ดอกไม่ติดผลเพราะในดอกมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียไม่สมบูรณ์แข็งแรง
ปัจจุบันมีผู้นำสายพันธุ์ต่างประเทศเข้ามาปลูก บางสายพันธุ์ได้ผลผลิตดี บางสายพันธุ์ได้ผลผลิตไม่ดี ทั้งนี้ คุณลักษณะสายพันธุ์ที่ต้องการคือ เนื้อสีแดงจัด หนา เมล็ดเล็ก นิ่ม รสไม่ฝาด ถึงขนาดรับประทานได้เลย ได้แก่พันธุ์แดงอินเดีย. แดงมารวย แดงเจ้าพระยา และเด่นตะวัน. ซึ่งผู้สันทัดกรณีบางท่านกล่าวว่า เป็นสายพันธุ์เดียวกัน แต่ต่างคนต่างตั้งชื่อกันเองเพื่อหวังผลในการจำหน่ายต้นพันธุ์
การขยายพันธุ์ทับทิม
- ตอน. ทาบกิ่ง. เสียบยอด. ติดตา. ปักชำ. เพาะเมล็ดเสริมรากเปลี่ยนยอด (ดีที่สุด)
- การเพาะเมล็ด (กลายพันธุ์) เมื่อล้างเนื้อหุ้มเมล็ดหมดแล้วนำลงเพาะทันทีเพราะเมล็ดทับทิมไม่มีระยะพักตัว
ระยะปลูกทับทิม
- ระยะปกติ 4 X 6 ม. หรือ 6 X 6 ม.
- ระยะชิด 4 X 3 ม. หรือ 3 X 3 ม.
เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุสำหรับปลูกทับทิม
- ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
- ให้ยิบซั่มธรรมชาติ ปีละ 2 ครั้ง
- ให้กระดูกป่น ปีละ 1 ครั้ง
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
หมายเหตุ :
- การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่ ปลาสด เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่ การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง
เตรียมต้นทับทิม
ตัดแต่งกิ่ง :
- ทับทิมออกดอกจากซอกใบปลายกิ่งอายุข้ามปี การตัดแต่งกิ่งประจำปีหรือหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ตัดเฉพาะกิ่งที่ออกดอกติดผลเพื่อสร้างใบใหม่สำหรับให้ออกดอกติดผลในปีต่อไป ส่วนกิ่งที่ไม่ออกดอกติดผลในปีนี้ให้คงไว้แล้วบำรุงต่อไป
- ตัดกิ่งบังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดสามารถส่องได้ถึงทุกกิ่งทั่วทรงพุ่ม กิ่งได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย
- ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค และกิ่งออกดอกติดผลแล้วเพื่อเรียกยอดใหม่สำหรับออดอกติดผลในรุ่นปีต่อไป การตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
- ตัดแต่งกิ่งปกติควรตัดให้เหลือใบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์และเมื่อใบอ่อนชุดใหม่ออกมาแล้วให้มีใบประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะช่วยให้การผลิดอกติดผลดี
- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึง แสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
- นิสัยทับทิมมักออกดอกหลังจากกระทบหนาวได้ระยะหนึ่ง ดังนั้นจึงควรตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น หมายความว่า หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วยังไม่ต้องตัดแต่งกิ่งแต่ให้บำรุงตามปกติต่อไปก่อน จนกระทั่งเข้าสู่หน้าฝนจึงลงมือตัดแต่งกิ่ง
ตัดแต่งราก :
- ทับทิมมีระบบรากตื้น และจำนวนน้อยจึงไม่ควรตัดแต่งราก แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นให้ใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้น
- ต้นอายุหลายปี ขนาดทรงพุ่มใหญ่มาก ระบบรากเก่าและแก่มาก ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อทับทิม
1.เรียกใบอ่อน
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 46-0-0 (200 กรัม) หรือ 25-5-5 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 ซีซี. ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพlสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (½-1) กก./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำเปล่า ทุก 3-5 วัน
หมายเหตุ :
- ใบอ่อนเมื่อออกมาแล้วต้องระวังโรคและแมลงศัตรูเข้าทำลายเพราะหากใบอ่อนชุดใดชุดหนึ่งถูกทำลายเสียหายจะต้องเริ่มเรียกชุดที่ 1 ใหม่ ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและกำหนดระยะการออกดอกติดผลต้องเลื่อนออกไปอีกด้วย
- เรียกใบอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 25-7-7 จะช่วยให้ได้ใบที่มีขนาดใหญ่ มีพื้นที่หน้าใบสังเคราะห์อาหารมาก และคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ
- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก....แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้
- ทับทิมต้องการใบอ่อน 2 ชุด ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเริ่มๆเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุดที่ 2 ต่อได้เลย ใบชุดที่ 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุดที่ 2 เริ่มเพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ
2.เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 0-21-74 (200 กรัม) หรือ 0-39-39 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- ลงมือบำรุงเมื่อใบอ่อนชุดแรกอกมาเริ่มแผ่กาง
- วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด
- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ (ฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม.) ช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย
3.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน ติดต่อกัน 2-3 รอบแล้วให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. สลับ 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ ติดต่อกัน 1-2 เดือน จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 5 ม./เดือน
- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือน ในห้วง 2 เดือนนี้ให้กลูโคสผงหรือนมสัตว์สด 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน
- ปริมาณ 8-24-24 หรือ 9-26-26 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น จากเคยให้ 15 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง
- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง
4.ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
ทางราก
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- งดน้ำเด็ดขาด
หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และลดปริมาณ เอ็น. (อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกหลังการเปิดตาดอก
- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีก แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน
- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช จะต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่าระหว่างปรับ ซี/เอ็น เรโช จะไม่มีฝนตก เพราะถ้ามีฝนตกลงมา มาตรการงดน้ำก็ต้องล้มเหลว
- ขั้นตอนการปรับอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช. จะสมบูรณ์ดีหรือไม่ให้สังเกตจากต้น ถ้าต้นเกิดอาการใบสลดแสดงว่าในต้นมีปริมาณ ซี.มากส่วนปริมาณ เอ็น.เริ่มลดลง และสังเกตความพร้อมของต้นก่อนเปิดตาดอกจากลักษณะใบใหญ่หนาเขียวเข้ม กิ่งช่วงปลายและใบกรอบเปราะ ข้อใบสั้น หูใบอวบอ้วน ตาดอกโชว์เห็นชัด
- การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น
- เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย
- กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานมากกว่าจึงจะทำให้ใบสลดได้ อาจส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน ดังนี้จึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช โดยกะคะเนให้ดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตกระแหงและมีความชื้นไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ตรงกับช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช พอดี
5.เปิดตาดอก
ทางใบ :
สูตร 1 ....ให้น้ำ 100 ล.+ สาหร่ายทะเล 100 ซีซี.+ ฮอร์โมน
ไข่ 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
สูตร 2 ....ให้น้ำ 100 ล.+ 13-0-46 (500 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งหรือใช้ทั้ง 2 สูตรแบบสลับครั้งกัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เลือกใช้ให้ทางใบด้วยสูตรใดสูตรหนึ่งหรือใช้ทั้งสองสูตรแบบสลับครั้งกันก็ได้
- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
6. บำรุงดอก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 10-45-10 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียก ระวังอย่าให้โชกจนลงถึงพื้น
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมนเอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน
- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ
- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก.....มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก
- เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ทำเองจะได้ผลกว่า
- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้
- การไม่ใช้สารเคมีเลยติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะมีผึ้งหรือแมลงธรรมชาติอื่นๆเข้ามาช่วยผสมเกสรจะส่งผลให้ติดผลดกขึ้น
7. บำรุงผลเล็ก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม
- ให้ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำเปล่าปกติทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังผสมติดหรือกลีบดอกร่วง
8. บำรุงผลกลาง
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ ไคโตซาน 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ใส่น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (1-2 กก.)/ต้น/เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือบำรุงระยะผลขนาดกลางเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล การที่จะรู้ว่าผลเริ่มเข้าไคลแล้วหรือยังจะต้องใช้วิธีสุ่มเก็บผลมาผ่าดูเมล็ดภายใน
- ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก
9.ระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
ทางใบ :
- ในรอบ 7 วันให้น้ำ 100 ล. + 0-21-74 (200 กรัม) หรือ 0-0-50 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สาร
สกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น ทำร่องระบายน้ำป้องน้ำขังค้างโคนต้น
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)
/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- งดให้น้ำเด็ดขาด
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยวตามปกติ 10-20 วันและให้ปฏิบัติต่อไปจนกว่าจะหมดฝน
- หลังจากหมดฝนแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเดิมและวิธีเดิมต่อไปอีก 2-3 รอบ จากนั้นให้สุ่มเก็บลงมาผ่าพิสูจน์ภายในก็จะรู้ว่าสมควรลงมือเก็บเกี่ยวได้แล้วหรือต้องบำรุงต่อไปอีก
- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 13-13-21 จะทำให้ต้นโทรม หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายไปจากต้นแล้วต้องเร่งบำรุงเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที
- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย หรือถ้าต้นสมบูรณ์พร้อมก็ลงมือ “เปิดตาดอก” ต่อได้เลย ซึ่งการบำรุงแบบต่อเนื่องนี้จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อต้นมีความสมบูรณ์แข็งแรงอย่างแท้จริง โดยเฉพาะต้นสาวที่ให้ผลผลิตน้อยทั้งๆที่บำรุงที่จะสามารถทำได้ง่าย
บำรุงทับทิมให้ออกดอกติดผลตลอดปี
ทับทิมออกดอกติดผลได้แบบไม่มีรุ่น หลังจากต้นได้อายุเริ่มให้ผลผลิตแล้วใช้วิธีบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องติดต่อกันหลายๆปี และหมั่นตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งเสมอ ทับทิมก็จะมี ดอก + ผลหลายรุ่น ในต้นเดียวกัน จากนั้นให้ปฏิบัติบำรุง ดังนี้.....
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 200 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 3-5 วัน
ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (2 รอบ) สลับกับ 21-7-14 (1 รอบ) ห่างกันรอบละ 20-30 วัน อัตรา 1 กก./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- ให้แคลเซียม โบรอน. และฮอร์โมนน้ำดำ. 1-2 เดือน/ครั้ง
- ให้ทางดินด้วยฮอร์โมนบำรุงราก. น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง และจุลินทรีย์หน่อกล้วย 2-3 เดือน/ครั้ง
- ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/วัวนม + มูลไก่ไข่/ไก่เนื้อ + มูลค้างคาว) + ยิบซั่มธรรมชาติ 6 เดือน/ครั้ง
- ใส่กระดูกป่นปีละ 1 ครั้ง
- สวนยกร่องน้ำหล่อให้ลอกเลนก้นร่องขึ้นพูนโคนต้นปีละ 1 ครั้ง
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง
อ้างอิง
paiboonrayong.com
siam-herbs.com