data-ad-format="autorelaxed">
โรครากเน่า หัวเน่า ในมันสำปะหลัง
พบในแหล่งที่ดินระบายน้ำไม่ดี หรือสภาพดินดานและฝนตกชุกเกินไป เป็นสาเหตุ ที่จะก่อให้เกิดโรครากเน่า หัวเน่า ในมันสำปะหลังได้ง่าย
เส้นใยของเชื้อรา ก่อตัวเป็นดอกเห็ดขึ้นที่โคนต้นมันสำปะหลัง
อาการของรากเน่าแห้ง มีเส้นใยของเชื้อรา
โรคหัวเน่าเละ เกิดจากเชื้อรา ต้นเหี่ยวเฉา ใบล่าง ๆ มีสีเหลือง และเหี่ยวแห้งหลุดร่วงลงมา ส่วนใบยอดมีขนาดเล็ก ต้นแคระแกรน ไม่เจริญเติบโต เมื่อขุดรากดูพบรากเน่าเละสีน้ำตาล มีกลิ่นเหม็น
โรคหัวเน่าแห้ง เกิดจากเชื้อเห็ดรา ที่หัวมันสำปะหลังจะมีเส้นใยของเชื้อราปกคลุม อาจพบบริเวณโคนต้นด้วย เนื้อในหัวจะเน่าแห้งและเส้นใยของเชื้อราจะก่อตัวเป็นดอกเห็ดสีต่าง ๆ ได้ เช่น สีขาว สีเหลือง หรือส้ม นอกจากนี้โคนต้นจะบวม เนื่องจากมีการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไปและอาจเกิดรากใหม่ตรงบริเวณเนื้อเยื่อที่บวม ทำให้เกิดหัวมันสำปะหลังใหม่ขึ้นมา แต่มีขนาดเล็ก
โรคหัวเน่าดำ เกิดจากเชื้อรา จะมีลักษณะหัวเน่าสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม เนื่องจากเป็นสีที่เกิดจากเส้นใยของเชื้อรา หรือส่วนขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของเชื้อรา
โรคเน่าคอดิน เกิดจากเชื้อรา มักพบอาการในต้นกล้า ลักษณะต้นมันสำปะหลังจะเหี่ยวเฉาตายและมีเม็ดผักกาดพร้อมกับเส้นใยสีขาวปกคลุมส่วนของโคนต้นที่ติดอยู่กับผิวดิน
การป้องกันกำจัด โรครากเน่าหัวเน่า ใน มันสำปะหลัง
- การเตรียมแปลงปลูก ควรไถระเบิดดินดานให้มีการระบายน้ำที่ดี
- การไถตากดินเป็นเวลานาน ๆ จะช่วยลดประชากรของเชื้อราในดินได้
- กำจัดเศษซากมันสำปะหลังเก่า ๆ จากแปลงเพาะปลูกให้หมด
- คัดเลือกท่อนพันธุ์สมบูรณ์และปราศจากโรค
- ในพื้นที่ที่มีโรคระบาดรุนแรง ปลูกพืชหมุนเวียนอย่างน้อย 6 – 12 เดือน
อ้างอิง http://at.doa.go.th