ปัญหาหนักอกหนักใจของชาวเกษตร..คงหนีไม่พ้นเรื่องการทำแล้วขาดทุน..ทำอย่างไรให้มีกำไรหรืออย่างน้อยก็ไม่ขาดทุนก็ยังดีในสภาวะที่เราเองกำหนดราคาพืชที่เราปลูกไม่ได้.. คงมีทางที่ง่ายคือ..ทำให้ต้นทุนต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้..แล้วจะทำอย่างไรที่ว่าให้ต้นทุนต่ำๆ
พูดนะง่ายนะแต่พอทำจริงๆ ..ต้นทุนมันก็สูงขึ้น..สูงขึ้นมาโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ..ถ้าไม่ทำก็กลัวไม่ได้ผลผลิต..ยกตัวอย่างที่ไม่ได้ตั้งใจ...หญ้าขึ้นรกงามกว่าพืชที่ปลูก..ตอนแรกก็ว่าจะทำพืชอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมีเลย..ไม่ได้เข้าโครงการอะไรหรอกแต่มันคือความตั้งใจ..สุดท้ายสู้หญ้าไม่ไหวมันท้าทายเหลือเกิน..ต้องฉีดยาฆ่าหญ้า..ของดเกษตรอินทรีย์และความปลอดภัยไว้ก่อนละกัน เอาไว้ทำปีหน้าละกัน.. ต้นทุนที่เพิ่มเข้ามาคือ..ค่ายาฆ่าหญ้า..และแรงงานฉีดยาฆ่าหญ้าซึ่งจะแพงกว่าการฉีดปุ๋ยใส่ปุ๋ยปกติ
หรือแม้กระทั่ง..เรืองการใส่ปุ๋ย..ใส่แล้วใส่อีก..สารพัดอย่างที่เขาว่าดีสรรหามาใช้หมด..ต้นทุนค่าปุ๋ยเพิ่มขึ้นโดยที่ไม่จำเป็น.
หนักกว่านั้นปริมเคยเจอ..ลูกค้าซื้อเครืองมือมาผิดรุ่น..ยิ่งเป็นในรูปแบบขององค์กร..ปัญหานี้เกิดขึ้นได้บ่อยมาก..เช่นซื้อผาลมาผิดวัตถุประสงค์ของการใช้งาน..อย่างผาล3 ก็มีหลายรูปแบบหากพื้นที่ปลูกเป็นดินที่บุกเบิกใหม่..ดินยังแข็งอยู่มากมีปัญหาเรืองตอไม้เศษซากไม้ต่างๆ อยู่ในแปลงมาก..ดังนั้นผาล3ที่จะซื้อและนำมาใช้ต้องเป็นผาล3 ทรงสูงรุ่นบุกเบิกเท่านั้น..อันนี้ แค่ยกตัวอย่าง..ค่ะ
ดังนั้นแล้ว..จะดีกว่าใหมก่อนจะปลูกหรือจะทำอะไร..วางแผนและวาดภาพการจัดการแปลงของตัวเองก่อน ถ้าเคยมีปัญหาเรืองหญ้า..คิดก่อนจะใช้ยาฆ่าหญ้าใหม..กระทบพืชที่ปลูกอย่างไร..ถ้าไม่อยากใช้ก่อนปลูกต้องให้ความสำคัญกับการไถดิน เตรียมดิน และเก็บหัวหญ้าที่ตายยากออกไปทิ้งนอกแปลง..หรืออาจต้องใช้ยาคุมเมล็ดหญ้าก่อนปลูกพืชซึ่งเสี่ยงน้อยกว่ายาฆ่าหญ้า
ถ้ามีปัญหาการเลือกใช้ปุ๋ยสารพัดอย่างแต่ผลผลิตยังได้น้อย..ตรวจดินก่อนปลูกพืชดีใหมหรือ
หากเป็นไม้ยืนต้นก็ตรวจดินก่อนใส่ปุ๋ยหรือช่วงพักต้นในแต่ละปี..ตอบโจทย์การใส่ปุ๋ยได้แน่นอน..ปัญหาเรืองเครื่องจักรเครืองมือ..คำนวณดูก่อนจะซื้อหรือจะเช่า..อันไหนคุ้มกว่ากัน..
และทั้งหมดที่กล่าวมา..มันคือแผนงบประมาณ..ว่าต้องใช้เงินไปกับการลงทุนการซื้ออะไรบ้าง..การทำแผนงบประมาณหรือแผนด้านการเงิน..ไม่ใช่แค่ปลูกพืชในรูปแบบบริษัทเท่านั้นนะคะที่ต้องทำ
..เกษตรกรตัวเล็กๆอย่างเรา...นี่ยิ่งต้องทำเลย..เพราะบางครั้งเกษตรกรไม่รู้เลยว่า..เราลงทุนไปมากแค่ไหน... ทำแล้วคุ้มหรือเปล่า..หรือพอใจแค่ว่า..ตอนสื้นปีมาขายผลผลิตได้เงินมาก้อนหนึ่ง..ก็เพียงพอแล้ว
การจัดทำแผนงบประมาณพูดให้เล็กๆ มันก็คล้ายการทำรายรับรายจ่ายในครัวเรือนนั่นละค่ะ..เพียงแต่งบประมาณด้านการเกษตร เป็นการคิดก้อนเงินที่เราจะลงทุนไปสำหรับการปลูกพืชนั้นๆ ของเรา..นั่นเองค่ะ
เขียนโดยปริม-ฟาร์มเกษตร
สนับสนุนโดย
iLab ตรวจดิน วิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน www.iLab.Asia
ปุ๋ยตรา FK จากฟาร์มเกษตร ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ Law of the minimum