ภาคเหนือ
มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 19-21 ก.ค. ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกันส่วนมากทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้น
- พื้นที่การเกษตรที่มีฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอ เกษตรกรสามารถลงมือปลูกพืชได้ แต่ไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้การไหลเวียนของอากาศภายในแปลงปลูกพืชมีน้อย เกิดความชื้นสะสม เหมาะแก่การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่ หากสุกดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยไว้ เพราะระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น อาจสร้างความเสียหายต่อผลไม้ได้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 18-21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 22-23 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น เกษตรกรที่ตกกล้าในระยะนี้ไม่ควรตกกล้าแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้มีความชื้นสะสมในแปลงปลูกเป็นสาเหตุของโรคที่เกิดจากเชื้อรา
- สำหรับพืชไร่ที่ปลูกไปแล้วในช่วงต้นฤดูฝนที่ผ่านมาอาจมีวัชพืชเจริญเติบโตขึ้นมาปกคลุม เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชภายในแปลงปลูก เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและอาหารจากพืชที่ปลูก และไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช
- ในช่วงฤดูฝนแมลงและศัตรูสัตว์ต่างๆจะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูสัตว์ดังกล่าวมารบกวนสัตว์เลี้ยง ซึ่งศัตรูสัตว์บางชนิดอาจเป็นพาหะนำโรคมาสู่สัตว์เลี้ยงได้
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 18-20 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตะวันตกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 21-23 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- ในช่วงฤดูฝน เกษตรกรควรหมั่นสังเกตุบริเวณโรงเรือน เพราะอาจมีสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ และแมงป่อง เป็นต้น หนีฝนเข้ามาอาศัยหลบซ่อนในบริเวณโรงเรือนและอาจทำร้ายสัตว์เลี้ยงได้ หากพบควรรีบจัดการให้ออกไปจากโรงเรือนโดยเร็ว
- เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก สร้างความเสียหายให้กับพืชที่ปลูกได้
- ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 19-21 ก.ค. ส่วนมากทางบริเวณตามชายฝั่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส
- เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงเพาะปลูก
- สำหรับสวนผลไม้ เกษตรกรควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
- อนึ่ง ในระยะนี้บริเวณอ่าวไทยตอนบนคลื่นลมจะมีกำลังแรงขึ้น ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 18-21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 22-23 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
- ระยะนี้เป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางด้านภาคใต้ฝั่งตะวันออก ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
- ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะเจาะและกัดกินผลทำให้ผลเสียหาย ผลผลิตด้อยคุณภาพ
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
ในช่วงวันที่ 18-21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 22-23 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส
- ระยะนี้เป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางด้านภาคใต้ฝั่งตะวันออก ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
- ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ความชื้นในอากาศสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพูในยางพารา โรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น
- อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง
ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา