ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ผักและการปลูกผัก | อ่านแล้ว 21538 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การปลูกถั่วฝักยาว : เทคนิคการปลูกถั่วฝักยาวปลอดสารพิษ

การปลูกถั่วฝักยาว - ปลูกถั่วฝักยาว สลับกับแตงกวา ปีละสองครั้งหลังจากเกี่ยวข้าวนาปีเสร็จ สามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี

data-ad-format="autorelaxed">

การปลูกถั่วฝักยาว

การปลูกถั่วฝักยาว

คุณพัฒนา วงคำ เกษตรกรวัย 42 ปี แห่งจังหวัดร้อยเอ็ด   และสามี


คุณพัฒนาจะปลูกถั่วฝักยาวสลับกับแตงกวาปีละสองครั้งหลังจากเกี่ยวข้าวนาปีเสร็จ ซึ่งการปลูกแบบนี้สามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ผลผลิตที่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร เป็นแหล่งผลิตพืชปลอดภัย (GAP) การผลิตพืชตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม โครงการความปลอดภัยอาหาร (Food Safety) ด้านพืช ชนิดพืช ถั่วฝักยาว ปี 2550

เทคนิคการปลูกถั่วฝักยาวปลอดสาร มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

ก่อนอื่นเราต้องทำความรู้จักและรู้จักถั่วฟักยาวกันก่อน

ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ลักษณะดินที่มีความเหมาะสมในการปลูก คือดินร่วนทราย หรือดินร่วนปนทราย



ไถพรวนความลึกประมาณ 6-8 นิ้ว ตากดินทิ้งไว้ 7 วัน เพื่อทำลายไข่แมลง และศัตรูพืชบางชนิดในดิน

การเตรียมดินสำหรับ การปลูกถั่วฝักยาวปลอดสารพิษ

ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่มีระบบรากละเอียดต่อการเตรียมดินที่ดีจะช่วยให้การเจริญเติบโตสมบูรณ์และสม่ำเสมอ ขั้นตอนแรกให้ไถพรวนความลึกประมาณ 6-8 นิ้ว ตากดินทิ้งไว้ 7 วัน เพื่อทำลายไข่แมลง และศัตรูพืชบางชนิดในดิน เก็บเศษวัชพืชออกจากแปลงให้หมด จากนั้นจึงไถคราด ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น
การยกร่องสำหรับถั่วฝักยาวนั้น ปกติจะยกร่องกว้างประมาณ 1เมตร (ความยาวดูตามความเหมาะสมกับสภาพแปลง) และเตรียมร่องระหว่างแปลงสำหรับเข้าไปปฏิบัติงาน กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร

 

การเตรียมเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก / การปลูกถั่วฝักยาว

การปลูกถั่วฝักยาวในเนื้อที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ 3-4 กิโลกรัม

นำเมล็ดพันธุ์ไปทดสอบความงอก คัดเมล็ดที่มีตำหนิออก และควรคลุกเมล็ดด้วยไตรโคเดอร์มาเชื้อสด เพื่อป้องกันเชื้อรา และโรครากเน่าโคนเน่า ใช้จอบขุดหลุมให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 80 ซม. ระยะระหว่างหลุม 50 ซม. โดยให้หลุมลึกประมาณ 4 นิ้ว หยอดเมล็ดหลุมละ 3-4 เมล็ด แล้วกลบดินให้ลึกประมาณ 5 เซนติเมตร จากนั้นรดน้ำทันที


หลังจากถั่วฝักยาวแตกใบจริง 1 อาทิตย์ ให้ฉีดบำรุงด้วยน้ำหมักปลาร้า (ภาพล่าง)ผสมกับน้ำหมักหน่อกล้วย (ภาพบน)


วิธีการทำน้ำหมักปลาร้า

วัตถุดิบ 

1. เศษปลา 20 กิโลกรัม
2. กากน้ำตาล 4-5 กิโลกรัม
3. EM 4-5 ลิตร

วิธีทำ หมักส่วนผสมไว้ประมาณ 1-3 เดือน ก็สามารถนำไปใช้ได้

การนำไปใช้ ใช้บำรุงพืช หลังจากที่ถั่วเริ่มแตกใบจริงประมาณ 1อาทิตย์ อัตรา น้ำหมักปลาร้า 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร


วิธีการทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย

ส่วนผสม 
1. หน่อกล้วย 3 กิโลกรัม
2. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม

วิธีทำ ขุดหน่อกล้วยต้นสมบูรณ์ที่ไม่เป็นโรค สูงไม่เกิน 1 เมตร เอาเหง้าพร้อมรากให้มีดินติดรากมาด้วย สับให้ละเอียด ใส่กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม หมักในภาชนะพลาสติก มีฝาปิด คนเช้า – เย็น ทุกวัน ครบ 7 วัน คั้นเอาแต่น้ำเก็บไว้ น้ำหมักที่ได้ คือ จุลินทรีย์หน่อกล้วย เก็บไว้ใช้ได้ 6 เดือน - 1 ปี

การนำไปใช้  ใช้บำรุงพืช หลังจากที่ถั่วเริ่มแตกใบจริงประมาณ 1อาทิตย์ อัตรา จุลินทรีย์หน่อกล้วย 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

การดูแลรักษา

- การให้น้ำระยะ 1-7 วัน ควรให้ทุกวัน ๆ ละ 1 ครั้ง แล้วแต่สภาพภูมิอากาศ และสภาพดินด้วย หลังจากหยอดเมล็ดแล้วประมาณ 5-7 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก

- ต้นกล้าเริ่มมีใบจริงประมาณ 4 ใบ ถอนแยกต้นกล้าให้เหลือต้นแข็งแรงไว้ 2 ต้นต่อหลุม ขณะที่ถอนแยกให้พรวนดินและกำจัดวัชพืช เพื่อไม่ให้วัชพืชมาแย่งน้ำ และอาหารจากถั่วฝักยาว

-จากนั้นให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรแฉะเกินไป ระยะเจริญเติบโตหลังจากถอนแยกแล้วควรให้น้ำทุก 3-5 วันต่อครั้ง ให้ตรวจสอบความชื้นในดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโต ระบบการที่ใช้ในสวนจะเป็นระบบน้ำหยด ซึ่งมีข้อดีตรงที่ประหยัดน้ำ เนื่องจากพื้นที่สวนของคุณพัฒนาค่อนข้างจะขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง

การทำค้าง

ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ต้องอาศัยค้างเพื่อเกาะพยุงลำต้นให้เจริญเติบโต ไม้ที่ใช้สำหรับทำไม้ค้างนั้นใช้ไม้ไผ่ หรือไม้อื่น ๆ ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยการสร้างโครงเสาแล้วใช้ไม้ไผ่พาดด้านบน และใช้เชือกห้อยลงมายังลำต้นถั่วฝักยาวให้เลื้อยขึ้น ระยะเวลาการใส่ค้างถั่วฝักยาวนั้นจะเริ่มใส่หลังจากงอกแล้ว 15-20 วัน โดยจับต้นถั่วฝักยาวให้พันเลื้อยขึ้นค้างในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา


เคล็ดลับของความสำเร็จ

การบำรุงโดยการใช้น้ำหมักชีวภาพ

- เมื่อมีใบประมาณ 2 ใบ ให้ฉีดพ่นบำรุงด้วยจุลินทรีย์หน่อกล้วยให้ทั่ว

- หลังจากถั่วฝักยาวแตกใบจริง 1 อาทิตย์ ให้ฉีดบำรุงด้วยน้ำหมักปลาร้าผสมกับน้ำหมักหน่อกล้วย

- หลังจากที่ปลุกประมาณ 3 เดือน ให้ฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนนม เพื่อเร่งดอก อัตรา 80 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร เพื่อเร่งการออกดอก ฉีดติดต่อกันจนกว่าถั่วจะออกดอก ระยะเวลาในการฉีดพ่น ประมาณ 7 วัน/ครั้ง

- เมื่อถั่วเริมออกดอก ให้ฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนนม ผสมกับฮอร์โมนไข่ ผสมกับน้ำ อัตรา 80 ซีซี:80ซีซี:20 ลิตร ฉีดติดต่อกันจนกว่าถั่วจะติดผล ระยะเวลาในการฉีดพ่น ประมาณ 7 วัน/ครั้ง

- ช่วงถัวฝักยาวติดผลให้ฉีดบำรุงด้วยน้ำหมักหมักรวม (ฮอร์โมนนม+ฮอร์โมนไข่+น้ำหมักผลไม้+น้ำหมักปลาร้าอัตรา 40:40:40:40 ซีซี /น้ำเปล่า 20 ลิตร) ฉีดติดต่อกัน 3-4 วันครั้งจนกว่าจะเก็บผลผลิต

- ถ้าช่วงไหนพบแมลงศัตรูพืช ก็จะฉีดพ่นด้วยน้ำส้มควันไม้ เพื่อป้องกันกำจัดแมลง อัตรา 60 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร


หลังจากหยอดเมล็ดประมาณ 50-60 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้ ให้เลือกเก็บฝักขนาดพอดี ไม่อ่อนเกินไป



ถั่วฝักยาวปลอดสารพิษ ฝักจะอวบ น่ารับประทาน อีดทั้งปลอดภัย ไม่มีพิษภัยต่อรางการแน่นอน
ซึ่งในการปลูกแต่ละรอบสามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 1 เดือน
 

การเก็บผลผลิต

ควรเก็บช่วงเช้าหรือช่วงเย็น เก็บเสร็จถ้าให้ถั่วโดนแดด เพราะจะทำให้ฝักเหี่ยวหรือฝ่อเร็ว dการเก็บให้ทยอยเก็บ 2-3 วัน/ครั้ง ซึ่งสามารถเก็บติดต่อกันได้ประมาณ เดือนครึ่ง ปีหนึ่งคุณพัฒนาสามารถปลูกถั่วได้ประมาณ 6 ครั้ง ครั้งละ 2 งาน ขายตลาดในชุมชน และตามตลาดนัด ผลผลิตที่ได้ประมาณ 1.6 ตัน/ครั้ง


ข้อมูลจาก
thailand-farm.com

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 21538 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ผักและการปลูกผัก]:
กระเทียมใบไหม้ กระเทียมใบแห้ง ใบจุด โรครา เพลี้ยไฟ ไร แก้ไขได้ ให้ถูกวิธี
สาเหตุหลักเลย ที่ทำให้ โรคและแมลงศัตรูพืช เข้าโจมตี หรือเข้าทำลายต้นกระเทียมได้ง่าย เพราะเกิดจาก กระเทียมอ่อนแอต่อโรค
อ่านแล้ว: 8105
มะเขือเทศใบไหม้ มะเขือเทศใบเหลือง ใบหงิก ต่างอาการ ต่างสาเหตุ แก้ต่างวิธี
ต้นเหตุหลักๆที่แท้จริงเลยคือ มะเขือเทศ ได้รับธาตุอาหารที่เป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ไม่เพียงพอ
อ่านแล้ว: 6723
มะเขือเทศใบเหลือง มะเขือเทศใบหงิกเหลือง มะเขือเทศใบด่าง ป้องกันได้ โดยการกำจัดแมลงศัตรูพืช
ใบอ่อนหดย่นเป็นคลื่นมีขนาดเล็กกว่าปกติ และใบยอดที่ปลายกิ่งบิดเกลียว ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดผลน้อย ผลด่าง
อ่านแล้ว: 6741
โรคราพริก โรคใบจุดตากบ ส่งผลใบพริกร่วง ชะงักการโต ผลผลิตลดลง
โรคใบจุดตากบ หากระบาดรุนแรง ใบพริกจะร่วง การออกดอกและการให้ผลผลิตจะต่ำลง โรคสามารถจะลุกลามไปที่ กิ่ง การ ผล ได้
อ่านแล้ว: 8354
พืชตระกูลแตง เป็นปื้นเหลืองบนใบ แห้งตาย เพราะ โรคราน้ำค้าง ควรเร่งแก้ไข
โรคราน้ำค้าง สร้างความเสียหายให้กับพืชตระกูลแตง ปล่อยไปถึงตายได้ ลักษณะการระบาดของ โรคราน้ำค้าง นี้ อาการที่แสดง..
อ่านแล้ว: 7478
โครงการหลวงปังค่า หนุนเกษตรกรพะเยา ปลูกมะเขือเทศสร้างรายได้
ทำให้มีอาชีพสร้างรายได้ และจำหน่ายได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องราคา ได้ผลผลิต 2-3 ตันขายได้ราวๆ 75,000 บาทต่อรอบ
อ่านแล้ว: 7674
หอมญี่ปุ่น ปลูกได้ในไทย
ปัจจุบันมีการนำมาปลูกในประเทศไทยหลายพื้นที่ สำหรับดินที่เหมาะสมในการปลูกควรเป็นดินร่วนซุย
อ่านแล้ว: 6960
หมวด ผักและการปลูกผัก ทั้งหมด >>