ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ผักและการปลูกผัก | อ่านแล้ว 17050 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เห็ดนางฟ้าภูฐาน : การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน

เห็ดนางฟ้าภูฐาน - ออกดอกได้ดีที่สุดช่วงฤดูหนาว เพาะง่าย ปัญหาน้อย ดูแลรักษาง่าย จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่นิยม

data-ad-format="autorelaxed">

เห็ดนางฟ้าภูฐาน


เห็ดนางฟ้าภูฐาน

เห็ดนางฟ้าภูฐาน เป็นเห็ดที่ออกดอกได้ดีในฤดูฝน และดีที่สุดในฤดูหนาว ที่สำคัญเห็ดชนิดนี้ยังได้ชื่อว่าเป็น “ เพื่อนที่รู้ใจของมือใหม่หัดทำ ” เพราะเป็นเห็ดที่ทำง่ายปัญหาน้อย การดูแลรักษาก็ไม่ยุ่งยากสามารถออกดอกได้นานกว่า 6 -7 เดือน เป็นก้าวแรกที่สำคัญของคนที่เข้าสู่อาชีพเพาะเห็ด หากจะพูดถึงความนิยมแล้วภาคอีสานอาจจะนิยมน้อยกว่าเห็ดขอนดำและเห็ดบด แต่ถ้าเป็นภาคกลางและภาคอื่น ๆ แล้วจะขายดีมาก
 
เห็ดนางฟ้าภูฐาน เป็นเห็ดที่ขึ้นชื่อในเรื่องความสามัคคี เพราะโดยธรรมชาติแล้วมักจะออกดอกพร้อมกันและหยุดพร้อมกัน ทำให้เวลาออกดอกมักจะล้นตลาดแต่เวลาหยุดพักก็มักจะขาดตลาดเช่นกัน อีกทั้งยังเป็นเรื่องไม่ง่ายนักที่จะบังคับให้เห็ดนางฟ้าออกดอกได้ตามใจปรารถนา เพราะเป็นเห็ดที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมากถ้าอากาศไม่เป็นใจก็ยากจะบังคับเขาได้ เช่น หากร้อนจัดและหนาวจัดเห็ดนางฟ้าภูฐานก็จะออกดอกน้อยหรือไม่ออกดอกเลย แต่พอได้ความชื้นของสายฝนและความหนาวเย็นที่พอเหมาะติดต่อกันหลายวันเมื่อไหร่คุณเตรียมรอรับทรัพย์ได้เลย สภาพอากาศที่เห็ดนางฟ้าภูฐานชอบมากที่สุดคืออากาศหนาว และอีกสภาพหนึ่งคือ เวลาที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่องหลายวัน คนเพาะเห็ดเตรียมเก็บดอกขายได้เลยชนิดฟันธงแบบ อ.ลักษณ์ยังไงยังงั้น
 
สิ่งที่เห็ดนางฟ้าภูฐานกลัวมากที่สุด คือความร้อน ความหนาวจัดชนิดหนีจากกองไฟไม่ได้และสุดท้ายคือลม เพราะหากวันไหนมีลมพัดต่อเนื่องตลอดทั้งวันเห็ดชนิดนี้ก็มักจะหยุดออกดอก ถึงแม้จะมุงบังโรงเรือนอย่างมิดชิดแค่ไหนก็ยากที่จะชนะลมได้ เพราะลมที่พัดต่อเนื่องมักจะพาเอาความชื้นในอากาศไปด้วย เมื่อความชื้นไม่พอก็มักจะทำให้ขอบดอกเห็ดแห้ง อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการออกดอกคือประมาณ 17 - 28 องศาเซลเซียส (ข้อมูลจากประสบการณ์ตรง) หากอุณหภูมิต่ำกว่าหรือสูงกว่านี้เห็ดนางฟ้าจะออกดอกน้อย ส่วนความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศที่เหมาะสมก็ต้องให้มีไม่ต่ำกว่า 70 % (อยากรู้ว่าประมาณไหนให้นึกถึงบรรยากาศตอนฝนหยุดตกใหม่ ๆ ) โรงเรือนเปิดดอกเองก็ต้องมีการถ่ายเทอากาศที่ดีและให้มีแสงสว่างเพียงพอกับการพัฒนาการเจริญเติบโตของดอกเห็ด ถามว่าแสงสว่างเพียงพอนั้นคือแค่ไหน มีคนเคยพูดเปรียบเทียบเอาไว้ว่า ให้พออ่านหนังสือออกก็พอ
 
จุดเด่นอีกประการหนึ่งของเห็ดนางฟ้าภูฐานคือ สามารถคืนทุนได้เร็วและกำไรสูงเพราะเป็นเห็ดที่น้ำหนักดี ออกดอกสม่ำเสมอและสามารถเก็บผลผลิตได้นานถึง 7 เดือน ดังนั้นจึงเป็นอีกหนึ่งความหวังของคนเพาะเห็ดมือใหม่และมืออาชีพที่มักจะไม่ทำให้ใครผิดหวัง ปัจจุบันในภาคอีสานเห็ดนางฟ้าภูฐานราคากิโลกรัมล่ะ 40-60 บาท ก็นับว่าดีมากและอยู่ได้อย่างสบาย

เห็ดนางฟ้าภูฐาน จัดเป็นเห็ดเศรษฐกิจอีกหนึ่งที่เป็นที่นิยมบริโภคของบุคคลทั่วไป เป็นเห็ดที่เพาะง่าย มีอายุการพักเชื้อที่สั้น เพาะได้เกือบทุกฤดูยกเว้นในช่วงฤดูร้อน เพราะเห็ดชอบอากาศเย็นชื้น ในการเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานนิยมใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราเป็นวัสดุเพาะ เพราะเป็นวัสดุที่ให้ผลผลิตสูงและเก็บผลผลิตได้นาน เฉลี่ยประมาณ ๔ เดือน และมีวิธีการเพาะที่ง่าย คุ้มทุน อีกทั้งยังดูแลรักษาง่าย นอกจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา ยังมีวัสดุอีกหลายอย่างที่สามารถนำมาเพาะได้ เช่น ฟางข้าว แต่วิธีการที่ซับซ้อนกว่าและมีระยะเวลาในการให้ผลผลสั้น ดังนั้นจึงขอแนะนำการเพาะเห็ดนางฟ้าด้วยขี้เลื่อยไม้ยางพารา

การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานในถุงพลาสติก

สูตรอาหารเพาะเห็ด

ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ๑๐๐ กก.

รำละเอียด ๕ กก.

ปูนขาว ๑ กก.

ยิปซั่ม ๐.๕ กก.

ดีเกลือ ๐.๒ กก.

ความชื้น ๖๐ – ๗๐ % (ดูตามสภาพของขี้เลื่อย)

วิธีทำ

๑. ผสมสูตรอาหารทั้งหมดเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน

๒. เพิ่มความชื้นโดยการรดน้ำให้มีความชื้น ๖๐ – ๗๐%

๓. อัดถุงขนาด ๖.๕ x ๑๒.๕ น้ำหนัก ๘๐๐ กรัม/ถุง

๔. อัดให้แน่นใส่คอพลาสติกจุกด้วยสำลีและปิดด้วยกระดาษ

๕. นึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งแบบไม่ใช้ความดัน ๓ ซม. อุณหภูมิประมาณ ๙๕ – ๑๐๐ องศาเซลเซียล

๖. เมื่อครบตามเวลาปล่อยให้เย็นและทำการใส่เชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่าง

๗. ทำการพักเชื้อประมาณ ๓๐ วัน โดยการเก็บไว้ในโรงพักเชื้อไม่ให้โดนแสงแดดและความชื้น หากพบว่าก้อนเชื้อเกิดราดำหรือราเขียว ให้รีบแยกออกเพื่อทำลายป้องกันการระบาดของเชื้อ

วิธีดำเนินงาน

๑. ผสมอาหารเพาะเห็ด (ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ๑๐๐ กก. + รำละเอียด ๕ กก. + ยิปซั่ม ๐.๕ กก. + ปูนขาว ๑ กก. + ดีเกลือ ๐.๒ กก.)

๒. บรรจุอาหารเพาะลงในถุงพลาสติกทนร้อน

๓. รวบปากถุงบีบไล่อากาศออก แล้วอัดถุงให้แน่น

๔. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยถังนึ่ง ไม่อัดความดัน อุณหภูมิประมาณ ๙๕ – ๑๐๐ องศาเซลเซียส ประมาณ ๓ ชั่วโมง

๕. นำถุงอาหารเพาะเห็ดมาใส่เชื้อเห็ดนางฟ้า

๖. นำมาพักเชื้อประมาณ ๓๐ วัน

๗. นำไปเปิดดอก โดยการเปิดจุกสำลีออก

๘. เก็บผลผลิตและทำการรดน้ำ

การเก็บผลผลิต

ให้ดึงดอกเห็ดออกมาทั้งโคนอย่าให้มีเศษของก้านดอกติดอยู่ในปากถุงเพราะจะ ทำให้ก้อนเชื้อเห็ดเน่า หลังจากเก็บดอกเห็ดแล้วให้รดน้ำเพื่อปรับสภาพความชื้น


โรค – แมลง การดูแลรักษา

โรคของเห็ดนางฟ้าภูฐาน ได้แก่ ราดำ ราเขียว ราจุดไข่ปลาและราส้ม ส่วนมากราดำและราเขียวจะเกิดในช่วงของการพักเชื้อ ทั้งนี้อาจจะติดเชื้อมาจากช่วงของการใส่เชื้อเห็ด เนื่องจากสถานที่ใส่เชื้อมีลมแรงหรือสถานที่ไม่สะอาด อาจเกิดจากขั้นตอนการนึ่งก้อนเชื้อที่ใช้ความร้อนไม่สูงพอ

การแก้ไข ควรนึ่งก้อนเชื้อ เห็ดด้วยความร้อนประมาณ ๙๕ – ๑๐๐ องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน ๓ – ๔ ชม. และควรมีสถานที่ที่ทำการใส่เชื้อสะอาดไม่มีลมพัดก็จะช่วยป้องกันโรคได้


แหล่งที่มาของข้อมูล:
- สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
- somboonfarm.com

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 17050 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ผักและการปลูกผัก]:
กระเทียมใบไหม้ กระเทียมใบแห้ง ใบจุด โรครา เพลี้ยไฟ ไร แก้ไขได้ ให้ถูกวิธี
สาเหตุหลักเลย ที่ทำให้ โรคและแมลงศัตรูพืช เข้าโจมตี หรือเข้าทำลายต้นกระเทียมได้ง่าย เพราะเกิดจาก กระเทียมอ่อนแอต่อโรค
อ่านแล้ว: 8105
มะเขือเทศใบไหม้ มะเขือเทศใบเหลือง ใบหงิก ต่างอาการ ต่างสาเหตุ แก้ต่างวิธี
ต้นเหตุหลักๆที่แท้จริงเลยคือ มะเขือเทศ ได้รับธาตุอาหารที่เป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ไม่เพียงพอ
อ่านแล้ว: 6723
มะเขือเทศใบเหลือง มะเขือเทศใบหงิกเหลือง มะเขือเทศใบด่าง ป้องกันได้ โดยการกำจัดแมลงศัตรูพืช
ใบอ่อนหดย่นเป็นคลื่นมีขนาดเล็กกว่าปกติ และใบยอดที่ปลายกิ่งบิดเกลียว ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดผลน้อย ผลด่าง
อ่านแล้ว: 6741
โรคราพริก โรคใบจุดตากบ ส่งผลใบพริกร่วง ชะงักการโต ผลผลิตลดลง
โรคใบจุดตากบ หากระบาดรุนแรง ใบพริกจะร่วง การออกดอกและการให้ผลผลิตจะต่ำลง โรคสามารถจะลุกลามไปที่ กิ่ง การ ผล ได้
อ่านแล้ว: 8354
พืชตระกูลแตง เป็นปื้นเหลืองบนใบ แห้งตาย เพราะ โรคราน้ำค้าง ควรเร่งแก้ไข
โรคราน้ำค้าง สร้างความเสียหายให้กับพืชตระกูลแตง ปล่อยไปถึงตายได้ ลักษณะการระบาดของ โรคราน้ำค้าง นี้ อาการที่แสดง..
อ่านแล้ว: 7478
โครงการหลวงปังค่า หนุนเกษตรกรพะเยา ปลูกมะเขือเทศสร้างรายได้
ทำให้มีอาชีพสร้างรายได้ และจำหน่ายได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องราคา ได้ผลผลิต 2-3 ตันขายได้ราวๆ 75,000 บาทต่อรอบ
อ่านแล้ว: 7674
หอมญี่ปุ่น ปลูกได้ในไทย
ปัจจุบันมีการนำมาปลูกในประเทศไทยหลายพื้นที่ สำหรับดินที่เหมาะสมในการปลูกควรเป็นดินร่วนซุย
อ่านแล้ว: 6960
หมวด ผักและการปลูกผัก ทั้งหมด >>