ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไม้ผล ไม้ยืนต้น | อ่านแล้ว 11978 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การปลูกสะตอ : ในพื้นที่ภาคอีสาน

การปลูกสะตอ - สะตอ เป็นพืชผักยืนต้น ที่มีแหล่งกำเนิดทางภาคใต้ของไทย ปรุงอาหารอร่อยหลายอย่าง มีสรรพคุณทางยาด้วย

data-ad-format="autorelaxed">

การปลูกสะตอ

การปลูกสะตอ

สะตอ พืชผักยืนต้นที่มีแหล่งกำเนิดมาจากภาคใต้ของประเทศไทย เป็นผักพื้นบ้านที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง อาทิ สะตอผัดกุ้ง แกงส้มสะตอกุ้ง แกงเผ็ดใส่สะตอ เป็นต้น ปัจจุบันสะตอจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมรับประทานกันมากขึ้น จึงทำให้ความต้องการบริโภคสะตอมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้มีผู้สนใจปลูกสะตอกันอย่างแพร่หลายกระจายเกือบทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดศรีสะเกษซึ่งถือว่าเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน

คุณสมพร ไชยสุวรรณ เกษตรกรวัย 43 ปี เป็นผู้ริเริ่มปลูกสะตอบนพื้นที่ 18 ไร่ ในจังหวัดศรีสะเกษ มานานกว่า 20ปี โดยเริ่มต้นปลูกครั้งแรกในปี พ.ศ.2532จากการใช้พื้นที่เอกสารสิทธิ์ สปก.มาทำการเพาะปลูก ได้นำเมล็ดพันธุ์สะตอมาจากญาติที่จังหวัดตรัง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วทางภาคใต้จะมีการปลูกสะตอเพียงรายละ 2-3 ต้นเท่านั้น เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน ทำให้คุณสมพรมีแนวคิดที่จะนำสะตอมาปลูกในรูปแบบสวนที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศที่ใกล้เคียงกันกับทางภาคใต้ คุณสมพรจึงปลูกทั้งสะตอข้าวและสะตอดานในพื้นที่ 18ไร่ จำนวนทั้งสิ้น 300 ต้น ต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ปลูกไปยังตำบลต่างๆ ในอำเภอขุนหาญและอำเภอใกล้เคียงจนกลายมาเป็นแหล่งเพาะปลูกสะตอที่ใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน ซึ่งคุณสมพรเป็นเพียงคนเดียวที่ทำสวนสะตอที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและใหญ่ที่สุดในโลก จึงเป็นที่มาของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดศรีสะเกษที่มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย

"สะตอ"เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงเฉลี่ยได้ถึง 30 เมตร ต้นสูงขึ้นไปแล้วแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแผ่กว้าง ลำต้นเรียบ ลอกเป็นสะเก็ดเล็กน้อย มีสีน้ำตาลอ่อน กิ่งก้านมีขนละเอียด ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบแขนงมีประมาณ 14-18 คู่ ช่อใบย่อยมีประมาณ 31-38 คู่ ปลายใบบนฐานใบด้านนอกเบี้ยวเป็นติ่ง ดอกออกเป็นช่อรวมกันเป็นกระจุก อัดกันแน่นเป็นก้อนคล้ายดอกกระถิน ช่อดอกจะห้อยระย้าอยู่ทั่วทรงพุ่ม แต่ละดอกมีก้านดอกและใบประดับรอง ประกอบด้วยช่อดอกตัวผู้ และช่อดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกสีขาวนวล ดอกจะออกช่วงเดือนเมษายน หลังจากนั้น 70 วัน จะสามารถเก็บฝักได้ ผลของสะตอเป็นฝักแบนกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 35-45 เวนติเมตร ฝักบิดเป็นเกลียวห่าง ฝักอ่อนมีสีเขียว พอแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ เมล็ดสะตอมีลักษณะเป็นรูปรีเกือบกลมเรียงตามขวางกับฝัก มีสีเขียวอ่อน

พันธุ์สะตอ 

สะตอข้าว : ลักษณะฝักเป็นเกลียว ยาวประมาณ 31 ซม. กว้างประมาณ 4 ซม. จำนวนเมล็ดต่อฝักประมาณ 10-20 เมล็ด จำนวนฝักต่อช่อประมาณ 8-20 ฝัก เมล็ดมีกลิ่นไม่ฉุนเนื้อเมล็ดไม่ค่อยแน่น อายุการให้ผลผลิต 3-5 ปี หลังปลูก

สะตอดาน : ฝักมีลักษณะตรงแบนไม่บิดเบี้ยว ยาวประมาณ 32 ซม. ความกว้างกว้างกว่าสะตอข้าวเล็กน้อย มีเมล็ดต่อฝักประมาณ 10-20 เมล็ด จำนวนฝักต่อช่อประมาณ 8-15 ฝัก เมล็ดมีกลิ่นฉุนรสเผ็ด เนื้อเมล็ดแน่น อายุการเก็บเกี่ยว 5-7 ปี

สรรพคุณทางยาของสะตอ

- มีผลต่อความดันโลหิต

- มีผลต่อการแบ่งตัวของเซลล์

- มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

- มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา

- มีผลของการเกาะกลุ่มของเม็ดเลือดแดง

- มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด

- มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้

การขยายพันธุ์สะตอด้วยวิธีการเพาะเมล็ด


สะตอสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การขยายพันธุ์สะตอ โดยการเพาะเมล็ดเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย และได้ต้นพันธุ์จำนวนมาก โดยการนำเมล็ดจากฝักที่แก่ขนาดที่ใช้รับประทานจากต้นพันธุ์ที่มีอายุ 15-20 ปี จะให้ผลผลิตที่ดี แกะเมล็ดแล้วนำไปเพาะลงถุง ประมาณ 2-3 เดือน ก็สามารถนำไปปลูกได้ต่อไป

ขั้นตอนวิธีการเพาะเมล็ด

1.เลือกฝักสะตอจากต้นพันธุ์ที่แก่เต็มที่แล้วแต่ไม่ต้องถึงกับสุกงอม สามารถออกฝักได้ทุกปี ผลผลิตมากในหนึ่งต้นและออกฝักก่อนต้นอื่น ในช่อหนึ่ง ๆ ควรมีฝักตั้งแต่ 10-15 ฝัก ฝักที่สมบูรณ์ มีเมล็ด 15-20 เมล็ดต่อฝัก เมล็ดมีขนาดสม่ำเสมอและเรียงเป็นแถวสวยงาม ลำต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากแมลงรบกวน

2.เมื่อได้ฝักที่ต้องการแล้วแกะเมล็ดออกแล้วลอกเยื่อหุ้มเมล็ดออกให้เหลือเนื้อเมล็ดที่มีสีเขียว

3.นำเมล็ดที่แกะแล้วแช่น้ำในอุณหภูมิปกติทิ้งไว้ 1 คืนจากนั้นนำมาสะเด็ดน้ำให้แห้ง

4.นำเมล็ดมาคลุกสารป้องกันมดกัดกินในอัตรา 1 ช้อนโต๊ะต่อจำนวน 100 เมล็ด

5.ทำการเพาะในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม โดยใช้ถุงพลาสติก ขนาด 4x8 นิ้ว เจาะก้นถุงด้านล่าง 3 รูเพื่อระบายน้ำ ใส่ดินผสมปุ๋ยคอกอัตรา 2 ต่อ 1 ลงไปประมาณค่อนถุงนำไปตั้งในที่ร่ม

6.นำเมล็ดที่เตรียมไว้มาปลูกตรงกลางถุงโดยให้ทางด้านหัวกดลงลึกประมาณ 1 เซนติเมตร เมื่อเวลางอกลำต้นจะตั้งตรง

7.รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน ๆ ละ 1-2 ครั้ง ภายใน 3 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกจนอายุประมาณ1 ปี จะมีใบงอกออกมาลำต้นจะมีขนาด 1-2 ฟุตสามารถนำไปปลูกได้ต่อไป

การปลูกสะตอและการดูแลรักษา

1. ปลูกในระยะความกว้าง 6เมตร ยาว 6เมตร เริ่มขุดหลุมปลูกขนาดความกว้างxยาวxลึก 50เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกที่ได้จากการเลี้ยงวัวใส่รองก้นหลุมในอัตราหลุมละ ? กิโลกรัมผสมกับดินเดิมจากนั้นจะนำต้นกล้าลงปลูกแล้วกลบดินให้สูงกว่าระดับดินเดิมอัดดินพอประมาณไม่ต้องแน่นจากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม

2. ฤดูปลูกที่เหมาะสมควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนราวๆเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนจะดีที่สุดเพราะว่าจะช่วยประหยัดน้ำได้ดี

3. การให้น้ำในระยะแรกๆจะทำการรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอเสมอ สะตอที่ปลูกใหม่ในปีแรก ควรให้น้ำวันเว้นวันในช่วงหน้าแล้ง เมื่อต้นสะตอมีอายุ 2-3ปี ให้น้ำ 2ครั้งต่อสัปดาห์ หากเป็นช่วงหน้าแล้งคุณสมพรแนะนำให้หาเศษพืชคลุมโคนเพื่อรักษาความชื้นเนื่องจากต้นสะตอที่ให้ผลแล้วจะเป็นระยะที่ต้องการน้ำมากคือช่วงระยะออกดอกถึงติดฝักจนเก็บเกี่ยวได้

4. การพรวนดินคุณสมพรจำเริ่มทำตั้งแต่เริ่มปลูกเป็นต้นไปปีละประมาณ 3-4ครั้ง เพื่อช่วยกำจัดวัชพืชและถ่ายเทอากาศในดิน

5. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่หาได้ในชุมชน คุณสมพรจะเริ่มใส่ตั้งแต่เริ่มปลูก อัตรา 1-2ปี๊บต่อต้นเมื่อให้ผลผลิตแล้วจะใส่อัตรา 3-4ปี๊บต่อต้น โดยจะใส่หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจะทำให้สะตอให้ผลผลิตสม่ำเสมอทุกๆปี นอกจากปุ๋ยคอกแล้วคุณสมพรจะเสริมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15ในอัตรา 1/2กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยใส่ก่อนออกฝักและหลังจากออกฝักแล้วจะเพิ่มปริมาณอัตรา 1กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 2ครั้ง โดยครั้งแรกใส่ก่อนออกดอกและครั้งที่สองใส่หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว จากนั้นให้ทำการตัดแต่งกิ่งด้วย ควรใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วยอัตราการใส่ ควรเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละประมาณ 1/2กิโลกรัม

6. เมื่อลำต้นสะตอสูง 2-3เมตรจะทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ได้ทรงพุ่มเตี้ยสามารถเก็บเกี่ยวง่าย ทำการตัดแต่งกิ่งกระโดง กิ่งแห้ง กิ่งตาย กิ่งเป็นโรค กิ่งเบียดชิด กิ่งไม่ถูกแสงภายในทรงพุ่ม เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งไม่ทึบแน่นเกินไป

7. สะตอจะเริ่มออกดอกตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไปและจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ใช้ระยะเวลาประมาณ 70วันทั้งพันธุ์สะตอข้าวและสะตอดาน เริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกอายุประมาณ 5-7ปี ในต้นหนึ่ง ๆ จะให้ผลผลิตได้ประมาณ 200-300ฝัก และจะให้ฝักเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปีตามอายุปลูก ปัจจุบันคุณสมพรปลูกสะตอมาได้ 20ปีแล้วผลผลิตเฉลี่ยจะอยู่ที่ต้นละประมาณ 400-500ฝัก

การเก็บเกี่ยว

1. ลักษณะฝักที่พร้อมจะเก็บเกี่ยวได้ สีฝักจะมีลักษณะเป็นมันแววสีเขียวเข้ม เปลือกบริเวณหุ้มเมล็ดจะนูนเห็นเส้นเยื่อใยเด่นชัด รูปทรงสะดุดตา เปลือกหุ้มเมล็ดเมื่อแกะออกดูด้านในที่บริเวณขั้วของเปลือกจะเห็นเป็นสีส้มเข้มเล็กน้อย แสดงว่าใช้ได้แล้ว

2. การชิมเมล็ดดูจะพบว่าเมล็ดพันธุ์สะตอข้าวจะมีรสชาติมันและค่อนข้างหวาน เนื้อเมล็ดค่อนข้างแน่น พันธุ์สะตอดานจะมีรสชาติค่อนข้างฉุน เนื้อเมล็ดแน่น

3. คุณสมพรจะใช้ไม้สอย โดยใช้ไม้ไผ่ลวกยาวประมาณ 5-10เมตรตามขนาดของลำต้น โดยทำเว้าที่ปลายไม้ไผ่ ในกรณีต้นที่สูงจะขึ้นบนต้นแล้วใช้ส่วนที่เว้าบิดขั้วฝักสะตอแล้วดึงเข้าหาตัว แล้วปล่อยฝักสะตอให้รูดลงตามเชือกซึ่งผูกโยงระหว่างกิ่งกับหลักไม้ที่พื้นดินลงสู่ด้านล่าง โดยจะมีทีมงานในครอบครัวคอยรับอยู่ด้านล่างโดยวิธีนี้จะทำให้ฝักสะตอมีรอยบอบช้ำน้อยที่สุด นอกจากจะเก็บด้วยตนเองแล้วยังมีการจ้างแรงงานเก็บเกี่ยว โดยมีค่าจ้างในการเก็บเกี่ยวในราคา 100ฝักละ 15-20บาท ขึ้นอยู่กับปริมาณของฝักสะตอมีมากน้อยขนาด ไหนในช่วงเก็บนั้น ๆ ต้นหนึ่ง ๆ สามารถเก็บเกี่ยวได้ถึง 3-4 ครั้งจึงหมด

การตลาดสตอ

การรวบรวมฝักสะตอก่อนส่งขาย จะนิยมใช้วิธีการมัดสะตอรวมเป็นมัด ๆ แต่ละมัดจะมีฝักสะตอ 100ฝัก โดยจะส่งให้พ่อค้าคนกลางซึ่งจะรับซื้อถึงสวน หรืออาจส่งไปขายที่ตลาดโดยตรงในพื้นที่อำเภอใกล้เคียงได้ โดยปกติคุณสมพรจะจำหน่ายอยู่ราคาเดียวคือ จำหน่ายฝักละ 4บาท โดยฝักที่สมบูรณ์จะมีเมล็ดภายในฝักจำนวน 12เมล็ด


แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
คุณสมพร ชัยสุวรรณ อายุ : 43 ปี
ที่อยู่ : 64 หมู่ที่11 ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

ข้อมูลทั้งหมดจาก rakbankerd.com

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 11978 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไม้ผล ไม้ยืนต้น]:
ฟักข้าวใบไหม้ ฟักข้าวใบแห้ง ฟักข้าวใบเหลือง โรคเชื้อรา ที่เกิดขึ้นกับฟักข้าว
อาการใบเหลือง ฟักข้าวใบเหลือง ต่างจากอาการใบไหม้ สาเหตุต่างกัน วิธีป้องกันและรักษาก็ต่างกัน
อ่านแล้ว: 6633
หนอนเงาะ หนอนเจาะเงาะ หนอนเจาะขั้วผลเงาะ รีบแก้ไข ก่อนผลผลิตตกต่ำ
หนอนกเจาะดอกเงาะจะกัดกินดอก และยังทำลายใบอ่อนเงาะ และยอดอ่อน จะสังเกตุเห็นทางเดินเป็ยใย
อ่านแล้ว: 7314
หนอนฝรั่ง หนอนเจาะผลฝรั่ง ฝรั่งมีหนอน แมลงวันผลไม้ กำจัดด้วย ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
หนอนเป็นศัตรูพืช ที่เข้าทำลายฝรั่งให้เกิดความเสียหาย และนอกจากนั้น ยังมีเพลี้ย ที่ต้องป้องกันและกำจัด
อ่านแล้ว: 6790
อินทผาลัมใบแห้ง อินทผาลัมใบไหม้ อินทผาลัมยอดเน่า มีสองสาเหตุหลัก แก้ได้
อาจจะแห้งบริเวณเนื้อใน หรือแห้งจากขอบใบเข้ามาก็ได้ จริงแล้วคล้ายอาการใบจุด แต่แผลที่เกิดจากอาการ ใบไหม้ จะมีขนาดแผล..
อ่านแล้ว: 8084
หนอนมะม่วง หนอนเจาะมะม่วง หนอนเจาะต้นมะม่วง แก้ด้วย ไอกี้-บีที ปลอดภัย
ตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็ง มีงวงยาว ด้วงนี้จะวางไข่ในผลอ่อน ตัว หนอนมะม่วง จะโตอยู่ในเมล็ด พอตัวหนอนแก่ จะ..
อ่านแล้ว: 7302
หนอนมะม่วง มะม่วงเป็นหนอน หนอนแมลงวัน ใช้ ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
วางใข่กลางคืน ตัวหนอนของด้วงหนวดยาวจะกินชอนไช ตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้ต้นมะม่วงโทรม ยืนต้นตาย ใบแห้ง
อ่านแล้ว: 6202
มะม่วงใบแห้ง มะม่วงแห้งตาย มะม่วงไม่ติดผล ใบจุด มะม่วงดอกร่วง แอนแทรคโนส เป็นเหตุ
โรคแอนแทรคโนส ที่เกิดในมะม่วงนี้ ทำความเสียหายกับมะม่วงเป็นอย่างมาก ทั้งด้านผลผลิตที่น้อยลง และคุณภาพของมะม่วงก็จะแย่
อ่านแล้ว: 6664
หมวด ไม้ผล ไม้ยืนต้น ทั้งหมด >>