ปลาดุ กบิ๊กอุยเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว แต่ก็ต้องดูแลเป็นพิเศษในช่วงปลายังเล็ก และต้องเข้าใจถึงนิสัยของปลา เหมาะที่จะเลี้ยงไว้เพื่อประกอบอาหาร เพราะในปัจจุบันปลาในธรรมชาติลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจาก ในปัจจุบันมีการใช้สารเคมีในธรรมชาติมาก จึงต้องเลี้ยงปลาเพื่อไว้บริโภคในครัวเรือนได้เอง และยังเป็นการลดรายจ่ายในครัวเรือนได้อีกทางหนึ่งด้วย สำหรับผู้ที่มีพื้นที่น้อยอาจจะเลี้ยงในบ่อพลาสติก ขนาด 2 คูณ 4 เมตร หรือเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ก็ได้ แต่สำหรับผู้ที่มีบ่อดินถ้าเลี้ยงในบ่อดินได้จะดีที่สุด เพราะปลาจะโตเร็วกว่าและสามารถเลี้ยงเป็นจำนวนมากเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ ของครัวเรือนได้ด้วย
เมื่อ โครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ของเยาวชนในท้องถิ่นเข้ามาก็ถือว่าดีมาก เพราะเป็นการต่อยอดให้ผมได้ส่งเสริมเยาวชนและชุมชนต่อไป หลังจากที่อาจารย์ จิรวิทย ได้เริ่มต้นมาระยะหนึ่ง ชาวบ้านและชุมชนก็เริ่มเห็นความสำคัญ และมีคนเลี้ยงเพิ่มขึ้น เป็นการกระตุ้นให้ชาวบ้านสนใจที่จะเลี้ยงเป็นอาชีพในระบบเกษตรผสมผสาน และสิ่งที่สำคัญคือ “ความรู้ทางวิธีการเลี้ยงปลากดุกที่เหมาะสม การแปรรูปและความต้องการของตลาด” จำเป็นมากสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมเพื่อให้ปัญหาน้อยที่สุด
ตอนที่ 1 เมื่อปลาดุกพระพรหมมาโตที่ท่าเรือ
เมื่อประมาณปี 2550 อาจารย์ จิรวิทย์ จำปาได้พาผมไปที่บ้านลุง ช่วง สิงโหพล เป็นเกษตรกรที่ทำเกษตรแบบพอเพียง อยู่ที่ ต. ช้างซ้าย อ.พระพรหม มีกิจกรรมทั้งปลูกพีช เตาเผาถ่านทำน้ำส้มควันไม้และการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก ขนาด 2 x 4 เมตร อาจารย์ จิรวิทย์ก็ทำงานวิจัยอยู่แถวท่าเรือจึงอยากขยายผลการเลี้ยงปลาดุกไปสู่ตำบลท่าเรือเพราะแถวท่าเรือพื้นที่เหมาะสมน้ำไม่ท่วม ซึ่งลุงช่วง สามารถเป็นต้นแบบในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในระดับครัวเรือนได้เป็นอย่างดี
ผม ก็เพิ่งเคยเห็นการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติกที่บ้านลุงช่วงเป็นครั้งแรกก็ รู้สึกว่าชอบมากเพราะการเลี้ยงปลาดุกนอกจากเป็นการลดรายจ่ายในครัวเรือนแล้ว ยังได้ความรู้ในเรื่องขั้นตอนการขุดบ่อจนถึงการเลี้ยงและยังทำให้เรารู้สึก ว่ามีความสุขความเพลิดเพลินเมื่อเราให้อาหารปลา
อาจารย์จิรวิทย์ จำปา จึงให้งบประมาณส่วนตัวในการขยายผลและเป็นต้นแบบให้กับชุมชนได้เห็นความสำคัญและขยายผลต่อไปได้โดยเริ่มจากขุดบ่อปลาเมื่อประมาณ วันที่ 15 มกราคม 2551 และเริ่มเลี้ยงเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551 บ่อปลาที่ขุดชุดแรกมีทั้งหมด 4 บ่อ โดยมีน้าผ้วน ป้าเบียบ พงศ์ศักดิ์ และของผม ซึ่งบุคคลเหล่านี้ก็เป็นคนที่อยู่ใน วงรำวงเวียนครก ของกลุ่มอนุรักษ์โคพื้นเมืองที่อาจารย์จิรวิทย์มาส่งเสริมอยู่ด้วย และก็เป็นผู้ที่สนใจที่จะเลี้ยงปลาดุกอยู่แล้วด้วย
ในการเลี้ยงปลาดุกชุดแรก มีการขุดบ่อปลาขนาด 2 คูณ 4 เมตร และเลี้ยงปลากดุกบิ๊กอุยทั้งหมด 4 บ่อ ๆ ละ 400 ตัว โดยได้ความรู้จากลุงช่วง สิงโหพล ตำบลช้างซ้าย
บ่อที่ 1 น้าผ้วน อมรพล ช่วงแรกปลาก็ปกติดี พอเลี้ยงไปได้ 3 – 4 วัน ปลาเริ่มมีอาการผิดปกติลอยหัวอยู่ตามขอบบ่อ เริ่มมีจุดที่บริเวณลำตัวและส่วนกลางของลำตัวถึงหางมีสีขาว มีแผลเปื่อยตามลำตัว เมื่อมีอาการรุนแรง เราแก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยโดยเปลี่ยนน้ำเกือบหมดบ่อและเพิ่มเกลือก็ช่วยลด ปัญหาลงได้
ผม เริ่มมารู้ช่วงหลังว่าโรคที่เป็นเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่น่าจะติดมากับดิน เหนียวที่นำมาใส่บ่อ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรค ควรนำดินมาตากแดดให้แห้งก่อนใส่ในบ่อ แต่ถ้าปลาเริ่มมีอาการลอยหัวขอบบ่อให้รีบเปลี่ยนน้ำและเพิ่มเกลือ แต่ถ้าพบว่าปลาเป็นโรคมากแล้วให้ใช้ออกซีเตตร้าซัยคลิน ผสมในอาหารในอัตรา 3- 5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม ให้กินนาน 7 – 20 วัน ติดต่อกันหรือ แช่ในอัตรา 10 – 20 กรัม ต่อน้ำ 1 ตัน นาน 5 – 7 วัน
ปลาดุกของน้าผ้วน เหลือเพียง 150 – 200 ตัว หลังจากเกิดโรค แต่ช่วงหลังปลาก็เจริญเติบโตดี ขนาดไม่แตกต่างกันมาก คือขนาด 4 – 5 ตัวต่อกิโลกรัม ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 เดือนครึ่ง ปลาที่ได้น้าเขียด ภรรยาของน้าผ้วนก็นำมาแปรรูปเป็นปลาดุกร้า ในกิโลกรัมละ 50 บาท
บ่อที่ 2 ของผมเอง (ราเชน บุญเต็ม) เมื่อปล่อยปลาก็ปกติ ปลามีการเจริญเติบโตดี ตลอดเลี้ยงปลา 400 ตัว กินอาหารทั้งหมดประมาณ 20 กิโลกรัม เลี้ยง 3 เดือน ครึ่ง เมื่อจับปลาพบว่าปลามีขนาดแตกต่างกันมาก เมื่อถามลุงช่วงพบว่าปัญหาเกิดจากในช่วงที่ปลายังเล็ก การให้อาหารต้องให้ทั่ว เพื่อว่าปลาจะกินได้ทั่วถึง ปลาจะได้โตได้ขนาดไล่เลี่ยกัน และช่วงอายุ 1 – 2 เดือนไม่ได้ให้อาหารโดยเต็มที่ ตลอดระยะการเลี้ยงต้นทุนค่าอาหารปลาทั้งหมด 925 บาท ขายปลาสดได้ 1,145 บาท ถือว่าไม่ขาดทุนแต่ก็ไม่มีกำไร ถ้ารวมต้นทุนทั้งหมด 1,492 บาท โชคดีว่าค่าผ้ายางและปลาอาจารย์จิรวิทย์ ออกให้ก็เลยไม่ขาดทุน แต่ก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้การเลี้ยงปลาขั้นพื้นฐานโดยการปฏิบัติจริงและก็ เจอปัญหาจริง ๆ ทุน แต่ก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้ยนครก ของกลุ่มอนุรักษ์โคพื้นเมืองที่อา
บ่อที่ 3 ของป้าระเบียบ ชัยสมุทร ในช่วงแรกของการเลี้ยง ป้าระเบียบให้กินอาหารน้อยเนื่องจากจะกลัวว่าปลาจะท้องอืดตาย จึงให้อาหารน้อย ที่จริงในช่วง 1 – 2 เดือน ควรอัดอาหารให้เต็มที่ เพราะถ้าพ้นช่วงของการเจริญเติบโตแล้วปลาจะแคระเกร้นโตไม่ขึ้น ทำให้เมื่อจับปลาพบว่ามีปลาขนาดเล็กมาก ผมซื้อปลาตัวเล็ก ๆ ของป้าระเบียบไปเลี้ยงในบ่อดินต่ออีก 3 เดือน ก็ยังโตเท่าเดิม หรือโตเพียงนิดเดียว
บ่อที่ 4 ของ พงศ์ศักดิ์ ปัญจะเภรี เมื่อปล่อยปลา ปลาปกติดี ไม่มีปัญหาเรื่องโรคมีเพียงนกกระยางมากินลูกปลา ก็แก้ปัญหาโดยการดักอวน จับปลาก็พบว่ามีหลาย size เช่นกัน
จาก การเลี้ยงปลาดุกชุดแรก ซึ่งเราได้ขยายผลการเลี้ยงมาจาก ลุงช่วง สิงโหพล กลุ่มหัวใจแผ่นดิน ต.ช้างซ้าย อ. พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช ทำให้เรามีความรู้ คือ “ก่อนทำ” เราได้ไปศึกษาการเลี้ยง การให้อาหารในช่วงที่ปลายังเล็ก การขุดบ่อ ปูผ้ายาง และรวมไปถึงการแปรรูปการผลิต (การทำปลาดุกร้า) “ระหว่างทำ” เราประสบกับปัญหาปลาดุกเป็นโรค ผมเริ่มมารู้ช่วงหลังจากการศึกษาในหนังสือว่าโรคที่เป็นเกิดจากเชื้อ แบคทีเรียที่น่าจะติดมากับดินเหนียวที่นำมาใส่บ่อ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรค ควรนำดินมาตากแดดให้แห้งก่อนใส่ในบ่อ แต่ถ้าปลาเริ่มมีอาการลอยหัวขอบบ่อให้รีบเปลี่ยนน้ำและเพิ่มเกลือ แต่ถ้าพบว่าปลาเป็นโรคมากแล้วให้ใช้ออกซีเตตร้าซัยคลิน ผสมในอาหารในอัตรา 3 – 5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม ให้กินนาน 7 - 20 วัน ติดต่อกันหรือ แช่ในอัตรา 10 – 20 กรัม ต่อน้ำ 1 ตัน นาน 5 – 7 วัน และ.”หลังทำ” เราไม่ได้แปรรูปผลผลิตทำให้ขาดทุน และการเลี้ยงก็เป็นครั้งแรก จึงเก็บสรุปปัญหาเพื่อแก้ไขปรับปรุงในการเลี้ยงในรุ่นต่อไป
ตอนที่ 2 การจัดการความรู้สู่ชุมชน
เมื่อเราเลี้ยงปลาดุกชุดแรกทำให้เราได้ความรู้จากการสรุปบทเรียนที่ผ่านมา
ชุดที่ 1 เลี้ยงในบ่อพลาสติก 2 บ่อ เลี้ยงในซีเมนต์ 2 บ่อ เริ่มลงปลาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2551 1 บ่อ คือ ของน้าผ้วน ลงปลา 500 ตัว ตอนนี้จับปลาแล้ว จับเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2551 อายุ 4 เดือน โดยให้กินอาหารเต็มที่ ใช้อาหารทั้งหมดตลอดการเลี้ยงประมาณ 65 กิโลกรัม อัตราการเจริญเติบโต 4 – 6 ตัว/กิโลกรัม ไม่พบปัญหาใด ๆ
ชุดที่ 2 เริ่มลงปลาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 3 บ่อ คือ
1. น้าผ้วน อมรพล (บ่อพลาสติกขนาด 2 คูณ 4)
2. ราเชน บุญเต็ม (บ่อซีเมนต์ขนาด 2 คูณ 3ม)
3. พงศ์ศักดิ์ ปัญจะเภรี (บ่อซีเมนต์ขนาด 1 คูณ1ม)
บ่อที่ 1 ของน้าผ้วน ปลาไม่ตาย และเจริญเติบโตดี ตอนนี้อายุเกือบ 4 เดือนแล้ว ปลากินอาหารรวม 3 กระสอบ อัตราการเจริญเติบโต 4 – 6 ตัว/กิโลกรัม
บ่อที่ 2 ของผม (ราเชน บุญเต็ม) ช่วงแรกผมปล่อยปลาไว้ในปล้องซีเมนต์ ปลาตายไป 10 – 20 ตัว จึงนำปลาไปเลี้ยงที่บ้านลุงจำเนียร บุญเต็ม ซึ่งเป็นญาติกัน ที่บ้านลุงเนียร เป็นบ่อซีเมนต์ขนาด 2 คูณ 3 เมตร เมื่อปล่อยปลาปลาไม่ตาย และเจริญเติบโตดี เปลี่ยนน้ำ 2 ครั้ง ตอนนี้อายุเกือบ 4 เดือนแล้ว ปลากินอาหารเกือบ 20 กิโลกรัม (ให้อาหารปลานิลเสริมบ้างเป็นช่วง) อัตราการเจริญเติบโต 4 – 8 ตัว/กิโลกรัม มีปลาบางตัวขนาดยังเล็กมาก ในขนาดที่ตัวอื่นโตมากถือว่าครั่งต่อครึ่งเลยทีเดียว
บ่อที่ 3 ของพงศ์ศักดิ์ ปัญจะเภรี เลี้ยงในบ่อซีเมนต์ขนาดเล็กขนาด 1 คูณ 1 เมตร ช่วงแรกปลาไม่มีปัญหาเรื่องโรค แต่ปลาโตช้า พบว่าโตช้ากว่าที่เลี้ยงในบ่อพลาสติกครึ่งต่อครึ่ง แต่กินอาหารน้อยกว่า อัตราการเจริญเติบโต 8 – 10 ตัว/กิโลกรัม
จาก การเลี้ยงปลาที่ผ่านมาทำให้เรามีความรู้จากการศึกษาจากปาร์ชญชาวบ้าน และจากการปฏิบัติจริงสามารถที่จะนำไปส่งเสริมให้เยาวชนหรือชาวบ้านทั่วไปที่ สนใจเลี้ยง ปลาดุกได้ และสามารถที่จะรวบรวมปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนการเลี้ยง เป็นองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจได้ศึกษาต่อไป
ตอนที่ 3 การต่อยอดโดยโครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ของเยาวชนในท้องถิ่น
เมื่อ โครงการเยาวชนเข้ามาเราก็เริ่มต่อยอดได้เลยเพราะเรามีความรู้พอที่จะส่ง เสริมให้เยาวชนและชาวบ้านที่สนใจ โดยการให้เยาวชนขุดบ่อปลา จำนวน 2 บ่อ (บ่อพลาสติก 2 คูณ 4 เมตร) และส่งเสริมชาวบ้านที่เป็นแกนนำรำวงเวียนครก 1 บ่อ คือของป้าโสภณ ทับจันทร์ รวม 3 บ่อ คือ
1. วิทยา เภรีพาส (บ่อพลาสติก 2 คูณ 3 เมตร)
2. เรวุฒิ วงศ์อนุรักษ์กูล (บ่อพลาสติก 2 คูณ 4 เมตร)
3. ป้าโสภณ ทับจันทร์ (บ่อพลาสติก 2 คูณ 4 เมตร)
ใน การทำบ่อปลารุ่นนี้ผ้าพลาสติกใช้ของอาจารย์จิรวิทย์ที่เหลือ ส่วนลูกปลาได้รับสนับสนุนจากโครงการเยาวชน ส่วนของเรวุฒิยังไม่ได้เลี้ยง เพราะเป็นพื้นที่ต่ำต้องรอหลังน้ำท่วม และรุ่นนี้ถือเป็นรุ่นแรกของโครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ของเยาวชนฯ
บ่อที่ 1 วิทยา เภรีพาส ของวิทยาขุดบ่อได้ 2 คูณ 3 เมตร เนื่องจากพื้นที่จำกัด เริ่มปล่อยปลาเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2551 ลูกปลารุ่นนี้ตัวโตและแข็งแรงดีมาก มีการเจริญเติบโตดี ตอนนี้อายุเกือบ 2 เดือนแล้ว กินอาหารไปแล้วประมาณ 15 กิโลกรัม ยังไม่พบปัญหา
บ่อที่ 2 ป้าโสภณ ทับจันทร์ ขุดบ่อขนาด 2 คูณ 4 เมตร โดยมีผม พงศ์ศักดิ์ และขวัญชัย ช่วยกันขุด เริ่มปล่อยปลาเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2551 ลูกปลามารุ่นเดียวกับของวิทยา แข็งแรง ในช่วง 2 – 3 อาทิตย์แรก แกให้อาหาน้อยเพราะกลัวว่าปลาจะท้องอืดตาย ปลาเลยมีขนาดเล็กกว่าของวิทยานิดหนึ่ง พอช่วงหลังผมบอกให้รีบอัดอาหารให้มากขึ้นปลาก็โตดีขึ้น ตอนนี้กินอาหารไปแล้วประมาณ 13 กิโลกรัม ยังไม่พบปัญหา
ชุดที่ 2 เริ่มเลี้ยงวันที่ 18 กันยายน 2551 มี 3 คน คือ
1. นายนิคม พวงพะเนียด (บ่อพลาสติก 2 คูณ 4 เมตร)
2. นายขวัญชัย รามแก้ว (ปล้องบ่อซีเมนต์)
3. นายประกอบ สุขขำมาศ (ปล้องบ่อซีเมนต์)
บ่อที่ 1 น้านิคม พวงพะเนียด เป็นชาวบ้านในหมู่ 5 ที่สนใจจะเลี้ยง บ้านอยู่ใกล้กับบ้านป้าโสภณ ทับจันทร์ ซึ่งของแกมีผ้ายางอยู่แล้ว ผมไปส่งเสริมลูกปลาดุกให้จำนวน 300 ตัว เมื่อ ปล่อยปลาแล้ว ปลาเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย น้านิคมใช้เกลือแก้เบื้องต้นก็ควบคุมโรคไม่อยู่ ผมไปดูและแก้ปัญหา โดยการเปลี่ยนน้ำ และเพิ่มเกลือ ปรากฏว่าปลายังตายอยู่ น้านิคมจึงตัดสินใจเปลี่ยนน้ำเกือบหมดบ่อปลาก็เริ่มดีขึ้นปลาไม่ตายแต่ปลา ที่เราส่งเสริมไปเหลือประมาณ 100 ตัว แกจึงซื้อปลามาเพิ่มอีก 200 ตัว ตอนนี้เลี้ยงได้ 1 เดือนแล้ว ปลากินอาหารไปแล้ว 7 กิโลกรัม ปลามีขนาด 2 นิ้ว
บ่อที่ 2 นายขวัญชัย รามแก้ว เป็นเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการเยาวชน ขวัญชัยยังช่วยงานด้านรำวงเวียนครกอยู่ด้วยในบางครั้ง เพราะเขาเรียน กศน.เพียงวันเสาร์ – อาทิตย์ ในวันธรรมดาเขาก็ว่าง ขวัญชัยเลี้ยงปลาดุกในปล้องบ่อไปชุดหนึ่งแล้ว ชุดนี้ถือเป็นรุ่นที่ 2 เลี้ยง 100 ตัว ปลาเจริญเติบโตดี แข็งแรงไม่เป็นโรค ตอนนี้ปลามีขนาดประมาณ 2 นิ้ว เมื่อถามผู้ปกครองเขาบอกว่าเลี้ยงปลาแบบนี้ดีมาก เมื่ออยากจะกิจปลาก็สามารถจับมาทำอาหารได้เรื่อย ๆ และยังมีความเพลิดเพลินใจเมื่อให้ปลากินอาหาร
บ่อที่ 3 ลุงประกอบ สุข ขำมาศ ลุงประกอบเป็นคนหนึ่งที่มาช่วยรำวงเวียนครกอยู่เช่นกัน แต่ช่วงหลังไม่ได้มาช่วยเนื่องจากติดภารกิจ ซึ่งแกก็สนใจเลี้ยงปลาดุก แกได้ไปศึกษาดูงานที่ ลานสกา กลุ่มของลุงประยงค์ รณรงค์ และเริ่มมาเลี้ยงเองที่บ้าน 4 – 5 ปล้องก่อน ตอนนี้ 5 พฤศจิกายน 2551 มีทั้งหมด ปล้อง ผมส่งเสริมลูกปลาดุกไปให้ลงประมาณ 70 ตัว ลุงประกอบบอกว่าปลาชุดนี้โตเร็วมากดีกว่าปลาที่เอามาจากท่าศาลา
ชุดที่ 3 เริ่มเลี้ยงเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2551 มี 4 คน คือ
1. นายวิจักขณ์ อมรพล (เลี้ยงในบ่อดิน)
2. นายอิทธิวัฒน์ บุญต่อ (เลี้ยงในปล้องบ่อ)
3. ด.ช.ศักดิ์รินทร์ ปานสังข์ (เลี้ยงในปล้องบ่อ)
4. นายประกอบ สุขขำมาศ (เลี้ยงในปล้องบ่อซีเมนต์)
ตอนที่ 4 การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก
การ เลี้ยงปลาดุกในบ่อขนาดเล็ก (บ่อแบบเศรษฐกิจพอเพียง) จึงเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรได้พึ่งพาตนเองได้ เป็นการแก้ไขเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานของครัวเรือนได้ เพราะนอกจากจะได้ปลาปริโภคในครัวเรือนแล้ว ถ้าเหลือก็สามารถที่จะจำหน่ายเป็นรายได้ต่อไป ทำให้รายจ่ายของครัวเรือนลดลง สภาพความเป็นอยู่ก็ดีขึ้นทำให้มีความสุข แต่ต้องยืนอยู่บนความ”พอเพด้วย
การขุดบ่อ
โดยขุดบ่อให้มีขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 1 เมตร แต่ลุงช่วงมาปรับปรุงใหม่โดยขุดให้มีขนาดกว้างยาวเท่าเดิมแต่มีความลึกเพียง 80 เซนติเมตร ก็พอ แต่ขนาดของบ่อไม่ได้จำกัดตายตัว อาจจะมีการตกแต่งให้กว้างหรือยาวออกไปได้อีก ตามความเหมาะสมของผ้ายางที่ตัดมาปูบ่อ
การขุดบ่อจะขุดเป็น 2 ชั้น เพื่อให้ง่ายต่อการจับปลา โดยชั้นที่ 1 ขุดลงไปให้ลึกประมาณ 0.40 เมตร และทำให้เป็นขั้นบนไดไว้เพือยืนเวลาจับปลา และขุดลงไปอีกชั้นหนึ่ง โดยขุดให้ลึกลงไปอีก 0.40 เมตร
การ ขุดบ่อควรขุดให้มีความลาดชันโดยขุดให้เฉียงจากขอบบ่อเข้าด้านในบ่อ ถ้าบ่อมีความลาดชั้นมากก็ยิ่งดีเพราะผ้าย่างจะลดตามบ่อ กลีบผ้าย่างจะมีน้อยหรือมีกลีบผ้าย่าง หรือไปฟันกลีบผ้าย่างทำให้กลีบผ้าย่างรั่วได้
เมื่อ ขุดบ่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องทำการตกแต่งรากไม้ออกให้หมด โดยเฉพาะรากใหญ่ๆ เพื่อป้องกันรากไม้แทงผ้าย่าง เมื่อเอาน้ำเข้าบ่อแล้วก็ปูผ้าย่างพลาสติกและเอาน้ำเข้าบ่อได้
วิธีปูผ้ายางพลาสติก
ตัดผ้าย่างให้มีขนาด กว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร กางผ้าย่างออกยืนถือผ้าย่างที่ปลายมุมทั้ง 4 มุม และให้ตรงกลางผ้าย่างอยู่ตรงกลางบ่อพอดี และริมผ้าย่างก็ให้ออกมาข้างนอกบ่อและเท่ากันทั้งสองข้าง แล้วก็ใส่น้ำข้าไปเรื่อยๆ และค่อยๆ แต่งผ้าย่างอย่าให้ตึงจนน้ำขึ้มาชั้นบน ในช่วงนี้ต้องเฝ้าและช่วยแต่งกลีบผ้าย่าง ให้มีกลีบผ้าย่างน้อยที่สุดเพื่อป้องกันปลาฟันผ้าย่าง เป้นการยืดอายุการใช้งานของผ้าย่างได้ เพื่อให้คุ้มค่าที่สุด และการขุดบ่อให้มีความลาดมากก็จะช่วยให้ผ้าย่างมีกลีบน้อย ก็เป็นการช่วยลดความเสี่ยงได้อีกทางหนึ่งด้วย