ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 10-11 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันตกของภาค ส่วนใน ช่วงวันที่ 12-16 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- ระยะนี้แม้จะมีฝนตก แต่ในบางพื้นที่ปริมาณฝนยังมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล หากขาดน้ำจะทำให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ
- สำหรับ เกษตรกรที่เตรียมดินปลูกข้าวนาปีไว้แล้ว ควรชะลอการปลูกข้าวไว้ก่อน รอจนกว่าจะมีปริมาณฝนตกสม่ำเสมอเพราะหากปลูกในระยะนี้อาจจะเสี่ยงต่อการขาดน้ำระยะต้นกล้าและแตกกอ
- นอกจากนี้เกษตรกรควรบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 10-11 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 12-16 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- ระยะนี้แม้จะมีฝนตก แต่ในบางพื้นที่ปริมาณฝนยังมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะพืชผักที่อยู่ในระยะเจริญ เติบโต หากขาดน้ำจะทำให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ
- สำหรับพื้นที่ที่มีฝนตก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่ายโดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบอาจป่วยเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้
- นอกจากนี้ เกษตรกรควรกักเก็บน้ำฝนเพื่อใช้ในด้านการเกษตร ในช่วงที่มีฝนน้อย
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 10-11 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 12-16 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- ระยะนี้ แม้จะมีฝนตก แต่ในบางพื้นที่ปริมาณฝนยังมีน้อย เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ ควรมีแหล่งน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นชะงักการ เจริญเติบโต ผลผลิตลดลงได้
- สำหรับพื้นที่ที่มีฝนตก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตด้อยคุณภาพ
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 10-11 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12-16 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
- ระยะนี้แม้จะมีฝนตก แต่ในบางพื้นที่ปริมาณฝนยังมีน้อย ไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว ชาวสวนผลไม้ควรระวังการระบาดของหนอนเจาะขั้วผลในเงาะหนอนเจาะผลในทุเรียน และหนอนกินใต้ผิวเปลือกในลองกอง หากพบควรรีบป้องกันกำจัด
- นอกจากนี้เกษตรกรควรเก็บกวาดผลที่เน่าเสียและร่วงหล่นตลอดจนเปลือกผลไม้ไปกำจัด ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ในสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 10-11 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 12-16 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
- ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น ผลไม้ ที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ชาวสวนควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะเจาะผล และกัดกินผลทำให้ผลเสียหาย ผลผลิต ด้อยคุณภาพ
- ส่วนชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งเพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วง ลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
ในช่วงวันที่ 10-11 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 12-16 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
- ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น ผลไม้ ที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ชาวสวนควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะเจาะผล และกัดกินผลทำให้ผลเสียหาย ผลผลิต ด้อยคุณภาพ
- ส่วนชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งเพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วง ลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น
- ในช่วงนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัย และที่ลุ่มใกล้ทางน้ำไหลผ่าน ควรตรวจสอบและดูแลอุปกรณ์สำหรับระบายน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา