ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: นาข้าว | อ่านแล้ว 8932 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ปฏิรูปการผลิต การค้าการส่งออก ข้าวเหนียว

ข้าวเหนียวบอก วัฒนาธรรม ทรงคุณค่า ซึ่งชาวนา สร้างคุณค่า มหาศาล ส่งออกโลก นานา นับประการ ทั้งสืบสาน คลองธรรม อันดีงาม

data-ad-format="autorelaxed">

ปฏิรูปการผลิต การค้าการส่งออก ข้าวเหนียว

‘ข้าวเหนียว’ เป็นสินค้าวัฒนธรรมตัวหนึ่งที่มีผลต่อภาคเศรษฐกิจและสังคม ปัจจุบันพื้นที่ปลูกข้าวเหนียวของไทยส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน โดยมีการเพาะปลูกข้าวเหนียวในฤดูนาปี 1.67 ล้านไร่ และฤดูนาปรัง 6.9 แสนไร่ ได้ผลผลิตข้าวเหนียวนาปี ประมาณ 5.8 ล้านตัน และข้าวเหนียวนาปรัง 4.4 แสนตัน ซึ่งผลผลิตข้าวเหนียว 95 % ใช้เพื่อบริโภคภายในประเทศ ขณะที่มีการส่งออกเพียง 5 % อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีข้อกังวลและเป็นห่วงว่าข้าวเหนียวจะมีปัญหาด้านการกลายพันธุ์หรือล้นตลาดเช่นเดียวกับข้าวไรซ์เบอร์รี่ จึงได้เร่งดำเนินการปฏิรูประบบการผลิตและการค้าข้าวเหนียวไทย เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา พร้อมยกระดับรายได้ของเกษตรกรให้มีเสถียรภาพด้วย

นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ส่วนใหญ่ราคาข้าวเหนียวขึ้นอยู่กับปริมาณการส่งออกข้าวเหนียวไปต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งชาวนาไม่สามารถกำหนดราคาได้ เนื่องจากข้าวเหนียวมีราคาผันผวนสูงมาก โดยราคาจะต่ำลงช่วงที่ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวเพราะอุปทานมากกว่าอุปสงค์ หลังช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตราคาจะขยับตัวสูงขึ้น แต่ชาวนาไม่ได้รับประโยชน์ กำไรจะตกอยู่ในมือพ่อค้าคนกลางที่เก็บสต็อกข้าว หากปีใดส่งออกมาก ราคาข้าวเหนียวปีนั้นจะสูงขึ้น ถ้าเทียบต้นทุน-ผลผลิตนาธรรมชาติ-นาเคมี ราคาข้าวเหนียวที่เหมาะสมและเป็นธรรมจะอยู่ที่ 13,000 บาท/ไร่

 สำหรับต้นทุนการผลิตข้าวเหนียวของไทยถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูง โดยต้นทุนของเกษตรกรในพื้นที่ชลประทานอยู่ที่ 5,698 บาท/ไร่ และนาน้ำฝนมีต้นทุน 4,591 บาท/ไร่ ขณะเดียวกันกระบวนการผลิตข้าวเหนียวของไทยยังประสบปัญหาด้านประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาองค์ความรู้ของชาวนา การสร้างมูลค่าเพิ่ม และการตลาด ส่งผลให้ชาวนาซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายย่อยมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ จึงจำเป็นต้องเร่งปฏิรูประบบการผลิตและการค้าข้าวเหนียว เพื่อสร้างเสถียรภาพทางด้านราคาและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

 ที่ผ่านมา ไทยมีการส่งเสริมการค้าข้าวเหนียวกับประเทศคู่ค้าในเอเชีย โดยได้เจรจากับจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ให้รับซื้อข้าวเหนียวไทยเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องทุกเดือน ใช้หลักการเหมือนกับระบบการค้าและส่งออกน้ำตาล  นอกจากนี้ ยังมีแผนกระชับความสัมพันธ์กับประเทศผู้นำเข้าข้าวเหนียวให้แนบแน่นยิ่งขึ้น พร้อมส่งเสริมประชาสัมพันธ์ข้าวสารเหนียวและข้าวกล้องเหนียวไปกับการโรดโชว์ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศด้วย

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการปฏิรูประบบการผลิตและการค้าข้าวเหนียวได้มอบหมายให้กรมการข้าวเป็นเจ้าภาพหลักเร่งขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการผลิตและการค้าข้าวเหนียว โดยขณะนี้ได้เปิดรับสมัครและคัดเลือกชาวนาหัวไวใจสู้ในพื้นที่ 4 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ อำเภอสันป่าตอง และอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย อำเภอบ้านผือ และอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เข้าร่วมโครงการฯอำเภอละ 40 คน

จากนั้นจะจัดฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตข้าวเหนียว เพื่อพัฒนาศักยภาพชาวนา มีการสร้างแปลงนาสาธิตหรือแปลงนาต้นแบบใน 4 จังหวัดนำร่อง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับชาวนาในพื้นที่หรือจังหวัดใกล้เคียง และผู้ที่สนใจ เน้นส่งเสริมการทำนาธรรมชาติ ประกอบด้วย หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักกสิกรรมธรรมชาติ และหลักการพึ่งพาตนเองโดยการเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวหนียวพันธุ์ดีไว้ใช้เอง พร้อมเลิกใช้สารเคมี และทำนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มุ่งลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น และได้ผลผลิตข้าวเหนียวที่มีคุณภาพและปลอดภัยจากสารพิษ

ขณะเดียวกันยังมีแผนส่งเสริมการค้าขายที่เป็นธรรม โดยเชื่อมโยงตลาดระหว่างชาวนากับสหกรณ์การเกษตร สมาคมโรงสีข้าวไทย ผู้ประกอบการเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมส่งเสริมสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขยายช่องทางตลาดรองรับผลผลิตซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น และเตรียมความพร้อมเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่สมาร์ท ฟาร์เมอร์ (Smart Farmer) ผู้ผลิตข้าวเหนียวด้วย

รมช.เกษตรและสหกรณ์กล่าวอีกว่า เบื้องต้นได้ตั้งเป้าคัดกรอง Smart Farmer ผู้ผลิตข้าวเหนียวไม่ต่ำกว่าอำเภอละ 4 คน ทั้งยังคาดว่าจะส่งเสริมการปรับเปลี่ยนจากการทำนาข้าวเหนียวที่ใช้สารเคมีเป็นการทำนาธรรมชาติได้กว่า 25 % ของพื้นที่ปลูกในระยะ 3 ปี โดยฤดูนาปี 2558/59 มีพื้นที่เป้าหมายดำเนินการ 4 จังหวัด ฤดูนาปรังปี 2558/59 ดำเนินการในพื้นที่ 14 จังหวัด ที่มีพื้นที่ปลูกข้าวเหนียวนาปรัง 10,000 ไร่ขึ้นไป และปี 2559/60-2560/61 จะดำเนินการครอบคลุมทุกจังหวัดที่ปลูกข้าวเหนียว เป้าหมายไม่น้อยกว่า 25 % ของพื้นที่ปลูกข้าวเหนียวทั้งหมด และคาดว่า ชาวนาจะสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวคุณภาพใช้เองได้ตรงตามพันธุ์และไร้พันธุ์ปน

“อนาคตคาดว่า เกษตรกรจะได้รับการพัฒนาเป็นชาวนาธรรมชาติตามศาสตร์พระราชา เดินตามบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง มีชีวิตที่มั่งคั่งและยั่งยืน ตลอดจนสามารถสืบทอดอาชีพชาวนาธรรมชาติให้ลูกหลานต่อไปได้ อีกทั้งยังคาดว่า จะช่วยป้องกันปัญหาผลผลิตข้าวเหนียวล้นตลาด ราคารับซื้อข้าวเปลือกธรรมชาติจะเป็นราคาที่ดี มีเสถียรภาพในราคาที่เป็นธรรม และผู้บริโภคข้าวเหนียวได้บริโภคข้าวเหนียวธรรมชาติที่อร่อย มีคุณค่า และมีความปลอดภัยไร้สารพิษปนเปื้อน ขณะที่ระบบนิเวศในนาข้าวก็ได้รับการฟื้นฟูและมีสภาพแวดล้อมที่ดี และมีความหลากหลายทางชีวภาพด้วย” นายอำนวยกล่าว

ข้อมูลจาก naewna.com

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 8932 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [นาข้าว]:
ข้าวใบเหลือง ขอบใบข้าวม้วน ยอดใบข้าวมีจุดประสีขาว เพราะขาดธาตุต่างกัน ปล่อยไว้ผลผลิตลด
ธาตุรองธาตุเสริมต่างๆ ที่จำเป็นต่อพืช ถูกพืชดึงไปใช้ทุกๆครั้งที่ปลูก จึงค่อยๆหมดไป เราเติมได้ พืชจะสมบูรณ์ ผลผลิตสูงขึ้น
อ่านแล้ว: 7938
ตั๊กแตน กัดกินใบข้าว ทำผลผลิตลด ป้องกันและกำจัดด้วย มาคา กำจัดแมลง
ใบข้าวแหว่ง หากจะบาดมาก โดนตั๊กแตน โลกัสต้าโจมตี จะกินใบข้าวจนหมดทั้งใบ สร้างความเสียหายในนาข้าว
อ่านแล้ว: 8332
หนอนกอ ที่ทำลายต้นข้าว ป้องกันและ กำจัดหนอนกอ
หนอนกอ จะเข้าทำลายต้นข้าวในระยะข้าวแตกกอ หนอนกอจะเข้ากัดกิน ทำลายในส่วนที่เป็นท่ออาหาร ท่อน้ำของลำต้นข้าว
อ่านแล้ว: 9627
ลุ้นส่งออกข้าวสถิติสูงสุด คาดปีนี้ทะลุ11ล้านตัน
ส่งออกข้าวไทย 11 เดือน พุ่ง 21.01% ปริมาณ 10.42 ล้านตัน ขณะที่ราคาหอมมะลิปรับสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดรอบ 4 ปี
อ่านแล้ว: 8022
สิ้น จำนำข้าว 3 ปี 300 โรงสีม้วนเสื่อ
โรงสีกระทบหนัก ปิดตัวแล้วกว่า 300 แห่ง เหตุไม่ปรับตัวแตกไลน์ธุรกิจ ขณะแข่งเดือดแย่งข้าวเปลือก หลังกำลังสีแปรรวมมากกว่า..
อ่านแล้ว: 8304
พาณิชย์ยัน ข้าวเปลือกหอมมะลิราคาไม่ตก
กระแสข่าวราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกหอมจังหวัด มีราคาตกต่ำ ไม่เป็นความจริง
อ่านแล้ว: 8065
พาณิชย์เลือกเอกชน2ราย เอ็มโอยูตั้งตลาดกลางข้าว
พาณิชย์ดันตลาดไทตลาดต่อยอด ร่วมจัดตั้งตลาดกลางข้าวสาร ลงนามเอ็มโอยูต้นเดือน ธ.ค. เปิดให้บริการได้เดือน พ.ค. 2561
อ่านแล้ว: 7935
หมวด นาข้าว ทั้งหมด >>